อัญชัน นิยมใช้ประโยชน์หลาหลาย สมุนไพร สีผสมอาหาร ต้นอัญชันเป็นอย่างไร สรรพคุณของอัญชัน บำรุงผม บำรุงความงาม บำรุงสายตา ทำให้ผมดกดำ โทษของอัญชันมีอะไรบ้างอัญชัน สมุนไพร สรรพคุณของอัญชัน

ต้นอัญชัน ภาษาอังกฤษ เรียก Butterfly pea ชื่อวิทยาศาสตร์ของอัญชัน คือ Clitore ternatea Linn สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของอัญชัน เช่น แดงชัน ( เชียงใหม่ ) เอื้องชัน ( ภาคเหนือ ) เป็นต้น ต้นอัญชัน สมุนไพรประเภทไม้เลื้อย มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชีย เขตร้อน และมีการแพร่พันธ์ไปในแอฟริกา ออสเตรเลีย และอเมริกา จัดเป็นพืชท้องถิ่นที่อยู่คู่กับสังคมไทย มีการนำอัญชันมาใช้ประโยชน์หลากหลาย ทั้งการรักษาโรคและบำรุงร่างกาย รวมถึงนำมาเป็นส่วนประกอบของอาหาร

ดอกอัญชันมีสารที่ชื่อว่า แอนโทไซยานิน ( Anthocyanin ) ซึ่งเป็นสารที่ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะรากผม ช่วยทำให้ผมดกดำ เงางาม ช่วยให้เลือดไปเลี้ยงบริเวณดวงตา ทำให้บำรุงสายตาไปในตัว ลดอาการเหน็บชา นอกจากนั้น สรรพคุณของอัญชัน เช่น ขับปัสสาวะ บำรุงผม ยาระบาย แก้อาการคลื้นไส้ อาเจียน บำรุงความงาม นำมาทำเครื่องสำอางค์ ทำสีผสมอาหารให้สีม่วง

อัญชันในวรรณคดีสมัยก่อนหญิงสาวมักนำอัญชันมาเขียนคิ้วให้ดำขลับ อันชัญนิยมนำไปทำอาหาร โดยปกติจะใช้สีจากการต้มและคั้นน้ำของดอกเพื่อมาผสมกับแป้งต่าง ๆ ทำเป็น ขนมชั้น ทับทิมกรอบ บัวลอย เป็นต้น นอกจากนั้น ดอกอัญชัน สามารถนำมาชุบแป้งทอด พื่อตกแต่งจาน หรือ ทำไข่เจียวอัญชัน ก็ได้

อัญชันที่พบอยู่ทั่วไปมี 2 ชนิด คือ อัญชันดอกขาว กับ อัญชันดอกน้ำเงิน และบางครั้งอาจพบอัญชัญชนิดดอกสีม่วง ซึ่งเกิดจากการผสมระหว่างสีขาวกับสีน้ำเงิน ดอกอัญชันนำมาคั้นทำสีผสมอาหาร นิยมนำมาผสมขนมไทย เช่น ขนมช่อม่วง ขนมเรไร ขนมขี้หนู ขนมน้ำดอกไม้ น้ำดอกอัญชัน

ลักษณะของต้นอัญชัน

อัญชัน เป็นพืชไม้เลื้อย ขนาดไม่ใหญ่ สามารถปลูกตามรั้วบ้าน หรือ ปลูกเป็นซุ้มประตูให้ความสวยงาม สามารถขยายพันธ์ุโดยการเพาะเมล็ดพันธ์ สามารถปลูกได้ในทุกสภาพดิน โตง่าย ลักษณะของต้นอัญชัน มีดังนี้

  • ลำต้นอัญชัน ลักษณะเป็นไม้เนื้ออ่อน เป็นไม้เลื้อย อายุสั้น ใช้ยอดเลื้อยพันตามหลักหรือเสา ลำต้นมีขนปกคลุม ลำต้นอ่อนสีเขียว หากลำต้นแก่จะเป็นสีน้ำตาล
  • ใบอัญชัน ใบประกอบแบบขนนก เรียงตรงข้ามยาว 6-12 เซนติเมตร มีใบย่อยรูปไข่ 5-7ใบ กว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 3-5 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน ผิวใบด้านล่างมีขนหนาปกคลุม
  • ดอกอัญชัน ดอกสีขาว ฟ้า และม่วง ดอกออกเดี่ยว ๆ รูปทรงคล้ายฝาหอยเชลล์ออกเป็นคู่ตามซอกใบ กลีบดอก 5 กลีบ ดอกบานเต็มที่ยาว 2.5-3.5 เซนติเมตรกลีบคลุมรูปกลม ปลายเว้าเป็นแอ่ง ตรงกลางมีสีเหลือง มีทั้งดอกซ้อนและดอกลา ดอกชั้นเดียวกลีบขั้นนอกมีขนาดใหญ่กลางกลีบสีเหลือง ส่วนกลีบชั้นในขนาดเล็กแต่ดอกซ้อนกลีบดอกมีขนาดเท่ากัน ซ้อนเวียนเป็นเกลียว ออกดอกเกือบตลอดปี
  • ผลอัญชัน ผลแห้งแตก เป็นฝักแบน กว้าง 1-1.5 เซนติเมตร ยาว 5-8 เซนติเมตร เมล็ดรูปไต สีดำ มี 5-10 เมล็ด

สารสำคัญในอัญชัน

สารเคมีจากต้นอัญชัน พบว่ามีสารเคมีสำคัญต่างๆ ประกอบด้วย ดังนี้

  • สารอดีโนซีน ( adenosine ) ช่วยกระตุ้นการเต้นของหัวใจ
  • สารแอสตรากาลิน ( astragalin ) ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดการแข็งตัวของหลอดเลือดแดง
  • สารเคอร์เซติน (quercetin)  ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ
  • สารแอฟเซลิน ( afzelin )
  • สารอปาราจิติน ( aparajitin )
  • กรดอราไชดิก ( arachidic acid )
  • กรดชินนามิกไฮดรอกซี ( cinnamic acid )
  • สารซิโตสเตอรอล

สรรพคุณของอัญชัน

สำหรับการใช้ประโยชน์จากอัญชัญ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถให้ประโยชน์จาก ใบ ราก เมล็ด และ ดอก ซึ่งสรรพคุณของอัญชัญ มีดังนี้

  • ดอกอัญชัน สรรพคุณช่วยให้ผมดกดำ ผมนุ่มสวย บำรุงเลือด บำรุงสมอง มีสารตานอนุมูลอิสระ ช่วยบำรุงสายตา ขับสารพิษในร่างกาย ลดน้ำตาลในเลือด
  • เมล็ดของอัญชัญ มีสรรพคุณเป็นยาระบาย แก้อาการคลื้นไส้ อาเจียน
  • รากของอัญชัญ มีรสขม นำมาใช้เป็นยาขับปัสสาวะ และทำยาระบาย แก้อาการปวดฟัน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการมองเห็นให้ดียิ่งขึ้น
  • ใบของอัญชัน ช่วยขับปัสสาวะ  ช่วยบำรุงสายตา ขับของเสียออกจากร่างกาย

โทษของอัญชัน

สำหรับการใช้ประโยชน์จากอัญชันในการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค มีข้อควรระวังต่างๆ ดังนี้

  • ดอกอัญชัน หากบริโภคมากเกินไปจะทำให้ไตทำงานหนักขึ้น เนื่องจากไตต้องทำการขับสารสีของอัญชันออก
  • ผู้ป่วยที่มีภาวะโลหิตจาง ไม่ควรจะรับประทานอัญชัน เพราะ ดอกอัญชันมีฤทธิ์ละลายลิ่มเลือด จะเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยโลหิตจาง
  • ไม่ควรดื่มน้ำอัญชันในขณะอุณหภูมิร้อนจัด เพราะ อาจจะทำให้เยื่อบุผิวหลอดอาหารเสียสภาพภูมิคุ้มกันได้ ทำให้ดูดซับสารก่อมะเร็งได้ง่าย
  • ดอกอัญชันมีฤทธิ์ในการละลายลิ่มเลือด สำหรับผู้มีเลือดจางห้ามรับประทานดอกอัญชันเด็ดขาด หรืออาหารเครื่องดื่มที่ย้อมสีด้วยอัญชันก็ไม่ควรรับประทานบ่อย ๆ
  • ไม่ควรดื่มน้ำสมุนไพรใด ๆ ชนิดเดียวติดต่อกันเป็นเวลานาน ซึ่งอาจจะเป็นผลเสียต่อร่างกายมากกว่าผลดี

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก

บัวบก ( Gotu kola ) สมุนไพร ต้นบัวบกเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ ประโยชน์และสรรพคุณรักษาแผล แก้ร้อนใน ลดความร้อนในร่างกาย เป็นยาเย็น ข้อควรระวังในการใช้ใบบัวบก

บัวบก สมุนไพร สรรพคุณของบัวบก ประโยชน์ของบัวบก

บัวบก (Gotu kola) สมุนไพร คุ้นหู มาทำความรู้จักกับ ต้นบัวบก และ สรรพคุณของบัวบก เป็นแผลให้ใบบัวบกช่วยให้หายได้เร็วขึ้น ประโยชน์และข้อควรระวังในการใช้ใบบัวบกในการรักษาโรคมีอะไรบ้าง ใบบัวบกเหมาะสำหรับคนที่ขี้ร้อน มีภาวะแกร่ง หรือมีความร้อนชื้น เพราะเป็น สมุนไพรที่มีฤทธิ์เป็นยาเย็น

ต้นบัวบก ภาษาอังกฤษ เรียก Gotu kola ชื่อวิทยาศาสตร์ของบัวบก คือ Centella asiatica (L.) Urb. เป็น พืชตระกูลเดียวกับผักชี สำหรับ บัวบก มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกหลายชื่อ ที่เรียกแตกต่างกันตามท้องถิ่น เช่น ผักหนอก , ผักแว่น , กะโต่ เป็นต้น

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของบัวบก

ต้นบัวบก เป็น พืชล้มลุก เป็น ไม้เลื้อย ขึ้นตามพื้นดิน เป็น พืชคลุมดิน ใบเป็นใบเดียว ออกตามข้อของลำต้น ใบออกเป็นกระจุก ตามข้อของลำต้น ใบลักษณะคล้ายรูปไต ขอบใบมนๆ ดอกของบัวบกคล้ายร่ม ออกเป็นช่อ กลีบดอกมีสีม่วงอมแดง ผลของบัวบกเป็นผลแห้ง ลักษณะแบนและแตก

คุณค่าทางโภชนาการของบัวบก

นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของใบบัวบก สดปริมาณ 100 กรัม พบว่ามีสารอาหารหลายชนิด ประกอบด้วย  วิตามินบี 1 แคลเซียม 146 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 3.9 มิลลิกรัม เบตาแคโรทีน 2,428 ไมโครกรัม และวิตามินซี 15 มิลลิกรัม

นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษา ใบบัวบก อย่างจริงจัง พบว่ามีสารสำคัญหลายชนิด เช่น วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 6 วิตามินเอ วิตามินเค ธาตุแคลเซียม ธาตุแมกนีเซียม ธาตุโซเดียม สารบราโมซัยด์ สารบรามิโนซัยด์ สารไตรเตอพีนอยด์ สารมาดิแคสโซซัยด์ กรดมาดิแคสซิค  และกรดอะมิโน หลายตัว เช่น แอสพาเรต กรดกลูตามิก เซรีน ทรีโอนีน อะลานีน ไลซีน ฮีสทีดิน เป็นต้น

สรรพคุณของบัวบก

สำหรับการใช้ประโยชน์ของบัวบก ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นิยมใช้ ใบบัวบก ทั้งใบสดและใบแห้งมาใช้ประโยชน์ ซึ่งเราได้รวม สรรพคุณของใบบัวบก ดังนี้

  • ช่วยชะลดวัย ลดการเหี่ยวย่นของผิวพรรณ
  • ใบบัวบกเป็นยาอายุวัฒนะ
  • ใบบัวบกช่วยเสริมสร้าง และกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและอีลาสติน
  • ใบบัวบกช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งในร่างกาย มีสารยับยั้งหรือชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง
  • ใบบัวบกช่วยบำรุงและรักษาสายตา รวมถึงฟื้นฟูโดยรอบของดวงตา
  • ช่วยรักษาอาการอักเสบและบวมแดงของตา
  • ใบบกช่วยบำรุงระบบประสาทและสมอง ช่วยให้ความจำดีขึ้น ทำให้มีปฏิภาณไหวพริบดี ช่วยเพิ่มความจำสำหรับผู้สูงวัย ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ และสมองเสื่อม ช่วยเพิ่มการมีสมาธิ แก้ปัญหาสมาธิสั้นได้
  • ช่วยแก้อาการปวดหัว รักษาอาการไมเกรน แก้ปวดหัวข้างเดียว ลดอาการเวียนหัว
  • ช่วยให้ผ่อนคลาย ลดความเครียด ให้นอนหลับสบาย ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย เมื่อยล้า
  • ช่วยบำรุงเลือด ช่วยทำให้เลือดระบบเลือดทำงานได้ดีขึ้น ช่วยกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อของร่างกาย เป็นยาบำรุง
  • ช่วยบำรุงหัวใจ ระบบการทำงานของหัวใจสมดุลย์ ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง
  • ช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกายสำหรับคนป่วย
  • ช่วยให้ความชุ่มชื่นของลำคอ บำรุงเสียง ช่วยรักษาอาการเจ็บคอ ช่วยแก้กระหายน้ำ ช่วยแก้อาการร้อนใน ช่วยลดไข้ ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ
  • ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวานได้
  • รักษาโรคดีซ่าน รักษาโรคโลหิตจาง ช่วยรักษาอาการหอบหืด ช่วยรักษาโรคลมชัก
  • รักษาอาการเต้านมอักเสบ ที่เป็นหนองในระยะแรก
  • ช่วยเจริญอาหาร ป้องกันอาการท้องเสีย ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหารเป็นแผล
  • ใบบัวบกใช้เป็นยาระบาย ช่วยระบายท้อง แก้ลม
  • ใบบัวบกใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้อาการปัสสาวะติดขัด ป้องกันการเกิดนิ่ว ช่วยรักษาโรคนิ่วที่ทางเดินปัสสาวะ
    ช่วยรักษาอาการหนอง ที่ออกจากปัสสาวะ รักษาหนองใน
  • บำรุงม้าม รักษาโรคม้ามโต ช่วยแก้อาการน้ำดีที่มีมากเกินไปในร่างกาย
  • แก้อาการปวดข้อรูมาตอยด์ รักษาโรครูมาตอยด์ได้
  • ใช้เป็นยาห้ามเลือด รักษาแผลสด ทำให้แผลหายเร็วขึ้น แก้ฟกช้ำ
  • ใบบัวบกช่วยรักษาอาการแมลงสัตว์กัดต่อย ช่วยรักษาโรคผิวหนัง เช่น รักษาโรคเรื้อน รักษาโรคสะเก็ดเงิน รักษาหิด รักษาหัด เป็นต้น ช่วยระงับการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ช่วยลดอาการอักเสบของแผลได้
  • ใบบัวบกใช้เป็นยาถอนพิษ ช่วยรักษาแผลน้ำร้อนลวก ลดอาการปวดแสบปวดร้อนจากแผลไฟไหม้ และยังช่วยป้องกันการเกิดแผลซ้ำ
  • ใบบัวบกช่วยบำรุงหนังศีรษะและเส้นผม ทำให้เส้นผมดกดำ รักษาอาการผมร่วง
  • ใบบัวบก เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางค์ ช่วยบำรุงผิว และป้องกันเชื้อแบคทีเรียที่ผิว นำสารสกัดเป็นสบู่ใบบัวบก ช่วยรักษาสิว ทำให้ผิวขาว ใบหน้าเต่งตึง

ข้อควรระวังในการใช้บัวบก

  • ใบบัวบก ไม่เหมาะสำหรับคนที่มี ภาวะตัวเย็น จะทำให้ร่างกายยเย็นขึ้นและท้องอืด
  • การกินบัวบกมากเกินไป ไม่ดี เนื่องจากใบบัวบกเป้นยาเย็น หากมีปริมาณมากเกินไปจะทำให้ ร่างกายเสียสมดุลถ้ากิน ใบสด ปริมาณครั้งละ 10 ถึง 20 ใบต่อสัปดาห์ ถือว่าอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม แต่ไม่ควรกินทุกวันอาจเป็นพิษต่อร่างกายได้
  • ไม่ควรนำใบบักบกมาตากแห้ง เพราะจะเสียคุณค่าทางตัวยา ใบบัวบกจะนำมาสกัดให้อยู่ในรูปแบบน้ำมันหอมระเหย

ต้นบัวบก พืชสมุนไพร ที่มีต้นกำเนิดในแถบเอเชีย เป็น พืชล้มลุก มีขนาดเล็ก มีกลิ่นฉุน รสขมอมหวาน สามารถใช้รักษาโรคมากมาย บัวบก ทำให้แผลให้หายได้เร็วขึ้น และ ลดอาการอักเสบของแผล มีการศึกษาพบว่า ใน ใบบัวบก มี กรดมาเดคาสสิก กรดอะเซียติก และ สารอะเซียติโคไซด์ มีสรรพคุณช่วยในการสมานแผลและลดการอักเสบ

เราจะเห็นว่ามียาหลายชนิด ทั้ง ยาแผนปัจจุบัน และ ยาแผนโบราณ ที่มีส่วนผสมของใบบัวบก ซึ่งผลิตออกมาในรูปแบบ ครีม ผง ยาเม็ด เป็นต้น และยังมีการสกัดสารสำคัญที่ได้จากใบบัวบก ซึ่งสารที่สกัดได้จากใบบัวบก มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสและต้านอนุมูลอิสระ

นอกจาก ใบบัวบก มีสรรพคุณทางยา ใบสดของบัวบก สามารถนำมาทำอาหาร รับประทานเป็นผักสดได้ อาหารไทย ก็ หลายมี เมนูอาหาร ที่มีบัวบกเป็นผัก เช่น ผัดไทย ผัดหมี่ หมี่กะทิ ขนมจีน ลาบ ยำ รวมถึงนำใบสดมาคั้นทำ น้ำใบบัวบก การกินใบบัวบกสดๆ ช่วยแก้อาการเวียนหัว ท้องร่วง รักษาอาการถ่ายเป็นเลือด รักษาอาการแขนขากระตุก

บัวบก ( Gotu kola ) สมุนไพร ลักษณะของต้นบัวบก เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของบัวบก ประโยชน์และสรรพคุณของบัวบก เช่น รักษาแผล แก้ร้อนใน ลดความร้อนในร่างกาย เป็นยาเย็น ข้อควรระวังในการใช้ใบบัวบก มีอะไรบ้าง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove