ยอ พืชพื้นบ้าน สรรพคุณมากมาย นิยมใช้ประโยชน์จากลูกยอ ใบยอ ต้นยอเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณของยอ เช่น ช่วยขับประจำเดือน ช่วยขับลม โทษของยอ มีอะไรบ้างต้นยอ ลูกยอ สมุนไพร สรรพคุณของยอ

ต้นยอ ชื่อภาษาอังกฤษ คือ Indian Mulberry ชื่อวิทยาศาสตร์ของยอ คือ Molinda Critiforia Linn คุณค่าทางโภชานการของยอ และ สรรพคุณของยอ ประกอบด้วย ขับประจำเดือน ดูแลช่องปากเหงือกและฟัน ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม ยาระบาย รักษาริดสีดวงทวาร ลดไข้ แก้อาจียน แก้ท้องผูก แก้ปวดข้อ(โรคเก๊าท์) บำรุงหัวใจ บำรุงสายตา รักษาแผลเรื้อรัง แก้วัณโรค บำรุงธาตุ ช่วยเจริญอาหาร แก้เสียงแหบ แก้ร้อนใน

ต้นยอ มีชื่อภาษาอังกฤษ ว่า Great Morinda,Indian Mulberry ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Molinda Critiforia Linn ชื่อเรียกอื่นๆ ของยอ เช่น ยอแย่ใหญ่ ตาเสือ มะตาเสือ ยอบ้าน เป็นต้น ลูกยอ คือ สมุนไพรไทยชนิดหนึ่ง มีชื่อเรียก พื้นบ้านว่า ยอบ้าน มะตาเสือ แยใหญ่ ลูกยอถูกเรียกต่างกันออกไปตามแต่ละท้องถิ่น

คุณค่าทางโภชนาการของยอ

คุณค่าทางโภชนาการของลูกยอ มีการศึกษาผลลูกยอสด ขนาด 100 กรัม พบว่ามีสารสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีน 5.8 กรัม ไขมัน
1.2 กรัม ความชื้น 9.3 กรัม เถ้า 10.3 กรัม กากใยอาหาร 36 กรัม และ คาร์โบไฮเดรต 71 กรัม ลูกยอ ยังมี วิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกายหลากชนิด เช่น วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินบี 3 ธาตุแคลเซียม ธาตุเหล็ก ธาตุโพแทสเซียม ธาตุโซเดียม กรดไขมัน ลิกนิน พอลิแซ็กคาไรด์ ฟลาโอนอยด์ อีริดอยด์ สโครโปเลติน แอลคาลอยด์ เป็นต้น

ลักษณะของต้นยอ

ต้นยอ เป็นต้นไม้ยืนต้น ลำต้นตั้งตรง สูงประมาณ 8 เมตร เป็นต้นไม้ที่ไม่ผลัดใบ ใบหนาใหญ่สีเขียว มีดอกสีขาว ผลของต้นยก หรือ ลูกยอ จะเป็นวงรี มีตาเป็นปุ่มๆ ลูกสีเขียว และเมื่อสุกจะเปลี่ยยนเป็นสีขาวนวล

สรรพคุณทางยาของยอ

สามารถนำมาใช้ได้ ทั้งผลดิบ ผลสุก ใบ และราก

  • ลูกยอสุก เรานำมาใช้ช่วยขับลมในลำไส้
  • ใบของต้นยอ เรานำมาบำรุงสายตา บำรุงหัวใจ แก้ปวดตามข้อ(โรคเกาท์) แก้ท้องร่วง แก้เหงือกบวม คั้นเอาน้ำจากใบยอ มาทาแผล ช่วยรักษาแผลเรื้อรัง นำใบมาเป็นส่วนผสมยารักษาวัณโรค
  • ราก เรานำมาใช้เป็น ยาระบาย ช่วยแก้ท้องผูก
  • ผลดิบ สามารถนำมาช่วยขับลม บำรุงธาตุ ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับประจำเดือน แก้คลื่นไส้ แก้อาเจียน แก้อาการเหงือกเปื่อย แก้เสียงแหบ และสามารถช่วยแก้ร้อนใน

โทษของลูกยอ

ลูกยอสุกสรรพคุณช่วยย่อยอาหาร และ ขับลม แต่สำหรับหญิงที่ตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทานผลยอ เพราะ จะมีผลโดยตรงต่อระบบการหมุนเวียนของเลือดในครรภ์ และอาจทำให้แท้งบุตรได้

วิธีนำลูกยอมาใช้รักษาอาการอาเจียน สามารถทำได้โดย นำผลดิบยอ มาเผาไฟอ่อนๆ ให้ผิวของผลยอดำจากนั้นนำเนื้อของผลยอที่ถูกเผาไฟจนสุกมา สังเกตุว่าต้องให้เนื้อเป็นสีเหลือง จากนั้นนำไปต้มทานเป็นน้ำลูกยอ

วิธีการนำยอมารักษาอาการท้องผูก นำรากยอขนาดเส้นผ่านศูยน์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10 เซนติเมตร นำมาบดและต้มน้ำประมาณ 2 แก้ว ต้มประมาฯ 15 นาที ดื่มก่อนนอน 1 แก้ว จะช่วยให้ระบายได้ดีในตอนเช้า ช่วยรักษาอาการท้องผูก รักษาริดสีดวงทวาร ได้

วิธีนำยอมาใช้เป็นยาลดไข้ นำเปลือกของยอมาต้มน้ำประมาณ 15 นาที และนำไปดื่มประมาณวันละ 4 แก้ว จะช่วยลดไข้ได้ดี
ผลของลูกยอ เราสามารถนำมาทำเป็นน้ำหวาน น้ำลูกยอ ได้ ซึ่งรสชาติก็อร่อย เต็มไปด้วยสรรพคุณทางสมุนไพรมากมาบ

ลูกยอจัดเป็นยาสมุนไพรที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในเรื่องการช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน และถูกบรรจุอยู่ในยาสมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน โดยลูกยอสุกเป็นยาชั้นเลิศในการช่วยขับลมและช่วยย่อยอาหาร

ยอ พืชพื้นบ้าน สรรพคุณมากมาย นิยมใช้ประโยชน์จากลูกยอ ใบยอ ลักษณะของต้นยอ เป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณของยอ เช่น ช่วยขับประจำเดือน ช่วยขับลม โทษของยอ มีอะไรบ้าง

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ชะคราม ( Seablite ) พบได้ตามชายทะเล ใบชะครามนิยมนำมาทำอาหาร มีรสเค็ม คุณค่าทางอาหารของชะคราม ประโยชน์และสรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ รักษาหนองใน รักษาคอพอก บำรุงสายตาชะคราม ใบชะคราม สรรพคุณของชะคราม ประโยชน์ของชะคราม

ต้นชะคราม มีชื่อสามัญว่า Seablite ชื่อวิทยาศาสตร์ของชะคราม Suaeda maritime (L.) Dumort. จัดเป็นพืชในตระกูล Chenopodiaceae  ชื่อเรียกอื่นๆของชะคราม คือ ชักคราม ส่าคราม ชั้วคราม ล้าคราม ล่าคราม เป็นต้น ต้นชะครามถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย และ ทุกๆพื้นที่ทีีติดกับทะเล เจริญเติบโตได้ดีตามป่าโกงกาง ชายทะเล และ นาเกลือ เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาของชะคราม

นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบชะครามสด ขนาด 100 กรัม พบว่ามี สารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีน 1.81% ไขมัน 0.15% กากใยอาหาร 2.40% คาร์โบไฮเดรต 2.97% แคลเซียม 36.68 มิลลิกรัม โซเดียม 2,577 มิลลิกรัม วิตามินซี 0.14 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 1,683 ไมโครกรัม และ 1,265 ไมโครกรัม

ส่วนคุณค่าทางโภชนาการของใบชะคราม พบว่ายังมีสารอาหารสำคัญแต่เจือจางลงไปบ้าง ในการศึกษาคุณค่าทางโภชนากการของใบชะครามลวก ขนาด 100 กรัม พบว่า มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีน 1.58% ไขมัน 0.15% กากใยอาหาร 2.10% คาร์โบไฮเดรต 2.49% แคลเซียม 43.27 มิลลิกรัม
โซเดียม 1,656 มิลลิกรัม วิตามินซี 0.14 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 1,683 ไมโครกรัม 1,265 ไมโครกรัม

ลักษณะของต้นชะคราม

สำหรับ ต้นชะคราม เป็นพืชล้มลุก อายุหลายปี การขยายพันธ์ใช้การปักชำ มีลำต้นแตกกิ่งทรงพุ่มขนาดเล็ก จัดว่าเป็นวัชพืชชนิดหนึ่ง แต่ เติบโตเฉพาะพื้นที่ติดกับทะเล ลักษณะของต้นชะครามมี ดังนี้

  • ลำต้นชะคราม สูงประมาณไม่เกิน 150 เซ็นติเมตร ลำต้นอ่อนมีสีเขียว ลำต้นแก่มีสีน้ำตาลอมแดง ผิวของลำต้นเป็นตุ่มๆ เนื้อไม้อ่อน
  • รากของชะคราม มีรากแก้วแทงลึกลงดิน และรากแขนง
  • ใบชะคราม เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ใบมีลักษณะเป็นทรงกระบอกเกือบกลม เรียวยาว ปลายใบแหลม ใบอ่อนสีเขียวอ่อน ต่อมาที่เจริญเต็มที่จะมีสีเทาเงินอมเขียว ใบชะครามแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล หรือ สีคราม
  • ดอกชะคราม ออกเป็นช่อ ออกตามปลายกิ่ง กลีบดอกชะครามอ่อนมีสีเขียวอมเหลือง ส่วนกลีบดอกชะครามแก่มีสีแดงเรื่อ
  • ผลชะคราม ทรงกลม ขนาดเล็ก เปลือกผลอ่อนมีสีเขียวอมน้ำตาล ส่วนเปลือกผลแก่มีสีน้ำตาล ด้านในผลชะครามมีเมล็ด 1 เมล็ด

ประโยชน์ชะคราม

สำหรับประโยชน์ของชะครามนั้นนิยมนำมาทำอาหารรับประทาน ให้รสชาติเค็ม  นิยมนำมาเป็นส่วนผสมของแกงส้ม แกงมัสมั่น เป็นต้น ส่วนใบของชะครามมีสรรพคุณทางยามากมาย นำมาสะกัดน้ำมันเป็นส่วนผสมของยาสระผม ทำให้ผมเงางาม

สรรพคุณชะคราม

สำหรับประโยชน์ของชะครามในด้าน การบำรุงร่างกาย และ การรักษาโรคนั้น สามารถแยกสรรพคุณของส่วนต่างๆของชะครามได้ ดังนี้

  • ใบของชะคราม ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคหนองใน รักษาโรคคอพอก กระตุ้นระบบประสาท บำรุงสายตา แก้อาการตามัว รักษากลากเกลื้อน แก้อาการผื่นคัน ลดอาการบวมของแผล ลดอาการปวดจากแมลงกัดต่อย รักษารากผม แก้ผมร่วง
  • รากของชะคราม ใช้เป็นยาบำรุงกระดูก แก้พิษฝีภายใน ดับพิษในกระดูก แก้น้ำเหลืองเสีย ผื่นคัน แก้โรคผิวหนัง และ รักษาเส้นเอ็นพิการ
  • ลำต้นของชะคราม รักษารากผม แก้ผมร่วง

น้ำมันชะคราม

สำหรับคุณสมบัติขงน้ำมันชะคราม ใช้ดูแลเส้นผมทำให้ผมเงางาม ลดการหลุดร่วง วิธีทำน้ำมันชะคราม เตรียมวัตถุดิบ ประกอบด้วย ใบชะคราม 2 กิโลกรัม เนื้อมะพร้าวขูด 5 กิโลกรัม และ น้ำเปล่า 5 ลิตร

วิธีทำน้ำมันชะคราม โดยนำใบชะครามมาต้มในน้ำเดือด จากนั้นคนมาคั้นน้ำทิ้ง เหลือกากของใบชะคราม ให้นำมาสับให้เป็นชิ้นเล็กๆและใส่เนื้อมะพร้าวขูดและคลุกเคล้าให้เข้ากัน เติมน้ำเปล่าลงไป และ คั้นเอาน้ำของทั้งสามส่วน กรองด้วยผ้าขาวบาง และ นำไปเคี่ยวด้วยไฟอ่อนๆ จนกระทั่งนำมันออกมา ช้อนเอาเฉพาะน้ำมัน และ กรองเอาเศษต่างๆออก ก็จะได้น้ำมันชะคราม

ชะคราม ( Seablite ) คือ สมุนไพร พืชล้มลุก ที่สามารถพบได้ตามพื้นที่ชายทะเล ใบชะครามนิยมนำมาทำอาหาร ใบมีรสเค็ม คุณค่าทางอาหารของชะคราม ประโยชน์และสรรพคุณของชะครามมีอะไรบ้าง ใบชะคราม  ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคหนองใน รักษาโรคคอพอก กระตุ้นระบบประสาท บำรุงสายตา


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove