คอพอก ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์จากการขาดสารไอโอดีน ทำให้คอโต อ่อนแรง เหนื่อยง่าย ไม่กระฉับกระเฉง ผิวหนังแห้ง ท้องผูก อันตรายกับสตรีมีครรถ์ ลูกเป็นปัญญาอ่อนได้โรคคอพอก โรคขาดสารไอโอดีน โรคต่อมไร้ท่อ โรคไม่ติดต่อ

โรคคอพอก ภาษาอังกฤษ เรียก Simple goiter คือโรคเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ คือ ต่อมไทรอยด์  หมายถึง โรคที่เกิดจากความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ จากการขาดสารไอโอดีน ซึ่งโรคคอพอกจะมีลักษณะ คือ คอโต ซึ่งโรคคอพอกสามารถแบ่งได้ 4 ชนิด รายละเอียด ดังนี้

  • คอพอก ชนิดต่อมไทรอยด์โตเรียบทั่วทั้งต่อม และ สามารถสร้างฮอร์โมนได้ปกติ เรียกว่า Diffuse nontoxic goitre คือ  ลักษณะนี้ต่อมไทรอยด์ ยังสามารถทำงานได้ตามปรกติ เกิดจากการขาดสารไอโอดีน ลักษณะคอจะโตเรียบ
  • คอพอก ชนิดต่อมไทรอยด์เป็นตะปุ่มตะป่ำและสามารถสร้างฮอร์โมนได้ตามปรติ เรียกว่า Nontoxic multinodular goitre โรคคอพอกชนิดนี้พบว่าเป็นสาเหตุของการเกิดคอพอก ถึง 10 % เกิดจากสถาพแวดล้อมขาดสารไอโอดีน จะมีปุ่มเกิดขึ้นบริเวณคอ เหมือนก้อนเนื้อ
  • คอพอก ชนิดต่อมไทรอยด์เป็นตะปุ่มตะป่ำ แต่เกิดการสร้างฮอร์ดมนมากกว่าปรกติ เรียกว่า Toxic multinodular goitre ลักษณะคอพอกชนิดนี้ พบไม่มาก ลักษณะเกิดปุ่มเหมือนก้อนเนื้อที่คอ เกิดการสร้างฮอร์โมนมากกว่าปรกติ ทำให้เกิดอาการของต่อมไทรอยด์เป็นพิษร่วมด้วยได้ สาเหตุเกิดจากความผิดปรกติของพันธุกรรม และการขาดสารไอโอดีน
  • คอพอก ชนิดมีปุ่มเนื้อปุ่มเดียว และ เกิดการสร้างฮอร์โมนมากกว่าปกติ เรียกว่า Hyperfunctioning solitary nodule เป็นการเกิดที่ต่อมไทรอยด์เพียงกลีบเดียว สามารถคลำได้ เป็นก้อน ลักษณะของไทรอยด์ชนิดนี้ ผู้ป่วยจะมีอาการต่อมไทรอยด์เป็นพิษร่วมด้วยได้

โดยทั่วไปคอพอกสามารถแบ่ง ระดับของคอพอก ได้ 5 ระดับ ประกอบด้วย ระดับ 0 1A 1B 2 และ 3 รายละเอียดของ คอพอกระดับต่างๆ มีดังนี้

  • ระดับ 0 ไม่พบอาการคอบวม
  • ระดับ 1A ระดับนี้จะมีก้อนที่คอ ขนาดเท่าหัวแมมือ สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้
  • ระดับ 1B ระดับนี้ขนาดของคอพอกจะโดตขึ้น 2 ถึง 3 เท่า
  • ระดับ 2 สามารถมองเห็นอาการคอพอกได้อย่างชัดเจน มีอาการบวมอย่างเห้นได้ชัด
  • ระดับ 3 ขนาดของคอพอกโตมาก สามารถมองเห็นได้จากระยะไกล

ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคคอพอก

เป็นที่ทราบกันว่า โรคคอพอกเกิดจากการขาดสารไอโอดีน ซึ่งหากจะแยก ปัจจัยของการขาดสารไอโอดีน มีดังนี้

  1. ปัจจัยด้านภูมิประเทศ สภาพภูมิประเทศที่ห่างไกลทะเล สารไอโอดีน เป็นสารอาหารที่พบมากในอาหารทะเล ซึ่งในพื้นที่ที่ไม่ติดทะเล จะไม่สามารถหาอาหารทีมีสารไอโอดีนจากสัตว์ทะเลทานได้ จึงเป็นปัจจัยของการขาดสารไอดอดีน
  2. ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากอาหารทะเลที่มีสารไอโอดีน มีราคาสูงเมื่อเปรียบเทียบกับอาหารชนิดอื่นๆ ในคนที่มีสภาวะทางเศรษฐกิจไม่ดีมาก ก็ไม่สามารถหาอาหารทะเลทานได้
  3. ปัจจัยด้านการคมนาคม การเดินทางที่ไม่สะดวก ทำให้อาหารที่มีสารไอโอดีนอย่างอาหารทะเลเข้าไม่ถึง
  4. ปัจจัยด้านพฤติกรรมกิน ในกลุ่มคนที่ไม่ชอบทานอาหารทะเล ก็ทำให้ขาดสารไอโอดีนได้
  5. ปัจจัยด้านร่างกาย ในบางคนมีความผิดปรกติของร่างกาย ร่างกายดุดซึมสารไอโอดีนได้ไม่ดี

อาการของโรคคอพอก

สามารถแบ่งอาการของโรคนี้ตามวัยของผู้ป่วย ประกอบด้วย ทารกในครรถ์ ทารกแรกเกิด เด็กและวัยรุ่น สุดท้าย คือ ผู้ใหญ่ อาการของคอพอก ในวัยต่างๆ มีรายละเอียดดังนี้

  • อาการโรคคอพอกในทารกในครรถ์และมารดา เป็นลักษณะมารดาที่ตั้งครรถ์มีอาการคอพอก เป็นภาวะขาดสารไอโอดีน ซึ่ง เป็นอันตราย ซึ่งจะส่งผลทำให้แท้งบุตรได้ ในรายที่อาการหนักมาก มารดาสามารถเสียชีวิตได้
  • อาการคอพอกที่เกิดกับทารกแรกเกิด ไม่เกิน 2 ปี ในมารดาที่มีอาการคอพอกในช่วงตั้งครรถ์ หากคลอดลูกออกมา ลูกจะเกิดความผิดปรกติ จากภาวะฮอร์โมนไทร๊อกซินต่ำ ทำให้เด็กเกิดความผิดปกติของระบบประสาท สมอง และร่างกาย ส่งผลให้เป็นปัญญาอ่อน หูหนวก แขนขากระตุก ตาเหล่ เป็นต้น
  • อาการของคอพอกที่เกิดกับเด็กและวัยรุ่น การขาดสารไอโอดีนในช่วงที่ร่างกายต้องการสารอาการเพื่อการเจริญเติบโตนั้น ทำให้พัฒนาของร่างกายช้า ระดับฮอร์โมนไทร๊อกซินต่ ทำให้ร่างกายแคระแกร็น ผอม สติปัญญาต่ำ
  • อาการของโรคคอพอกในผู้ใหญ่ ระดับฮอร์โมนไทร๊อกซินต่ำ ทำให้ อ่อนแรง เหนื่อยง่าย ไม่กระฉับกระเฉง ผิวหนังแห้ง ท้องผูก และเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคอื่นๆได้ง่าย

การรักษาโรคคอพอก

สามารถทำได้หลายวิธี โดยการรับประทาอาหารที่มีไอโอดีน รับสารไอดอดีนเข้าร่างกายและการผ่าตัด ซึ่งรายละเอียดการรักษา มีดังนี้

  1. การให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มีสารไอโอดีนให้มากขึ้น เนื่องจาก สาเหตุของคอพอกเกิดจากการขาดสารไอโอดีน
  2. การให้สารไอโอดีนเข้าสู่ร่างกาย โดยสามารถให้สารไอโอดีนโดยวิธีการฉีดสารเข้าสู่ร่างกายและการให้สารไอโอดีนเพื่อรับประทาน
  3. การรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งวิธีนี้จะใช้กับผู้ป่วยที่เป็นมาก คอบวมและโตจนส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตตามปรกติ

การป้องกันโรคคอพอก

สามารถทำได้โดยการป้องกันที่สาเหตุของโรค คือ การขาดสารไอโอดีน ดังนั้น ต้องรับประทานอาหารที่มีสารไอโอดีนบ้าง ซึ่งอาหารที่มีไอโอดีนสูง เป็น อาหารจำพวก อาหารทะเล และในปัจจุบันมีอาหารต่างๆที่ใส่สารไอโอดีนเป็นส่วนประกอบทำให้ได้รับสารไอโอดีนโดยไม่ต้องรับประทานอาหารทะเลได้

โรคคอพอก เกิดจากความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ จากการขาดสารไอโอดีน ส่งผลให้คอโต ทำให้ อ่อนแรง เหนื่อยง่าย ไม่กระฉับกระเฉง ผิวหนังแห้ง ท้องผูก และเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคอื่นๆได้ง่าย หากเกิดกับสตรีมีครรถ์ จะทำให้ลูกที่เกิดมา ความผิดปกติของระบบประสาท สมอง และ ร่างกาย เป็นปัญญาอ่อน หูหนวก แขนขากระตุก ตาเหล่ เป็นต้น

โรคคอพอก คืออะไร สาเหตุ อาการ การป้องกัน เป็นโรคคอพอก ควรรับประทานอะไรดี อาการของโรคคอพอก มีอาการคอบวมเป็นคอพอกหรือเปล่า วิธีตรวจโลกคอพอกทำอย่างไร วันนี้เราจะมาเรียนรู้ เรื่องเกี่ยวกับโรคคอพอก กัน ไทรอยด์ กับ คอพอก ต่างกันอย่างไร

โรคไทรอยด์ ( Thyroid gland ) ภาวะต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนมากเกินไป ส่งผลให้น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ เหงื่อออกง่าย หงุดหงิด ฉุนเฉียว เป็นต้น

ไทรอยด์เป็นพิษ โรคต่อมไร้ท่อ โรคไม่ติดต่อ

ไทยรอยด์ เป็นต่อมไร้ท่อขนาดใหญ่ของร่างกายมนุษย์ ซึ่งต่อมไทรอยด์ มีหน้าที่หลักคือ ผลิตฮอร์โมน ภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษ จึงหมายถึง ภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนผิดปกติ และการขาดไอโอดีน หรือการมีไอโอดีนในร่างกายมากเกินไป ก็อาจทำให้เกิดโรคกับต่อมไทรอยด์ได้

ไทรอยด์เป็นพิษ ( Hyperthyroidism , Overactive Thyroid ) คือ ภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนออกมามากเกินไป ทำให้ระบบเผาผลาญทำงานมากขึ้น เป็นสาเหตุทำให้น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็วแบบผิดปกติ หัวใจเต้นเร็วหรือเต้นผิดปกติ เหงื่อออกง่าย และหงุดหงิด ฉุนเฉียว เป็นต้น เมื่อต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ จะส่งผลให้ระบบในร่างกายทั้งหมดผิดปรกติ ซึ่งระบบประสาทจะไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้

ความผิดปรกติของไทรอยด์ สามารถแบ่งได้เป็น 3 แบบ คือ

  1. ฮอร์โมนไทรอยด์เกิน เป็น ภาวะที่ร่างกายหลั่งฮอร์โมนออกมามากเกินความจำเป็น  ส่งผลให้หัวใจเต้นแรง ใจสั่น นอนไม่หลับ และน้ำหนักตัวลด ทำให้มีอารมณ์แปรปรวนบ่อย
  2. ฮอร์โมนไทรอยด์ขาด (Hypothyroidism) เป็นภาวะที่ร่างกายหลั่งฮอร์โมนออกมาน้อยเกินไปไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ส่งผลให้หัวใจเต้นช้าลง รู้สึกหนาว ระบบความจำเสื่อม ตัวบวม ท้องผูก ถ้าเกิดกับเด็กจะทำให้ตัวการเจริญเติบโตของเด็กไม่ดี ตัวจะแคระแกรน
  3. ฮอร์โมนไทรอยด์ปกติ เป็นภาวะที่ฮอร์โมนของร่างกายหลั่งออกมาปกติ แต่มีความผิดปกติที่ตรงต่อมไทรอยด์

สาเหตุของการเกิดไทรอยด์เป็นพิษ

สาเหตุของโรคไทรอยด์เป็นพิษนั้นเกิดขึ้นจาก การทำงานมากกว่าปรกติของต่อมไทรอยด์ จนทำให้ร่างกายมีปริมาณของฮอร์โมนไทรอยด์มากกว่าความต้องการของร่างกาย สามารถแยกสาเหตุได้ 3 สาเหตุหลัก ๆ ประกอบด้วย

  • การรับประทานอาหาร การรับประทานอาหารที่มีไอโอดีนมากเกินไปก็สามารถก่อให้เกิดโรคไทรอยด์เป็นพิษ เนื่องจากไอโอดีนเป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์
  • การอักเสบของต่อมไทรอยด์ การอักเสบที่ไม่ทราบสาเหตุของต่อมไทรอยด์สามารถส่งผลต่อการทำงานของของต่อมไทรอยด์ได้ โดยการอักเสบของต่อมไทรอยด์จะทำให้ฮอรโมนไทรอยด์ถูกผลิตออกมามากขึ้น และทำให้ฮอร์โมนรั่วไหลออกไปที่กระแสเลือด ทั้งนี้การอักเสบของต่อมไทรอยด์ส่วนใหญ่ไม่มีอาการเจ็บ ยกเว้นอาการไทรอยด์อักเสบแบบกึ่งเฉียบพลันที่เกิดขึ้นได้น้อย สามารถส่งผลให้เกิดอาการเจ็บได้
  • เนื้องอกที่ต่อมไทรอยด์ เป็นกรณีที่พบได้น้อย เนื้องอกที่เกิดบริเวณไทรอยด์ และเนื้องอกที่เกิดบริเวณต่อมใต้สมอง อาจส่งผลให้เกิดการหลั่งของฮอร์โมนไทรอยด์มากขึ้นจนกลายเป็นพิษได้
  • การได้รับการเสริมฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป ยาที่มีส่วนประกอบของไอโอดีนบางชนิด เช่น ยาอะไมโอดาโรน (Amiodarone) ที่ใช้ในการรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ จะทำให้เกิดการหลั่งของฮอร์โมนไทรอยด์มากขึ้นจนกลายเป็นพิษ

อาการของโรคไทยรอยด์

สำหรับอาการของโรคไทรอยด์เป็นพิษ นั้น ผู้ป่วยจะมีความผิดปรกติของระบบการทำงานของร่างกาย เช่น หัวใจเต้นเร็วผิดปรกติ ทำให้รู้สึกเหนื่อยง่าย ใจสั่น ในผู้ป่วยบางรายอาจจะเป็น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ระบบการเผาผลาญ ของร่างกายถูกกระตุ้น ทำให้น้ำหนักตัวลดลง นอนไม่หลับ ท้องเสียง่าย เนื่องจากระบบทางเดินอาหารถูกกระตุ้นให้ทำงาน ตาโปนเยื่อหลังนัยน์ตาขยาย ในผู้หญิงอาจทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ กล้ามเนื้ออ่อนแรงเฉียบพลัน ซึ่งสามารถสรุปอาการของโรคเป็นข้อๆ เพื่อให้ง่ายต่อการเรียนรู้ ดังนี้

  • อารมณ์แปรปรวน วิตกกังวล หงุดหงิดง่าย ไม่มีสมาธิ
  • คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว
  • นอนหลับยาก
  • มีปัญหาสายตา เช่น ตาโปน เห็นภาพซ้อน เป็นต้น
  • สุขภาพผมเปลี่ยนไป ผมเปราะบางขาดง่าย และมีอาการผมร่วง
  • ผู้หญิงมีรอบเดือนผิดปกติ ประจำเดือนมีสีจางและมาไม่สม่ำเสมอ
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยเฉพาะบริเวณต้นขาและต้นแขน
  • เล็บยาวเร็วผิดปกติ
  • หัวใจเต้นเร็วมากกว่า 100 ครั้ง/นาที โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ
  • มือสั่นตลอดเวลา
  • มีอาการคัน
  • เหงื่อออกมาก
  • ผิวหนังบาง
  • น้ำหนักลด แต่มีความอยากอาหารมากขึ้น
  • อาจพบเต้านมมีขนาดใหญ่ขึ้นในเพศชาย

มะเร็งต่อมไทรอยด์ (Thyroid carcinoma) มีทั้งชนิดรุนแรงและไม่รุนแรง จะพบมากในผู้ชายอายุ 40 ปีขึ้นไป และสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย แต่พบว่าผู้ชายจะมีความรุนแรงของโรคมากกว่าผู้หญิง

การรักษาโรคไทรอยด์

โรคของต่อมไทรอยด์สามารถรักษาได้อย่างไร เมื่อเราพบว่าร่างกายมีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน สามารถทำการรักษาได้โดย กินยาลดการทำงานของต่อมไทรอยด์ การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ หรือ การกินน้ำแร่รังสีไอโอดีน
เมื่อเราพบว่าร่างกายเป็นภาวะไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป สามารถรักษาได้โดย การกินยาไทรอยด์เพิ่มระดับฮอร์โมน และให้ยาขับน้ำ เพื่อลดการบวมของร่างกาย
หากพบว่าเป็นมะเร็งต่อมไทยรอยด์ จะต้องทำการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ และกินยาน้ำแร่รังสีไอโอดีน รวมถึงฉายรังสีรักษา

การดูแลตนเองเมื่อเป็นไทยรอยด์

เมื่อมีอาการผิดปกติดังกล่าวหรือสังเกตเห็นมีก้อนเนื้อผิดปกติในบริเวณต่อมไทรอยด์ และ/หรือลำคอ ควรรีบพบแพทย์เสมอภายใน 1 – 2 สัปดาห์เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาแต่เนิ่นๆ ซึ่งจะช่วยให้การรักษาได้ผลดีกว่า ใช้เวลารักษาและเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาน้อยกว่าการรักษาในระยะที่เป็นโรคเรื้อรังหรือเป็นโรคมะเร็งในระยะลุกลาม

ป้องกันไม่ให้เกิดโรคของต่อมไทรอยด์

การป้องกันโรคไทยรอยด์ในทางการแพทย์นั้น โรคต่อมไทรอยด์ ไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน แต่ยกเว้นในผู้ป่วยที่เป็นโรคคอพอก ซึ่งสาเหตุหลักเกิดจากการขาดสารไอโอดีน ดังนั้น การป้องกันโรคไทรอยด์ เราต้อง รับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของ ไอโอดีนในปริมาณที่เหมาะสม โดยอาหารที่มีสารไอโอดีย เช่น อาหารทะเล เกลือทะเล นอกจากการรับประทานอาหารในปริมาณที่เหมาะสมแล้ว การรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน การออกกำลังกาย ทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง ก็สามารถลดความเสี่ยงในการเป็นโนคนี้ได้


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove