ถั่วเหลือง ( soybean ) สมุนไพร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณบำรุงโลหิต ลดคอเลสเตอรอล ป้องกันโรคหัวใจ ลดน้ำตาลในเลือด บำรุงกระดูก ป้องกันโลหิตจาง โทษของถั่วเหลือง

ถั่วเหลือง สมุนไพร พืชตระกลูถั่ว ประโยชน์ของถั่วเหลือง

ต้นถั่วเหลือง ภาษาอังกฤษ เรียก soybean ชื่อวิทยาศาสตร์ของ ถั่วเหลือง เรียก Glycine max (L.) Merr. จัดเป็นพืชตระกลูถั่ว สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของถั่วเหลือง อาทิเช่น ถั่วแระ ถั่วพระเหลือง ถั่วแม่ตาย มะถั่วเน่า ถั่วเน่า ถั่วหนัง โชยุ โซยาบีน อึ่งตั่วเต่า เฮ็กตั่วเต่า เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของถั่วเหลือง

นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางอาหารของถั่วเหลือง ขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงาน 446 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารต่างๆ ดังนี้ คาร์โบไฮเดรต 30.16 กรัม น้ำ 8.54 กรัมถั่วงอกหัวโต น้ำตาล 7.33 กรัม เส้นใย 9.3 กรัม ไขมัน 19.94 กรัม ไขมันอิ่มตัว 2.884 กรัม ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว 4.404 กรัม ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน 11.255 กรัม โปรตีน 36.49 กรัม ทริปโตเฟน 0.591 กรัม ทรีโอนีน 1.766 กรัม ไอโซลิวซีน 1.971 กรัม ลิวซีน 3.309 กรัม ไลซีน 2.706 กรัม เมทไธโอนีน 0.547 กรัม ซิสทีน 0.655 กรัม ฟีนิลอะลานีน 2.122 กรัม ไทโรซีน 1.539 กรัม วาลีน 2.029 กรัม อาร์จินีน 3.153 กรัม ฮิสตามีน 1.097 กรัม อะลานีน 1.915 กรัม กรดแอสปาร์ติก 5.112 กรัม กลูตามิก 7.874 กรัม ไกลซีน 1.880 กรัม โพรลีน 2.379 กรัม ซีรีน 2.357 กรัม วิตามินเอ 1 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.874 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.87 มิลลิกรัม วิตามินบี3 1.623 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.793 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.377 มิลลิกรัม วิตามินบี9 375 ไมโครกรัม โคลีน 115.9 มิลลิกรัม วิตามินซี 6.0 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.85 มิลลิกรัม วิตามินเค 47 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 277 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 15.7 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 280 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 2.517 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 704 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 1,797 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 2 มิลลิกรัม และธาตุสังกะสี 4.89 มิลลิกรัม

ลักษณะของต้นถั่วเหลือง

ต้นถั่วเหลือง เป็นไม้พุ่ม มีความสูงประมาณ ไม่เกิน 150 เซนติเมตร ลักษณะของต้นถั่วเหลือง มีรายละเอียด ดังนี้

  • รากของถั่วเหลือง เป็นระบบรากแก้ว ลึกประมาณ 45 เซนติเมตร มีรากแขนง
  • ใบของถั่วเหลือง เป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบมีรูปร่างหลายแบบ เช่น รูปไข่จนถึงเรียวยาว  ใบมีขน
  • ดอกของถั่วเหลือง ออกเป็นช่อ มีช่อดอกเป็นแบบกระจะ ดอกมีสีขาวหรือสีม่วง ดอกจะออกตามมุมของก้านใบหรือตามยอดของลำต้น
  • ฝักของถั่วเหลือง ฝักจะออกเป็นกลุ่ม กลุ่มหนึ่งมีประมาณ 2 ถึง10 ฝัก ฝักมีขนสีเทา ฝักยาวประมาณ 2 ถึง 7 เซนติเมตร ในฝักมีเมล็ด ฝักอ่อน จะมีสีเขียว ฝักสุกจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
  • เมล็ดของถั่วเหลือง มีสีเหลือง สีเขียว สีน้ำตาล หรือสีดำ เมล็ดจะมีขนาดและรูปร่างที่ต่างกัน

สรรพคุณของถั่วเหลือง

การใช้ถั่วเหลืองนั้นจะใช้เมล็ด ซึ่งใช้ทั้งกากเมล็ด เปลือกเมล็ด และเนื้อของเมล็ด ซึ่ง เราจะแยกเป็นรายละเอียดของสรรพคุณด้านสมุนไพรของถั่วเหลือง มีดังนี้ ใช้บำรุงโลหิต ช่วยป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด ป้องกันมะเร็ง ช่วยลดโอกาสเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ลดการเกิดมะเร็งเต้านม ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ช่วยป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาเบาหวานได้ ช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยให้เลือดลมเดินสะดวก ช่วยถอนพิษ ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง แก้อาการปวดหัว  ช่วยเจริญอาหาร ช่วยบำรุงระบบย่อยอาหาร ช่วยแก้โรคบิด เป็นยาระบาย ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยปรับฮอร์โมนในสตรี บำรุงม้าม ทดแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ได้ ช่วยรักษาแผลเปื่อย รักษาแผลเน่าเปื่อย ใช้ห้ามเลือด ช่วยแก้ปวด ใช้เป็นยารักษาต้อกระจก

ข้อควรระวังสำหรับการบริโภคถั่วเหลือง

ถั่วเหลืองถึงจะมีประโยชน์มากมาย แต่ก็ยังมีข้อควรระวังอยู่บ้าง สำหรับข้อควรระวังในการกินถั่วเหลืองนั้นมีดังนี้

  • ในถั่วหลืองมีโปรตีนสูง สำหรับผู้ที่มีอาการแพ้โปรตีนจากถั่วเหลือง ให้งดรับประทาน โดยอาการสามารถสังเกตุได้จาก อาการผื่นคัน
  • โปรตีนจากถั่วเหลืองจะทำให้เกิดอาการ ท้องอืด แน่นท้อง ได้สำหรับเด็กและคนที่มีประวัติโรคหอบหืด
  • การดื่ม มมถั่วเหลือง ในเด็กทารก เพียงอย่างเดียว นั้นมีโอกาสทำให้ต่อมไทรอยด์จะทำงานผิดปกติได้ เนื่องจากนมถั่วเหลืองไม่มีสารไอโอดีน
  • ในนมถั่วเหลืองมีสารไฟโตเอสโตรเจน ในเพศชายหากรับประทานมากเกินไป จะทำใหเนมโต และจำนวนอสุจิลดลง
  • โปรตีนจากถั่วเหลือง ทำให้เนื้อเยื่อเต้านมหนาตัวยิ่งขึ้น อาจทำให้มีการสร้างน้ำนมที่ผิดปกติ
  • โปรตีนในถั่วเหลืองมีไฟเตตสูง ซึ่งจะเป็นตัวยับยั้งการดูดซึมเกลือแร่ในร่างกาย โดยเฉพาะกับแคลเซียม ธาตุเหล็ก แมกนีเซียม และสังกะสี
  • ถั่วเหลืองมีสาร Hemagglutinin ที่เป็นตัวทำให้เม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวจับตัวกันเป็นก้อน ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของเม็ดเลือดต่ำลง
  • การรับประทานถั่วเหลืองเป็นประจำ อาจทำให้เกิดภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ อาการที่พบคือ เจ็บส้นเท้า อ่อนเพลีย อ้วน

ถั่วเหลือง ประโยชน์และโทษถั่วเหลือง สรรพคุณถั่วเหลือง  ถั่วเหลือง ภาษาอังกฤษ Soybean น้ำมันถั่วเหลือง สารสกัดจากถั่วเหลือง นมถั่วเหลือง โปรตีนถั่วเหลือง เป็นพืชเศรษฐกิจที่เหมาะสำหรับปลูกสลับกับการปลูกข้าว อันตรายจากถั่วเหลือง ในน้ำนมถั่วเหลือง มีสารไฟโตเอสโตรเจน ช่วยทำให้ระบบเลือดดีขึ้น แล้วยังช่วยทำให้สิวลดลงด้วย

ถั่วเหลือง นั้นเป็นธัญพืช เป็นที่รู้จักกันดีในสังคมไทย และชาวจีน อย่าง นมถั่วเหลือง น้ำเต้าหู้ น้ำมันถั่วเหลือง หรือแม้แต่ขนมหวาน จะมีถั่วเหลืองเป็นส่วนประกอบ วันนี้เรามาทำความรู้จักกับถั่วเหลือง เป็นอย่างไร มีสรรพคุณอะไรบ้าง มีคุณค่าทางอาหารอย่างไร ข้อควรระวังในการกินถั่วเหลือง บทความนี้เราจะให้รู้จักกับถั่วเหลืองอย่างละเอียด

ถั่วเหลือง หรือ Soybean เป็นสมุนไพร ประเภทพืชเถา เป็นพืชเศรษฐกิจ สามารถปลูกได้ในประเทศแถบร้อนและอบอุ่น แหล่งกำเนิดของ ถั่วเหลือง จะอยู่ที่ประเทศจีน ในปัจจุบันประเทศไทยมี การปลูกถั่วเหลือง ทางภาคกลางตอนบรและภาคเหนือ ประเทศที่มีการผลิตถั่วเหลืองมากที่สุดในโลก คือ สหรัฐอเมริกา รองลงมาเป็น ประเทศบราซิล และจีน ตามลำดับ

ถั่วเหลือง ( soybean ) พืชตระกลูถั่ว สมุนไพร ประโยชน์ของถั่วเหลือง คุณค่าทางโภชนาการของถั่วเหลืือง สรรพคุณของถั่วเหลือง บำรุงโลหิต ป้องกันมะเร็ง ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ช่วยป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาเบาหวาน ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง โทษของถั่วเหลือง

ฟักเขียว สมุนไพร นิยมรับประทานผลฟักเขียว ประโยชน์และสรรพคุณลดความอ้วน ลดน้ำตาลในเลือด ลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงผิวพรรณ คุณค่าทางโภชนาการของฟักเขียว

ฟักเขียว สมุนไพร ผักสวนครัว สรรพคุณของฟักเขียว

ฟักเขียว พืชสมุนไพรริมรั่ว สรรพคุณสุดน่าทึ่ง ฟักเขียวสามารถช่วยลดความอ้วน ลดน้ำตาลในเลือด ลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันเมร็ง บำรุงผิวพรรณ บำรุงปอด และบำรุงเลือด แต่ประโยชน์ของฟักเขียวยังมีมากกว่านี้มาก สำหรับฟักเขียว เป็นอย่างไร การนำเอาฟักเขียวมาใช้ประโยชน์ทางยา การรักษาโรค ทำอย่างไร วันนี้ เรามาทำความรู้จักกับฟักเขียวอย่างละเอียด

ต้นฟักเขียว หรือ ต้นฟักแฟง ซึ่งคนไทยเรียกสั้นๆว่า “ฟัก” ภาษาอังกฤษเรียกว่า Winter Melon มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Benincasa hispida (Thunb.) Cogn. ฟักเขียวถูกจัดให้เป็นพืชอยู่ในตระกูลแตง สำหรับชื่อเรียกอื่นๆ ของฟักเขียว มีมากมาย เรียกต่างกันตามท้องถิ่น อาทิ เช่น ฟักขี้หมู ฟักจิง มะฟักขม มะฟักหม่น มะฟักหม่นขม บักฟัง ฟักขาว ฟักจีน แฟง ขี้พร้า มะฟักหอม เป็นต้น

ลักษณะทางพันธุศาสตร์ของฟักเขียว

ฟักเขียว เป็นพืชล้มลุก ลักษณะเดียวกับ บวบ มะระ และแตงกวา เป็นพืชที่มีการปลูกมากในประเทศเขตร้อน ตามทวีปเอเชีย ทวีปแอฟริกา และทวีปอเมริกา ลักษณะของฟักเขียว เป็นพืชอายุสั้น

  • ลำต้นของฟักเขียว ลำต้นยาว เป็นลักษณะเถา มีสีเขียวมีขนปกคลุมตลอดทั้งลำต้น
  • ใบของฟักเขียว ใบเป็นหยัก ปลายใบแหลม โคนของใบจะเว้าเป็นรูปหัวใจ ผิวของใบจะหยาบมีขน สีเขียวเข้ม ส่วนก้านใบนั้นจะยาวประมาณ 10เซนติเมตร
  • ดอกของฟักเขียว จะออกดอกตามง่ามของใบ ลักษณะเป้นดอกเดี่ยว สีเหลือง ดอกมีเกสรตัวผุ้และตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน
  • ผลของฟักเขียว รูปกลมยาวเหมือนไข่ ผลมีความกว้างประมาณ 10 ถึง 20 เซนติเมตร และยาวประมาณ 20 ถึง 40 เซนติเมตร เปลือกของฟักเขียว จะแข็งและมีสีเขียว  เนื้อของผลฟัก เป็นสีเขียวอ่อน ฉ่ำน้ำ เนื้อแน่น มีเมล็ดสีขาวอยู่ภายในจำนวนมาก
  • เมล็ดของฟักเขียว เป็นรูปไข่ ลักษณะแบน ผิวเรียบมีสีขาวหรือสีน้ำตาลอ่อน เมล็ดของฟักเขียวสามารถนำไปขยายพันธ์ต่อได้

สำหรับในบ้านเรานั้นผลฟักเขียวจะนิยมนำมาใช้ประกอบอาหารเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นอาหารประเภทคาวและหวาน เช่น ต้ม ผัด แกง หรือทำเป็นขนมหวานในช่วงเทศกาล ใช้บริโภคทั้งแบบดิบและแบบสุก และสามารถบริโภคได้ทั้งผลอ่อนและผลแก่ โดยผลอ่อนจะมีรสชาติที่เข้มกว่าผลแก่ และมีน้ำมากกว่า

การปลูกต้นฟักเขียว

สำหรับ การปลูกต้นฟักเขียว นั้น ใช้การขยายพันธ์ด้วยเมล็ด ซึ่งเมล็ดของฟักเขียวจะอยู่ที่ผลสุกของฟักเขียว นำเมล็ดมาปลูก ง่าย ฟักเขียวชอบดินร่วนปนทราย ไม่ชอบน้ำมาก แต่ต้องการให้ดินชื้นเสมอ การปลูกต้นฟักเขียว ให้เตรียมหลุมปลูกลึกสัก 5 เซ็นติเมตร นำเมล็ดฟักเขียวลงและฝังกลบ ต้นอ่อนจะงอกออกมาภายใน 3-5 วัน และจะเจริญเติบโตไปเรื่อยๆ สำหรับผลฟักเขียวสามารถเก้บเกี่ยวผล ภายใน 60 วัน

คุณค่าทางอาหารของฟักเขียว

นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางอาหารของฟักเขียว พบว่า ผลสดของฟักเขียว ขนาด 100 กรัม พบว่า มีสารอาหารต่างๆที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์ ประกอบด้วย โปรตีน 0.4 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม คาร์โบไฮเดรต 3 กรัม กากใยอาหาร 0.4 กรัม แคลเซียม 19  มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 19 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.4 มิลลิกรัม โซเดียม 6 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 111 มิลลิกรัม วิตามินบี 1 4 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.11 มิลลิกรัม ไนอะซิน 0.4 มิลลิกรัม และวิตามินซี 13 มิลลิกรัม

ฟัก เป็นพืชที่ นิยมนำมาทำอาหาร สำหรับอาหารไทย ส่วนใหญ่แล้วจะเป็น อาหาร เมนูต้ม เมนูแกง เนื่องจากเนื้อฟักเมื่อต้มจนแล้วจะนุ่มและเปื่อย สำหรับ เมนูฟักเขียว ที่เป็นที่รู้จัก คือ แกงเขียวหวานไก่ แกงเลียงกุ้งสด เป็นต้น แต่นอกจากอาหารคาวเมนูต่างๆ ฟักเขียว ก็สามารถนำมาทำขนมไทย เมนูของหวานได้เช่นกัน อาทิเช่น ขนมฟักเชื่อม ฟักกวน เป็นต้น แต่ก็มี ข้อควรระวังในการรับประทานฟักเขียว ให้ระวังในการรับประทาน สำหรับคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับการขับถ่าย และแน่นหน้าอก

สรรพคุณของฟักเขียว

สำหรับ การนำเอาฟักเขียวมาใช้ประโยชน์ ด้านยา และการรักษาโรคนั้น เราจะแยก สรรพคุณของฟักเขียว ตามส่วนต่างๆของต้นฟัก ซึ่งนิยมนำฟักมาใช้ประโยชน์ในส่วน ผล เมล็ด ใบ เถา รากและเปลือก

  • รากของฟัก สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ช่วยลดไข้ ช่วยแก้กระหายน้ำ รักษาโรคหนองใน
  • เปลือกของฟัก สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ช่วยลดน้ำหนัก ลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือด ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยรักษาบาดแผล
  • ใบของฟัก สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ช่วยแก้อาการร้อนใน ช่วยแก้กระหายน้ำ ช่วยแก้ท้องเสีย ช่วยแก้โรคบิด ช่วยแก้อาการฟกช้ำ ช่วยรักษาบาดแผล ช่วยแก้พิษจากการถูกผึ้งต่อย
  • เมล็ดของฟัก สามารถนำมาใช้ประโยชน์ บำรุงกำลัง บำรุงผิว ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือด ช่วยลดการแบ่งตัวของเซลล์ ช่วยรักษาวัณโรค ช่วยบำรุงปอด ช่วยลดไข้ ช่วยขับเสมหะ ช่วยแก้กระหายน้ำ ช่วยรักษาลำไว้อักเสบ เป็นยา ระบาย ช่วยขับพยาธิ ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร ช่วยรักษาโรคทางเดินปัสสาวะ ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคหนองใน ช่วยลดอาการอักเสบ
  • เถาของฟัก สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ช่วยลดไข้ ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร
  • ผลของฟัก สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ช่วยลดน้ำหนัก ลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันมะเร็ง ช่วยเพิ่มพลังทางเพศ รักษาเบาหวาน บำรุงกำลัง  บำรุงระบบประสาท ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือด ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ ช่วยแก้โลหิตเป็นพิษ  ช่วยบำรุงปอด ช่วยรักษาโรคหอบหืด ช่วยขับเสมหะ ช่วยแก้อาการร้อนใน ช่วยแก้กระหายน้ำ ช่วยแก้ท้องเสีย ช่วยแก้โรคบิด แก้ท้องอืด เป็นยาระบาย ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคหนองใน

การเลือกซื้อฟักเขียว

สำหรับ การรับประทานฟักเขียว หากไม่ได้ปลูกเอง แล้ว เทคนิคการเลือกฟักเขียว ที่ดี มีดังต่อไปนี้ ควรเลือกฟักเขียวที่มีเนื้อแข็ง เนื่องจากเนื้อที่แข็งเวลานำมาทำอาหารจะกรอบและมีรสหวาน น่ารับประทาน ลักษณะเนื้อฟักเขียวที่ดี จะมีสีเขียวบริเวณขอบและค่อยๆขาวขึ้นเมื่อเข้าไปในแกน สำหรับ การเก็บรักษาฟักเขียว สามารถเป็นไว้ได้นานเป็นเดือน

ฟักเขียว ( Winter Melon ) สมุนไพร นิยมรับประทานผลฟักเขียว ประโยชน์ของฟักเขียว สรรพคุณของฟักเขียว ลดความอ้วน ลดน้ำตาลในเลือด ลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันมะเร็ง บำรุงผิวพรรณ ทำความรู้จักกับฟักเขียว คุณค่าทางโภชนาการของฟักเขียว


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove