ถั่วเขียว ( Green Bean ) สมุนไพร พืชตระกลูถั่ว ต้นถั่วเขียวเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ ประโยชน์และสรรพคุณลดคอเรสเตอรัล ช่วยเจริญอาหาร ลดไขมัน บำรุงผิวถั่วเขียว สมุนไพร สรรพคุณถั่วเขียว ประโยชน์ของถั่วเขียว

ต้นถั่วเขียว ภาษาอังกฤษ เรียก Green Bean ถั่วเขียว มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Vigna radiata (L.) R.Wilczek สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของถั่วเขียว เช่น ถั่วจิม, ถั่วมุม, ถั่วเขียว ถั่วทอง เป็นต้น ถั่วเขียว เป็นพืชตระกลูถั่ว มีสรรพคุณสูง เหมาะสำหรับการลดความอ้วน ถั่วเขียวช่วยลดคอเรสเตอรัล บำรุงหัวใจ ช่วยกำจัดสารพิษ บำรุงผิวพรรณ ถั่วเขียวจัดว่าเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง ประโยชน์ของถั่วเขียว มากมาย แต่มีข้อควรระวังในการบริโภคถั่วเขียวอยู่บ้าง วันนี้เรามาทำความรู้จักกับถั่วเขียวอย่างละเอียด ว่าเป็นอย่างไร ใช้รักษาอะไรได้บ้าง

คุณค่าทางโภชนาการของถั่วเขียว

นักโภชนาการได้ทำการศึกษาคุณค่าทางอาหารของ ถั่วเขียว ทั้งใน ถั่วเขียวสด และถั่วเขียวต้ม พบว่า มีคุณค่าทางอาหารที่ใกล้เคียงกัน รายละเอียดดังนี้

ถั่วเขียวต้ม ขนาด 100 กรัม นั้น ให้พลังงาน 105 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วยสารอาหารต่างๆ อาทิ เช่น คาร์โบไฮเดรต 19.15 กรัม น้ำ 72.66 กรัม น้ำตาล 2 กรัม กากใยอาหาร 7.6 กรัม ไขมัน 1.15 กรัม โปรตีน 7.02 กรัม วิตามินบี2 0.061 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.164 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.41 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.067 มิลลิกรัม วิตามินบี9 159 ไมโครกรัม วิตามินบี3 0.577 มิลลิกรัม วิตามินซี 1 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.15 มิลลิกรัม วิตามินเค 2.7 ไมโครกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 99 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 27 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.298 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.4 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 266 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 48 มิลลิกรัม และธาตุสังกะสี 0.84 มิลลิกรัม

ถั่วเขียวดิบ ขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน 347 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วยสารอาหาร ดังนี้ คาร์โบไฮเดรต 62.62 กรัม
น้ำ 9.05 กรัม น้ำตาล 6.6 กรัม กากใยอาหาร 16.3 กรัม ไขมัน 1.15 กรัม โปรตีน 23.86 กรัม วิตามินบี1 0.621 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.233 มิลลิกรัม วิตามินเค 9 ไมโครกรัม วิตามินบี3 2.251 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.382 มิลลิกรัม  วิตามินบี5 1.91 มิลลิกรัม วิตามินบี9 625 ไมโครกรัม วิตามินซี 4.8 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.51 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 189 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 132 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 6.74 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 1,246 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 1.035 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 367 มิลลิกรัม และธาตุสังกะสี 2.68 มิลลิกรัม 28%

ลักษณะของต้นถั่วเขียว

ต้นถั่วเขียว เป็นพืชล้มลุกมีอายุสั้น สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ซึ่งลักษณะของต้นถั่วเขียว นั้นมีรายละเอียด ดังนี้

  • รากของถั่วเขียว เป็นระบบรากแก้ว มีรากแขนงมากมาย ถั่วเขียวจะเจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความชื้น รากของถั่วเขียว เป็นแหล่งสะสมไนดตรเจนที่ดีสำหรับสารอาหารในดิน
  • ลำต้นของถั่วเขียว มีลักษณะลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้าน เป็นทรงพุ่ม ความสูงประมาณไม่เกิน 150 เซนติเมตร ลำต้นมีขนอ่อน
  • ใบของต้นถั่วเขียว เป็นใบเดียวแต่ในก้านหนึ่งก้านจะมีใบเดียว สามใบ
  • ดอกของต้นถั่วเขียว จะขึ้นบริเวณมุมใบ ปลายยอด และกิ่งก้าน ลักษณะดอกเป็นช่อ ความยาวประมาณ 2 ถึง 13 เซนติเมตร ดอกของถั่วเขียวมีหลายสี อาทิ เช่น สีเหลือง สีขาว และสีม่วง เป็นต้น
  • ฝักและเมล็ดของต้นถั่วเขียว ฝักจะยาวกลม งอเล็กน้อย ผิวเรียบ มีเมล็ดถั่วเขียวอยู่ด้านใน เมื่อฝักแก่เต็มที่ ก็สามารถเก็บเกี่ยวเอาเมล็ดถั่วเขียวมาใช้งานได้

สรรพคุณของถั่วเขียว

สำหรับในการใช้ประโยชน์จากถั่วเขียว นั้นนิยมใช้ประโยชน์จากเมล็ดถั่วเขียว โดยเฉพาะการกินทั้งแบบสดและแบบต้ม หรือ กินต้นอ่อน ที่เรารู้จักกันใน ถั่วงอก รายละเอียดของ สรรพคุณของถั่วเขียว มี ดังนี้

ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง ป้องกันมะเร็ง ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยบำรุงกำลัง รักษาไข้หวัด ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยลดระดับไขมัน ช่วยคอเลสเตอรอล ช่วยควบคุมระดับไขมันในเลือด ช่วยควบคุมน้ำหนัก ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวานได้ บำรุงกระดูก ป้องกันโรคกระดูกพรุน ช่วยขับร้อน แก้อาการร้อนใน รักษาโรคเลือดออกตามไรฟันช่วยถอนพิษ ช่วยกระตุ้นประสาท ทำให้ช่วยสมองทำงานได้ฉับไว ช่วยบำรุงเซลล์ประสาทและสมอง ช่วยบำรุงสายตา ช่วยแก้อาการตาพร่า รักษาตาอักเสบ ช่วยรักษาคางทูม ช่วยแก้อาการอาเจียน ช่วยขับของเหลวในร่างกาย ช่วยในการขับถ่าย เป็นยาขับปัสสาวะ ช่วยแก้ลำไส้อักเสบ ช่วยบำรุงตับ ช่วยแก้อาการไตอักเสบ ช่วยแก้ผดผื่นคัน ช่วยลดบวม ช่วยรักษาโรคข้อต่าง ๆ ช่วยรักษาฝี ช่วยแก้พิษจากพืช แก้พิษจากสารหนู ช่วยป้องกันการพิการแต่กำเนิดของทารก

ข้อควรระวังในการบริโภคถั่วเขียว

  • ถั่วเขียว มีฤทธิ์ทำให้ท้องอืด ผู้ที่มีอาการท้องอืดอยู่แล้วควรหลีกเลี่ยงการกินถั่วเขียว เพราะจะทำให้ท้องอืดมากขึ้น
  • ถั่วเขียว จะทำให้ระบบการย่อยอาหารทำงานหนักขึ้น สำหรับผู้ที่ระบบกระเพราะอาหารอ่อนแอ ในช่วยเวลานั้นๆ ควรหลีกเลี่ยงการกินถั่วเขียว
  • ถั่วเขียว เป็นคาร์โบไฮเดรต ซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็นไขมันเมื่อร่างกายมนุษย์รับประทานเข้าไป การกินถั่วเขียวมากเกินไป อาจทำให้เกิดไขมันสะสมมากเกินไปได้ ดังนั้น การกินถั่วเขียว ต้องกินให้อยู่ในริมาณที่พอดีต่อความต้องการของร่างกาย
  • ใน ถั่วเขียว มีสารชนิดหนึ่ง ชื่อ พิวรีน (Purine) มีผลการสะสมกรดยูริกในร่างกาย ทำให้เกิดเก๊าท์ได้ ผู้ที่เป็นเก๊าท์อยู่แล้ว ควรหลีกเลี่ยง หรือควบคุมปริมาณการกินถั่วเขียว

ถั่วเขียว ( Green Bean ) สมุนไพร พืชตระกลูถั่ว คุณค่าทางโภชนาการของถั่วเขียว ประโยชน์ของถั่งเขียว สรรพคุณของถั่วเขียว ลดความอ้วน ช่วยลดคอเรสเตอรัล ช่วยเจริญอาหาร ช่วยลดระดับไขมัน บำรุงผิวพรรณ ข้อควรระวังในการกินถั่วเขียว ลักษณะของต้นถั่วเขียว

บัวหลวง ( Lotus ) สมุนไพร ประโยชน์และสรรพคุณบำรุงร่างกาย ช่วยขยายหลอดเลือด ลดความดัน ชะลอการหลั่ง แต่ต้องกินปริมาณที่เหมาะสม ต้นบัวหลวงเป็นอย่างไรบัวหลวง สมุนไพร ต้นบัว ประโยชน์ของบัวหลวง

ต้นบัวหลวง เป็นสมุนไพร มีสรรพคุณ ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยขยายหลอดเลือด ลดความดันเลือด ซึ่งสรรพคุณเหล่านี้ ช่วยในการเพิ่มสมรรถภาพทางเพศของท่านชาย ช่วยชลอการหลั่งได้ หากรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม เรามาให้ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร ชื่อ บัวหลวง กันอย่างละเอียด ว่า บัวหลวงมีลักษณะทางพันธุศาสตร์อย่างไร สรรพคุณของบัวหลวงมีอะไรบ้าง

ต้นบัวหลวง ภาษาอังกฤษ เรียก Lotus มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Nelumbo nucifera Gaertn. ชื่อเรียกอื่นๆของบัวหลวง เช่น โกกระณต บัว บัวอุบล บัวฉัตรขาว บัวฉัตรชมพู บัวฉัตรสีชมพู บุณฑริก ปุณฑริก ปทุม ปัทมา สัตตบงกช สัตตบุษย์ เป็นต้น

ลักษณะของต้นบัวหลวง

ต้นบัวหลวง เป็นพืชล้มลุก อายุยืน อยู่ตามแหล่งน้ำ อยู่ในพื้นที่ ที่มีน้ำขัง รายละเอียดของต้นบัวหลวง มีลักษณะ ดังนี้

  • เหง้าของบัวหลวงอยู่ใต้ดิน ลักษณะของเหง้าจะเป็นท่อนยาว มีปล้อง สีเหลืองอ่อน สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินเหนียว ในระดับความลึกของน้ำที่ประมาณ  50 เซนติเมตร
  • การขยายพันธ์ของบัวหลวงใช้การขยายพันธ์โดยใช้เมล็ดและการแตกไหลบัว
  • ใบของบัวหลวง ใบลักษณะใบเดี่ยว กลมและมีขนาดใหญ่ ขอบของใบเรียบ จะมีก้านใบจะติดอยู่ตรงกลางของใบบัว อยุ่ด้านล่าง สำหรับก้านบัวจะมีหนาม
  • ดอกบัวหลวง ลักษณะเป็นดอกเดี่ยว มีสีขาว สีชมพู ดอกบัวมีกลิ่นหอม ในดอกจะมีเกสรตัวผู้สีเหลืองอยู่เป็นจำนวนมาก และล้อมรอบอยู่บริเวณฐานรองดอก เราเรียกส่วนฐานนั้นว่า “ฝักบัว”ภายในฝักบัวจะมีเม็ดบัว
  • ฝักบัวหลวง จะมีผลอ่อนสีเขียว ในฝักบัวจะมีผลบัว เมื่อฝักบัวแก่ เม็ดบัวจะขยาย สำหรับดีบัว คือ ส่วนของต้นอ่อนที่อยู่ในเม็ดบัว

คุณค่าทางโภชนาการของบัวหลวง

นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางอาหารของรากบัวหลวง ขนาด 100 กรัม นั้นให้พลังงาน พลังงาน 66 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย สารอาหาร คาร์โบไฮเดรต 16 กรัม น้ำ 81 กรัม น้ำตาล 0.5 กรัม เส้นใยอาหาร 3 กรัม ไขมัน 0.07 กรัม โปรตีน 1.5 กรัม วิตามินบี1 0.127 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.01 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.3 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.3 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.2 มิลลิกรัม วิตามินบี9 8 ไมโครกรัม โคลีน 25 มิลลิกรัม วิตามินซี 27 มิลลิกรัม แคลเซียม 26 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.9 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 22 มิลลิกรัม แมงกานีส 0.22 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 78 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 36 มิลลิกรัม โซเดียม 45 มิลลิกรัม และสังกะสี 0.33 มิลลิกรัม

สรรพคุณของบัวหลวง

การนำบัวหลวงมาใช้ประโยชน์นั้น สามารถนำมาใช้ได้ทุกส่วน ประกอบด้วย ทั้งต้น รากและเหง้า ใบบัว เม็ดบัวหลวง ดีบัว ดอกบัว รายละเอียด ดังนี้

  • สรรพคุณของต้นบัวหลวงทั้งต้น ใช้แก้พิษ ช่วยลดความดันโลหิต ลดไขมันในเส้นเลือด
  • สรรพคุณของรากบัวและเหง้าบัว ช่วยห้ามเลือด ช่วยรักษาแผลพุพอง ช่วยขับปัสสาวะ รักษาอาการท้องร่วง ช่วยขับเสมหะ
  • สรรพคุณของฝักบัวหลวง ใช้แก้พิษเห็ดเมา ช่วยสมานแผลในมดลูก แก้ไอ เป็นยาชูกำลัง
  • สรรพคุณของใบบัว นำมาใช้แก้อาการบวม อาการอักเสบ
  • สรรพคุณของเม็ดบัวหลวง ช่วยบำรุงครรภ์ของสตรี  ช่วยบำรุงไขข้อและเส้นเอ็น รักษาโรคเกี่ยวกับข้อกระดูก ช่วยแก้อาการน้ำกามเคลื่อน ลดอาการฝันเปียก ช่วยรักษาแผลพุพอง ช่วยบำรุงไต บำรุงม้าม บำรุงตับ ช่วยแก้อาการประจำเดือนมามากกว่าปกติ ช่วยแก้ลำไส้อักเสบ รักษาอาการท้องร่วง ช่วยขับเสมหะ เป็นยาบำรุงหัวใจ ช่วยบำรุงประสาทและสมอง เป็นยาชูกำลัง
  • สรรพคุณของดีบัว ช่วยบำรุงครรภ์ของสตรี ช่วยแก้อาการน้ำกามเคลื่อน ลดอาการฝันเปียก ช่วยแก้อหิวาตกโรค ช่วยบำรุงถุงน้ำดี ช่วยแก้อาการอาเจียนเป็นเลือด ช่วยรักษาการติดเชื้อในช่องปาก ช่วยทำให้เส้นเลือดขยาย
  • สรรพคุณของดอกบัวหลวง ช่วยทำให้คลอดบุตรง่าย  ช่วยบำรุงครรภ์ของสตรี  ช่วยแก้อาการช้ำใน ช่วยแก้อาการผดผื่นคัน ช่วยห้ามเลือด ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับเสมหะ ช่วยลดไข้ เป็นยาบำรุงหัวใจ
    ฝักบัวหลวง ช่วยขับรกออกมาให้เร็วขึ้น

คำแนะนำสำหรับการนำบัวหลวงมาใช้ประโยชน์
การนำบัวหลวงมาใช้ประโยชน์นั้นมีข้อแนะนำเกี่ยวกับการเลือกซื้อและการนำเอาบัวหลวงมาใช้ประโยชน์ ซึ่งรายละเอียดมี ดังนี้

  • บัวหลวงมีสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็งได้ แต่บัวหลวงที่มีขายในประเทศไทยนั้นมีหลายแหล่ง เช่นประเทศจีน ซึ่งบัวหลวงของจีนนั้นจะมีขนาดของเมล็ดที่ใหญ่กว่าบัวหลวงของไทย แต่คุณค่าทางอาหารบัวหลวงของไทยมีคุณค่ามากกว่าบัวหลวงของจีนหลายเท่า
  • การรับปรัทานสารสกัดจากบัวหลวงนั้นต้องระวังอาจมีสารเจือปนที่มีพิษต่อร่างกายได้ การรับประทานบัวหลวงให้ได้ประโยชน์สูงสุดควรรับประทานสดๆจากต้น
  • การเลือกซื้อบัวหลวงนั้น ควรเลือกซื้อบัวที่สดและมีเมล็ดขนาดใหญ่ สีเขียวอ่อน
  • การเลือกซื้อเม็ดบัวอบแห้ง ควรระวังสิ่งเจือปนที่ไม่สะอาด เช่น ฝุ่นละออง กลิ่นสาบ กลิ่นเหม็นหืน ขั้วเม็ดดำคล้ำ เป็นต้น
  • หากต้องการให้สรรพคุณของเม้ดบัวมากขึ้น ให้นำเม็ดบัวมาปรุงอาหารร่วมกับลำไยอบแห้ง
  • สำหรับผู้ที่แพ้เกสรดอกไหม้ ให้ระวังเรื่องการบริโภคบัวหลวง เนื่องจากบัวหลวงมีเกสรดอกไม้
  • บัวหลวงทำให้ท้องผูก ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพเรื่องการขับถ่ายไม่ควรบริโภคบัวหลวง

บัวหลวง ( Lotus ) สมุนไพร ประโยชน์ของบัวหลวง สรรพคุณของบัวหลวง บำรุงร่างกาย ช่วยขยายหลอดเลือด ลดความดันช่วยชลอการหลั่ง แต่ต้องกินปริมาณที่เหมาะสม ลักษณะของต้นบัวหลวงเป็นอย่างไร ต้นบัวหลวง คำแนะนำสำหรับการนำบัวหลวงมาใช้ประโยชน์

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove