ชะอม Climbing Wattle สมุนไพร ต้นชะอมเป็นอย่างไร สรรพคุณของชะอม เช่น มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดความร้อนในร่างกาย บำรุงเส้นผม แก้ท้องผูก แก้ปวดท้อง ช่วยขับลม

ชะอม สมุนไพร พืชพื้นบ้าน สรรพคุณของชะอม

ต้นชะอม ภาษาอังกฤษ เรียก Climbing Wattle มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Acacia pennata (L.) Willd ชื่ออื่นๆ ของชะอม เช่น ผักหละ อม ผักขา พูซูเด๊าะ โพซุยโดะ เป็นต้น ใบชะอม นิยมนำมาทำเป็นส่วนประกอบการทำอาหาร เช่น ไข่ทอดชะอม แกงส้มชะอมกุ้ง ชะอมชุบไข่  แกงส้มชะอมไข่ นำมาลวกเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของชะอม

จากการศึกษาชะอมของนักโภชนาการ พบว่า ชะอม มีคุณค่าทางอาหาร ประกอบด้วย ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินซี

คุณค่าทางโภชนาการของชะอม ขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงานมากถึง 57 กิโลแคลอรี่ และ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย กากใยอาหาร 5.7 กรัม ฟอสฟอรัส 80 กรัม แคลเซียม 58 กรัม ธาตุเหล็ก 4.1 มิลลิกรัม วิตามินเอ 10066 IU (หน่วยสากล) วิตามินบี1 0.05มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.25 มิลลิกรัม วิตามินบี 31.5 มิลลิกรัม วิตามินบี 58 มิลลิกรัม

ลักษณะชองต้นชะอม

ต้นชะอม เป็นพืชชนิดไม้พุ่ม พบว่ามีถิ่นกำเนิดแถวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชะอมจะมีหนามที่ลำต้นและกิ่งก้าน ใบของชะอม มีสีเขียวขนาดเล็ก ก้านใบย่อยแตกออกจากแกนกลางใบ ใบอ่อนของชะอมจะมีกลิ่นฉุน ปลายของใบชะอมจะแหลมขอบใบเรียบ ส่วนดอกของชะอม มีขนาดเล็กและออกตามซอกใบมีสีขาวนวล ชะอมสามารถขยายพันธ์ได้ โดยการปักชำ การเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง หรือการโน้มกิ่งลงดิน

  • ลำต้น ชะอมเป็นไม้พุ่มขนาดย่อมไม่สูงมาก แต่เคยมีพบการพบชะอมในป่า ลักษณะเป็นต้นไม้ใหญ่ วัดเส้นรอบวงของลำต้นได้ 1.2 เมตร กิ่งก้านของชะอมมีหนามแหลม
  •  ใบ ลักษณะ เป็นใบประกอบขนาดเล็ก มีก้านใบแยกเป็นใบอยู่  2 ทาง ลักษณะคล้ายใบกระถิน (แยกได้โดยการสังเกตุดีๆหรือดมกลิ่น)  ใบอ่อนมีกลิ่น ฉุนคล้ายกลิ่นลูกสะตอแต่ก็ไม่เหมือนซะทีเดียวนะครับ ใบเรียงแบบสลับใบย่อย ออกตรง ข้ามกัน ใบย่อรูปรี มีประมาณ 13-28 คู่ ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม ส่วนที่มักนำไปทานก็คือใบออ่นหรือยอกของชะอมนั่นเอง
  • ดอก ชะอมจะออกที่ซอกกิ่ง สีขาวหรือขาวนวล ดอกขนาดเล็กและเห็นชัด เฉพาะเกสรตัวผู้ที่เป็นฝอยๆ
  •  ผล เป็นฝัก มีขนาดเล็กกว่าฝักกระถิน

สรรพคุณของชะอม

สำหรับการใช้ประโยชน์จากชะอม เพื่อการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ได้จาก ยอดชะอม และ รากชะอม สรรพคุณของชะอม มีดังนี้

  • ยอดชะอม จะมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยลดความร้อนในร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะ
    ชะอม สรรพคุณช่วยในการขับถ่าย แก้โรคท้องผูก ช่วยบำรุงเส้นผม
  • รากชะอม จะมีสรรพคุณช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ลดการปวดท้อง และช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยบำรุงเส้นเอ็น ช่วยแก้อาการลิ้นอักเสบเป็นผื่นแดง

โทษของชะอม

ข้อควรระวังในการบริโภคชะอม โทษของชะอม เนื่องจาก ชะอมมีกรดยูริกสูง หากบริโภคมากเกินไปก็จะส่งผลเสียกับร่างกายได้ ดดยรายละเอียด ดังนี้

  1.  ชะอมจะทำให้น้ำนมแห้ง คุณแม่หลังคลอดไม่ควรรับประทาน
  2. การรับประทานชะอม ในช่วงฤดูฝน ชะอ อาจมีรสเปรี้ยว อาจทำให้ปวดท้องได้
  3. ชะอมมีกรดยูริก หากรับประทานมากๆ อาจทำให้เป็นโรคเกาต์ ทำให้ปวดกระดูก เป็นเกาต์ไม่ควรบริโภคชะอม 
  4. สำหรับคุณแม่ที่เพิ่งมีบุตรอ่อน ไม่ควรรับประทานผักชะอม เพราะจะทำให้น้ำนมแม่แห้งได้
  5. ผักชะอม สำหรับคุณแม่ลูกอ่อน จะแพ้กลิ่นของผักชนิดนี้อย่างมาก ดังนั้นควรอยู่ห่าง ๆ
  6. การรับประทานผักชะอมในหน้าฝน อาจจะมีรสเปรี้ยว กลิ่นฉุน บางครั้งอาจทำให้มีอาการปวดท้องได้ (ปกตินิยมรับประทานผักชะอมหน้าร้อน)
  7. กรดยูริกเป็นตัวการที่ทำให้เกิดข้ออักเสบในผู้ป่วยโรคเกาต์ ซึ่งเกิดมาจากสารพิวรีน (Purine) โดยผักชะอมนั้นก็มีสารพิวรีนในระดับปานกลางถึงระดับสูง ผู้ป่วยโรคเกาต์สามารถรับประทานได้ แต่ควรรับประทานในปริมาณที่จำกัด หากเป็นมากก็ไม่ควรรับประทาน เพราะจะทำให้ปวดกระดูกได้
  8. อาจพบเชื้อก่อโรคอย่างซาลโมเนลลา (Salmonella) ซึ่งเป็นเชื้อที่สามารถพบได้ทั่วไปในสภาพแวดล้อม เช่น ดิน น้ำ อากาศ เมื่อเรานำผักชะอมที่ปนเปื้อนสารชนิดนี้มาประกอบอาหารโดยไม่ล้างทำความสะอาดหลาย ๆ ครั้ง หรือไม่นำมาปรุงให้สุกก่อนรับประทาน อาจมีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อชนิดนี้ได้ โดยผู้ที่ได้รับเชื้อชนิดอาจจะมีอาการท้องเสีย ปวดท้อง ถ่ายเหลวเป็นน้ำสีเขียว หรือถ่ายเป็นมูกมีเลือดปน มีไข้ เป็นต้น

วิธีการปลูกและการดูแล

ชะอม เป็นผักพื้นบ้าน ริมรั่ว เป็นพืชพื้นบ้าน ปลูกง่าย ชะอมไม่ชอบน้ำท่วมขัง ดังนั้นการปลูกชะอม ต้องยกร่องสวน และเว้นระยะห่างให้พอดี ต่อการเดินเก็บชะอม อย่าปลูกชิดกันเกินไปเนื่องจากชะอมมีหนาม ชะอม 1 ไร่ สามารถปลูกได้ถึง 2,000 ต้น การปลูกชะอมง่ายไม่ต้องรดน้ำบ่อย 2 ถึง 3 วัน ค่อยให้น้ำครั้งหนึ่งก็ได้

การขยายพันธุ์ชะอม

ชะอมสามารขยายพันธุ์ได้ โดยการปักช นำกิ่งของชะอมที่กลางอ่อนกลางแก่ มาปักในดิน ประมาร 1 สัปดาห์ ก็ติดดินแล้ว ประมาณ 30 วัน รากของชะอมออกก็สามารถเริ่มให้ปุ๋ย ได้ การปลูกและขยายพันธ์ชะอมง่ายมาก

ศัตรูพืชของชะอม

ศัตรูของชะอม จะเป็นพวกหนอนคืบและมดแดง ซึ่งในการปลูกแบบอินทรีย์ ไม่ใช้ยาฆ่าแมลง เราสามารถใช้พวกน้ำหมักชีวภาพ โดยใช้พืชที่มีกลิ่นแรง มีน้ำมันหอมระเหยที่สัตว์ไม่ชอบ เช่น ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด เป็นส่วนผสมของน้ำหมัก เมื่อแมลงหรือหนอนได้กลิ่นก็จะหนีไปเอง แต่ชะอมเป็นพืชที่ศัตรูพืชน้อย ไม่ต้องกังวล

เทคนิคกระตุ้นยอดอ่อนชะอม

หากต้องการใช้ชะอมแตกยอดดีให้ใช้น้ำหมักชีวะภาพ ที่มีส่วนผสมของน้ำมะพร้าว จะช่วยให้ชะอมแตกยอดได้ดี

ชะอม ( Climbing Wattle ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของชะอม คือ Acacia pennata (L.) Willd สมุนไพร ผักสวนครัว สรรพคุณของชะอม ป้องกันมะเร็ง มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดความร้อนในร่างกาย ช่วยบำรุงเส้นผม ยาอายุวัฒนะ ช่วยในการขับถ่าย ป้องกันโรคท้องผูก ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง และช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยบำรุงเส้นเอ็น ช่วยแก้อาการลิ้นอักเสบ

ชะอม ( Climbing Wattle ) สมุนไพร ผักสวนครัว ลักษณะของต้นชะอม สรรพคุณของชะอม เช่น ป้องกันมะเร็ง มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดความร้อนในร่างกาย ช่วยบำรุงเส้นผม ยาอายุวัฒนะ ช่วยในการขับถ่าย ป้องกันโรคท้องผูก ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง และช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยบำรุงเส้นเอ็น ช่วยแก้อาการลิ้นอักเสบ

พริกไทย สมุนไพร เมล็ดพริกไทยให้รสเผ็ดร้อน ต้นพริกไทยเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของพริกไทย สรรพคุณช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ โทษของพริกไทย มีอะไรบ้างพริกไทย สมุนไพร สรรพคุณของสมุนไพร สมุนไพรไทย

พริกไทย ภาษาอังกฤษ เรียก Pepper ชื่อวิทยาศาสตร์ของพริกไทย Piper nigrum L. ลักษณะของต้นพริกไทย สายพันธุ์พริกไทย  ประโยชน์ของพริกไทย สรรพคุณของพริกไทย ขับปัสสาวะ ขับสารพิษ ช่วยควบคุมน้ำหนัก ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม บำรุงกระดูก บำรุงฟัน บำรุงสายตา  ยาอายุวัฒนะ ต้านมะเร็ง มีสารต้านอนุมูลอิสระ ขัยเสมหะ ใช้กำจัดเชื้อจุลินทรีย์

ต้นพริกไทย ภาษาอังกฤษ เรียก Pepper มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Piper nigrum Linn พริกไทย มีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น พริกน้อย พริก พริกไทยดำ พริกไทยล่อน  พริกขี้นก ชื่อเรียกจะแตกต่างกันออกไปตาม ท้องถิ่น เป็นพืชประจำถิ่นในประเทศอินเดีย และยังเป็น พืชเศรษฐกิจในเขตร้อน ประเทศที่ผลิตพริกไทย จำนวนมาก เช่น เวียตนาม อินโดนีเซีย บราซิล และอินเดีย พริกไทย

พริกไทย นิยมนำมาทำเป็นเครื่องปรุงอาหาร เพิ่มรสชาติ พริกไทยมีสรรพคุณ ช่วยขับปัสสาวะ ขับสารพิษในร่างกาย ช่วยควบคุมน้ำหนัก ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม บำรุงกระดูก บำรุงฟัน บำรุงสายตา  ยาอายุวัฒนะ ต้านมะเร็ง มีสารต้านอนุมูลอิสระ ขับเสมหะ  ใช้กำจัดเชื้อจุลินทรีย์ พริกไทยมีแคลเซียมสูง โดยเฉพาะพริกไทยอ่อน ช่วยในการบำรุงกระดูก บำรุงฟัน ป้องกันโรคกระดูกพรุนได้  พริกไทย มี ฟอสฟอรัสและวิตามินซีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ชะลอกการเสื่อมสภาพของเซลล์ ลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง มีเบต้าแคโรทีน ช่วยในการมองเห็น

ลักษณะของต้นพริกไทย

ต้นพริกไทย สามารถปลูกได้ในเขตร้อน หรือในเขตอบอุ่น โดยปกติแล้วสามารถปลูกได้โดยการเพาะเมล็ด หรือ การปักชำ จัดพืชตระกูลไม้เลื้อย ลักษณะของต้นพริกไทยเป็นอย่างไร

  • ลำต้นพริกไทย พริกไทยเจริญในแนวดิ่ง ความสูงประมาณ 500 เซ็นติเมตร ลำต้นจะสร้างรากพิเศษสั้นๆบริเวณข้อเพื่อยึดเกาะสิ่งรอบข้าง ช่วยในการพยุงลำต้น ลำต้นเป็นข้อๆ รากของต้นพริกไทยจะเกิดบริเวณข้อตามลำต้นเป็นรากเล็กๆ
  • ใบพริกไทย ใบจะมีสีเขียว ใหญ่เหมือนใบโพ ใบเดี่ยว รูปรี เรียงสลับ โคนใบและปลายใบแหลม ใบสีเขียวเข้ม
  • ดอกพริกไทย พริกไทยจะดอกเล็กจะออกช่อเป็นพวงตามข้อ ดอกสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน
  • เมล็ดของพริกไทย มีลักษณะกลมเป็นพวง  ลำต้นแตกแขนงออกเป็นพุ่ม ผลทรงกลมแบบเมล็ด ผลอ่อนมีสีเขียวผลสุกมีสีแดง

สรรพคุณของต้นพริกไทย

พริกไทยสามารถนำมาทำสมุนไพร ได้หลายส่วน ประกอบด้วย ดอก เมล็ด ใบ เถา ราก

  • ดอกของพริกไทย มีสรรพคุณช่วยลดความดันตา แก้อาการตาแดงจากความดันโลหิตสูง
  • เมล็ดของพริกไทย มีสรรพคุณช่วยย่อยอาหาร ขับสารพิษในร่างกาย ขับเสมหะ บำรุงธาตุ แก้ท้องอืด ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ แก้ระดูขาว
  • ใบของพริกไทย มีสรรพคุณ แก้จุกเสียด แก้ปวดท้อง
  • เถาของพริกไทย ใช้ขับเสมหะ แก้ท้องร่วง และท้องเดิน
  • รากของพริกไทย ใช้ขับลมในลำไส้ แก้ปวดท้อง ลดอาการวิงเวียน ช่วยย่อยอาหาร ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ
  • น้ำมันหอมระเหยจากพริกไทย สามารถใช้รักษาหวัด ทำให้หายใจสะดวก

พริกไทยยังมีสรรพคุณในการกำจัดเชื้อจุลินทรีย์หลายชนิด และนิยมนำมาถนอมอาหาร เช่น ทำไส้กรอก กุนเชียง หมูยอ

โทษของพริกไทย

สำหรับการใช้ประโยชน์จากพริกไทย หากใช้อย่างไม่เหมาะสมจะทำให้เกิดโทษต่อร่างกายได้ เนื่องจากคุณสมบัติของพริกไทย คือ มีฤทธ์ร้อน รสเผ็ด การรับประทานพริกไทยมีข้อควรระวัง ดังนี้

  • สำหรับผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร โรคเกี่ยวกับกระเพาะและลำไส้ ควรลดการกินพริกไทย เพื่อให้ระบบลำไส้ลดการระคายเคืองในระบบทางเดินอาหาร
  • การรับประทานพริกไทยมากเกินไป ทำให้เกิดอาการอักเสบได้ เช่น ตาอักเสบ คออักเสบ เป็นแผลในปาก และ ฟันอักเสบเป็นหนอง เป็นต้น

พริกไทย พืชพื้นบ้าน สมุนไพร นิยมรับประทานเมล็ดพริกไทย ลักษณะของต้นพริกไทยเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของพริกไทย สรรพคุณของพริกไทย เช่น ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ โทษของพริกไทย มีอะไรบ้าง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove