บาดทะยัก Tetanus ภาวะติดเชื้อบาดทะยัก Clostridium tetani อาการชักแข็ง หลังแอ่น ทำให้กล้ามเนื้อ หดเกร็งตลอดเวลา เชื้อโรคจะอยู่ในดิน สนิมตามมีด เข็ม หรือ ตะปู

บาดทะยัก โรคติดเชื้อ แผลจากสนิม

โรคบาดทะยัก เป็นโรคติดต่อ เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน เกิดและพบได้ทุกที่ทั่วโลก เกิดได้กับคน ในทุกเพศและทุกวัย การตัดสายสะดือ ในเด็กทารกแรกเกิด หากไม่รักษาความสะอาด ก็สามารถทำให้เกิด บาดทะยัก ได้ สาเหตุหนึ่งของการตาย  สูงในหลายประเทศ อาทิเช่น ประเทศในแถบเอเชีย อาฟริกา อเมริกาใต้ โดยเฉพาะประเทศกลุ่มด้อยการพัฒนา

บาดทะยักในทารกแรกเกิดอาการมักจะเริ่มเมื่อทารกอายุประมาณ 3-10 วัน อาการแรกที่จะสังเกตได้คือ เด็กดูดนมลำบาก หรือไม่ค่อยดูดนม ทั้งนี้เพราะมีขากรรไกรแข็ง อ้าปากไม่ได้ บาดทะยัก เป็นโรคที่เกิดจากตัวเชื้อโรคบาดทะยัก เข้าสู่แผล ทำให้มีอาการกระตุกและชักแข็ง หลังแอ่น โดยมากสามารถทำให้เสียชีวิตได้

สาเหตุของการเกิดบาดทะยัก

เกิดจากเชื่อโรคบาดทะยัก ซึ่งพบว่าเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายโดยทาง ตะปู เข็ม หรือกิ่งไม้ ตำร่างกาย หรือแผลไฟไหม้ แผลกดทับ สัตว์กัด(สุนัข แมว ค้างควา หนู) แผลเรื้อรัง แผลเบาหวาน ฟันผุ หูชั้นกลางอักเสบ  ซึ่งเชื้อบาดทะยักนั้นสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง คือ

  • ผ่านทางแผลสด โดยส่วนใหญ่จะเป็นแผลขนาดเล็กๆแต่ลึก เช่น แผลจากตะปู หรือเศษไม้ตำ แผลอื่นๆ เช่น แผลถูกสัตว์กัด แผลถลอก แผลฉีกขาด แผลถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก หรือแม้แต่แผลผ่าตัดก็พบได้ ถ้าระบบปลอดเชื้อของห้องผ่าตัดไม่มาตรฐาน หรือการดูแลแผลผ่าตัดที่ไม่สะอาด รวมทั้งแผลจากการถอนฟัน รักษารากฟัน ก็มีโอกาสติดเชื้อนี้ได้เช่นกัน
  • ผ่านทางแผลเรื้อรัง เช่นแผลเบาหวาน และแผลเป็นฝี
  • ผ่านทางการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน พบในกลุ่มผู้ใช้ยาเสพติด หรือการสักลาย (Tattoo)
  • ผ่านทางสายสะดือในเด็กแรกคลอด เกิดจากมารดาที่ไม่เคยฉีดวัคซีนบาดทะยัก และการใช้อุปกรณ์ที่ไม่สะอาดตัดสายสะดือเด็ก
  • จากการเป็นโรคหูชั้นกลางอักเสบ
  • มีบางกรณีที่ไม่พบสาเหตุว่า เชื้อเข้าสู่ร่างกายผ่านทางไหน

อาการของโรคบาดทะยัก

สำหรับผู้ที่ติดเชื้อบาทยักนั้น พบว่าจะมีอาการเกร็งที่เนื้อรอบแผล หลังจากนั้นผู้ป่วยจะเกร็งอ้าปากไม่ได้ กลืนน้ำลายไม่ได้ คอและหลังมีการเกร็ง ปวดตามตัว หายใจลำบาก และอาจจะเสียชีวิตในที่สุด

ซึ่งสำหรับระยะการเกิดโรคนั้น ระยะฟักตัวของโรค จะอยู่ที่ประมาณ 4 ถึง 21 วัน แต่โดยส่วนมาก 10 วัน โดยขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม และตำแหน่งของแผล และเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย ส่วนระยะติดต่อ เชื้อบาดทะยักจะไม่ติดต่อจากบุคคลหนึ่งไปสู่บุคคลหนึ่งโดยตรง  โรคบาดทะยักมักจะเกิดกับกล้ามเนื้อลายและเส้นประสาท ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่เราสั่งได้

ผู้ป่วยจะเกิดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อรอบแผล หลังจากนั้นภายใน 1 สัปดาห์ จะเกิดอาการเกร็งตัวที่กล้ามเนื้อ ทำให้อ้าปากไม่ได้ กลืนน้ำลายลำบาก คอและหลังมีอาการเกร็ง มีอาการปวดทั่วร่างกาย ทำให้หายใจลำบาก และอาจจะเสียชีวิตด้วยภาวะหายล้มเหลว อาการที่สำคัญของโรคบาดทะยักนั้น มีดังนี้

  • ปวดหัว
  • ปวดบริเวณกราม
  • เกรงตามกล้ามเนื้อ
  • ปวดตัว
  • กลืนน้ำลายไม่ได้
  • กล้ามเนื้อกระตุก
  • มีไข้สุงและเหงื่อออก
  • หัวใจเต้นเร็วและความดันโลหิตสูงขึ้น

การรักษาโรคบาดทะยัก

ผู้ป่วยต้องรักษาด้วยการให้ยาปฏิชีวนะ ชื่อ penicillin ให้ยาคลายกล้ามเนื้อ ฉีดวัคซีน Toxoid และทำความสะอาดแผลไม่ให้ติดเชื้ออีก ผู้ป่วยที่เริ่มแสดงอาการของโรคบาดทะยักแล้ว โดยทั่วไปจำเป็นจะต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลในห้องไอซียูเพื่อให้แพทย์เฝ้าดูอย่างใกล้ชิด และอาจได้รับการรักษาต่อไปนี้

  • ให้ยา Tetanus Immunoglobulin และยาปฏิชีวนะ
  • นำเอาเนื้อเยื่อแผลที่ตายแล้วหรือสิ่งแปลกปลอม เช่น ฝุ่นและสิ่งสกปรกต่าง ๆ ออกจากบาดแผล
  • ให้ยาที่ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยและชักกระตุกของกล้ามเนื้อ เช่น ยาคลายกล้ามเนื้อและยาระงับประสาท
  • ผู้ป่วยอาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจหากมีอาการหายใจลำบาก
  • ส่วนบางรายที่รับประทานอาหารไม่ได้จะต้องใช้หลอดให้อาหารเชื่อมต่อไปยังท้องหรือการหยดสารอาหารเข้าเส้นเลือด

ส่วนใหญ่อาการของโรคบาดทะยักที่ได้รับการรักษาจะค่อย ๆ ฟื้นตัวขึ้น แม้ว่าจะต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์หรือเป็นเดือน ๆ แต่ก็มีผู้ป่วยบางรายที่เสียชีวิตจากโรคบาดทะยักได้เช่นกัน

การป้องกันการเกิดโรคบาดทะยัก

แนวทางการป้องกันการเกิดโรคบาดทะยัก สามารถปฏิบัติได้ดังนี้

  • ในกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงในการทำงานใกล้กับสิ่งที่เป็นต้นเหตุของการเกิดบาดทะยัก เช่น คนที่คลุกคลีต่อของที่มีสนิม ของสกปรก มีโอกาสได้รับการบาดเจ็บ ควรฉีดยาป้องกันโรคบาดทะยัก ป้องกันเอาไว้
  • ในกลุ่มสตรีตั้งครรภ์ ควรซีนวัคซีนป้องกันบาดทะยักตามคำสั่งของแพทย์
  • ให้ทำความสะอาดแผลให้สะอาด เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  • หมั่นรักษาความสะอาดของสิ่งแวดล้อมให้สะอาดเสมอ

โรคบาดทะยัก ( Tetanus ) คือ โรคติดเชื้อบาดทะยัก Clostridium tetani อาการโรคบาดทะยัก ชักแข็ง หลังแอ่น ทำให้กล้ามเนื้อ หดเกร็ง ตลอดเวลา โรคนี้อันตรายถึงชีวิต เชื้อโรคจะอยู่ในดิน ในฝุ่น ที่ติดอยู่ใน มีด เข็ม หรือ ตะปู

ตับอักเสบ ( Hepatitis ) ภาวะตับบาดเจ็บหรือถูกทำลาย อาการอ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัว ไข้ต่ำๆ ปวดท้องใต้ชายโครงขวา ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะมีสีเข็ม อุจจาระมีสีซีดตับอักเสบ โรคตับอักเสบ โรคเป็นพิษต่อตับ โรคตับ

ภาวะตับอักเสบ เรียกว่า Hepatitis หมายถึง การอักเสบของเซลล์ตับ ที่เกิดการบาดเจ็บ หรือการถูกทำลายของเนื้อตับ ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพทำงานของตับ  สาเหตุของการเกิดตับอักเสบ แยกได้ 2 กรณี คือ ภาวะตับอักเสบจากการติดเชื้อ และ ภาวะตับอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ

ซึ่งโรคตับอักเสบ หากไม่รักษาภายใน 180 วัน โรคตับอักเสบจะกลายเป็น โรคตับอักเสบเรื้อรัง และหากไม่สามารถรักษาได้ทัน โรคตับอักเสบจะเข้าสู่ภาวะตับแข็ง ซึ่งหากเข้าสู่ภาวะตับแข็ง จะไม่สามารถฟื้นฟูตับได้

ปัจจัยที่ทำใหเกิดโรคตับอักเสบ

สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเกิดโรคตับอักเสบ นั้นจะอยู่ที่คน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มคนที่กินยาที่เป็นพิษต่อตับ และ กลุ่มคนที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยสามารถสรุปปัจจัย เสี่ยงของการเกิดโรคตับอักเสบได้ ดังนี้

  • อายุหากอายุยิ่งสูง จะมีโอกาสเกิดตับอักเสบมากขึ้น
  • เพศหญิง มีอัตราการเกิดโรคที่สูงกว่าเพศชาย
  • กลุ่มคนเคยมีประวัติหรือเป็นโรคเกี่ยวกับตับ เช่น โรคตับแข็ง โรคไวรัสตับอักเสบ เป็นต้น
  • กลุ่มคนมีภาวะโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคไตเรื้อรัง เป็นต้น
  • กลุ่มคนที่เป็นโรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น โรคเอดส์ เป็นต้น
  • กลุ่มคนที่ดื่มเครื่องดื่มสุราเป็นประจำ
  • กลุ่มคนที่สาดสารโปรที่ คนที่ไม่ทานเนื้อสัตว์ นม และ ไข่ เป็นต้น

สาเหตุของภาวะตับอักเสบ

สำหรับภาวะตับอักเสบนั้น สามารถแบ่งได้ 2 สาเหตุ คือ เกิดจากการติดเชื้อและเกิดจากการที่ไม่ได้ติดเชื้อ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ตับอักเสบจากติดเชื้อโรค เรียก Infectious hepatitis เชื้อโรคที่ทำให้เกิดตับอักเสบ คือ เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และ เชื้อปรสิต หากเกิดการอักเสบนานๆ จะเกิดฝีที่ตับได้
  • ตับอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ สาเหตุของตับอักเสบลักษณะนี้จะเป็น การถูกกระทบกับสารเคมี หรือ ได้รับสิ่งปนเปื้อนเป็นเวลานาน เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มน้ำที่ปนสารเคมี เป็นเวลานาน ซึ่งลักษณะนี้จะเรียก โรคพิษต่อตับ  เรียก Toxic hepatitis นอกจากนี้ การกินยาที่เป็นพิษต่ตับเป็นเวลานานติดต่อกัน หรือ มากเกินไป ก็ส่งผลเสียต่อตับ เช่นกัน เช่น ยาแก้ปวด นาพาราเซตามอน

อาการของโรคตับอักเสบ

ลักษณะอาการของผุ้ป่วยโรคตับอักเสบ จะมีอาการหลากหลายเป็นมากบ้าง เป็นน้อยบ้าง หรือ บางรายไม่แสดงอาการ ซึ่งสามารถสรุปลักษณะของอาการโรคตับอักเสบ ได้ดังนี้

  • มีอาการอ่อนเพลียมาก
  • มีอาการปวดเมื่อยตามตัว ข้อกระดูก และ กล้ามเนื้อ
  • มีไข้ต่ำๆ
  • รู้สึกเบื่ออาหาร
  • มีอาการคลื่นไส้และอาเจียน
  • ปวดท้องไม่มาก โดยปวดที่ใต้ชายโครงขวา
  • ตัวเหลือง ตาเหลือง
  • ปัสสาวะมีสีเข็ม
  • อุจจาระมีสีซีด

การวินิจฉัยโรคตับอักเสบ

สำหรับการวินิจฉัยโรคตับอักเสบ แพทย์จะทำการซักประวัติ และ อาการของผู้ป่วย พฤติกรรมการบริโภค สิ่งแวดล้อมรอบตัว จากนั้นต้องทำการตรวจร่างกายอย่างละเอียด ตรวจเลือดเพื่อตรวจสอบการทำงานของตับ และอาจต้องตัดชิ้นเนื้ิอลงไปเพื่อตรวจทางพยาธิวิทยาอย่างละเอียด

การรักษาโรคตับอักเสบ

แนวทางการรักษาโรคตับอักเสบ ต้องหาสาเหตุของการเกิดโรคให้พบ และ หยุดสาเหตุของการทำให้เกิดตับอักเสบ รวมถึงประคับประครองอาการอื่นๆที่ร่วมด้วย ซึ่งแนวทางการรักษา เพื่อฟื้นฟูการทำงานของตับ มีดังนี้

  • หยุดดื่มสรุา
  • พักผ่อนให้มากๆ เพื่อลดการทำงานของตับ และทำให้ตับฟื้นตัวเร็วขึ้น
  • ดื่มน้ำสะอาด อย่างน้อยวันละ 8 ถึง 10 แก้ว
  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ แต่ต้องเป็นอาหารอ่อนๆ
  • ระมัดระวังเรื่องการใช้ยา ต้องกินยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น

สำหรับความรุนแรงของโรคตับอักเสบ นั้นมีอยู่หลายปัจจัย เช่น อายุผู้ป่วย เพศ ความแข็งแรงของผุ้ป่วย เป็นต้น สำหรับผู้ป่วยโรคตับบอักเสบ มีข้อควรปฏิบัตตนดังนี้

  • พักผ่อนให้เต็มที่
  • ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 8 ถึง 10 แก้ว
  • ไม่ดื่มแอลกอฮอล์
  • กินอาหารอ่อนๆ หลีกเลี่ยงอาหารประเภทไขมัน
  • ออกกำลังกายเบาๆ
  • ไม่ซื้อยากินเอง
  • รีบพบแพทย์ เมื่ออาการต่างๆแย่ลง เช่น คลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า หรือ เจ็บท้องบริเวณใต้ชายโครงขวาอย่างรุนแรง

การป้องกันการเกิดโรคตับอักเสบ

สำหรับการป้องกันโรคตับอักเสบ ต้องระมัดระวัง หลีกเลี่ยง ปัจจัยต่างๆที่จะทำร้าย และ เป็นพิษต่อตับ โดยการป้องกันโรคตับอักเสบ มีดังนี้

  • ไม่กินยาโดยไม่จำเป็น ไม่ซื้อยาใช้เอง
  • หากมีประวัติการแพ้ยา ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ
  • ไม่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • พักผ่อนให้เต็มที่
  • ดื่มน้ำสะอาดในปริมาณที่ร่างกายต้องการ

โรคตับอักเสบ (Hepatitis ) คือ ภาวะเซลล์ตับอักเสบจากการบาดเจ็บ หรือ ถูกทำลาย โรคเกี่ยวกับตับ อาการโรคตับอักเสบ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัว ข้อกระดูก และ กล้ามเนื้อ ไข้ต่ำๆ เบื่ออาหาร คลื่นไส้และอาเจียน ปวดท้องที่ใต้ชายโครงขวา ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะมีสีเข็ม อุจจาระมีสีซีด สาเหตุตับอักเสบเกิจากอะไร การรักษาตับอักเสบ และ ป้องกันอย่างไร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove