มะพร้าว สามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ใบมะพร้าว ผลมะพร้าว ต้นมะพร้าวเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของมะพร้าว สรรพคุณบำรุงผิวพรรณ แก้กระหาย โทษของมะพร้าวมีอะไรบ้าง

มะพร้าว ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของมะพร้าว

ต้นมะพร้าว ( coconut ) มีชื่อภาษาอังกฤษ ว่า Coconut  มะพร้าวมีชื่อเรียก อื่นๆ เช่น ดุง เฮ็ดดุง โพล คอส่า พร้าว หมากอุ๋น เป็นชื่อเรียกที่ใช้เรียกมะพร้าวแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่นของประเทศไทย เราจะพบว่าเรานำ มะพร้าว มาบริโภค น้ำ และเนื้อของมะพร้าว แต่เนื้อมะพร้าวนี้มีความมันสูง เรามีการนำเนื้อมะพร้าวแก่ มาคั้นทำกะทิ วัตถุดิบหลักของอาหารไทย ( Thai Food ) ตัวอย่าง อาหาร เมนูกะทิ (Coconut Milk Receipt)  ในส่วนของเนื้อมะพร้าวอ่อนเรานิยมนำมาบริโภคกันสดๆ

มะพร้าวกับสังคมไทย

มะพร้าวมีความสำคัญกับความเชื่อของสังคมไทย เชื่อว่าการปลูกมะพร้าวไว้ทางทิศตะวันออกของบ้าน จะส่งเสริมให้อยู่เย็นเป็นสุข ส่วนด้านพิธีกรรมทางศาสนา นำมะพร้าวอ่อน เป็นเครื่องสังเวย เส้นไหว้ เนื่องจากเชื่อว่ามะพร้าวเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์  น้ำมะพร้าวใช้ล้างหน้าศพ เนื่องจากน้ำมะพร้าวเป็นน้ำที่บริสุทธิ์ ทำให้ผู้ตายเดินทางไปยังภพภูมิหน้าได้อย่างเป็นสุข

มะพร้าว คือ ผลไม้ และ สมุนไพร ที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน ต้นมะพร้าวถูกนำมาใช้ประโยชน์มากมาย นำมาทำอาหาร เป็นยารักษาโรค เครื่องใช้ต่างๆ สรรพคุณของมะพร้าว ประกอบด้วย ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับสารพิษในร่างกาย ช่วยสมานแผล บำรุงผิว แก้ท้องเสีย แก้ท้องร่วง แก้ปวดเมื่อย ห้ามเลือด รักษาโรคกระเพราะ แก้อาเจียน แก้ปวดเอ็น แก้ปวดข้อ รักษาโรคผิวหนัง บำรุงผิวหนัง บำรุงสมอง รักษาโรคในช่องปาก แก้เจ็บปาก แก้ปวดฟัน แก้นิ่ว ป้องกันสมองเสื่อม ดับกระหาย สมานแผล

ลักษณะของต้นมะพร้าว

ต้นมะพร้าว เป็นไม้ยืนต้นความสูงประมาณ 20 เมตร โดยประมาณ ลำต้นกลม เปลือกของมะพร้าวแข็ง สีเทา ขรุขระ  ลักษณะใบเป็นแบบขนนก รูปพัด ยาว 80  เซ็นติเมตรโดยประมาณ ขอบใบเรียบ สีเขียว มะพร้าวออกตอกเป็นช่อแขนงที่ซอกใบ ผลของมะพร้าวมีสีเขียว และผลแก่จะมีสีน้ำตาล เนื้อมะพร้าวจะมีสีขาว มีน้ำในผลมะพร้าว

คุณค่าทางโภชนาการของมะพร้าว

นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางอาหารของ เนื้อมะพร้าวและน้ำมะพร้าว โดยจากการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของมะพร้าว มีดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของเนื้อมะพร้าว ขนาด 100 กรัม ให้ พลังงาน 1,480 กิโลแคลอรี มีสารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 24.23 กรัม น้ำตาล 6.23 กรัม กากใยอาหาร 9 กรัม ไขมัน 33.49 กรัม โปรตีน 3.33 กรัม วิตามินบี 1 0.66 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.02 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.54 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 1.014 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.05 มิลลิกรัม วิตามินซี 3.3 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 14 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2.43 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 32 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 113 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 356 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 1.1 มิลลิกรัม

ส่วน น้ำมะพร้าว ขนาด 100 กรัม นักโภชนาการพบว่า ให้พลังงาน 79 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 3.71 กรัม น้ำตาล 2.61 กรัม กากใยอาหาร 1.1 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม โปรตีน 0.72 กรัม วิตามินบี 1 0.03 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.057 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.08 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.032 มิลลิกรัม วิตามินซี 2.4 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 24 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.29 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 25 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 20 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 250 มิลลิกรัม และธาตุสังกะสี 0.1 มิลลิกรัม

สรรพคุณของมะพร้าว

สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทยของมะพร้าว เราสามารถนำมะพร้าวมาใช้ประโยชน์ ได้ ตั้งแต่ เปลือก กะลา น้ำมะพร้าว เนื้อมะพร้าว ราก และ เปลือกของต้นมะพร้าว

  • เปลือกของลูกมะพร้าว จะมีรสฝาดและขม สามารถนำมาใช้ห้ามเลือด แก้ปวด รักษาโรคกระเพาะ และแก้อาเจียน
  • กะลา เรานำกะลามาใช้ในการ แก้ปวดเอ็น และ แก้ปวดกระดูก นำกะลามาเผาถ่านและกิน ช่วยแก้ท้องเสีย และดูดสารพิษในร่างกายได้ น้ำมันที่ได้จากการเผากะลา สามารถนำมาทาแผล รักษาโรคผิวหนัง รักษากลากเกลื่อน อุดฟัน แก้ปวดฟัน
  • เนื้อมะพร้าว เรานำเนื้อมพร้าวมาบริโภค ให้สรรพคุณบำรุงร่างกาย ช่วยขับพยาธิ ช่วยบำรุงสมอง ป้องกันสมองเสื่อม เนื้อมะพร้าวสามารถนำมาเคี้ยวเอาน้ำมันจากมะพร้าว นำมาทาผิว ช่วยรักษาแผล และ แก้โรคผิวหนัง ทาแก้ปวดเมื่อยตามข้อและเอ็น
  • น้ำมะพร้าว เรานำมาบริโภค ช่วยแก้กระหาย นอกจากนั้นน้ำมะพร้าวยังสามารถ แก้พิษ แก้การอาเจียนเป็นเลือด แก้ท้องเสีย ช่วยขับปัสสาวะ แก้นิ่ว ช่วยขับของเสีย ช่วยสมานแผล บำรุงผิว ทำให้ผิวกระชับ
  • รากของมะพร้าว สามารถนำมาต้ม และดื่ม ช่วยขับปัสสาวะ แก้ท้องเสีย และอมรักษาอาการปากเจ็บ
  • เปลือกของต้นมะพร้าว นำมาเผาแล้วทาแก้หิด และนำมาสีฟัน ช่วยแก้ปวดฟัน

มะพร้าว เป็นผลไม้ คุณสมบัติเด่น ๆ คือ สามารถนำมาใช้ทำเป็นประโยชน์ ไม่ว่าจะทำเป็นอาหารคาวหวาน เพื่อบำรุงสุขภาพ และ รักษาโรคต่าง ๆ รวมไปถึงการผลิตน้ำมันมะพร้าว กะทิ น้ำตาล และยังทำสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ได้มากมาย

โทษของมะพร้าว

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมะพร้าว สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม แต่การรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของกะทิ หากรับประทานกะทิมากเกินไป หรือ รับประทานในปริมาณมากและติดต่อกัน จะทำให้เกิดการสะสมของไขมันในร่างกาย ทำให้เป็นโรคเกี่ยวกับหลอดเลือด และ หัวใจได้

มะพร้าว คือ พืชพื้นเมือง สามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ตั้งแต่ ใบมะพร้าว ผลมะพร้าว ลักษณะของมะพร้าวเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของมะพร้าว สรรพคุณของมะพร้าว เช่น บำรุงผิวพรรณ แก้กระหาย โทษของมะพร้าว มีอะไรบ้าง

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.   Take care of yourself first with good information. The content on this website is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick or feel unwell You should consult a doctor. to receive proper treatment For more information, please see our Terms and Conditions of Use.

มะลิ ดอกมะลิมีกลิ่นหอม นิยมนำดอกมะลิมาใช้ประโยชน์ ลักษณะของต้นมะลิเป็นอย่างไร สรรพคุณของมะลิ เช่น ช่วยสมานแผล บำรุงหัวใจ แก้อักเสบ โทษของมะลิ มีอะไรบ้าง

มะลิ ดอกไม้ สมุยไพร สรรพคุณของมะลิ

ต้นมะลิ ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Jasminum  ชื่อเรียกอื่นๆ ของต้มมะลิ มีหลายชื่อ เช่น มะลิขี้ไก่ มะลิหลวง มะลิป้อม มะลิซ้อน มะลิมะลิลา เตียมูน ข้าวแตก บักหลี่ฮวย เซียวหน่ำเคี้ยง หม้อลี่ฮวา เป็นต้น ไม้พุ่ม มะลิมีประมาณ 200 ชนิด ถิ่นกำเนิดในประเทศเขตร้อน ดอกมะลิ มีกลิ่นหอม ไม้ประดับ เป็น สมุนไพรไทย พืชสมุนไพรไทย สรรพคุณของมะลิ เช่น ขับประจำเดือน ช่วยสมานแผล บำรุงหัวใจ รักษาหลอดลมอักเสบ แก้ท้องเสีย แก้ท้องร่วง แก้เครียด ช่วยให้นอนหลับ บำรุงสายตา

มะลิ เป็นพืชมีถิ่นกำเนิด ดั้งเดิมอยู่ในแถบประเทศเอเชีย เช่น อินเดีย คาบสมุทรอาระเบีย เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เป็นทรงพุ่ม ใบแน่น ความสูงประมาณ 5 ฟุต แตกกิ่งก้านสาขาออกรอบ ๆ  คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นมะลิไว้ประจำบ้าน ซึ่งมะลิจะทำให้เกิดความรักความคิดถึงในครอบครัว เพราะ ดอกมะลิ เป็นดอกไม้ประจำวันแม่แห่งชาติ เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความรักของลูกที่มีต่อแม่ คนไทยนิยมใช้ดอกมะลิร้อยเป็นพวงมาลัยแสดงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ คนไทยโบราณยังเชื่ออีกว่า บ้านใดปลูกต้นมะลิไว้ประจำบ้าน จะทำให้คนในบ้านมีความบริสุทธิ์ เพราะดอกมะลิมีสีขาวบริสุทธิ์ ขาวสะอาด ซึ่งดอกมะลิใช้เป็นเครื่องสักการะบูชาพระ

สรรพคุณของมะลิ

ต้นมะลิ เราสามารถนำมาใช้เป็นสมุนไพรได้อย่างไรบ้าง ซึ่งสามารถใช้ได้ทุกส่วน เช่น ดอกมะลิ ใบมะลิ และ รากของต้นมะลิ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ดอกมะลิ สามารถนำมาทำเป็นน้ำมันหอมระเหยจากดอกมะลิ(jasmine oil) ให้ความรู้สึกผ่อนคลาย ลดความตึงเครียด บรรเทาอาการปวดหัว น้ำมันหอมระเหยจากดอกมะลินำมาใช้เป็นวัตถุดิบทำเครื่องสำอางค์ ข้อควรระวังในการใช้น้ำมันหอมระเหยจากดอกมะลิ สามารถใช้ทาภายนอกเท่านั้น ห้ามรับประทาน หรือใส่ในอาหาร หรือ ขนม จะเป็นอันตรายมากในสตรีมีครรถ์
  • ดอกมะลิกับการทำอาหาร สามารถนำดอกมะลิมาเป็นส่วนประกอบของอาหาร และ ขนมไทย เพื่อเพิ่มความหอมของอาหารและขนมไทย เช่น ซ่าหริ่ม ทับทิมกรอบ ลอดช่องน้ำกะทิ
  • ดอกมะลิแก่ นำมาเป็นส่วนผสมของยาหอม สรรพคุณ แก้หืดหอบและบำรุงหัวใจ
  • ใบของต้นมะลิ สามารถนำมาทำยา แก้อาการไข้ พอกแก้ฟกชำ ปวดท้อง แน่นท้อง ท้องเสีย แผลเรื้อรัง บำรุงสายตา ช่วยขับถ่าย โรคผิวหนัง
  • รากของต้นมะลิ สามารถนำมาทำเป็นยา แก้ร้อนใน ขับประจำเดือน เสียดท้อง รักษาหลอดลมอักเสบ แก้ปวดเคล็ดขัดยอก

ต้นมะลิ ภาษาอังกฤษ เรียก Arabian jasmine ในหลายท้องที่ในประเทศไทย เรียก ต้นมะลิว่า ข้าวแตก เตียงมุน มะลิป้อม มะลิหลวง แต่ชื่อเหล่านี้ก็คือ ต้นมะลิแต่แตกต่างกันออกไปตามท้องถิ่น ต้นมะลิ เป็นพืช ที่มีต้นกำเนิดในประเทศอินเดีย เป็นไม้พุ่ม ความสูงไม่เกิน 200 เซ็นติเมตร กลีบดอกเป็นสีขาว มีกลิ่นหอม ต้นมะลิมีมากมายรวม 200 สายพันธ์

โทษของมะลิ

ต้นมะลิมีกลิ่นหอม ซึ่งมาจากน้ำมันหอมระเหยที่ออกมาจากดอกของมะลิ การนำเอามะลิมาใช้ประโยชน์นั้น ต้องใช้ในปริมาณที่พอดี จึงจะเกิดประโยชน์ โดยรายละเอียดของการข้อควรระวังการใช้ต้นมะลิมีดังนี้

  • รากของมะลิ หากรับประทานมาก ๆ อาจทำให้สลบได้
  • ดอกมะลิ นำมาใช้แต่งกลิ่น แต่ไม่ควรนำมารับประทานเป็นประจำ เพราะอาจส่งผลต่อระบบประสาทและสมองได้
  • ดอกมะลิ มีฤทธิ์เป็นยาหอมเย็น แต่อย่าใช้มากเกินไป เพราะ อาจเกิดภาวะจุกเสียดแน่นท้องได้
  • การดื่มน้ำลอยดอกมะลิ นั้นในปัจจุบันการปลูกต้นมะลิเพื่อการค้าอาจมีสารเคมีปนเปื้อนได้ต้องล้างให้สะอาด แต่หากเป็นมะลิที่เชื่อได้ว่าไม่มีสารตกค้างหรือสารเคมี ก็สามารถนำมารับประทานได้

มะลิ คือ พืชท้องถิ่น ดอกมะลิ มีกลิ่นหอม นิยมนำดอกมะลิมาใช้ประโยชน์ ลักษณะของต้นมะลิเป็นอย่างไร สรรพคุณของมะลิ เช่น ช่วยสมานแผล บำรุงหัวใจ แก้อักเสบ โทษของมะลิ มีอะไรบ้าง

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove