มะพร้าว สามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ใบมะพร้าว ผลมะพร้าว ต้นมะพร้าวเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของมะพร้าว สรรพคุณบำรุงผิวพรรณ แก้กระหาย โทษของมะพร้าวมีอะไรบ้าง

มะพร้าว ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของมะพร้าว

ต้นมะพร้าว ( coconut ) มีชื่อภาษาอังกฤษ ว่า Coconut  มะพร้าวมีชื่อเรียก อื่นๆ เช่น ดุง เฮ็ดดุง โพล คอส่า พร้าว หมากอุ๋น เป็นชื่อเรียกที่ใช้เรียกมะพร้าวแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่นของประเทศไทย เราจะพบว่าเรานำ มะพร้าว มาบริโภค น้ำ และเนื้อของมะพร้าว แต่เนื้อมะพร้าวนี้มีความมันสูง เรามีการนำเนื้อมะพร้าวแก่ มาคั้นทำกะทิ วัตถุดิบหลักของอาหารไทย ( Thai Food ) ตัวอย่าง อาหาร เมนูกะทิ (Coconut Milk Receipt)  ในส่วนของเนื้อมะพร้าวอ่อนเรานิยมนำมาบริโภคกันสดๆ

มะพร้าวกับสังคมไทย

มะพร้าวมีความสำคัญกับความเชื่อของสังคมไทย เชื่อว่าการปลูกมะพร้าวไว้ทางทิศตะวันออกของบ้าน จะส่งเสริมให้อยู่เย็นเป็นสุข ส่วนด้านพิธีกรรมทางศาสนา นำมะพร้าวอ่อน เป็นเครื่องสังเวย เส้นไหว้ เนื่องจากเชื่อว่ามะพร้าวเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์  น้ำมะพร้าวใช้ล้างหน้าศพ เนื่องจากน้ำมะพร้าวเป็นน้ำที่บริสุทธิ์ ทำให้ผู้ตายเดินทางไปยังภพภูมิหน้าได้อย่างเป็นสุข

มะพร้าว คือ ผลไม้ และ สมุนไพร ที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน ต้นมะพร้าวถูกนำมาใช้ประโยชน์มากมาย นำมาทำอาหาร เป็นยารักษาโรค เครื่องใช้ต่างๆ สรรพคุณของมะพร้าว ประกอบด้วย ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับสารพิษในร่างกาย ช่วยสมานแผล บำรุงผิว แก้ท้องเสีย แก้ท้องร่วง แก้ปวดเมื่อย ห้ามเลือด รักษาโรคกระเพราะ แก้อาเจียน แก้ปวดเอ็น แก้ปวดข้อ รักษาโรคผิวหนัง บำรุงผิวหนัง บำรุงสมอง รักษาโรคในช่องปาก แก้เจ็บปาก แก้ปวดฟัน แก้นิ่ว ป้องกันสมองเสื่อม ดับกระหาย สมานแผล

ลักษณะของต้นมะพร้าว

ต้นมะพร้าว เป็นไม้ยืนต้นความสูงประมาณ 20 เมตร โดยประมาณ ลำต้นกลม เปลือกของมะพร้าวแข็ง สีเทา ขรุขระ  ลักษณะใบเป็นแบบขนนก รูปพัด ยาว 80  เซ็นติเมตรโดยประมาณ ขอบใบเรียบ สีเขียว มะพร้าวออกตอกเป็นช่อแขนงที่ซอกใบ ผลของมะพร้าวมีสีเขียว และผลแก่จะมีสีน้ำตาล เนื้อมะพร้าวจะมีสีขาว มีน้ำในผลมะพร้าว

คุณค่าทางโภชนาการของมะพร้าว

นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางอาหารของ เนื้อมะพร้าวและน้ำมะพร้าว โดยจากการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของมะพร้าว มีดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของเนื้อมะพร้าว ขนาด 100 กรัม ให้ พลังงาน 1,480 กิโลแคลอรี มีสารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 24.23 กรัม น้ำตาล 6.23 กรัม กากใยอาหาร 9 กรัม ไขมัน 33.49 กรัม โปรตีน 3.33 กรัม วิตามินบี 1 0.66 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.02 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.54 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 1.014 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.05 มิลลิกรัม วิตามินซี 3.3 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 14 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2.43 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 32 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 113 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 356 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 1.1 มิลลิกรัม

ส่วน น้ำมะพร้าว ขนาด 100 กรัม นักโภชนาการพบว่า ให้พลังงาน 79 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 3.71 กรัม น้ำตาล 2.61 กรัม กากใยอาหาร 1.1 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม โปรตีน 0.72 กรัม วิตามินบี 1 0.03 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.057 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.08 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.032 มิลลิกรัม วิตามินซี 2.4 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 24 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.29 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 25 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 20 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 250 มิลลิกรัม และธาตุสังกะสี 0.1 มิลลิกรัม

สรรพคุณของมะพร้าว

สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทยของมะพร้าว เราสามารถนำมะพร้าวมาใช้ประโยชน์ ได้ ตั้งแต่ เปลือก กะลา น้ำมะพร้าว เนื้อมะพร้าว ราก และ เปลือกของต้นมะพร้าว

  • เปลือกของลูกมะพร้าว จะมีรสฝาดและขม สามารถนำมาใช้ห้ามเลือด แก้ปวด รักษาโรคกระเพาะ และแก้อาเจียน
  • กะลา เรานำกะลามาใช้ในการ แก้ปวดเอ็น และ แก้ปวดกระดูก นำกะลามาเผาถ่านและกิน ช่วยแก้ท้องเสีย และดูดสารพิษในร่างกายได้ น้ำมันที่ได้จากการเผากะลา สามารถนำมาทาแผล รักษาโรคผิวหนัง รักษากลากเกลื่อน อุดฟัน แก้ปวดฟัน
  • เนื้อมะพร้าว เรานำเนื้อมพร้าวมาบริโภค ให้สรรพคุณบำรุงร่างกาย ช่วยขับพยาธิ ช่วยบำรุงสมอง ป้องกันสมองเสื่อม เนื้อมะพร้าวสามารถนำมาเคี้ยวเอาน้ำมันจากมะพร้าว นำมาทาผิว ช่วยรักษาแผล และ แก้โรคผิวหนัง ทาแก้ปวดเมื่อยตามข้อและเอ็น
  • น้ำมะพร้าว เรานำมาบริโภค ช่วยแก้กระหาย นอกจากนั้นน้ำมะพร้าวยังสามารถ แก้พิษ แก้การอาเจียนเป็นเลือด แก้ท้องเสีย ช่วยขับปัสสาวะ แก้นิ่ว ช่วยขับของเสีย ช่วยสมานแผล บำรุงผิว ทำให้ผิวกระชับ
  • รากของมะพร้าว สามารถนำมาต้ม และดื่ม ช่วยขับปัสสาวะ แก้ท้องเสีย และอมรักษาอาการปากเจ็บ
  • เปลือกของต้นมะพร้าว นำมาเผาแล้วทาแก้หิด และนำมาสีฟัน ช่วยแก้ปวดฟัน

มะพร้าว เป็นผลไม้ คุณสมบัติเด่น ๆ คือ สามารถนำมาใช้ทำเป็นประโยชน์ ไม่ว่าจะทำเป็นอาหารคาวหวาน เพื่อบำรุงสุขภาพ และ รักษาโรคต่าง ๆ รวมไปถึงการผลิตน้ำมันมะพร้าว กะทิ น้ำตาล และยังทำสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ได้มากมาย

โทษของมะพร้าว

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมะพร้าว สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม แต่การรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของกะทิ หากรับประทานกะทิมากเกินไป หรือ รับประทานในปริมาณมากและติดต่อกัน จะทำให้เกิดการสะสมของไขมันในร่างกาย ทำให้เป็นโรคเกี่ยวกับหลอดเลือด และ หัวใจได้

มะพร้าว คือ พืชพื้นเมือง สามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ตั้งแต่ ใบมะพร้าว ผลมะพร้าว ลักษณะของมะพร้าวเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของมะพร้าว สรรพคุณของมะพร้าว เช่น บำรุงผิวพรรณ แก้กระหาย โทษของมะพร้าว มีอะไรบ้าง

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.   Take care of yourself first with good information. The content on this website is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick or feel unwell You should consult a doctor. to receive proper treatment For more information, please see our Terms and Conditions of Use.

ขนุน ( Jackfruit ) สมุนไพร ไม้มงคล นิยมปลูกหลังบ้าน เชื่อว่าจะหนุนนำความเจริญ ต้นขนุนเป็นอย่างไร สรรพคุณเป็นยาระบายอ่อนๆ บำรุงร่างกาย ชูกำลัง แก้อาการเมาสุราขนุน สมุนไพร ผลไม้ สรรพคุณของขนุน

ต้นขนุน เป็น ผลไม้พื้นบ้าน ที่เป็นที่รู้จักกันในสังคมไทย เป็น พืชมงคล ที่นิยมปลูกหลังบ้าน ด้วยชื่อของขนุน หนุนนำความเจริญสู่เจ้าของบ้าน เม็ดขนุน จากการศึกษาพบว่ามีสารพรีไบโอติก ที่ช่วยให้กระเพาะอาหารทำงานได้ดีและการดูดซึมสารอาหารของลำไส้เล็กได้ดี ช่วยให้ร่างกานดูซึม แร่ธาตุต่างๆได้ดี และยังมีสารป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วย ประโยชน์ของขนุน ลักษณะทางพันธุ์ศาสตร์ของขนุน สรรพคุณของขนุน  คุณค่าทางอาหารของขนุนมีอะไรบ้าง วันนี้เราจะมา นำเสนอขนุน ผลไม้ไทย ให้ทุกคนได้รู้จักกันอย่างละเอียด

ต้นขนุน มีชื่อภาษาอังกฤษ เรียก Jackfruit ขนุน มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Artocarpus heterophyllus Lam ส่วนชื่อเรียกอื่นๆ ของขนุน อาทิ เช่น ขะนู นะยวยซะ เนน นากอ มะหนุน หมากหมี้ เป็นต้น ขนุน เป็น ผลไม้พื้นบ้านของไทย ผลสุกของขนุน มีรสหวาน กรอบ มีกลิ่นหอม อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหารมากมาย เช่น วิตามินซี วิตามินเอ ไทอามิน ไนอาซิน แคลเซียม โพแทสเซียม เหล็ก สังกะสี โซเดียม และกรดโฟลิก ขนุนมีไขมันและคอเลสเตอรอลน้อย สำหรับคุณแม่มือใหม่ การกินเมล็ดขนุน ช่วยเร่งน้ำนมได้

คุณค่าทางโภชนาการของขนุน

นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางอาหารของขนุน ขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงาน 95 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารต่างๆ มากมาย ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 23.25 กรัม น้ำตาล 19.08 กรัม กากใยอาหาร 1.5 กรัม ไขมัน 0.64 กรัม โปรตีน 1.72 กรัม วิตามินเอ 5 ไมโครกรัม เบต้าแคโรทีน 61 ไมโครกรัม ลูทีน และ ซีแซนทีน 157 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.105 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.055 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.92 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.235 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.329 มิลลิกรัม วิตามินบี9 24 ไมโครกรัม วิตามินซี 14.7 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.34 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 24 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.23 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 29 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.043 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 21 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 448 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 2 มิลลิกรัม และธาตุสังกะสี 0.13 มิลลิกรัม

ลักษณะของต้นขนุน

ต้นขนุน เป็นไม้ยืนต้น ที่มีขนาดใหญ่ ความสูงประมาณ 30 เมตร ขนุนสามารถขยายพันธ์ได้โดยการใช้เมล็ด ลักษณะของต้นขนุน มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นและกิ่งของต้นขนุน จะมีน้ำยางเป็นสีขาว ซึ่งน้ำยางจะเหนียว สามารถนำมาใช้ห้ามเลือด รักษาแผลอักเสบได้ดี
  • ใบของต้นขนุน เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ ตามกิ่งก้าน ใบเป็นรูปวงรี กว้างประมาณ 5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10เซนติเมตร ปลายใบมีลักษณะแหลม ผิวของในเรียบ มีสีเขียว เนื้อใบหนา
  • ดอกของขนุน ออกเป็นช่อ มีสีเขียว ออกดอกตามปลายกิ่งหรือซอกใบ ซึ่งดอกของขนุนจะกลายเป็นผลของขนุนในเวลาต่อมา สำหรับผลของต้นขนุน
  • ผลขนุน มีลักษณะ กลมหรือรี ผลมีสีเขียว ผลดิบเนื้อในจะเป็นสีขาว เมื่อผลสุกเนื้อในจะเป็นสีเหลือง และมีรสหวาน ภายในผลจะมีเมล็ดจำนวนมากขนาดใหญ่

ขนุน มีหลายสายพันธุ์ ซึ่งแต่ละสายพันธ์มีความแตกต่างกันออกไป สำหรับสายพันธ์ขนุนที่นิยมปลูกในประเทศไท นั้น ได้แก่ พันธุ์ตาบ๊วย มีลักษณะเด่น เนื้อสีเหลือง ผลใหญ่ เนื้อหนา พันธุ์ฟ้าถล่ม ลักษณะเด่น ผลขนาดใหญ่ กลม เนื้อเป็นสีเหลืองทอง และพันธุ์ทองสุดใจ ลักษณะเด่น ผลยาว ใหญ่ และเนื้อเป็นสีเหลือง

สรรพคุณของขนุน

สำหรับ ขนุน นั้นนิยมรับประทานผลสุก เนื่องจากมีรสหวาน กลิ่นหอม รสหวานช่วยให้ร่างกายมีกำลังวังชา ประโยชน์ของขนุน มีมากมายหลายส่วน ตั้งแต่รากของขนุน เนื้อไม้ ผล เมล็ด เปลือก ยางของขนุน เป็นต้น โดยรายละเอียดของประโยชน์ด้านการรักษาโรคของขนุน มีดังนี้

  • เปลือกผลขนุน ช่วยป้องกันมะเร็ง
  • ผลขนุน ใช้เป็นยาระบายอ่อนๆ แก้กระหายน้ำ บำรุงร่างกาย เป็นยาชูกำลัง ช่วยแก้อาการเมาสุรา
  • รากขนุน ช่วยแก้ท้องเสีย
  • เมล็ดของขนุน ช่วยบำรุงระบบทางเดินอาหาร ป้องกันมะเร็ง รักษาอาการปวดท้อง บำรุงร่างกาย เป็นยาชูกำลัง ช่วยบำรุงน้ำนม ขับน้ำนม ทำให้น้ำนมของแม่เพิ่มมากขึ้น
  • ไส้ในของผลขนุน ช่วยลดอาการตกเลือด
  • รากของขนุน ช่วยรักษาโรคผิวหนัง ช่วยขับพยาธิ ช่วยบำรุงเลือด
  • ใบของขนุน ช่วยป้องกันแผลเป็นหนอง รักษาโรคผิวหนัง แก้ท้องเสีย รักษาอาการปวดหู รักษาหูน้ำหนวก ช่วยระงับประสาท แก้โรคลมชัก ลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน
  • แก่นไม้ต้นขนุน ช่วยสมานแผล รักษากามโรค รักษาแผลในกระเพาะอาหาร บำรุงเลือด
  • ยางของต้นขนุน ช่วยลดอาการบวมอักเสบของแผล ป้องกันแผลเป็นหนอง ลดน้ำตาลในเลือด รักษาเบาหวาน บำรุงเลือด กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาว

โทษของขนุน

สำหรับการใช้ประโยชน์จากขนุน พบว่าสารสกัดจากขนุน ทำให้รู้สึกง่วง ข้อควรระวังในการบริโภคขนุน มีดังนี้

  • ผู้ป่วยเบาหวาน ไม่ควรรับประทานผลขนุนสุก เพราะ อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง
  • สตรีมีครรภ์ และ สตรีที่อยู่ระหว่างกำลังให้นมบุตร ควรหลีกเลี่ยงการใช้ขนุนเพื่อรักษาโรค เพราะ ขนุนจะซึมผ่านน้ำนมจนเกิดอันตรายต่อทารก
  • ควรหยุดใช้สารสกัดจากขนุนอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนเข้ารับการผ่าตัด เพราะ อาจทำให้รู้สึกง่วงซึม

ขนุน ( Jackfruit ) สมุนไพร ไม้มงคล นิยมปลูกหลังบ้าน เชื่อว่าจะหนุนนำความเจริญ ประโยชน์ของขนุน ลักษณะทางพันธุ์ศาสตร์ของขนุน คุณค่าทางอาหารของขนุนมีอะไรบ้าง สรรพคุณของขนุน เป็นยาระบายอ่อนๆ แก้กระหายน้ำ บำรุงร่างกาย เป็นยาชูกำลัง ช่วยแก้อาการเมาสุรา


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove