บัวบก ( Gotu kola ) สมุนไพร ต้นบัวบกเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ ประโยชน์และสรรพคุณรักษาแผล แก้ร้อนใน ลดความร้อนในร่างกาย เป็นยาเย็น ข้อควรระวังในการใช้ใบบัวบก

บัวบก สมุนไพร สรรพคุณของบัวบก ประโยชน์ของบัวบก

บัวบก (Gotu kola) สมุนไพร คุ้นหู มาทำความรู้จักกับ ต้นบัวบก และ สรรพคุณของบัวบก เป็นแผลให้ใบบัวบกช่วยให้หายได้เร็วขึ้น ประโยชน์และข้อควรระวังในการใช้ใบบัวบกในการรักษาโรคมีอะไรบ้าง ใบบัวบกเหมาะสำหรับคนที่ขี้ร้อน มีภาวะแกร่ง หรือมีความร้อนชื้น เพราะเป็น สมุนไพรที่มีฤทธิ์เป็นยาเย็น

ต้นบัวบก ภาษาอังกฤษ เรียก Gotu kola ชื่อวิทยาศาสตร์ของบัวบก คือ Centella asiatica (L.) Urb. เป็น พืชตระกูลเดียวกับผักชี สำหรับ บัวบก มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกหลายชื่อ ที่เรียกแตกต่างกันตามท้องถิ่น เช่น ผักหนอก , ผักแว่น , กะโต่ เป็นต้น

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของบัวบก

ต้นบัวบก เป็น พืชล้มลุก เป็น ไม้เลื้อย ขึ้นตามพื้นดิน เป็น พืชคลุมดิน ใบเป็นใบเดียว ออกตามข้อของลำต้น ใบออกเป็นกระจุก ตามข้อของลำต้น ใบลักษณะคล้ายรูปไต ขอบใบมนๆ ดอกของบัวบกคล้ายร่ม ออกเป็นช่อ กลีบดอกมีสีม่วงอมแดง ผลของบัวบกเป็นผลแห้ง ลักษณะแบนและแตก

คุณค่าทางโภชนาการของบัวบก

นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของใบบัวบก สดปริมาณ 100 กรัม พบว่ามีสารอาหารหลายชนิด ประกอบด้วย  วิตามินบี 1 แคลเซียม 146 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 3.9 มิลลิกรัม เบตาแคโรทีน 2,428 ไมโครกรัม และวิตามินซี 15 มิลลิกรัม

นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษา ใบบัวบก อย่างจริงจัง พบว่ามีสารสำคัญหลายชนิด เช่น วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 6 วิตามินเอ วิตามินเค ธาตุแคลเซียม ธาตุแมกนีเซียม ธาตุโซเดียม สารบราโมซัยด์ สารบรามิโนซัยด์ สารไตรเตอพีนอยด์ สารมาดิแคสโซซัยด์ กรดมาดิแคสซิค  และกรดอะมิโน หลายตัว เช่น แอสพาเรต กรดกลูตามิก เซรีน ทรีโอนีน อะลานีน ไลซีน ฮีสทีดิน เป็นต้น

สรรพคุณของบัวบก

สำหรับการใช้ประโยชน์ของบัวบก ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นิยมใช้ ใบบัวบก ทั้งใบสดและใบแห้งมาใช้ประโยชน์ ซึ่งเราได้รวม สรรพคุณของใบบัวบก ดังนี้

  • ช่วยชะลดวัย ลดการเหี่ยวย่นของผิวพรรณ
  • ใบบัวบกเป็นยาอายุวัฒนะ
  • ใบบัวบกช่วยเสริมสร้าง และกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและอีลาสติน
  • ใบบัวบกช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งในร่างกาย มีสารยับยั้งหรือชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง
  • ใบบัวบกช่วยบำรุงและรักษาสายตา รวมถึงฟื้นฟูโดยรอบของดวงตา
  • ช่วยรักษาอาการอักเสบและบวมแดงของตา
  • ใบบกช่วยบำรุงระบบประสาทและสมอง ช่วยให้ความจำดีขึ้น ทำให้มีปฏิภาณไหวพริบดี ช่วยเพิ่มความจำสำหรับผู้สูงวัย ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ และสมองเสื่อม ช่วยเพิ่มการมีสมาธิ แก้ปัญหาสมาธิสั้นได้
  • ช่วยแก้อาการปวดหัว รักษาอาการไมเกรน แก้ปวดหัวข้างเดียว ลดอาการเวียนหัว
  • ช่วยให้ผ่อนคลาย ลดความเครียด ให้นอนหลับสบาย ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย เมื่อยล้า
  • ช่วยบำรุงเลือด ช่วยทำให้เลือดระบบเลือดทำงานได้ดีขึ้น ช่วยกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อของร่างกาย เป็นยาบำรุง
  • ช่วยบำรุงหัวใจ ระบบการทำงานของหัวใจสมดุลย์ ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง
  • ช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกายสำหรับคนป่วย
  • ช่วยให้ความชุ่มชื่นของลำคอ บำรุงเสียง ช่วยรักษาอาการเจ็บคอ ช่วยแก้กระหายน้ำ ช่วยแก้อาการร้อนใน ช่วยลดไข้ ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ
  • ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวานได้
  • รักษาโรคดีซ่าน รักษาโรคโลหิตจาง ช่วยรักษาอาการหอบหืด ช่วยรักษาโรคลมชัก
  • รักษาอาการเต้านมอักเสบ ที่เป็นหนองในระยะแรก
  • ช่วยเจริญอาหาร ป้องกันอาการท้องเสีย ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหารเป็นแผล
  • ใบบัวบกใช้เป็นยาระบาย ช่วยระบายท้อง แก้ลม
  • ใบบัวบกใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้อาการปัสสาวะติดขัด ป้องกันการเกิดนิ่ว ช่วยรักษาโรคนิ่วที่ทางเดินปัสสาวะ
    ช่วยรักษาอาการหนอง ที่ออกจากปัสสาวะ รักษาหนองใน
  • บำรุงม้าม รักษาโรคม้ามโต ช่วยแก้อาการน้ำดีที่มีมากเกินไปในร่างกาย
  • แก้อาการปวดข้อรูมาตอยด์ รักษาโรครูมาตอยด์ได้
  • ใช้เป็นยาห้ามเลือด รักษาแผลสด ทำให้แผลหายเร็วขึ้น แก้ฟกช้ำ
  • ใบบัวบกช่วยรักษาอาการแมลงสัตว์กัดต่อย ช่วยรักษาโรคผิวหนัง เช่น รักษาโรคเรื้อน รักษาโรคสะเก็ดเงิน รักษาหิด รักษาหัด เป็นต้น ช่วยระงับการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ช่วยลดอาการอักเสบของแผลได้
  • ใบบัวบกใช้เป็นยาถอนพิษ ช่วยรักษาแผลน้ำร้อนลวก ลดอาการปวดแสบปวดร้อนจากแผลไฟไหม้ และยังช่วยป้องกันการเกิดแผลซ้ำ
  • ใบบัวบกช่วยบำรุงหนังศีรษะและเส้นผม ทำให้เส้นผมดกดำ รักษาอาการผมร่วง
  • ใบบัวบก เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางค์ ช่วยบำรุงผิว และป้องกันเชื้อแบคทีเรียที่ผิว นำสารสกัดเป็นสบู่ใบบัวบก ช่วยรักษาสิว ทำให้ผิวขาว ใบหน้าเต่งตึง

ข้อควรระวังในการใช้บัวบก

  • ใบบัวบก ไม่เหมาะสำหรับคนที่มี ภาวะตัวเย็น จะทำให้ร่างกายยเย็นขึ้นและท้องอืด
  • การกินบัวบกมากเกินไป ไม่ดี เนื่องจากใบบัวบกเป้นยาเย็น หากมีปริมาณมากเกินไปจะทำให้ ร่างกายเสียสมดุลถ้ากิน ใบสด ปริมาณครั้งละ 10 ถึง 20 ใบต่อสัปดาห์ ถือว่าอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม แต่ไม่ควรกินทุกวันอาจเป็นพิษต่อร่างกายได้
  • ไม่ควรนำใบบักบกมาตากแห้ง เพราะจะเสียคุณค่าทางตัวยา ใบบัวบกจะนำมาสกัดให้อยู่ในรูปแบบน้ำมันหอมระเหย

ต้นบัวบก พืชสมุนไพร ที่มีต้นกำเนิดในแถบเอเชีย เป็น พืชล้มลุก มีขนาดเล็ก มีกลิ่นฉุน รสขมอมหวาน สามารถใช้รักษาโรคมากมาย บัวบก ทำให้แผลให้หายได้เร็วขึ้น และ ลดอาการอักเสบของแผล มีการศึกษาพบว่า ใน ใบบัวบก มี กรดมาเดคาสสิก กรดอะเซียติก และ สารอะเซียติโคไซด์ มีสรรพคุณช่วยในการสมานแผลและลดการอักเสบ

เราจะเห็นว่ามียาหลายชนิด ทั้ง ยาแผนปัจจุบัน และ ยาแผนโบราณ ที่มีส่วนผสมของใบบัวบก ซึ่งผลิตออกมาในรูปแบบ ครีม ผง ยาเม็ด เป็นต้น และยังมีการสกัดสารสำคัญที่ได้จากใบบัวบก ซึ่งสารที่สกัดได้จากใบบัวบก มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสและต้านอนุมูลอิสระ

นอกจาก ใบบัวบก มีสรรพคุณทางยา ใบสดของบัวบก สามารถนำมาทำอาหาร รับประทานเป็นผักสดได้ อาหารไทย ก็ หลายมี เมนูอาหาร ที่มีบัวบกเป็นผัก เช่น ผัดไทย ผัดหมี่ หมี่กะทิ ขนมจีน ลาบ ยำ รวมถึงนำใบสดมาคั้นทำ น้ำใบบัวบก การกินใบบัวบกสดๆ ช่วยแก้อาการเวียนหัว ท้องร่วง รักษาอาการถ่ายเป็นเลือด รักษาอาการแขนขากระตุก

บัวบก ( Gotu kola ) สมุนไพร ลักษณะของต้นบัวบก เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของบัวบก ประโยชน์และสรรพคุณของบัวบก เช่น รักษาแผล แก้ร้อนใน ลดความร้อนในร่างกาย เป็นยาเย็น ข้อควรระวังในการใช้ใบบัวบก มีอะไรบ้าง

ถั่วเหลือง ( soybean ) สมุนไพร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณบำรุงโลหิต ลดคอเลสเตอรอล ป้องกันโรคหัวใจ ลดน้ำตาลในเลือด บำรุงกระดูก ป้องกันโลหิตจาง โทษของถั่วเหลือง

ถั่วเหลือง สมุนไพร พืชตระกลูถั่ว ประโยชน์ของถั่วเหลือง

ต้นถั่วเหลือง ภาษาอังกฤษ เรียก soybean ชื่อวิทยาศาสตร์ของ ถั่วเหลือง เรียก Glycine max (L.) Merr. จัดเป็นพืชตระกลูถั่ว สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของถั่วเหลือง อาทิเช่น ถั่วแระ ถั่วพระเหลือง ถั่วแม่ตาย มะถั่วเน่า ถั่วเน่า ถั่วหนัง โชยุ โซยาบีน อึ่งตั่วเต่า เฮ็กตั่วเต่า เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของถั่วเหลือง

นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางอาหารของถั่วเหลือง ขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงาน 446 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารต่างๆ ดังนี้ คาร์โบไฮเดรต 30.16 กรัม น้ำ 8.54 กรัมถั่วงอกหัวโต น้ำตาล 7.33 กรัม เส้นใย 9.3 กรัม ไขมัน 19.94 กรัม ไขมันอิ่มตัว 2.884 กรัม ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว 4.404 กรัม ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน 11.255 กรัม โปรตีน 36.49 กรัม ทริปโตเฟน 0.591 กรัม ทรีโอนีน 1.766 กรัม ไอโซลิวซีน 1.971 กรัม ลิวซีน 3.309 กรัม ไลซีน 2.706 กรัม เมทไธโอนีน 0.547 กรัม ซิสทีน 0.655 กรัม ฟีนิลอะลานีน 2.122 กรัม ไทโรซีน 1.539 กรัม วาลีน 2.029 กรัม อาร์จินีน 3.153 กรัม ฮิสตามีน 1.097 กรัม อะลานีน 1.915 กรัม กรดแอสปาร์ติก 5.112 กรัม กลูตามิก 7.874 กรัม ไกลซีน 1.880 กรัม โพรลีน 2.379 กรัม ซีรีน 2.357 กรัม วิตามินเอ 1 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.874 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.87 มิลลิกรัม วิตามินบี3 1.623 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.793 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.377 มิลลิกรัม วิตามินบี9 375 ไมโครกรัม โคลีน 115.9 มิลลิกรัม วิตามินซี 6.0 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.85 มิลลิกรัม วิตามินเค 47 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 277 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 15.7 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 280 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 2.517 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 704 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 1,797 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 2 มิลลิกรัม และธาตุสังกะสี 4.89 มิลลิกรัม

ลักษณะของต้นถั่วเหลือง

ต้นถั่วเหลือง เป็นไม้พุ่ม มีความสูงประมาณ ไม่เกิน 150 เซนติเมตร ลักษณะของต้นถั่วเหลือง มีรายละเอียด ดังนี้

  • รากของถั่วเหลือง เป็นระบบรากแก้ว ลึกประมาณ 45 เซนติเมตร มีรากแขนง
  • ใบของถั่วเหลือง เป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบมีรูปร่างหลายแบบ เช่น รูปไข่จนถึงเรียวยาว  ใบมีขน
  • ดอกของถั่วเหลือง ออกเป็นช่อ มีช่อดอกเป็นแบบกระจะ ดอกมีสีขาวหรือสีม่วง ดอกจะออกตามมุมของก้านใบหรือตามยอดของลำต้น
  • ฝักของถั่วเหลือง ฝักจะออกเป็นกลุ่ม กลุ่มหนึ่งมีประมาณ 2 ถึง10 ฝัก ฝักมีขนสีเทา ฝักยาวประมาณ 2 ถึง 7 เซนติเมตร ในฝักมีเมล็ด ฝักอ่อน จะมีสีเขียว ฝักสุกจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
  • เมล็ดของถั่วเหลือง มีสีเหลือง สีเขียว สีน้ำตาล หรือสีดำ เมล็ดจะมีขนาดและรูปร่างที่ต่างกัน

สรรพคุณของถั่วเหลือง

การใช้ถั่วเหลืองนั้นจะใช้เมล็ด ซึ่งใช้ทั้งกากเมล็ด เปลือกเมล็ด และเนื้อของเมล็ด ซึ่ง เราจะแยกเป็นรายละเอียดของสรรพคุณด้านสมุนไพรของถั่วเหลือง มีดังนี้ ใช้บำรุงโลหิต ช่วยป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด ป้องกันมะเร็ง ช่วยลดโอกาสเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ลดการเกิดมะเร็งเต้านม ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ช่วยป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาเบาหวานได้ ช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยให้เลือดลมเดินสะดวก ช่วยถอนพิษ ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง แก้อาการปวดหัว  ช่วยเจริญอาหาร ช่วยบำรุงระบบย่อยอาหาร ช่วยแก้โรคบิด เป็นยาระบาย ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยปรับฮอร์โมนในสตรี บำรุงม้าม ทดแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ได้ ช่วยรักษาแผลเปื่อย รักษาแผลเน่าเปื่อย ใช้ห้ามเลือด ช่วยแก้ปวด ใช้เป็นยารักษาต้อกระจก

ข้อควรระวังสำหรับการบริโภคถั่วเหลือง

ถั่วเหลืองถึงจะมีประโยชน์มากมาย แต่ก็ยังมีข้อควรระวังอยู่บ้าง สำหรับข้อควรระวังในการกินถั่วเหลืองนั้นมีดังนี้

  • ในถั่วหลืองมีโปรตีนสูง สำหรับผู้ที่มีอาการแพ้โปรตีนจากถั่วเหลือง ให้งดรับประทาน โดยอาการสามารถสังเกตุได้จาก อาการผื่นคัน
  • โปรตีนจากถั่วเหลืองจะทำให้เกิดอาการ ท้องอืด แน่นท้อง ได้สำหรับเด็กและคนที่มีประวัติโรคหอบหืด
  • การดื่ม มมถั่วเหลือง ในเด็กทารก เพียงอย่างเดียว นั้นมีโอกาสทำให้ต่อมไทรอยด์จะทำงานผิดปกติได้ เนื่องจากนมถั่วเหลืองไม่มีสารไอโอดีน
  • ในนมถั่วเหลืองมีสารไฟโตเอสโตรเจน ในเพศชายหากรับประทานมากเกินไป จะทำใหเนมโต และจำนวนอสุจิลดลง
  • โปรตีนจากถั่วเหลือง ทำให้เนื้อเยื่อเต้านมหนาตัวยิ่งขึ้น อาจทำให้มีการสร้างน้ำนมที่ผิดปกติ
  • โปรตีนในถั่วเหลืองมีไฟเตตสูง ซึ่งจะเป็นตัวยับยั้งการดูดซึมเกลือแร่ในร่างกาย โดยเฉพาะกับแคลเซียม ธาตุเหล็ก แมกนีเซียม และสังกะสี
  • ถั่วเหลืองมีสาร Hemagglutinin ที่เป็นตัวทำให้เม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวจับตัวกันเป็นก้อน ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของเม็ดเลือดต่ำลง
  • การรับประทานถั่วเหลืองเป็นประจำ อาจทำให้เกิดภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ อาการที่พบคือ เจ็บส้นเท้า อ่อนเพลีย อ้วน

ถั่วเหลือง ประโยชน์และโทษถั่วเหลือง สรรพคุณถั่วเหลือง  ถั่วเหลือง ภาษาอังกฤษ Soybean น้ำมันถั่วเหลือง สารสกัดจากถั่วเหลือง นมถั่วเหลือง โปรตีนถั่วเหลือง เป็นพืชเศรษฐกิจที่เหมาะสำหรับปลูกสลับกับการปลูกข้าว อันตรายจากถั่วเหลือง ในน้ำนมถั่วเหลือง มีสารไฟโตเอสโตรเจน ช่วยทำให้ระบบเลือดดีขึ้น แล้วยังช่วยทำให้สิวลดลงด้วย

ถั่วเหลือง นั้นเป็นธัญพืช เป็นที่รู้จักกันดีในสังคมไทย และชาวจีน อย่าง นมถั่วเหลือง น้ำเต้าหู้ น้ำมันถั่วเหลือง หรือแม้แต่ขนมหวาน จะมีถั่วเหลืองเป็นส่วนประกอบ วันนี้เรามาทำความรู้จักกับถั่วเหลือง เป็นอย่างไร มีสรรพคุณอะไรบ้าง มีคุณค่าทางอาหารอย่างไร ข้อควรระวังในการกินถั่วเหลือง บทความนี้เราจะให้รู้จักกับถั่วเหลืองอย่างละเอียด

ถั่วเหลือง หรือ Soybean เป็นสมุนไพร ประเภทพืชเถา เป็นพืชเศรษฐกิจ สามารถปลูกได้ในประเทศแถบร้อนและอบอุ่น แหล่งกำเนิดของ ถั่วเหลือง จะอยู่ที่ประเทศจีน ในปัจจุบันประเทศไทยมี การปลูกถั่วเหลือง ทางภาคกลางตอนบรและภาคเหนือ ประเทศที่มีการผลิตถั่วเหลืองมากที่สุดในโลก คือ สหรัฐอเมริกา รองลงมาเป็น ประเทศบราซิล และจีน ตามลำดับ

ถั่วเหลือง ( soybean ) พืชตระกลูถั่ว สมุนไพร ประโยชน์ของถั่วเหลือง คุณค่าทางโภชนาการของถั่วเหลืือง สรรพคุณของถั่วเหลือง บำรุงโลหิต ป้องกันมะเร็ง ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ช่วยป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาเบาหวาน ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง โทษของถั่วเหลือง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove