อหิวาตกโรค ( Cholera ) โรคติดต่อร้ายแรง จากเชื้อแบคทีเรียวิบริโอ โคเลอรี ทำให้เกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง อาเจียน ร่างกายขาดน้ำ และ เสียชีวิตกินอาหารไม่สะอาดอหิวาตกโรค โรคห่า โรคติดต่อ โรคระบบทางเดินอาหาร

สาเหตุของการเกิดอหิวาตกโรค

โรคนี้เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียนที่ระบบทางเดินอาหาร ชื่อ แบคทีเรียวิบริโอ โคเลอรี ( Vibrio Cholerae ) เชื้อแบคทีเรียได้หลั่งสารซิกัวทอกซิน ( Ciguatoxin: CTX ) เมื่อสารซิกัวทอกซินรวมตัวกับโซเดียม หรือ คลอไรด์ ที่ลำไส้ ทำให้เกิดการกระตุ้นการขับน้ำออกจากร่างกาย โดยการอุจจาระ ซึ่งเป็นอาการอย่างกะทันหัน แบคทีเรียวิบริโอ โคเลอรี จะปนเปื้อนอยู่ตามสิ่งปฏิกูล อุจจาระ ซึ่งเชื้อโรคหากกระจายอยู่ในแหล่งน้ำ ก็มีโอกาสปะปนกับอาหาร และ พืชผัก ผลไม้ ต่างๆได้

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคอหิวาตกโรค

อหิวาตกโรคเกิดจากการกินอาหารไม่สะอาด ดังนั้น ปัจจัยต่างๆที่มีโอกาสทำให้เกิดอหิวาตกโรค มีดังนี้

  • ภาวะสุขอนามัยไม่ดี เชื่ออหิวาตกโรค สามารถแพร่กระจายตามแหล่งน้ำ หากการจัดการสิ่งแวดล้อมไม่สะอาด ผิดหลักการอนามัย ทำให้เกิดการระบาดของโรคได้ง่าย
  • ภาวะไม่มีกรดในกระเพาะอาหาร ( Hypochlorhydria/Chlorhydria ) การที่ร่างกายไม่มีกรดในกระเพาะอาหาร ทำให้เมื่อเชื้ออหิวาเข้าสู่ร่างกาย ก็สามารถแพร่กระจาย และ เจริญเติบโต จนปล่อยสารพิษ เข้าสู่ร่างกาย
  • การอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยอหิวาตกโรค เชื้ออหิวาตกโรค สามารถแพร่กระจายผ่านอุจจาระของผู้ป่วย เมื่ออยู่ใกล้ ก็มีดอกาสในารเกิดโรคเช่นกัน
  • การกินอาหารไม่สะอาด และ ไม่ปรุงให้สุกก่อนนำมารับประทาน อาหารทะเล พวกหอย หากปรุงไม่สุกมีโอกาสเสี่ยงทำให้เกิดอหิวาตกโรคได้

การวินิจฉัยอหิวาตกโรค

สำหรับการวินิจฉัยโรค แพทย์จะทำการซักประวัติ และ สังเกตุอาการเบื้องต้นก่อน จากนั้น ต้องทำการคตรวจร่างกาย ตรวจอุจจาระ การวินิจฉัยโรค สามารถระบุสาเหตุ ของอาการท้องร่วง เพื่อทำการรักษาอย่างถูกต้อง

อาการของผู้ป่วยอหิวาตกโรค

เมื่อเชื้อแบคทีเรียวิบริโอ โคเลอรี ( Vibrio Cholerae )เข้าสู่ร่างกาย จะมีระยะเวลาในการเกิดโรคจะเกิดภายใน 2 ชั่วโมง ถึง 5 วัน ซึ่งเป็นระยะเวลาในการฟักตัวของโรค เมื่อเกิดอาการของอหิวาตกโรค จะแสดงอาการ ท้องเสียอย่างเฉียบพลัน ถ่ายเป็นน้ำ อุจจาระมีสีขาวลักษณะเหมือนน้ำซาวข้าว อุจจาระมีกลิ่นเหม็นคาว คลื่นไส้อาเจียน ไม่มีไข้ ซึ่งอาการของโรคสามารถสรุป ได้ดังนี้

  • มีอาการปวดท้อง แบบปวดบิด
  • เกิดภาวะการขาดน้ำและเกลือแร่ โดยแสดงอาการ กระหายน้ำ ปากแห้ง คอแห้ง ผิวหนังแห้ง ไม่มีน้ำตา กระหม่อมบุ๋ม ปัสสาวะน้อย ปัสสาวะมีสีเหลืองเข้ม หรือ ไม่ถ่ายปัสสาวะ อ่อนเพลีย ชีพจรเต้นเร็ว ความดันโลหิตต่ำ

การรักษาอหิวาตกโรค

สำหรับการรักษาอหิวาตกโรค ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาอย่างทันที่ โดยให้การรักษาอาการร่างกายขาดน้ำก่อน และ แพทย์จะพิจารณาการใช้ยาปฏิชีวนะ ในการฆ่าเชื้อโรค หลังจากตรวจอุจจาระและทราบเชื้อโรคที่ชัดเจน โดยรายละเอียดของการรักษาอหิวาตกโรค มีดังนี้

  • ให้น้ำเกลือ เพื่อให้ร่างกายได้รับน้ำและเกลือแร่เพื่อทดแทนส่วนที่เสียไป
  • ให้สารอาหารน้ำทดแทน ( Intravenouse Fluids ) ในกรณีที่ผู้้ป่วยเกิดภาวะขาดน้ำและเกลือแร่อย่างรุนแรง จำเป็นต้องให้สารน้ำทางน้ำเกลือเพื่อป้องกันการช็อคอย่างเฉียบพลัน
  • ให้ยาปฏิชีวนะ เนื่องมาจากเชื้ออหิวา เช่น ยาดอกซีไซคลิน ( Doxycycline ) ยาอะซีโธรมัยซิน ( Azithromycin )

ภาวะแทรกซ้อนของอหิวาตกโรค

ความอันตรายของอหิวาตกโรค นอกจากการขาดน้ำแล้ว โรคแทรกซ้อน เป็นอีกหนึ่งที่ต้องเฝ้าระวัง โดยภาวะแทรกซ้อนของอหิวาตกโรค มีดังนี้

  • ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ( Hypoglycemia ) ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ เป็นภาวะอันตราย หากเกิดกับเด็ก อาจทำให้เกิดอาการชัก ไม่ได้สติ และถึงขั้นเสียชีวิต
  • ภาวะโพแทสเซียมต่ำ ( Hypokalemia ) ภาวะโพแทสเซียมต่ำ ส่งผลต่อระบบหัวใจและเส้นประสาท เป็นอันตรายต่อชีวิต
  • ภาวะไตวาย การเสียสมดุลย์ของน้ำในร่างกาย ทำให้ไตไม่ทำงาน ส่งผลต่อของเสียต่างๆ ตกค้างในร่างกาย เป็นอันตรายต่อชีวิต

การป้องกันการเกิดอหิวาตกโรค

สำหรับการป้องกันการเกิดอหิวาตกโรค โดยหลักๆ คือ การรักษาความสะอาด ของสิ่งแวดล้อมและอาหาร โดยการป้องกันการเกิดอหิวาตกโรค มีรายละเอียด ดังนี้

  • ดื่มน้ำสะอาด งดการกินน้ำแข็ง เพราะ อาจมีสิ่งเจือปนในน้ำแข็งได้
  • การรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน
  • ปรุงอาหารสุก และ กินอาหารที่สุกเท่านั้น
  • ทำความสะอาด วัตถุดิบของอาหาร ทั้ง ผัก ผลไม้ โดยล้างให้สะอาดก่อนนำมาประกอบอาหาร และ รับประทาน
  • รับการฉีดวัคซีนป้องกันอหิวาตกโรค
  • หากมีผู้ป่วยอหิวาตกโรคอยู่ใกล้ ต้องรักษาความสะอาดเป็นพิเศษ

อหิวาตกโรค ( Cholera ) คือ โรคติดต่อ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียวิบริโอ โคเลอรี ( Vibrio Cholerae ) ที่ระบบทางเดินอาหาร ทำให้เกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง โดยสาเหตุเกิดจากการกินอาหารไม่สะอาด อาการของโรคอหิวาตกโร ถ่ายเหลว อาเจียน ร่างกายขาดน้ำ และ เสียชีวิต การรักษาโรค และ การป้องกันโรค โรคอหิวาตกโรค คือ โรคเป็นติดต่อ ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข

ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ( Urinary tract infection ) การติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะ ทำให้เกิดอาการปวดเอว ปัสสาวะบ่อย ปวดเวลาปัสสาวะ เกิดขึ้นได้กับทุกคน รักษาอย่างไรท่อปัสสาวะอักเสบ ทางเดินปัสสาวะอักเสบ โรคระบบขับถ่าย โรคไม่ติดต่อ

โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ ภาษาอังกฤษ เรียก Urinary tract infection เรียกย่อๆว่า UTI เป็น โรค ที่ เกิดจากการติดเชื้อ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ที่ ระบบทางเดินปัสสาวะ ทำให้ ผู้ป่วย มีไข้ ปวดเอว ปัสสาวะบ่อย ปวดปัสสาวะ ระบบทางเดินปัสสาวะ เป็น ระบบของอวัยวะของร่างกายที่เกี่ยวข้องกับไต โดยตรง เมื่อ ไต ทำหน้าที่กรองของเสีย จะส่งต่อไปที่ ท่อปัสสาวะ และ ขับของเสีย ออกในรูปแบบ น้ำปัสสาวะ  การติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่ใน เพศหญิงมีโอกาสเป็นมากกว่าเพศชาย

น้ำปัสสาวะของมนุษย์ 

โดยปกติ ประกอบไปด้วย น้ำ และ เกลือ ซึ่ง น้ำปัสสาวะ จะไม่มีเชื้อโรค แต่ การติดเชื้อโรคของทางเดินปัสสาวะ เกิดมาจากภายใน ทางระบบทางเดินอาหาร หรือ อุจาระ ทำให้ ท่อปัสสาวะอักเสบ มีโอกาสทำให้ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ได้ และหาก เชื้อโรคลามเข้าท่อไต จะทำให้ กรวยไตอักเสบ  การติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะ อาจเกิดจาก เชื้ออีโคไล หรือ การติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์

ผู้ที่มีโอกาสเกิดโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ คือ ผู้ป่วย นิ่วที่ทางเดินปัสสาวะ ผู้ป่วย โรคต่อมลูกหมากโต ผู้ป่วยที่ ระบบประสาทควบคุมการปัสสาวะ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยประสาทไขสันหลังอักเสบ ในสตรีที่ใกล้คลอด

อาการของผู้ป่วยโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ

อาการของผู้ป่วย โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ สามารถสังเกตุได้จากอาการต่างๆ ดังนี้ ปัสสาวะบ่อย รู้สึกเจ็บเวลาปัสสาวะ ปัสสาวะมีหนองปน อยู่ บางราบมีไข้ ปวดเอว ปัสสาวะขุ่น

การวินิจฉัยโรคทางเดินปัสาวะอักเสบ

สำหรับการวินิจฉัย เพื่อตรวจหาดรค นั้น สามารถทำได้โดยการ นำปัสสาวะไปตรวจดูความบริสุทธ์ ตรวจหาเม็ดเลือดขาว และ เม็ดเลือดแดง และ เชื้อโรค  หรือ การส่องกล้องตรวจในกระเพาะปัสสาวะ

การรักษาผู้ป่วยทางเดินปัสสาวะอักเสบ

การรักษาโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ นั้น หากผู้ป่วยไม่มีอาการไข้ ปวดเอว ปวดเวลาปัสสาวะ แล้ว สามารถใช้ยารักษาได้ ซึ่ง การใช้ยารักษา โดยทั่วไปอาการจะหายในเวลา 1 ถึง 2 วัน แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยมา อาการ มีไข้สูง ปวดเอว ต้องรักษาโดยการฉีดยาเข้าเส้น และในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นผู้หญิงมีอาการทางเดินปัสสาวะอักเสบซ้ำ นั้นต้องป้องกันโดย
รับประทานยา ไทรเมโทรพริม ( trimethoprim ) การรับประทานยาต้องรับประทานยานาน 6 เดือน

การป้องกันการติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะ

การป้องกันการเกิดทางเดินปัสสาวะอักเสบ สามารถทำได้โดยให้ดื่มน้ำให้มาก ไม่ควรอั้นปัสสาวะ ให้ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศก่อนการมีเพศสัมพันธ์ ห้ามใช้สารหรือสิ่งอื่นใดกับช่องคลอด ในเพศชาย การคลิบอวัยวะเพศ จะ ช่วยลดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ได้

การปัสสาวะ ช่วยลดการเกิดทางเดินปัสสาวะอักเสบ ได้ ดังนี้ สมุนไพรช่วยขับปัสสาวะ จะ ช่วยป้องกันการเกิดโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ ได้ รวมถึง โรคทางเพศสัมพันธ์บางโรค สมุนไพรช่วยขับปัสสาวะ มีดังนี้

กระดังงา สมุนไพร สรพคุณของกระดังงา ประโยชน์ของกระดังงากระดังงา
เดือย ลูกเดือย สมุนไพร ประโยชน์ของเดือยลูกเดือย
โหราเดือยไก่ สมุนไพร สรรพคุณของโหราเดือยไก่ ประโยชน์ของโหราเดือยไก่โหราเดือยไก่
ขี้เหล็กเทศ สมุนไพร ต้นขี้เหล็ก สมุนไพรบำรุงหัวใจขี้เหล็กเทศ

ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ( Urinary tract infection ) คือ ภาวะการติดเชื้อโรคที่ทางเดินปัสสาวะ โรคติดเชื้อจากแบคทีเรียที่ ระบบทางเดินปัสสาวะ ส่งผลให้เกิดอาการ มีไข้ ปวดเอว ปัสสาวะบ่อย ปวดเวลาปัสสาวะ การติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน เพศหญิงมีโอกาสเป็นมากกว่าเพศชาย อาการของโรคเดินปัสสาวะอักเสบ การรักษา การป้องกัน


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove