มะกอก มะกอกป่า ผลมีรสเปรี้ยว ให้ผลตลอดปี ผลนำมะสกัดทำน้ำมันมะกอกได้ สรรพคุณของมะกอก ช่วยขับปัสสาวะ แก้กระหาย ลดความดัน ลดความอ้วน บำรุงผิว โทษของมะกอกมีอะไรบ้ามะกอก สรรพคุณของมะกอก น้ำมันมะกอก โทษของมะกอก

ต้นมะกอก เป็นไม้ยืนต้น พืชท้องถิ่นที่มีถิ่นกำเนิดในเขตเอเชีย เช่น อินเดีย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย มะกอกเป็นพืชที่ให้ผลได้ตลอดทั้งปี สำหรับมะกอกในประเทศไทย สามารถพบได้ทุกภูมิภาค พบมากในป่าเบญจพรรณและป่าแดง สามารถขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

ต้นมะกอก มีชื่อสามัญ ว่า Hog plum ชื่อวิทยาศาสาตร์ของมะกอก คือ Spondias pinnata (L. f.) Kurz จัดเป็นพืชตระกูลเดียวกับมะม่วง ชื่อเรียกอื่นๆของมะกอก เช่น กูก กอกกุก กอกเขา ไพแซ กอกหมอง กราไพ้ย ไพ้ย ตะผร่าเหมาะ กอกป่า มะกอกไทย มะกอกป่า สือก้วยโหยว โค่ยพล่าละ แผละค้อก เพี๊ยะค๊อก ลำปูนล ตุ๊ดกุ๊ก ไฮ่บิ้ง เป็นต้น

ชนิดของมะกอก

สำหรับมะกอกในประเทศไทย พบว่ามีมะกอก 4 ชนิด คือ มะกอกป่า มะกอกฝรั่ง มะกอกน้ำ และ มะกอกโอลีฟ ซึ่งมะกอกฝรั่ง เป็นมะกอกที่มีผลรสหวาน นิยมนำมารับประทานสดเป็นผลไม้ ส่วนมะกอกน้ำนิยมนำมาดองและแช่อิ่ม และ มะกอกโอลีฟจะนำมาสกัดเอาน้ำมันมะกอก

ลักษณะของต้นมะกอก

ต้นมะกอก พืชตระกลูมะม่วง สามารถขยายพันธ์ได้โดยการเพาะเมล็ด มีถิ่นกำเนิดในเขตประเทศแถบเอเชียรวมถึงประเทศไทย มักพบขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าแดง และ ป่าดิบแล้งทุกภาคของประเทศไทยด้วย เป็นไม้ยืน ลักษณะของต้นมะกอก มีดังนี้

  • ลำต้นมะกอก ลำต้นตั้งตรง ลักษณะกลม ความสูงประมาณ 25 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้าน เปลือกของลำต้นเป็นสีเทา ลักษณะเปลือกหนา เรียบ มีปุ่มปมเล็กน้อย มีรูอากาศตามลำต้น
  • ใบมะกอก เป็นใบประกอบ ลักษณะแบบขนนก มีชั้นเดียว เรียงสลับตามกิ่ง เนื้อใบหนา เป็นมัน ท้องใบเรียบ ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบไม่เท่ากัน ใบอ่อนสีน้ำตาลแดง
  • ดอกมะกอก ออกเป็นช่อ ลักษณะเป็นรูปถ้วย ดอกมะกอกออกที่ปลายกิ่ง และ ซอกใบ ดอกย่อยเป็นสีครีม กลีบดอกเป็นรูปรี ปลายกลีบดอกแหลม ดอกมะกอกจะออกในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์
  • ผลมะกอก ลักษณะของผลเป็นรูปไข่ ผลสดมีเนื้อฉ่ำน้ำ เป็นสีเขียว ผลแก่เป็นสีเหลืองอมสีเขียว หรือ สีเหลืองอ่อน รสเปรี้ยวจัด มีเมล็ดเดี่ยวขนาดใหญ่และแข็งมาก ภายในผล ผิวเมล็ดลักษณะเป็นเสี้ยนและขรุขระ

คุณค่าทางโภชนาการของมะกอก

สำหรับมะกอก มีรสเปรี้ยว สามารถนำมารับประทานแต่งรสชาติอาหาร และ นำมาสกัดทำน้ำมันมะกอก ซึ่ง ในมะกอกมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ประกอบด้วย พลังงาน กากใยอาหาร แคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก เบต้าแคโรทีน วิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2 ไนอาซิน และ วิตามินซี

คุณค่าทางโภชนาการของผลมะกอก ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 46 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย กากใยอาหาร 16.7 กรัม สารต้านอนุมูลอิสระ ( เบตาแคโรทีน ) 2,017 ไมโครกรัม วิตามินเอ 337 ไมโครกรัม วิตามินซี 53 มิลลิกรัม และ แคลเซียม 49 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของใบอ่อนมะกอก ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 46 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย กากใยอาหาร 16.7 กรัม แคลเซียม 49 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 2017 ไมโครกรัม วิตามินเอ 337 ไมโครกรัม และ วิตามินซี 53 มิลลิกรัม ยอดอ่อนของมะกอกนิยมนำมารับประทานเป็นผักสด สรรพคุณของใบอ่อนมะกอก ใช้แก้โรคบิด แก้โรคธาตุพิการ แก้ท้องเสีย เป็นต้น

สรรพคุณของมะกอก

มะกอกสามารถนำมาใช้ประโยชน์มากมาก ทั้งด้านาการรักษาโรคและบำรุงร่างกาย รวมถึงนำมาเป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์บำรุงร่างกายและความสวยงาม สามารถใช้ประโยชน์จาก เปลือก ใบ ผล เมล็ด โดยสรรพคุรของมะกอก มีดังนี้

  • เปลือกลำต้นมะกอก มีรสฝาดเย็นเปรี้ยว สรรพคุณบำรุงร่างกาย แก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำ ช่วยทำให้ชุ่มคอ ช่วยแก้อาเจียน ช่วยแก้อาการสะอึก แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ บำรุงทางเดินอาหาร แก้ท้องเสีย ช่วยสมานแผล แก้ปวดข้อ
  • ใบมะกอก มีรสฝาดเปรียว สรรพคุณบำรุงร่างกาย แก้หูอักเสบ แก้ปวดหู แก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำ ช่วยทำให้ชุ่มคอ รักษาอาการปวดท้อง รักษาอาการท้องเสีย
  • ผลมะกอก รสเปรี้ยว สรรพคุณบำรุงร่างกาย ช่วยแก้โรคขาดแคลเซียม แก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำ ช่วยทำให้ชุ่มคอ รักษาเลือดออกตามไรฟัน ช่วยขับปัสสาวะ ลดไข้ แก้โรคน้ำกัดเท้า
  • เนื้อผลมะกอก มีรสเปรี้ยว สรรคุณช่วยแก้ธาตุพิการ รักษาอาการน้ำดีไม่ปกติ รักษากระเพาะอาหารพิการ
  • รากมะกอก มีรสฝาดเย็น สรรพคุณแก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำ ช่วยทำให้ชุ่มคอ ช่วยขับปัสสาวะ
  • เมล็ดของมะกอก สรรพคุณ แก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำ ทำให้ชุ่มคอ ช่วยแก้อาการสะอึก ช่วยขับปัสสาวะ

ประโยชน์ของมะกอก

การใช้ประโยชนืจากมะกอก โดยหลักๆจะนำมาใช้ประโยชน์ในการเป็นอาหารใช้รับประทานใบอ่อนเป้นผักสด และ ผลมะกอก ให้รสเปรี้ยว ใช้แต่งรสชทติของอาหาร นอกจากการนำมาทำเป็นอาหารรับประทานแล้ว ยางจากต้นมะกอกเป็นเมือก สามารถนำมาใช้ติดของแทนกวาได้ และ เนื้อไม้ของมะกอก เป็นไม้เนื้ออ่อน นำมาทำไม้จิ้มฟัน ทำกล่องไม้ขีด ทำกล่องใส่ของ หีบศพ เป็นต้น และผลของมะกอกสามารถนำมาสกัดทำ น้ำมันมะกอก ได้

น้ำมันมะกอก

น้ำมันมะกอก ( Olive Oil ) คือ น้ำมันี่สามารถสกัดจากผลมะกอก สามารถนำน้ำมันมะกอก ใช้ทำอาหารได้ และ ยังนำน้ำมันมะกอกมาเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น สบู่ พลาสเตอร์ น้ำมันนวด วัสดุอุดฟัน เป็นต้น

น้ำมันมะกอก ชนิดบริสุทธิ์พิเศษ ( Extra Virgin Olive Oil ) มีคุณสมบัติมากกว่าน้ำมันมะกอกทั่วไป เนื่องจาก กระบวนการผลิตที่แตกต่าง ทำให้คงคุณค่าและสารอาหารจากมะกอกได้มาก น้ำมันมะกอก มีประโยชน์ต่อร่างกาย สารอาหารสำคัญที่พบในน้ำมันมะกอก เช่น กรดไขมันต่างๆ กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว

ประโยชน์ของน้ำมันมะกอก

สำหรับการใช้นำมันมะกอกมีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยประโยชน์ของน้ำมันมะกอก มีดังนี้

  • ช่วยลดความเสี่ยงโรคไขมันในเลือดสูง และ โรคหลอดเลือดหัวใจ น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ เป็นผลดีต่อผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย
  • ช่วยลดน้ำหนัก น้ำมันมะกอกมีไขมันต่ำ ผู้ที่บริโภคอาหารที่มีน้ำมันมะกอกมีน้ำหนักตัวที่ลดลงมากกว่าผู้ที่บริโภคอาหารไขมันต่ำตามมาตรฐานทั่วไป
  • ช่วยลดความดันโลหิต ในน้ำมันมะกอกช่วยลดความดันโลหิต และช่วยปรับปรุงการทำงานของหลอดเลือดหัวใจให้ดีขึ้นได้ในผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูงระดับที่ไม่รุนแรงมาก
  • รักษาอาการท้องผูก น้ำมันมะกอกใช้รักษาภาวะท้องผูก การถ่ายอุจจาระไม่สุด อุจจาระเป็นก้อนแข็ง ขับถ่ายลำบาก
  • มีสารต้านอนุมูลอิสระ น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ มี สารไลโคปีน ( Lycopene ) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านการต้านอนุมูลอิสระในระบบทางเดินปัสสาวะ ช่วยป้องกันโรคและการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับภาวะเครียด
  • ช่วยบำรุงผิวพรรณ รักษาผิวแตกลาย น้ำมันมะกอกสามารถทำให้ผิวพรรณเกิดความชุ่มชื่น ทำให้การบำรุงผิวพรรณดี ให้เต่งตึงลดการเกิดผิวแตกลายในผู้หญิงตั้งครรภ์

โทษของมะกอก

การใช้ประโยชน์จากมะกอก โดยเฉพาะน้ำมันมะกอก หากใช้ในปริมาณที่เหมาะสมและใช้อย่างถูกวิธีจะช่วยให้ร่างกายดีแต่หากใช้ไม่เหมาะสมก็เกิดโทษต่อร่างกายได้ ข้อควรระวังในการใช้มะกอก มีดังนี้

  • น้ำมันมะกอก สามารถรับประทานได้โดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย หากบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม คือ วันละ 2 ช้อนโต๊ะ สูงสุดไม่เกิน 1 ลิตรต่อสัปดาห์
  • การใช้น้ำมันมะกอกบำรุงผิวหนัง หากใช้มากเกิดไป อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น เกิดอาการแพ้ที่ผิวหนัง ผิวหนังอักเสบ เป็นต้น
  • สำหรับสตรีมีครรภ์และกำลังให้นมบุตร ควรระมัดระวังในการใช้น้ำมันมะกอก และ ไม่บริโภคน้ำมันมะกอกมากเกินไป
  • สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน น้ำมันมะกอกสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพจากระดับน้ำตาลในเลือดที่อาจเกิดการเปลี่ยนแปลง ควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นระยะๆ
  • สำหรับผู้ป่วนที่เข้ารับการผ่าตัด น้ำมันมะกอกอาจส่งผลต่อการลดระดับน้ำตาลในเลือดลด ส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งระหว่างการผ่าตัด ควรหยุดใช้น้ำมันมะกอกประมาณ 2 สัปดาห์ ก่อนเข้ารับการผ่าตัด

มะกอก มะกอกป่า คือ พืชพื้นเมืองของไทย ผลมีรสเปรี้ยว ให้ผลตลอดปี สามารถนำมะสกัดทำน้ำมันมะกอกได้ สรรพคุณของมะกอก เช่น ขับปัสสาวะ แก้กระหาย ลดความดัน ลดความอ้วน บำรุงผิว โทษของมะกอกมีอะไรบ้าง

ต้นกระจับ วัชพืชทางน้ำ สมุนไพร คุณค่าทางโภชนาการของกระจับ ประโยชน์และสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง แก้ปวดท้อง บำรุงผิว บำรุงกระดูก เป็นต้น โทษของกระจับเป็นอย่างไรบ้างต้นกระจับ กระจับ สรรพคุณของกระจับ สมุนไพร

ต้นกระจับ ชื่อสามัญ เรียก Water Chestnut  กระจัม มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Trapa bicornis Osbeck ชื่อเรียกอื่นๆของกระจับ เช่น กะจับ มาแง่ง พายับ เขาควาย สำหรับต่างประเทศที่ปลูกต้นกระจับมาก เช่น จีน ไต้หวัน และ อินเดีย เป็นต้น

ประเภทของต้นกระจับ

สำหรับการแบ่งประเภทของต้นกระจับ สามารถแบ่งประเทของกระจับได้ 2 ประเภท คือ กระจับสองเขา และ กระจับสี่เขา รายละเอียด ดังนี้

  • ต้นกระจับสองเขา ได้แก่ กระจับเขาแหลม และ กระจับเขาทู่
  • ต้นกระจับสี่เขา ได้แก่ กระจ่อม ( Jesuit Nut ) และ กระจับ ( Tinghara Nut )

ต้นกระจับในประเทศไทย

กระจับ พบมากในจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นลักษณะของวัชพืชน้ำ ประเทศไทยไม่นิยมปลูกกระจับเพื่อประโยชน์ทางอาหาร แต่พบว่ามีการนำกระจับมาปลูกเพื่อใช้เป็นไม้ประดับ สำหรับการปลูกต้นกระจับเพื่อรับประทานฝัก และ เพื่อจำหน่ายฝักกระจับ พบว่ามีการปลูกมากในทุกภาค เช่น ภาคกลาง ( ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี อุทัยธานี ) ภาคใต้ นครศรีธรรมราช

คุณค่าทางโภชนากการของกระจับ

สำหรับคุณค่าทางอาหารของกระจับ นักโภชนากการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนากการของเนื้อฝักกระจับ ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 117 แคลอรี่ มีความชื้น 70% มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีน 4.7 กรัม คาร์โบไฮเดรต 23.9 กรัม ไขมัน 0.3 กรัม แคลเซียม 20 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 150 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.8 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.01 มิลลิกรัม และ ไนอาซีน 0.6 มิลลิกรัม

ต้นกระจับ

ต้นกระจับ นั้นเป็นพืชน้ำ เหมือนบัว ออกดอกในช่วงเดือนสิงหาคมถึงมีนาคมของทุกปี ขยายพันธ์โดยการแตกหน่อ ลักษณะของต้นกระจับ มีดังนี้

  • ลำต้นของกระจับ ลำต้นอยู่ใต้ดิน ลำต้นส่วนหนึ่งจะโผล่บนผิวน้ำ ลำต้นมีช่องอากาศ เลื้อยยาวเป็นปล้องๆ รากเป็นสีน้ำตาล รากจะแตกออกบริเวณข้อปล้องของลำต้น สามารถหยั่งลึกลงได้
  • ใบของกระจับ มี 2 ชนิด คือ ใบใต้น้ำ และ ใบเหนือผิวน้ำ ใบเหนือผิวน้ำ รูปทรงข้าวหลามตัด ฐานใบกว้าง ท้องใบ ก้านใบ และ เส้นใบ ใบเรียบ สีเขียวเข้ม เป็นมัน ส่วนใบใต้น้ำ ลักษณะคล้ายราก มีสีเขียว ลำใบเป็นฝอย เรียวยาว จะแตกออกบริเวณข้อของลำต้น
  • ดอกของกระจับ ดอกจะแทงออกบริเวณซอกใบเหนือน้ำออก ดอกเป็นดอกเดี่ยว มีขนาดเล็ก กลีบดอกมีสีขาว
  • ฝักของกระจับ มีลักษณะคล้ายหน้าควาย มีเขา 2 ข้าง เปลือกฝักแข็ง สีดำ เนื้อฝักมีสีขาว

ประโยชน์ของกระจับ

สำหรับประโยชน์ของกระจับมีมากมาย ซึ่งส่วนมากและการใช้ประโยชน์จากกระจับจะนิยมนำฝักกระจับ มารับประทานเนื้อของฝักกระจับ สามารถนำเอามาทำอาหารหวานและอาหารคาวได้มากมาย ส่วนฝักกระจับก็สามารถนำมาทำเชื้อเพลิงได้ ส่วนต้นกระจับหลายคนนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ เหมือนบัว ต้นกระจับนั้นสามารถใช้ประโยชน์ได้ นำมาทำยาแก้ปวดท้อง นอกจากนั้น ต้นกระจับที่เหลือจากการนำมาใช้ประโชยน์นั้นนิยมนำมาทำปุ๋ยหมัก ซึ่งสามารถวับน้ำได้ดี เหมาะแก่การปลูกพืช

สรรพคุณของกระจับ

การใช้ประโยชน์จากกระจับด้านการรักษาโรค และ การบำรุงร่างกายนั้น นิยมใช้ประโยชน์จาก ลำต้นหรือเง้า ใบกระจับ เนื้อฝักกระจับ และ เหลือกฝักกระจับ โดยสรรพคุณของกระจับ มีดังนี้

  • ลำต้นและเหง้าของกระจับ สรรพคุณช่วยบำรุงกำลัง และ บำรุงครรภ์
  • ใบของกระจับ สรรพคุณช่วยถอนพิษต่างๆได้
  • เนื้อฝักกระจับ สรรพคุณเป็นยาชูกำลัง ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยบำรุงผิวพรรณ บำรุงกระดูก ช่วยเสริมสร้างการสร้างกระดูก
  • เปลือกฝักกระจับ สรรพคุณแก้อาการปวดท้อง แก้ท้องเสีย

โทษของกระจับ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกระจับนั้น มีประโยชน์ แต่ก็มีโทษและข้อควรระวังอยู่บ้าง โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ผลแก่ของกระจับ มีลักษณะแหลม และ มักจะอยู่ตามโคลนตม ซึ่งมองไม่เห็น หากไม่ใส่เครื่องป้องกันเท้าอาจเหยียบกระจับจนได้รับบาดเจ็บได้ หากเกิดการติดเชื้อโรคอาจเป็นเรื่องใหญ่มากกว่านี้อีกมาก
  • ต้นกระจับ สามารถเจริญเติบโตได้ดีในน้ำโดยเฉพาะช่วงฤดูฝน ซึ่งหากปล่อยให้ต้นกระจับแพร่กระจายมากเกินไป อาจทำให้เกิดเป็นวัชพืชปกคลุมผิวน้ำ ส่งผลเสียต่อระบบนิเวศได้
  • ต้นกรัจับหากปล่อยให้เจริญเติบโตโดยไม่ควบคุมปริมาณจะส่งผลต่อการจราจรทางน้ำได้

ต้นกระจับ วัชพืชทางน้ำ สมุนไพร คุณค่าทางโภชนาการของกระจับ ประโยชน์ของกระจับ สรรพคุณของกระจับ เช่น เป็นยาบำรุงกำลัง แก้ปวดท้อง บำรุงผิว บำรุงกระดูก เป็นต้น โทษของกระจับ มีอะไรบ้าง ทำความรู้จักกับ ต้นกะจับ อย่างละเอียด


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove