บัวบก ( Gotu kola ) สมุนไพร ต้นบัวบกเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ ประโยชน์และสรรพคุณรักษาแผล แก้ร้อนใน ลดความร้อนในร่างกาย เป็นยาเย็น ข้อควรระวังในการใช้ใบบัวบก

บัวบก สมุนไพร สรรพคุณของบัวบก ประโยชน์ของบัวบก

บัวบก (Gotu kola) สมุนไพร คุ้นหู มาทำความรู้จักกับ ต้นบัวบก และ สรรพคุณของบัวบก เป็นแผลให้ใบบัวบกช่วยให้หายได้เร็วขึ้น ประโยชน์และข้อควรระวังในการใช้ใบบัวบกในการรักษาโรคมีอะไรบ้าง ใบบัวบกเหมาะสำหรับคนที่ขี้ร้อน มีภาวะแกร่ง หรือมีความร้อนชื้น เพราะเป็น สมุนไพรที่มีฤทธิ์เป็นยาเย็น

ต้นบัวบก ภาษาอังกฤษ เรียก Gotu kola ชื่อวิทยาศาสตร์ของบัวบก คือ Centella asiatica (L.) Urb. เป็น พืชตระกูลเดียวกับผักชี สำหรับ บัวบก มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกหลายชื่อ ที่เรียกแตกต่างกันตามท้องถิ่น เช่น ผักหนอก , ผักแว่น , กะโต่ เป็นต้น

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของบัวบก

ต้นบัวบก เป็น พืชล้มลุก เป็น ไม้เลื้อย ขึ้นตามพื้นดิน เป็น พืชคลุมดิน ใบเป็นใบเดียว ออกตามข้อของลำต้น ใบออกเป็นกระจุก ตามข้อของลำต้น ใบลักษณะคล้ายรูปไต ขอบใบมนๆ ดอกของบัวบกคล้ายร่ม ออกเป็นช่อ กลีบดอกมีสีม่วงอมแดง ผลของบัวบกเป็นผลแห้ง ลักษณะแบนและแตก

คุณค่าทางโภชนาการของบัวบก

นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของใบบัวบก สดปริมาณ 100 กรัม พบว่ามีสารอาหารหลายชนิด ประกอบด้วย  วิตามินบี 1 แคลเซียม 146 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 3.9 มิลลิกรัม เบตาแคโรทีน 2,428 ไมโครกรัม และวิตามินซี 15 มิลลิกรัม

นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษา ใบบัวบก อย่างจริงจัง พบว่ามีสารสำคัญหลายชนิด เช่น วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 6 วิตามินเอ วิตามินเค ธาตุแคลเซียม ธาตุแมกนีเซียม ธาตุโซเดียม สารบราโมซัยด์ สารบรามิโนซัยด์ สารไตรเตอพีนอยด์ สารมาดิแคสโซซัยด์ กรดมาดิแคสซิค  และกรดอะมิโน หลายตัว เช่น แอสพาเรต กรดกลูตามิก เซรีน ทรีโอนีน อะลานีน ไลซีน ฮีสทีดิน เป็นต้น

สรรพคุณของบัวบก

สำหรับการใช้ประโยชน์ของบัวบก ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นิยมใช้ ใบบัวบก ทั้งใบสดและใบแห้งมาใช้ประโยชน์ ซึ่งเราได้รวม สรรพคุณของใบบัวบก ดังนี้

  • ช่วยชะลดวัย ลดการเหี่ยวย่นของผิวพรรณ
  • ใบบัวบกเป็นยาอายุวัฒนะ
  • ใบบัวบกช่วยเสริมสร้าง และกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและอีลาสติน
  • ใบบัวบกช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งในร่างกาย มีสารยับยั้งหรือชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง
  • ใบบัวบกช่วยบำรุงและรักษาสายตา รวมถึงฟื้นฟูโดยรอบของดวงตา
  • ช่วยรักษาอาการอักเสบและบวมแดงของตา
  • ใบบกช่วยบำรุงระบบประสาทและสมอง ช่วยให้ความจำดีขึ้น ทำให้มีปฏิภาณไหวพริบดี ช่วยเพิ่มความจำสำหรับผู้สูงวัย ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ และสมองเสื่อม ช่วยเพิ่มการมีสมาธิ แก้ปัญหาสมาธิสั้นได้
  • ช่วยแก้อาการปวดหัว รักษาอาการไมเกรน แก้ปวดหัวข้างเดียว ลดอาการเวียนหัว
  • ช่วยให้ผ่อนคลาย ลดความเครียด ให้นอนหลับสบาย ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย เมื่อยล้า
  • ช่วยบำรุงเลือด ช่วยทำให้เลือดระบบเลือดทำงานได้ดีขึ้น ช่วยกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อของร่างกาย เป็นยาบำรุง
  • ช่วยบำรุงหัวใจ ระบบการทำงานของหัวใจสมดุลย์ ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง
  • ช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกายสำหรับคนป่วย
  • ช่วยให้ความชุ่มชื่นของลำคอ บำรุงเสียง ช่วยรักษาอาการเจ็บคอ ช่วยแก้กระหายน้ำ ช่วยแก้อาการร้อนใน ช่วยลดไข้ ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ
  • ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวานได้
  • รักษาโรคดีซ่าน รักษาโรคโลหิตจาง ช่วยรักษาอาการหอบหืด ช่วยรักษาโรคลมชัก
  • รักษาอาการเต้านมอักเสบ ที่เป็นหนองในระยะแรก
  • ช่วยเจริญอาหาร ป้องกันอาการท้องเสีย ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหารเป็นแผล
  • ใบบัวบกใช้เป็นยาระบาย ช่วยระบายท้อง แก้ลม
  • ใบบัวบกใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้อาการปัสสาวะติดขัด ป้องกันการเกิดนิ่ว ช่วยรักษาโรคนิ่วที่ทางเดินปัสสาวะ
    ช่วยรักษาอาการหนอง ที่ออกจากปัสสาวะ รักษาหนองใน
  • บำรุงม้าม รักษาโรคม้ามโต ช่วยแก้อาการน้ำดีที่มีมากเกินไปในร่างกาย
  • แก้อาการปวดข้อรูมาตอยด์ รักษาโรครูมาตอยด์ได้
  • ใช้เป็นยาห้ามเลือด รักษาแผลสด ทำให้แผลหายเร็วขึ้น แก้ฟกช้ำ
  • ใบบัวบกช่วยรักษาอาการแมลงสัตว์กัดต่อย ช่วยรักษาโรคผิวหนัง เช่น รักษาโรคเรื้อน รักษาโรคสะเก็ดเงิน รักษาหิด รักษาหัด เป็นต้น ช่วยระงับการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ช่วยลดอาการอักเสบของแผลได้
  • ใบบัวบกใช้เป็นยาถอนพิษ ช่วยรักษาแผลน้ำร้อนลวก ลดอาการปวดแสบปวดร้อนจากแผลไฟไหม้ และยังช่วยป้องกันการเกิดแผลซ้ำ
  • ใบบัวบกช่วยบำรุงหนังศีรษะและเส้นผม ทำให้เส้นผมดกดำ รักษาอาการผมร่วง
  • ใบบัวบก เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางค์ ช่วยบำรุงผิว และป้องกันเชื้อแบคทีเรียที่ผิว นำสารสกัดเป็นสบู่ใบบัวบก ช่วยรักษาสิว ทำให้ผิวขาว ใบหน้าเต่งตึง

ข้อควรระวังในการใช้บัวบก

  • ใบบัวบก ไม่เหมาะสำหรับคนที่มี ภาวะตัวเย็น จะทำให้ร่างกายยเย็นขึ้นและท้องอืด
  • การกินบัวบกมากเกินไป ไม่ดี เนื่องจากใบบัวบกเป้นยาเย็น หากมีปริมาณมากเกินไปจะทำให้ ร่างกายเสียสมดุลถ้ากิน ใบสด ปริมาณครั้งละ 10 ถึง 20 ใบต่อสัปดาห์ ถือว่าอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม แต่ไม่ควรกินทุกวันอาจเป็นพิษต่อร่างกายได้
  • ไม่ควรนำใบบักบกมาตากแห้ง เพราะจะเสียคุณค่าทางตัวยา ใบบัวบกจะนำมาสกัดให้อยู่ในรูปแบบน้ำมันหอมระเหย

ต้นบัวบก พืชสมุนไพร ที่มีต้นกำเนิดในแถบเอเชีย เป็น พืชล้มลุก มีขนาดเล็ก มีกลิ่นฉุน รสขมอมหวาน สามารถใช้รักษาโรคมากมาย บัวบก ทำให้แผลให้หายได้เร็วขึ้น และ ลดอาการอักเสบของแผล มีการศึกษาพบว่า ใน ใบบัวบก มี กรดมาเดคาสสิก กรดอะเซียติก และ สารอะเซียติโคไซด์ มีสรรพคุณช่วยในการสมานแผลและลดการอักเสบ

เราจะเห็นว่ามียาหลายชนิด ทั้ง ยาแผนปัจจุบัน และ ยาแผนโบราณ ที่มีส่วนผสมของใบบัวบก ซึ่งผลิตออกมาในรูปแบบ ครีม ผง ยาเม็ด เป็นต้น และยังมีการสกัดสารสำคัญที่ได้จากใบบัวบก ซึ่งสารที่สกัดได้จากใบบัวบก มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสและต้านอนุมูลอิสระ

นอกจาก ใบบัวบก มีสรรพคุณทางยา ใบสดของบัวบก สามารถนำมาทำอาหาร รับประทานเป็นผักสดได้ อาหารไทย ก็ หลายมี เมนูอาหาร ที่มีบัวบกเป็นผัก เช่น ผัดไทย ผัดหมี่ หมี่กะทิ ขนมจีน ลาบ ยำ รวมถึงนำใบสดมาคั้นทำ น้ำใบบัวบก การกินใบบัวบกสดๆ ช่วยแก้อาการเวียนหัว ท้องร่วง รักษาอาการถ่ายเป็นเลือด รักษาอาการแขนขากระตุก

บัวบก ( Gotu kola ) สมุนไพร ลักษณะของต้นบัวบก เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของบัวบก ประโยชน์และสรรพคุณของบัวบก เช่น รักษาแผล แก้ร้อนใน ลดความร้อนในร่างกาย เป็นยาเย็น ข้อควรระวังในการใช้ใบบัวบก มีอะไรบ้าง

โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ เพิ่มน้ำอสุจิ กระตุ้นมดลูก เหมาะสำหรับคนมีบุตรยาก ว่านโด่ไม่รู้ล้ม สตรีมีครรภ์ควรหลีกเลี่ยง โทษของโด่ไม่รู้ล้ม

โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ประฌยชน์ของโด่ไม่รู้ล้ม

ว่านโด่ไม่รู้ล้ม เป็น พืชสมุนไพร ที่มี สรรพคุณ เสริมสมรรถภาพทางเพศ ช่วยบำรุงกำลัง ลดความดันโลหิต ช่วยเพิ่มคุณภาพอสุจิ กระตุ้นมดลูก เหมาะ สำหรับคนมีบุตรยาก ว่านโด่ไม่รู้ล้ม ควรหลีกเลี่ยงสำหรับสตรีมีครรภ์ โด่ไม่รู้ล้ม ทางเภสัชศาสตร์ พบว่า โด่ไม่รู้ล้ม มี สรรพคุณ ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส ต้านความเป็นพิษต่อตับ สามารถช่วยลดไข้ ลดอักเสบ ลดความดันเลือด บำรุงลำไส้เล็ก กระตุ้นการทำงานของมดลูก เพิ่มคุณภาพน้ำอสุจิในเพศชาย เพิ่มขนาด และ ความแข็งแรงของอวัยวะเพศ

โด่ไม่รู้ล้ม ภาษาอังกฤษ เรียก Prickly-leaved elephant’s foot มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Elephantopus scaber L. เป็น พืชตระกูลเดียวกันกับทานตะวัน ชื่อเรียกอื่นๆของโด่ไม่รู้ล้ม อาทิ เช่น ขี้ไฟนกคุ่ม , คิงไฟนกคุ่ม , หนาดมีแคลน ,  หญ้าปราบ , หญ้าไก่นกคุ่ม , หญ้าไฟนกคุ้ม , หญ้าสามสิบสองหาบ เป็นต้น

ลักษณะของต้นโด่ไม่รู้ล้ม

โด่ไม่รู้ล้ม เป็น พืชล้มลุก คล้ายหญ้า ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด ชอบดินทราย สามารถพบได้ตาม ป่าโปร่ง ป่าเต็งรัง ป่าดิบ และ ป่าสนเขา ในประเทศเขตร้อน มีลักษณะของต้นว่านโด่ไม่รู้ล้ม ดังนี้

  • ลำต้น สูงประมาณ 30 เซ็นติเมตร ลำต้นสั้น ลักษณะกลม อยู่ระดับผิวดิน
  • ใบของโด่ไม่รู้ล้ม เป็นใบเดี่ยว ขึ้นบนเหง้า ใบขึ้นเป็นกระจุก เหมือนดอกกุหลาบ ใบ เป็นรูปหอกหัวกลับ ใบกว้าง ขอบใบหยัก เนื้อใบหนาและสาก ผิวของใบมีขนเล็กๆ ท้องใบจะมีขนมากกว่าหลังใบ และไม่มีก้านใบ
  • ดอกโด่ไม่รู้ล้ม   ออกดอกเป็นช่อ ออกมาจากลำต้น ดอก เป็นรูปหลอดสีม่วง หลอดกลีบดอกยาว ไม่มีขน ปลายแหลม ฐานเป็นติ่งแหลม แต่ละช่อย่อยจะอยู่รวมกันเป็นช่อกระจุกกลมที่ปลายก้านดอก
  • ผลของโด่ไม่รู้ล้ม ผลจะเป็นผลแห้ง และไม่แตก ซึ่งลักษณะของผล จะเล็ก เรียว เป็นรูปกรวย ผลมีขน

สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม

ว่านโด่ไม่รู้ล้ม สามารถใช้ประโยชน์ ทาง การรักษาโรค ได้ทุกส่วน ทั้งต้น ใบ และ ราก ซึ่งรายละเอียด ประโยชน์ทางยาของว่านโด่ไม่รู้ล้ม มี ดังนี้

  • รากของโด่ไม่รู้ล้ม ใช้ เป็นยาบำรุงร่างกาย ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยแก้อาการร้อนใน ช่วยขับเหงื่อ ใช้รักษามาลาเรีย ช่วยลดไข้ เป็นยาแก้ไอ แก้ไข้หวัด แก้อาเจียน เป็นยาแก้วัณโรค ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ ช่วยแก้อาการตาแดง ช่วยรักษาแผลในช่องปาก แก้ปวดฟัน รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ช่วยขับพยาธิ ช่วยขับระดูขาวของสตรี เป็นยาบีบมดลูก ใช้ต้มอาบหลังคลอดของสตรี ช่วยแก้นิ่ว ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยบำรุงกำหนัด ใช้เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยขับของเสีย ช่วยแก้อาการอักเสบ ช่วยรักษาฝี ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย ช่วยเพิ่มเม็ดเลือดแดง
  • ใบของโด่ไม่รู้ล้ม ใช้ เป็นยาบำรุงร่างกาย ช่วยบำรุงหัวใจ บำรุงเลือด ช่วยเจริญอาหาร ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย ช่วยขับเหงื่อ ใช้รักษาโรคมาลาเรีย ใช้ลดไข้ เป็นยาแก้ไอ ใช้รักษาวัณโรค ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ รักษาตาแดง ช่วยรักษาแผลในช่องปาก บรรเทาอาการเจ็บหน้าอก แก้อาการท้องเสีย รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ช่วยขับพยาธิ ช่วยแก้นิ่ว ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยบำรุงกำหนัด เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยขับของเสีย ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย ช่วยรักษาโรคผิวหนัง ช่วยรักษาบาดแผล ช่วยคลายเส้น แก้อาการปวดเมื่อย
  • ลำต้นของโด่ไม่รู้ล้ม ใช้ เป็นยาบำรุงร่างกาย ช่วยบำรุงหัวใจ บำรุงเลือด ช่วยเจริญอาหาร ช่วยแก้กษัย ช่วยขับเหงื่อ ใช้รักษาไข้มาลาเรีย ลดไข้  เป็นยาแก้ไอ แก้วัณโรค ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ แก้ตาแดง ช่วยรักษาอาการต่อมทอนซิลอักเสบ ช่วยรักษาแผลในช่องปาก ช่วยห้ามเลือดกำเดา บรรเทาอาการเจ็บหน้าอก แก้อาการท้องเสีย รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ช่วยขับพยาธิ ช่วยแก้นิ่ว ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยบำรุงกำหนัด บำรุงสมรรถภาพทางเพศ ช่วยขับของเสีย ช่วยรักษาฝี ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย

ประโยชน์อื่นๆของต้นโด่ไม่รู้ล้ม

  • ใช้เป็น ไม้ประดับ ปลูกประจำบ้าน เพื่อความสวยงาม
  • เป็น ต้นไม้มงคล เชื่อว่า การปลูกว่านโด่ไม่รู้ล้ม ช่วยป้องกันเสนียดจัญไร
  • นำไป แปรรูปเป็นยาสมุนไพร เช่น ผงสำเร็จรูป ยาดองเหล้า ยาแคปซูล เป็นต้น

ข้อควรระวังสำหรับการใช้โด่ไม่รู้ล้ม

สำหรับสตรีมีครรภ์ ห้ามใช้ รวมถึงคนทั่วไปที่มีปัญหาเมื่อเจออากาศหนาว คนที่ชอบดื่มของร้อน เป็นต้น

โด่ไม่รู้ล้ม พืชสมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยเพิ่มน้ำอสุจิ กระตุ้นมดลูก เหมาะสำหรับคนมีบุตรยาก ว่านโด่ไม่รู้ล้ม สตรีมีครรภ์ควรหลีกเลี่ยง โทษของโด่ไม่รู้ล้ม


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove