ตับแข็ง cirrhosis ภาวะตับเสียหาย ทำให้เกิดอาการเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ท้องโต ตัวเหลือง ตาเหลือง คันที่ผิวหนัง การรักษาและการป้องกันโรคตับแข็งทำอย่างไร

ตับแข็ง โรคตับ ภาวะตับแข็ง

ตับ คือ อวัยวะของร่างกายที่ใหญ่ที่สุด โดยทำหน้าที่ คือ ทำลายสารพิษในร่างกายหรือของเสียออกร่างกายและจากเลือด สร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย เพื่อต่อต้านเชื้อโรคเมื่อเข้าสู่ร่างกาย ตับจะสร้างสารบางอย่างเพื่อทำให้เลือดแข็งตัว สร้างน้ำดี เพื่อย่อยอาหารและดูดซึมวิตามิน

ภาวะตับแข็ง คือ ภาวะตับเสียหายหรือเป็นแผล ซึ่งลักษณะแผลมีพังผืดในเนื้อตับ ทำให้ตับทำงานได้ลดลง ซึ่งส่งผลกระทบต่างๆต่อร่างกายมากมาย เช่น ความสามารถในการผลิตโปรตีน การเก็บสะสมสารสำคัญและแร่ธาตุ การทำลายสารพิษ ทำได้ลดลงหรือไม่สามารถทำได้ตามปรกติ ที่สำคัญ คือ การปิดกั้นการไหลเวียนของเลือดที่ไหลเวียนผ่านตับ ไม่สามารถทำได้

โรคต่างๆที่มีผลต่อความเสี่ยงต่อการเกิดโรคตับแข็ง เช่น โรคพิษสุราเรื้อรัง โรคไวรัสตับอักเสบบี โรคไวรัสตับอักเสบซี โรคไวรัสตับอักเสบดี โรคตับอักเสบที่เกิดจากภูมิต้านทานของตนเอง โรคเนื้อเยื่อสะสมธาตุเหล็กผิดปกติ  โรควิลสัน ภาวะท่อน้ำดีอุดตัน ภาวะไขมันพอกตับ การรับประทานยาบางชนิดติดต่อกันเป็นเวลานาน การได้รับสารพิษบางชนิด และภาวะหัวใจล้มเหลวหลายครั้งติดต่อกัน

สาเหตุของการเกิดโรคตับแข็ง

สาเหตุของโรตับแข็ง คือ ภาวะตับทำงานหนักจนหยุดทำงาน ซึ่งสาเหตุที่เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคตับแข็ง มีหลายสาเหตุแต่เป็นสาเหตุที่ส่งผลต่อการทำงานของตับ ประกอบด้วยสาเหตุต่างๆ ดังนี้

    1. การดื่มสุราในปริมาณมาก หรือภาวะพิษสุราเรื้อรัง เราพบว่าผู้หญิงมีดอการเกิดตับแข็งได้ง่ายกว่าผู้ชาย
    2. ไวรัสตับอักเสบ หากได้รับเชื้อไวรัสเป็นเวลานานอาจก่อให้เกิดภาวะตับแข็งได้
    3. เกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายการทำลายเนื้อตับ
    4. เกิดจากกรรมพันธุ์ หากมีผู้ใด้เป็นโรคตับแข็ง มีโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคตับแข็ง ได้
    5. การสร้างไขมันในตับมากเกิดไป ทำให้เกิดภาวะตับแข็ง จะพบมากใน ผู้ป่วยโรคเบาหวานและคนอ้วน
    6. การใช้ยาและได้รับสารพิษบางชนิดเป็นเวลานาน
    7. เนื้อเยื่อสะสมธาตุเหล็กผิดปกติ
    8. โรควิลสัน ( Wilson’s disease ) เกิดจากการมีการสะสมทองแดงมากเกินไปในตับ
    9. ภาวะท่อน้ำดีอุดตัน ทำให้น้ำดีที่ไหลย้อนกลับไปที่ตับส่งผลทำลายเนื้อตับจนเป็นตับแข็งได้
    10. ภาวะหัวใจล้มเหลวหลายครั้งติดต่อกัน

อาการผู้ป่วยโรคตับแข็ง

สำหรับอาการของผู้ป่วยภาวะตับแข็ง จะพบว่าผู้ป่วยจะ อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า ไม่อยากอาหาร ในบางครั้งคลื่นไส้ และน้ำหนักตัวลด ในเพศหญิงอาจมีประจำเดือนมาผิดปกติ ในผู้ชายอาจมีเต้านมขยายใหญ่ และปวดบริเวณหัวนม สมรรถภาพทางเพศลดลง ขาบวม ท้องโตขึ้น ตัวเหลืองตาเหลือง มีอาการทางสมอง เนื่องจากการกรองสารพิษ ทำได้น้อย สารพิษจึงเข้าสู่เลือด มีเลือดออกอย่างรุนแรงในกระเพาะอาหาร อาหารของโรคตับแข็งสามารถสรุปเป็นข้อๆ ได้ดังนี้

  • อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า ไม่อยากอาหาร ในบางครั้งอาจเกิดร่วมกับอาการคลื่นไส้ น้ำหนักลด
  • อาจมีประจำเดือนผิดปกติ
  • ในผู้ชายอาจมีเต้านมขยายใหญ่ขึ้นพร้อมอาการปวด สมรรถภาพทางเพศลดลง
  • ขาบวมหรือท้องโตขึ้น เนื่องจากโปรตีนอัลบูมินถูกผลิตน้อยลง ส่งผลให้มีน้ำสะสมในขาหรือท้องฟกช้ำหรือเลือดออกได้ง่าย เนื่องจากมีการผลิตโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบในการทำให้เลือดแข็งตัวลดลง
  • อาการดีซ่าน หรืออาการตัวเหลืองตาเหลือง ซึ่งเกิดจากการสะสมเม็ดสีของน้ำดี
  • มีอาการคันที่ผิวหนังอย่างรุนแรง เนื่องจากสารประกอบของน้ำดีถูกฝังอยู่ในผิวหนัง
  • มีอาการทางสมอง เนื่องจากตับไม่สามารถกรองสารพิษออกมาได้ จึงเริ่มสะสมในเลือด โดยสัญญาณแรกของการสะสมสารพิษในสมองอาจสังเกตได้จากการที่ผู้ป่วยละเลยการดูแลตนเอง ไม่มีอาการตอบโต้ ลืมง่าย ไม่มีสมาธิ
  • มีความไวต่อยาและผลข้างเคียง เนื่องจากในผู้ป่วยโรคตับแข็งตับจะไม่สามารถกรองยาออกจากเลือดได้ในอัตราปกติ ตัวยาจึงออกฤทธิ์นานขึ้นและสะสมอยู่ในร่างกาย
  • มีเลือดออกอย่างรุนแรงในกระเพาะอาหารส่วนบนหรือหลอดอาหาร เนื่องมาจากการไหลเวียนของเลือดผิดปกติ ซึ่งจัดเป็นอาการที่รุนแรงและอันตราย แพทย์ต้องรีบหยุดเลือดโดยเร็ว

เราสามารถตรวจวินิจฉัยภาวะตับแข็ง ได้อย่างไร เราสามารถทำได้ 5 วิธี ประกอบด้วย

  1. การตรวจเลือด
  2. การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
  3. การตรวจอัลตราซาวนด์
  4. การตรวจตับและม้ามด้วยรังสี
  5. การเจาะผ่านผิวหนัง เพื่อเอาตัวอย่างจากเนื้อตับไปตรวจ

การรักษาโรคตับแข็ง

สำหรับการรักษาภาวะตับแข็ง จะต้องทำให้เนื้อเยื่อในตับหยุดพัฒนาตัวเอง และป้องกันภาวะโรคแทรกซ้อนต่างๆ และหลีกเลี่ยงการกระทำที่จะทำให้เกิดภาวะตับแข็ง ทั้งหมด เช่น งดการดื่มสุรา หลีกเลี่ยงการใช้ยา และการรับสารที่เป็นอันตรายต่อตับ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารดิบ รับประทานโปรตีนในปริมาณที่เหมาะสมต่อร่างกาย ลดอาหารที่มีรเค็ม และเข้าพบแพทย์ เพื่อรักษาอย่างสม่ำเสมอ แนวทางการรักษาโรคตับแข็งมี ดังนี้

  • งดการดื่มแอลกอฮอล์
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาและสารที่เป็นอันตรายต่อตับ
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารดิบ โดยเฉพาะอาหารทะเล เนื่องจากอาจมีเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดการติดเชื้อที่รุนแรง
    รับประทานโปรตีนในปริมาณที่เหมาะสม โดยควรรับประทานโปรตีนที่ย่อยง่าย เช่น ปลา หรือโปรตีนจากพืช (เช่น ถั่วเหลือง) เป็นต้น
  • หากมีอาการบวมที่ข้อเท้าและท้อง ควรจำกัดเกลือและอาหารรสเค็ม
  • เข้ารับการฉีดวัคซีนสำหรับโรคไวรัสตับอักเสบเอและบี ไข้หวัดใหญ่ และโรคปอดบวม เนื่องจากผู้ป่วยโรคตับแข็งมีความเสี่ยงในการติดเชื้อที่รุนแรงมากกว่าผู้ที่มีสุขภาพดี
  • พบแพทย์เพื่อติดตามการรักษาอย่างสม่ำเสมอ

โรคแทรกซ้อนที่สามารถเกิดได้เมื่อเป็นภาวะตับแข็ง เช่น มีน้ำในท้อง หลอดเลือดหน้าท้องพอง หลังเท้าบวม ท้องบวม เลือดออกง่าย ตัวเหลืองและตาเหลือง คันตามตัว เป็นนิ่วในถุงน้ำดี ความจำเสื่อม อาเจียนเป็นเลือด ริดสีดวงทวาร

การป้องกันโรคตับแข็ง

โรคตับแข็งสามารถป้องกันการเกิดโรคได้ด้วยการดูแลสุขภาพและไม่สร้างปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่ทำให้ตับเสียหลายหรือทำงานหนักเกินไป ควรหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรค มีรายละเอียดดังนี้

  • ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากหรือเลิกดื่มไปเลยได้ยิ่งดี
  • ไม่ใช้ยาหรือซื้อยาต่าง ๆ มารับประทานเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร โดยเฉพาะยาที่อาจมีพิษต่อตับ
  • หลีกเลี่ยงการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี
  • หลีกเลี่ยงการฉีดยาเสพติดเข้าเส้น
  • ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบีตั้งแต่แรกเกิด
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสม
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่
  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐานให้ดีอยู่เสมอ เพื่อลดโอกาสในการติดเชื้อต่าง ๆ
  • สำหรับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงควรเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี หรือตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

แอนแทรกซ์ เกิดจากแบคทีเรีย Bacillus anthracis กินเนื้อสัตว์ดิบ เชื้อโรคจะทำลายระบบภูมิต้านทานโรค ทำให้เกิดแผล หายใจผิดปรกติ และ ระบบทางเดินอาหารผิดปรกติแอนแทรกซ์ โรคติดเชื้อ การรักษาโรค

โรคแอนแทรกซ์ ( Anthrax ) คือ ภาวะการติดเชื้อแบคทีเรีย Bacillus anthracis ซึ่งเป็นแบคทีเรียจากเนื้อสัตว์ เมื่อคนกินเนื้อสัตว์ที่มีเชื้อโรคจะทำให้ร่างกายติดเชื้อและแสดงอาการต่างๆ เช่น มีไข้สูง ปวดเมื่อย ไอ เจ็บหน้าอก หายใจมีเสียงดัง หายใจลำบาก เหงื่อออกมาก และ ตัวจะเขียว เชื้อโรคจะทำลายภูมิต้านทานโรค และ ทำให้เสียชีวิตในที่สุด

โรคนี้เป็นโรคที่เกิดในสัตว์และแพร่สู่คนจากการกินเนื้อสัตว์ เนื้อสัตว์ที่มีโอกาสมีเชื้อโรคเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น วัว แพะ และแกะ เป็นต้น เมื่อเชื้อแอนแทรกซ์เข้าสู่ร่างกายจะขยายตัวอย่างรวดเร็ว และทำให้ร่างกายสร้างสารทอกซิน โดยมันจะช่วยทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตได้

เชื้อโรคแอนแทรกซ์ สามารถสร้างเกาะตัวได้ เมื่ออยู่นอกร่างกายคนหรือสัตว์ ทำให้มีความทนทานอยู่ได้นานนับ 10 ปี สัตว์ติดโรคนี้โดยการกินหรือการหายใจเอาเชื้อเข้าไปเชื้อจะแบ่งตัวเพิ่มจำนวนเร็วมาก สัตว์จึงมักตายภายใน 1 ถึง 2 วัน หลังได้รับเชื้อ โดยไม่แสดงอาการให้เห็น อาจพบเลือดสีดำคล้ำไหลออกจากจมูก ปากหรือทวารหนักของซากสัตว์

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคแอนแทรกซ์

สำหรับปัจจัยความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแอนแทรก มักจะเป็นคนในกลุ่มที่ทำงานเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโรค และ กลุ่มคนที่นินมกินอาหารดิบ โดยกลุ่มคนที่มีลักษณะ ดังต่อไปนี้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคแอนแทรกซ์

  • กลุ่มคนที่นิยมกินเนื้อสัตว์ดิบ เช่น ก้อยดิบ ลาบดิบ เป็นต้น
  • ผู้ที่ทำงานในปศุสัตว์ เลี้ยงสัตว์กลุ่มกินหญ้า
  • ผู้ทำงานในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับสัตว์กินหญ้าเช่น หนัง ขน กระดูก (ในสหรัฐอเมริกามีรายงานติดต่อจากการตีกลองที่ทำจากหนังสัตว์ที่ติดเชื้อนี้)
  • ผู้ทำงานในห้องปฏิบัติการที่ศึกษาเกี่ยวกับเชื้อนี้
  • เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ในประเทศที่มีการก่อการร้าย
  • สัตวแพทย์ที่ดูแลสัตว์กลุ่มนี้
  • ทหารที่ทำสงครามกับประเทศที่ใช้อาวุธชีวภาพ
  • ผู้ฉีด (เข้ากล้ามเนื้อ) สารเสพติดผิดกฏหมาย

อาการของโรคแอนแทรกซ์

สำหรับโรคแอนแทรกซ์ จะมีการแสดงอาการ แบ่งได้ 3 อาการ คือ โรคแอนแทรกซ์ที่ผิวหนัง โรคแอนแทรกซ์ที่ทางเดินหายใจ โรคแอนแทรกซ์ที่ทางเดินอาหาร

  • โรคแอนแทรกซ์ที่ผิวหนัง ผู้ป่วยจะมีตุ่มนํ้าใส แต่หลังจากนั้น 2 – 6 วัน ตุ่มจะยุบตรงกลาง และแผลจะเป็นสีดำเหมือนโดนบุหรี่จี้ มักไม่ปวดแผล
  • โรคแอนแทรกซ์ที่ระบบทางเดินหายใจ ผู้ป่วยจะมีไข้ ปวดเมื่อย มีอาการไอ เจ็บที่หน้าอก หายใจมีเสียงดัง หายใจลำบาก เหงื่อออกมาก และตัวจะเขียว ทำให้เสียชีวิตในที่สุด
  • โรคแอนแทรกซ์ที่ระบบทางเดินอาหาร พบว่าผู้ป่วยจะเกิดการอักเสบที่ลำไส้ และตัวบวมทำให้เลือดไปอุดตันระบบทางเดินอาหาร มีน้ำในช่องท้องมาก อาจทำให้เกิดอาการเลือดเป็นพิษ ช็อก และเสียชีวิตในที่สุด

อาการแทรกซ้อนของโรคแอนแทรกซ์ 

อาจพบติดเชื้อในกระแสเลือด การติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมอง ซึ่งจะเกิดลักษณะความผิดปรกติจากสมอง เช่น ปวดหัว สับสน กระวนกระวาย เอะอะอาละวาด จนกระทั่งซึมหมดสติ เป็นต้น

การรักษาโรคแอนแทรกซ์ 

เราสามารถรักษาโรคแอนแทรกซ์ โดยการให้ยาเพนิซิลลิน (Penicillin) เตตราซัยคลิน (Tetracycline), อีริโทรมัยซิน(Erythromycin) และคลอแรมเฟนิคอล (Chloramphenicol) ก็ให้ผลดีเช่นกัน ในปี พ.ศ. 2544  พบว่ามีการใช้ยาซิโปรฟล็อกซาซิน (Ciprofl oxacin) ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพที่ระบบทางเดินหายใจของผู้ป่วยแอนแทรกซ์ แต่ไม่มีผลการศึกษาชัดเจนว่าได้ผลดี

  • การให้ยาปฏิชีวนะ จะได้ผลดีกว่าเมื่อเริ่มให้ยาตั้งแต่รู้ว่าสัมผัสโรคโดยยังไม่เกิดอาการเรียกว่าเป็นการรักษาแบบป้องกัน แต่เมื่อมีอาการแล้วการรักษาได้ผลไม่ดีเท่าที่ควรและผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตได้สูง ซึ่งยาปฏิชีวนะที่ใช้รักษาโรคนี้มีหลายตัว โดยการรักษาอาจใช้ยาฯเพียงตัวเดียวหรือหลายตัวร่วมกันทั้งนี้ขึ้นกับความรุนแรงของโรคเช่น ยา Cyprofloxacin, Doxycycline, Erythromycin, Penicillin
  • การรักษาประคับประคองตามอาการ เช่น การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำกรณีกินอาหารได้น้อย การให้ออกซิเจนกรณีมีอาการทางการหายใจ การให้เลือดถ้ามีภาวะซีดจากเลือดออกมาก รวมไปถึงการให้ยาแก้อักเสบในกลุ่มสเตียรอยด์

ในปัจจุบันได้มีการศึกษานำยาที่เป็นสารภูมิต้านทาน (Monoclonal antibody therapy) เช่น ยา Raxibacumab มาใช้ทั้งในการป้องกันและในการรักษาการติดเชื้อแอนแทรกจากการสูดดม ซึ่งได้ผลดีในระดับหนึ่ง

การป้องกันโรคแอนแทรกซ์

  1. หากพบว่าสัตว์ที่เลี้ยงไว้ เช่น วัว ควายติดเชื้อแอนแทรกซ์ ให้เผาทำลายซากสัตว์อย่าให้เชื้อโรคแพร่กระจาย
  2. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคแอนแทรกซ์ให้แก่สัตว์เลี้ยง ทุกปี
  3. รักษาสุขอนามัยในการทำอาหาร โรงงานขนสัตว์ และ อาหารสัตว์

เชื้อโรคชนิดนี้ไม่สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ ดังนั้น การการรักษาและดูแลผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องแยกผู้ป่วย นอกจากจะสงสัยว่าอยู่ในสิ่งแวดล้อมเดียวกันนี้อาจมีเชื้อโรคจึงจะป้องกัน เมื่อผู้ป่วยเสียชีวิตลง ต้องระวังการแพร่เชื้อจากศพ

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove