ฟักข้าว Baby Jackfruit มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเสริมภูมิต้านทานโรค ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและโรคมะเร็ง ฟักข้าวสามารถแปรรูปได้หลากหลาย เช่น สบู่ฟักข้าว น้ำฟักข้าว

ฟักข้าว สรรพคุณของฟักข้าว สมุนไพร

ฟักข้าว ภาษาอังกฤษ เรียก Baby Jackfruit ชื่อวิทยาศาสตร์ของฟักข้าว คือ Momordica cochinchinensis (Lour) Spreng. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของฟักข้าว เช่น มะข้าว ขี้กาเครือ พุกู้ต๊ะ ผักข้าว เป็นต้น ต้นฟักข้าว มีถิ่นกำเนิดในประเทศพม่า ไทย จีน ลาว เขมร บังกลาเทศ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และมาเลเซีย พบได้ทั่วไปในประเทศไทย สามารถรับประทานเป็นอาหารและผักสดได้

ประโยชน์ของฟักข้าว มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ช่วยในการชะลอวัย ป้องกันการเกิดริ้วรอยแห่งวัย ปัญหาผิวแห้งกร้าน ช่วยปกป้องผิวจากแสงแดด ฟักข้าวมีเบตาแคโรทีนสูงกว่าแครอท 10 เท่า และมีไลโคปีนมากกว่ามะเขือเทศ 12 เท่า ประโยชน์ของฟักข้าวช่วยบำรุงและรักษาสายตา ป้องกันโรคเกี่ยวกับดวงตา โรคต้อกระจก ประสาทตาเสื่อม ตาบอดตอนกลางคืน ยอดฟักข้าวอ่อนใช้ทำเป็นอาหารก็อร่อย คล้ายกับยอดมะระ เมนูฟักข้าว เช่น แกงเลียง แกงส้ม ผัดไฟแดง คั่วแค ใช้ลวกหรือต้มกินกับน้ำพริก เป็นต้น ฟักข้าวสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลายอย่าง เช่น น้ำฟักข้าว ฟักข้าวแคปซูล สบู่ฟักข้าว เป็นต้น

ฟักข้าวในประเทศไทย

ประเทศไทยนิยมรับประทานลอ่อนฟักข้าวเป็นอาหาร เนื้อผลอ่อนฟักข้าวคล้ายมะละกอ นำมาลวก ต้ม จิ้มกับน้ำพริก หรือ ใส่แกง ยอดอ่อนฟักข้าว หรือ รับประทานเป็นผักสดได้ นอกจากนี้มีการศึกษาฟักข้าวในการวิจัยหลากหลาย พบว่า เยื่อหุ้มเมล็ดของผลสุกฟักข้าว มีประโยชน์ทางโภชนาการสูง เนื่องจากเป็นส่วนที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเสริมภูมิต้านทานโรค ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ และ โรคมะเร็ง ต่างๆได้ เช่น โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นต้น

ลักษณะของต้นฟักข้าว

ต้นฟักข้าว เป็นพืชล้มลุก เป็นพืชชนิดเถาไม้เลื้อย ลักษณะคล้ายกับต้นตำลึง ชอบแสงแดด เลื้อยได้ทั้งบนพื้น บนต้นไม้ บนรั้ว สามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธึ เช่น เพาะเมล็ด ปักชำ เป็นต้น

  • ลำต้นของฟักข้าว เป็นลักษณะเถา ไม้เลื้อย เป็นพืชล้มลุกอายุยืนยาว คล้ายต้นตำลึง เถาฟักข้าวจะเลื้อยได้ทั้งบนพื้นและตามพื้นที่ต่างๆ เนื้อลำต้นอ่อน ชุ่มน้ำ
  • ใบฟักข้าว ลักษณะเป็นใบเดี่ยว คล้ายรูปหัวใจหรือรูปไข่ ขอบใบหยักเว้าลึกเป็นแฉก มีสีเขียว
  • ดอกฟักข้าว ออกดอกเป็นช่อ ออกดอกตรงบริเวณข้อต่อระหว่างใบหรือตามซอกใบ คล้ายดอกตำลึง กลีบดอกสีขาวอมเหลือง
  • ผลฟักข้าว ลักษณะกลมรี เปลือกมีหนามอ่อนๆเล็กๆ ผลอ่อนมีสีเขียวอมเหลือง ผลสุกสีแดงหรือสีส้มอมแดง เนื้อผลสุกจะเป็นสีเหลือง
  • เมล็ดฟักข้าว อยู่ภายในผลฟักข้าว เมล็ดสีน้ำตาลคล้ายเมล็ดแตง

คุณค่าทางโภชนาการของฟักข้าว

สำหรับการบริโภคฟักข้าวเป็นอาหารนิยมรับประทานผลฟักข้าวเป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของฟักข้าวพบว่าฟักข้าวขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญประกอบดด้วย กากใยอาหาร 1 กรัม น้ำตาล 1.8 กรัม โปรตีน 0.98 กรัม มีวิตามินซี 0.04 มิลลิกรัม บีต้าแคโรทีน 91 มิลลิกรัม แคลเซียม 0.34 มิลลิกรัม ในฟักข้าวจะมีบีตาแคโรทีนมากกว่าแครอตถึง 10 เท่าตัว มีไลโคพีนมากกว่ามะเขือเทศถึง 12 เท่าตัว

สรรพคุณของฟักข้าว

สำหรับการใช้ประโยชน์จากฟักข้าว ด้านกรบำรุงร่างกายและการรักษาโรค เราสามารถนำฟักข้าวมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ตั้งแต่ ใบ ราก ผล เมล็ด รายละเอียด ดังนี้

  • ใบของฟักข้าว เรานำมาใช้ ช่วยลดน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยเบาหวานได้ ช่วยแก้ไข้ตัวร้อนได้ ใช้รักษาริดสีดวง แก้อาการปวดหลังได้ แก้กระดูกเดาะ ช่วยถอนพิษอักเสบ รักษาฝี รักษาหูด
  • รากของฟักข้าว เรานำมาใช้ ดื่มช่วยถอนพิษ ช่วยขับเสมหะ ช่วยลดไข้ แก้ปวดตามข้อ
  • ผลอ่อนของฟักข้าว ใช้ลดน้ำตาลในเลือด ใช้รักษาโรคเบาหวาน
  • เมล็ดของฟักข้าว ใช้ในการ รักษาฝีในปอด รักษาท่อน้ำดีอุดตัน ช่วยขับปัสสาวะ รักษาอาการอักเสบ รักษาอาการบวม รักษากลากเกลื้อน รักษาโรคผิวหนัง

โทษของฟักข้าว

เมล็ดดิบของฟักข้าวมีความเป็นพิษ รสขม หากรับประทานเข้าไป ทำให้อาเจียน และ เวียนหัว หากรับประทานมากเกินไป เป็นอันตรายถึงชีวิต

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

การดูดซึมสารอาหารผิดปรกติ ( malabsorption syndrome ) ความผิดปกติของลำไส้เล็กดูดสารอาหารและของเหลวไม่เพียงพอ ทำให้เกิดการขาดสารอาหาร การคลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้นการดูดซึมสารอาหารผิดปรกติ โรคระบบทางเดินอาหาร โรคขาดสารอาหาร โรคไม่ติดต่อ

ความผิดปกติของระบบการย่อยและการดูดซึมอาหาร เกิดได้จากอวัยวะในระบบทางเดินอาหารที่ทำหน้าที่ในการย่อยและการดูดซึมสารอาหารผิดปรกติจากสาเหตุต่างๆ เช่น การติดเชื้อ หรือสาเหตุต่างๆ ส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจต่างๆ มากมาย  โรคการดูดซึมสารอาหารผิดปรกติ พบมากที่สุดในประเทศแถบทะเลแคริบเบียน อินเดีย และ ประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โรคนี้อาจเกี่ยวข้องกับปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมไม่ดี เช่น มีสารพิษเจือปนในอาหาร ทำให้ติดเชื้อโรคต่างๆ

ผลกระทบจากการไม่ดูดซึมสารอาหาร

สามารถแบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ ผลกระทบต่อร่างกาย และ ผลกระทบต่อจิตใจ โดยรายละเอียด ดังนี้

ผลกระทบการไม่ดูดซึมสารอาหารต่อร่างกาย

  • เกิดอาการอาเจียนหลังรับประทานอาหาร หากว่าเกิดภาวะกล้ามเนื้อหูรูดทำงานไม่ปกติ จะทำให้เกิดการอาเจียนได้หากมีอาหารเข้าไปและไม่สามารถเข้าสู่ระบบทางเดินอาหารได้จะถูกผลักดันออกทางเดิม
  • เกิดอาการคลื่นไส้ เมื่อกระเพาอาหารมีน้ำย่อยออกมามากจะกระตุ้นระบบทางเดินอาหาร ทำให้เกิดการคลื่นไส้
  • เกิดภาวะขาดสารอาหาร เมื่อร่างกายไม่สามารถดูดสารอาหารเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ทำให้ร่างกายจะขาดสารอาหาร
  • ส่งผลต่อสุขภาพของตับทำให้ตัวเหลือง และ มีไข้สูง การสูญเสียการทำหน้าที่ของอัยวะย่อยและดูดซึม ส่งผลกระทบต่อตับและน้ำดี

ผลกระทบการไม่ดูดซึมสารอาหารต่อจิตใจ เมื่อร่างกายไม่สามารถดูดซึมสารอาหารได้ ก็ทำให้ร่างกายผอม บุคลิกภาพไม่ดี ส่งผลต่อภาพลักษณ์ และร่างกายอ่อนแอเจ็บป่วยง่าย ส่งผลต่อความสามารถการเข้าสังคม

ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการไม่ดูดซึมสารอาหาร

สาเหตุของการเกิดภาวะการดูดซึมสารอาหารผิดปรกติ หาสาเหตุที่แท้จริงยาก สาเหตุของการไม่ดูดซึมสารอาหาร มีหลายสาเหตุ หลายปัจจัย ที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกาย สามารถสรุปปัจจัยของการเกิดโรค ได้ดังนี้

  • ภาวะการติดเชื้อที่ลำไส้
  • การอักเสบและการบาดเจ็บที่ลำไส้
  • การผ่าตัดลำไส้
  • การใช้ยาปฏิชีวนะเป็นเวลานาน
  • ภาวะการเกิดโรคที่ตับ เช่น โรคตับอ่อนอักเสบชนิดเรื้อรัง เป้นต้น
  • ความบกพร่องของร่างกายดดยกำเนิด เกี่ยวกับ ทางเดินน้ำดี โรคของถุงน้ำดี โรคตับ โรคตับอ่อน ดาวน์ซินโดรม เป็นต้น

อาการของภาวะการดูดซึมสารอาหารผิดปรกติ

อาการของโรค เกิดจากการไม่ได้สารอาหารผ่านระบบทางเดินอาหาร ซึ่งอาการของโรคทั่วไป คือ ร่างกายซูบผอม จากการขาดสารอาหาร แต่อาการของโรคแสดงออกต่างกันในสารอาหารที่ขาด โดยการสารอาหาร เช่น ไขมัน โปรตีน น้ำตาล หรือ วิตามิน นั้นจะแสดงอาการของโรคที่แตกต่างกัน ดังนี้

  • การขาดสารอาหารประเภทไขมัน จะแสดงอาการ คือ อุจจาระยาก อุจจาระเหม็น อุจจาระนุ่ม อุจจาระลอยน้ำ เป็นต้น
  • การขาดสารอาหารประเภทโปรตีน จะแสดงอาการ คือ ผมแห้ง ผมร่วง เป็นต้น
  • การขาดสารอาหารประเภทน้ำตาล จะแสดงอาหาร คือ ท้องร่วง ท้องอืด ท้องเฟ้อ เป็นต้น
  • การขาดสารอาหารประเภทวิตามิน จะแสดงอาการ คือ มีภาวะโลหิตจาง ความดันโลหิตต่ำ การลดน้ำหนัก กล้ามเนื้ออ่อนแอ เป็นต้น

ภาวะแทรกซ้อนของความผิดปรกติของการดุดซึมสารอาหาร

หากร่างกายไม่ดูดซึมสารอาหาร ไปเลี้ยงร่างกาย ผู้ป่วยจะมีอาการท้องร่วงบ่อยๆ น้ำหนักตัวลด และ อาการปวดท้อง การขาดวิตามินอาจทำให้เกิดภาวะต่างๆ เช่น โรคโลหิตจาง มือเท้าชา และ มีปัญหาเกี่ยวกับความจำ ร่างกายของคนต้องการรับสารอาหารที่เหมาะสมแบะถูกต้อง ซึ่งการขาดสารอาหาร ส่งผลต่อระบบในร่างกายทุกระบบ เช่น หัวใจ สมอง กล้ามเนื้อ เลือด ไต และ ผิวหนัง

การดูดซึมสารอาหารผิดปรกติ ( malabsorption syndrome ) คือ ความผิดปกติที่ลำไส้เล็กที่ไม่สามารถดูดซับสารอาหารและของเหลวได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ทำให้เกิดปัญหาการขาดสารอาหาร การคลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove