ต้นคำฝอย ( Safflower ) นิยมใช้ประโยชน์จากดอกของคำฝอย สกัดได้สีส้มจากธรรมชาติ สรรพคุณขับประจำเดือน บำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต ลดไขมันในเลือด ขับเสมหะ แก้โรคผิวหนัง

คำฝอย ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุรของคำฝอย

คำฝอย นั้นมีถิ่นกำเนิดในแถบประเทศตะวันออกกลาง สามารถเจริญเติบโตได้ดีทั้งในเขตหนาว และเขตร้อน สำหรับประเทศไทยมีการนำมาปลูกมากในภาคเหนือ เพื่อนๆหลายท่านคงไม่ทราบว่า ชาจากดอกคำฝอย เป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ เป็นเครื่องดื่มที่ไร้ซึ่งคาเฟอีน แถมยังมี สรรพคุณทางยาอีกต่างหาก เป็นสมุนไพรไทยที่ดีมากๆ

ดอกคำฝอย ชื่อภาษาอังกฤษ เรียก Carthamus tinetorius L. ต้นคำฝอย เป็นต้นไม้ที่พบได้ทางภาคเหนือของประเทศ  ชื่อเรียกอื่นๆของคำฝอย เช่น ดอกคำ คำยอง คำยุง คำหยุม เป็นต้น ดอกคำฝอย พบว่ามีบันทึกไว้ในกระดาษปาปิรัสของอียิปต์ ว่ามีการปลูกต้นคำฝอยบริเวณลุ่มน้ำยูเฟรติส สำหรับใช้เป็นสีผสมน้ำมันสำหรับพิธีกรรมการทำมัมมี่ และในปัจจุบันก็มีการปลูกต้นคำฝอยในพื้นที่อียิปต์ อินเดีย จีน และแถบประเทศที่มีอากาศเย็น เพื่อใช้สำหรับเป็นสีผสมอาหาร ผสมเนยแข็ง และสีย้อมผ้า เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของคำฝอย

นักโภชนาการได้ทำการศึกษาประโยชน์ของเมล็ดและดอกของคำฝอย พบว่า มีน้ำมัน 35 เปอร์เซ็นต์ โปรตีน 8-17 เปอร์เซ็นต์ กรดโอเลอิก 10-60 เปอร์เซ็นต์ กรดลิโนเลอิก 60-80 เปอร์เซ็นต์ ส่วนกลีบดอกคำฝอยปริมาณ 100 กรัม มีสารอาหารและสารเคมีประกอบ ประกอบด้วย น้ำมัน 0.83 เปอร์เซ็นต์ โปรตีน 5 เปอร์เซ็นต์ เถ้า 1.9 เปอร์เซ็นต์ กากใยอาหาร 10.4 เปอร์เซ็นต์ แคลเซียม 530 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 287 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 7.3 มิลลิกรัม สารคาร์ทามีดีน ( carthamidine ) ให้สีเหลือง และ สารคาร์ทามีน ( carthamine ) ให้สีแดง

ลักษณะของต้นคำฝอย

ต้นคำฝอย เป็นไม้ล้มลุก ความสูงประมาณ 1 เมตร ขอบใบเป็นหยักเหมือนฟันเลื่อย ปลายของใบจะแหลม เป็นพืชสมุนไพรที่ปลูกง่ายและชอบอากาศเย็น โดยลักษณะของต้นคำฝอย มีดังนี้

  • ลำต้นคำฝอย เป็นลักษณะสัน แตกกิ่งก้านมาก เป็นพืชที่มีอายุสั้น ทนแล้ง เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีระดับความสูงต่ำกว่า 1,000 เมตร ชอบดินร่วนปนทรายหรือดินที่มีการระบายน้ำได้ดี โดยอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการงอกจะอยู่ระหว่าง 5-15 องศาเซลเซียส ส่วนอุณหภูมิที่เหมาะสมในช่วงออกดอกคือ 24-32 องศาเซลเซียส ใช้ระยะเวลาการปลูกประมาณ 80-120 วันจนเก็บเกี่ยว
    ต้นคําฝอย
  • ใบคำฝอย มีใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปวงรี ลักษณะของใบคล้ายรูปหอกหรือรูปขอบขนาน ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ปลายเป็นหนามแหลม ใบมีความกว้างประมาณ 1-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-12 เซนติเมตร
  • ดอกคำฝอย ออกดอกรวมกันเป็นช่ออัดแน่นบนฐานดอกที่ปลายยอด มีดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก ดอกคำฝอยมีลักษณะกลมคล้ายดอกดาวเรือง เมื่อดอกคำฝอยบานใหม่ ๆ จะมีกลีบดอกสีเหลืองแล้วจึงค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีส้ม เมื่อแก่จัดดอกจะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดง ที่ดอกมีใบประดับแข็งเป็นหนามรองรับช่อดอกอยู่
  • ผลคำฝอย ลักษณะของผลคล้ายรูปไข่หัวกลับ ผลเบี้ยว ๆ มีสีขาวงาช้างปลายตัด มีสัน 4 สัน ขนาดของผลยาวประมาณ 0.6-0.8 เซนติเมตร ผลเป็นผลแห้งไม่แตก ด้านในผลมีเมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยมยาวรี เปลือกแข็ง มีสีขาว ขนาดเล็ก เมื่อผลแก่แห้งเมล็ดจะไม่แตกกระจาย

สรรพคุณของคำฝอย

การนำเอาต้นคำฝอย มาทำสมุนไพรนั้นสามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้ง ดอกสดและดอกแก่ เกสร และ เมล็ด โดยรายละเอียดดังนี้

  • ดอกคำฝอย จะมีรสหวาน ดอกคำฝอยมีสรรพคุณทางยา บำรุงโลหิต บำรุงระบบประสาท บำรุงหัวใจ ขับประจำเดือน ลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยป้องกันไขมันอุดตัน
  • ดอกคำฝอยแก่ เรานำมาทำสีผสมอาหารหากนำดอกคำฝอยแก่มาแช่น้ำจะให้สีเหลือง สามารถนำมาผสมในอาหารหรือผสมขนมให้สีสันที่ปลอดภัยและดีต่อสุขภาพของผู้บริโภค ดอกคำฝอยแก่ เรานิยมนำมาชงเป็นชา ที่แก่มาชงกับน้ำร้อน
  • เกสรของดอกคำฝอย มีสรรพคุณช่วย บำรุงโลหิต ช่วยขับประจำเดือน
  • เมล็ดของดอกคำฝอย สรรพคุณช่วยขับเสมหะ แก้โรคผิวหนัง หากนพเมล็ดมาบดและทาจะช่วยแก้อาการบวมได้

โทษของคำฝอย

สำหรับการนำคำฝอยมาใช้ประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและรักษาโรค มีข้อควรระวัง ดังนี้

  1.  สตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทาน เนื่องจากดอกคำฝอย มีฤทธิ์ขับประจำเดือน และทำให้กล้ามเนื้อมดลูกหดตัว อาจทำให้แท้งลูกได้
  2. ควรระมัดระวังการใช้ดอกคำฝอยร่วมกับยาในกลุ่มต้านเกร็ดเลือดแข็งตัว

แม้ว่าดอกคำฝอยจะเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณแทบจะครอบจักรวาล แต่ก็ยังมีข้อควรระวังก่อนทานเช่นกัน ดอกคำฝอยมักถูกใช้เป็นส่วนประกอบของยาสมุนไพร โดยจัดรวมกลุ่มใช้ด้วยกันกับยา หรือพืชตัวอื่นๆ จะไม่ใช้ดอกคำฝอยเดี่ยวๆ เพราะต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม มิเช่นนั้นอาจส่งผลกระทบต่อระบบเลือดได้ หากทานดอกคำฝอยมากเกินไป หรือติดต่อกันนานเกินไป อาจส่งผลให้มีอาการโลหิตจางได้ ซึ่งทำให้มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย วิงเวียนศีรษะ หรืออาจทำให้โลหิตประจำเดือนมามากผิดปกติ

ต้นคำฝอย ( Safflower ) คือ พืชสมุนไพร มีถิ่นกำเนิดในแถบประเทศตะวันออกกลาง ต้นคำฝอยนิยมใช้ประโยชน์จาก ดอกของคำฝอย ดอกคำฝอย สามารถสกัดเอาสีส้มได้ ใช้ผสมอาหาร  คุณค่าทางโภชนาการของดอกคำฝอย สรรพคุณของคำฝอย เช่น ขับประจำเดือน บำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต ลดไขมันในเลือด ขับเสมหะ แก้โรคผิวหนัง แก้บวม บำรุงระบบประสาท

แคนา สมุนไพร พืชท้องถิ่นใช้ประโยชน์ทุกส่วน สรรพคุณของขับประจำเดือน ดูแลช่องปาก ขับลม บำรุงโลหิต แก้ปวดเมื่อย แก้ไอ ขับเสมหะ เจริญอาหาร สำหรับสตรีหลังคลอดแคนา ดอกแค สมุนไพร สรรพคุณของแคนา

แคนา แคป่า แคขาว แคเค็ตถวา แคทราย แคแน หรือแคฝอย ทั้งหมดนี้ก็คือ แคนา ที่เรียกแตกต่างกันนแต่ละพื้นที่ แคนา มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dolichandrone serrulata (DC.) Seem. ชื่อสามัญว่า D.longissima Schum D.rheedii Seem ชื่อเรียกอื่นๆ ของแคนา เช่น แคขาว แคเค็ตถวา แคแน แคฝอย แคฝา แคภูฮ่อ แคแหนแห้ แคทราย แคยาว แคอาว แคยอดดำ เป็นต้น

แคนา หรือ แคป่า เป็นจัดเป็นผักป่า และไม้สมุนไพร รวมถึงเป็นไม้ประดับ และ ไม้มงคล เนื่องจากดอกนิยมนำมารับประทานคู่กับน้ำพริก ทั้งแบบรับประทานสด และแบบลวก นอกจากนั้น ยังเป็นไม้ที่ให้ดอกสวยงาม และให้ร่มเงาได้ดีจึงนิยมนำมาปลูกตามปั๊มน้ำมัน และสถานที่ราชการต่างๆ

ลักษณะของต้นแคนา

ต้นแคนา แคนาสามารถพบได้ตามป่า ทุ่ง นา หรือ ป่าเบญจพรรณ สามารถขนายพันธ์โดยการตอนกิ่ง การเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของลำต้น ความสูงประมาณ 10-20 เมตร เป็นพืชผลัดใบ มีเปลือกสีน้ำตาลอ่อ ผิวเปลือกเรียบ ลำต้นตั้งตรง ลักษณะใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว รูปไข่ ปลายแหลม ขอบใบหยัก ผิวใบด้านล่างจะมีขน ก้านใบยาว 10 มิลลิเมตรโดยประมาณ  ดอกใหญ่สีขาว รูปแตร โดยดอกจะช่วงมีนาคมถึงมิถุนายนของทุกปี ผลเป็นฝัก

สรรพคุณของแคนา

เรานำแคนามาทำสมุนไพร ในส่วนต่างๆ คือ ดอก เมล็ด ราก เปลือก และใบ โดยรายละเอียเดังนี้

  • ดอกของแคนา จะมีรสชาติหวานและเย็น สามารถนำมาทำอาหารลวกจิ้ม สามารถนำมาช่วย ขับเสมหะ ขับเลือดประจำเดือน ขับเลือด ช่วยเจริญอาหาร และขับลมได้
  • เมล็ดของแคนา จะมีรสชาติหวานและเย็น สามารถช่วยแก้อาการปวดเมื่อย แก้อาการโรคชัก
  • รากของแคนา จะมีรสชาติหวานและเย็น สามารถช่วย แก้เสมหะ ขับลม และบำรุงโลหิต
  • เปลือกของแคนา จะมีรสชาติหวานและเย็น สามารถช่วยแก้ ท้องอืด ท้องเฟ้อ และช่วยขับเลือด ใช้สำหรับสตรีหลังคลอด
  • ใบของแคนา จะมีรสเย็น เมื่อนำมาบด และน้ำมาพอกแผลได้ รักษาแผลในช่องปาก และนำมาบ้วนปาก ช่วยรักษาแผลในช่องปาก

โทษของแคนา

สำหรับโทษของแคนา การรับประทานดอกแคนา แบบสดๆอาจจเป็นอันตราย ดอกแคนา สรรพคุณเป็นยาขับเลือด ขับประจำเดือน สำหรับสตรมีครรภ์ หากใช้ดอกแคนาอาจทำให้เลือดออก ตกเลือด เป็นอันตรายต่อบุตรในครรภ์

การปลูกแคนา

สำหรับการปลูกและขยายพันธ์ของแคนานั้น ใช้การเพาะเมล็ด นอกจากการขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดแล้ว ยังสามารถขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่งและการปักชำ แต่ไม่เป็นที่นิยมนัก

การเก็บแคนา

การเก็บแคนา นั้นนิยมจะออกเก็บแคนาช่วงเช้าตรู่ประมาณตี 5  ถึง 7 โมงเช้า แต่หากนำไปขายจะเก็บตั้งแต่ตอนดึก เพราะถือเป็นการจับจองต้นแคนาคนแรก และจะสามารถเก็บดอกแคนาจากต้นอื่นได้มากกว่าคนที่มาสาย ทั้งนี้ เนื่องจากต้นแคนาที่พบตามป่าหรือตามทุ่งนาจะมีน้อยมาก เพราะเกษตรกรมักตัดโค่นออก และมักจะพบแคนาเกิดเป็นหย่อมๆในบางพื้นที่เท่านั้น

ต้นแคนา พืชท้องถิ่น ไม้ประดับ มีประโยชน์ทุกส่วน สรรพคุณของแคนา เช่น ขับประจำเดือน ดูแลช่องปาก เหงือกและฟัน ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม บำรุงโลหิต แก้ปวดเมื่อย แก้ไอ ขับเสมหะ เจริญอาหาร ยาสำหรับสตรีหลังคลอด

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove