ผักคะน้า ( Kale ) นำมาทำอาหาร สมุนไพร สำหรับสตรีตั้งครรถ์ ต้นคะน้าเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ ประโยชน์และสรรพคุณป้องกันมะเร็ง บำรุงผิวพรรณ บำรุงสายตา

ผักคะน้า สมุนไพร ผักสวนครัว ประโยชน์ของผักคะน้า

ผักคะน้า ( Kale ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักคะน้า คือ Brassica albroglabra พืชสวนครัว นิยมนำมาทำอาหารรับประทาน สมุนไพร เหมาะสำหรับสตรีตั้งครรถ์ คุณค่าทางโภชนาการของผักคะน้า คะน้ามีโฟเลตสูง มีวิตามินหลายชนิด แคลเซียมสูง ผักคะน้า มีถิ่นกำเนิดจากจีน ประโยชน์ของผักคะน้า สรรพคุณของผักคะน้า ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยบำรุงสายตา

ผักคะน้า ชื่อของพืชชนิดนี้ คุ้นหูคนไทยเป็นอย่างดี คะน้าเป็นผักสวนครัว ที่นิยมนำมาทำอาหาร ได้หลากหลายชนิด เหมาะสำหรับสตรีตั้งครรถ์ เนื่องจากมีโฟเลต ช่วยสร้างสมองทารกใรครรถ์ ผักคะน้ามีถิ่นกำเนิดจากจีน คนจีนนำมาปลูกและนิยมนำมาทำอาหารทั้งเมนูต้ม ผัด แกง ทอด ประโยชน์ของผักคะน้า คือ มีวิตามินหลายชนิด และแคลเซียมสูง

คะน้า ภาษาอังกฤษ เรียก Kale ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักคะน้า คือ Brassica albroglabra ชื่อเรียกอื่นๆของผักคะน้า เช่น ไก๋หลาน กำหนำ เป็นต้น ต้นคะน้า พืชล้มลุก ในตระกูลกะหล่ำปลี นิยมรับประทาน ใบและยอดของคะน้า มาทำความรู้จักกับผักคะน้าให้มากกว่านี้

สายพันธุ์ผักคะน้า

ผักคะน้า ที่นิยมปลูกในประเทศไทยนั้น มีอยู่ 3 พันธุ์ โดยรายละเอียดมีดังนี้

  • พันธุ์ใบกลม ได้แก่ พันธ์ฝางเบอร์1 พันธ์นี้มีลักษณะใบกว้างใหญ่ ปล้องสั้น ปลายใบมนและผิวใบเป็นคลื่นเล็ก
  • พันธุ์ใบแหลม ได้แก่ พันธ์ PL20 พันธ์นี้มีลักษณะใบแคบกว่าพันธุ์ใบกลม ปลายใบแหลม ข้อห่าง ผิวใบเรียบ
  • พันธุ์ยอด ได้แก่ พันธ์แม่โจ้ ซึ่งพันธ์นี้มีลักษณะใบเหมือนกับคะน้าใบแหลม แต่จำนวนใบต่อต้นมีน้อยกว่า ปล้องยาวกว่า

ลักษณะของต้นผักคะน้า

ผักคะน้า เป็น พืชล้มลุก อายุสั้น ผักคะน้ามีอายุ 2 ปี อายุการเก็บเกี่ยวผักคะน้าอยู่ที่ 55 วัน โดยผักคะน้าสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี แต่ช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับการปลูกผักคะน้ามากที่สุด คือ เดือนตุลาคมถึงเดือนเมษายน ของทุกปี

  • รากของผักคะน้า รากแก้วจะมีขนาดใหญ่ อยู่ติดจากลำต้น ลึกลงดินประมาณ 10 ถึง 30 เซ็นติเมตร รากฝอยจะเกาะตามรากแก้ว มีน้อย
  • ลำต้นของผักคะน้า ลำต้นตั้งตรง สูงประมาณ 30 เซ็นติเมตร ลำต้นอวบใหญ่ สีเขียว
  • ใบของผักคะน้า ใบกลม ลักษณะก้านใบยาว การแตกของใบจะแตกออกจากลำต้นเรียงสลับกัน ผิวของใบ คลืน ผิวมัน สีเขียว
  • ยอดและดอกของผักคะน้า ส่วนของยอดที่มีลักษณะเป็นใบอ่อน คล้ายดอกบัวตุม สีเขียวอ่อน

คุณค่าทางโภชนาการของคะน้า

นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของผักคะน้า สดปริมาณ 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 24 กิโลแคลอรี มีสารอาหารต่างๆ ประกอบด้วย โปรตีน 2.7 กรัม คาร์โบไฮเดรต 2.2 กรัม แคลเซียม 245 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.2 มิลลิกรัม วิตามินซี 147 มิลลิกรัม กากใยอาหาร 3.2 กรัม

คะน้า จะมีสารชนิดหนึ่ง เรียก กอยโตรเจน ( Goitrogen ) สารชนิดนี้ส่งผลต่อร่างกายทำให้ท้องอืดท้องเฟ้อ รวมถึงทำให้ร่างกายขาดแร่ธาตุไอโอดีน ทำให้เป็นดรคคอพอกได้ นอกจากนั้นทำให้การสร้างฮอร์โมนในต่อมไทรอยด์ลดประสิทธิภาพลง ดังนั้น การรับประทานผักคะน้าในปริมาณพอเหมาะ จะทำให้มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

สรรพคุณของผักคะน้า

การรับประทานผักคะน้า ในปริมาณที่เหมาะสม จะช่วยให้มีสรรพคุณทางสมุนไพร ดังนี้ มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้ร่างกาย ช่วยบำรุงผิวพรรณ ป้องกันการติดเชื้อ ช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อให้ชุ่มชื้น ช่วยบำรุงสายตา  ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต้อกระจก ป้องกันจอประสาทตาเสื่อม ช่วยบำรุงโลหิต ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน ช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ช่วยลดอาการไมเกรน ช่วยชะลอความจำเสื่อม ช่วยลดความเสี่ยงโรคกระเพาะอาหาร ป้องกันมะเร็งลำไส้ ป้องกันมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ป้องกันมะเร็งปอด ป้องกันมะเร็งเต้านม ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง ช่วยรักษาโรคหอบหืด ช่วยขยายหลอดลม ช่วยรักษาโรคภูมิแพ้ ป้องกันการเกิดตะคริว รักษาสมดุลฮอร์โมนเอสโตรเจน ควบคุมน้ำตาลในเลือดช่วยลดความเสี่ยงต่อการที่เด็กทารกพิการแต่กำเนิด

โทษของผักคะน้า 

สารกอยโตรเจน ( Goitrogen ) ที่อยู่ในผักคะน้า ทำให้ท้องอืดท้องเฟ้อ ทำให้ร่างกายขาดแร่ธาตุไอโอดีน และ ทำให้การสร้างฮอร์โมนในต่อมไทรอยด์ลดประสิทธิภาพลง การรับประทานผักคะน้าในปริมาณที่เหมาะสม

การปลูกผักคะน้า

  • การเพาะกล้าต้นกล้าผักคะน้า วิธีการหว่านเมล็ดในแปลง โดยแปลงให้ยกร่องสูง 30 เซนติเมตร พร้อมพรวนดิน และรดน้ำให้ชุ่ม เมล็ดจะงอกประมาณ 3 ถึง 5 วัน หลังจากเมล็ดงอกได้ 7 ถึง 10 วัน ให้คัดต้นกล้าแข็งแรงที่สด เพื่อดูแลต่อ และคัดต้นที่อ่อนแอออก
  • วิธีการปลูกผักคะน้า เมื่อต้นกล้าสูงได้ประมาณ 10 เซ็นติเมตร สังเกตุได้ว่ามีใบแท้ประมาณ 3 ถึง 5 ใบ อายุของต้นกล้าประมาณ 30 วัน ก็ให้ย้ายลงแปลงปลูก ให้ระยะห่างระหว่างต้น 20 เซ็นติเมตร
  • การดูแลผักคะน้า ให้น้ำสม่ำเสมอทุกวันเช้าเย็น ให้ปุ๋ยทุก 15 วัน  และกำจัดวัชพืช เป็นประจำทุกเดือน
  • การเก็บผลผลิตผักคะน้า สามารถเก็บผลผลิตได้ หลังตากเพาะต้นกล้า 60 วัน โดยไม่ควรใช้มือเด็ดหรือถอน ใช้มีดตัดออก และให้เด็ดใบแก่ติดโคนต้นออก และนำมาล้างทำความสะอาด

ฟักเขียว สมุนไพร นิยมรับประทานผลฟักเขียว ประโยชน์และสรรพคุณลดความอ้วน ลดน้ำตาลในเลือด ลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงผิวพรรณ คุณค่าทางโภชนาการของฟักเขียว

ฟักเขียว สมุนไพร ผักสวนครัว สรรพคุณของฟักเขียว

ฟักเขียว พืชสมุนไพรริมรั่ว สรรพคุณสุดน่าทึ่ง ฟักเขียวสามารถช่วยลดความอ้วน ลดน้ำตาลในเลือด ลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันเมร็ง บำรุงผิวพรรณ บำรุงปอด และบำรุงเลือด แต่ประโยชน์ของฟักเขียวยังมีมากกว่านี้มาก สำหรับฟักเขียว เป็นอย่างไร การนำเอาฟักเขียวมาใช้ประโยชน์ทางยา การรักษาโรค ทำอย่างไร วันนี้ เรามาทำความรู้จักกับฟักเขียวอย่างละเอียด

ต้นฟักเขียว หรือ ต้นฟักแฟง ซึ่งคนไทยเรียกสั้นๆว่า “ฟัก” ภาษาอังกฤษเรียกว่า Winter Melon มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Benincasa hispida (Thunb.) Cogn. ฟักเขียวถูกจัดให้เป็นพืชอยู่ในตระกูลแตง สำหรับชื่อเรียกอื่นๆ ของฟักเขียว มีมากมาย เรียกต่างกันตามท้องถิ่น อาทิ เช่น ฟักขี้หมู ฟักจิง มะฟักขม มะฟักหม่น มะฟักหม่นขม บักฟัง ฟักขาว ฟักจีน แฟง ขี้พร้า มะฟักหอม เป็นต้น

ลักษณะทางพันธุศาสตร์ของฟักเขียว

ฟักเขียว เป็นพืชล้มลุก ลักษณะเดียวกับ บวบ มะระ และแตงกวา เป็นพืชที่มีการปลูกมากในประเทศเขตร้อน ตามทวีปเอเชีย ทวีปแอฟริกา และทวีปอเมริกา ลักษณะของฟักเขียว เป็นพืชอายุสั้น

  • ลำต้นของฟักเขียว ลำต้นยาว เป็นลักษณะเถา มีสีเขียวมีขนปกคลุมตลอดทั้งลำต้น
  • ใบของฟักเขียว ใบเป็นหยัก ปลายใบแหลม โคนของใบจะเว้าเป็นรูปหัวใจ ผิวของใบจะหยาบมีขน สีเขียวเข้ม ส่วนก้านใบนั้นจะยาวประมาณ 10เซนติเมตร
  • ดอกของฟักเขียว จะออกดอกตามง่ามของใบ ลักษณะเป้นดอกเดี่ยว สีเหลือง ดอกมีเกสรตัวผุ้และตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน
  • ผลของฟักเขียว รูปกลมยาวเหมือนไข่ ผลมีความกว้างประมาณ 10 ถึง 20 เซนติเมตร และยาวประมาณ 20 ถึง 40 เซนติเมตร เปลือกของฟักเขียว จะแข็งและมีสีเขียว  เนื้อของผลฟัก เป็นสีเขียวอ่อน ฉ่ำน้ำ เนื้อแน่น มีเมล็ดสีขาวอยู่ภายในจำนวนมาก
  • เมล็ดของฟักเขียว เป็นรูปไข่ ลักษณะแบน ผิวเรียบมีสีขาวหรือสีน้ำตาลอ่อน เมล็ดของฟักเขียวสามารถนำไปขยายพันธ์ต่อได้

สำหรับในบ้านเรานั้นผลฟักเขียวจะนิยมนำมาใช้ประกอบอาหารเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นอาหารประเภทคาวและหวาน เช่น ต้ม ผัด แกง หรือทำเป็นขนมหวานในช่วงเทศกาล ใช้บริโภคทั้งแบบดิบและแบบสุก และสามารถบริโภคได้ทั้งผลอ่อนและผลแก่ โดยผลอ่อนจะมีรสชาติที่เข้มกว่าผลแก่ และมีน้ำมากกว่า

การปลูกต้นฟักเขียว

สำหรับ การปลูกต้นฟักเขียว นั้น ใช้การขยายพันธ์ด้วยเมล็ด ซึ่งเมล็ดของฟักเขียวจะอยู่ที่ผลสุกของฟักเขียว นำเมล็ดมาปลูก ง่าย ฟักเขียวชอบดินร่วนปนทราย ไม่ชอบน้ำมาก แต่ต้องการให้ดินชื้นเสมอ การปลูกต้นฟักเขียว ให้เตรียมหลุมปลูกลึกสัก 5 เซ็นติเมตร นำเมล็ดฟักเขียวลงและฝังกลบ ต้นอ่อนจะงอกออกมาภายใน 3-5 วัน และจะเจริญเติบโตไปเรื่อยๆ สำหรับผลฟักเขียวสามารถเก้บเกี่ยวผล ภายใน 60 วัน

คุณค่าทางอาหารของฟักเขียว

นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางอาหารของฟักเขียว พบว่า ผลสดของฟักเขียว ขนาด 100 กรัม พบว่า มีสารอาหารต่างๆที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์ ประกอบด้วย โปรตีน 0.4 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม คาร์โบไฮเดรต 3 กรัม กากใยอาหาร 0.4 กรัม แคลเซียม 19  มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 19 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.4 มิลลิกรัม โซเดียม 6 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 111 มิลลิกรัม วิตามินบี 1 4 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.11 มิลลิกรัม ไนอะซิน 0.4 มิลลิกรัม และวิตามินซี 13 มิลลิกรัม

ฟัก เป็นพืชที่ นิยมนำมาทำอาหาร สำหรับอาหารไทย ส่วนใหญ่แล้วจะเป็น อาหาร เมนูต้ม เมนูแกง เนื่องจากเนื้อฟักเมื่อต้มจนแล้วจะนุ่มและเปื่อย สำหรับ เมนูฟักเขียว ที่เป็นที่รู้จัก คือ แกงเขียวหวานไก่ แกงเลียงกุ้งสด เป็นต้น แต่นอกจากอาหารคาวเมนูต่างๆ ฟักเขียว ก็สามารถนำมาทำขนมไทย เมนูของหวานได้เช่นกัน อาทิเช่น ขนมฟักเชื่อม ฟักกวน เป็นต้น แต่ก็มี ข้อควรระวังในการรับประทานฟักเขียว ให้ระวังในการรับประทาน สำหรับคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับการขับถ่าย และแน่นหน้าอก

สรรพคุณของฟักเขียว

สำหรับ การนำเอาฟักเขียวมาใช้ประโยชน์ ด้านยา และการรักษาโรคนั้น เราจะแยก สรรพคุณของฟักเขียว ตามส่วนต่างๆของต้นฟัก ซึ่งนิยมนำฟักมาใช้ประโยชน์ในส่วน ผล เมล็ด ใบ เถา รากและเปลือก

  • รากของฟัก สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ช่วยลดไข้ ช่วยแก้กระหายน้ำ รักษาโรคหนองใน
  • เปลือกของฟัก สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ช่วยลดน้ำหนัก ลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือด ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยรักษาบาดแผล
  • ใบของฟัก สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ช่วยแก้อาการร้อนใน ช่วยแก้กระหายน้ำ ช่วยแก้ท้องเสีย ช่วยแก้โรคบิด ช่วยแก้อาการฟกช้ำ ช่วยรักษาบาดแผล ช่วยแก้พิษจากการถูกผึ้งต่อย
  • เมล็ดของฟัก สามารถนำมาใช้ประโยชน์ บำรุงกำลัง บำรุงผิว ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือด ช่วยลดการแบ่งตัวของเซลล์ ช่วยรักษาวัณโรค ช่วยบำรุงปอด ช่วยลดไข้ ช่วยขับเสมหะ ช่วยแก้กระหายน้ำ ช่วยรักษาลำไว้อักเสบ เป็นยา ระบาย ช่วยขับพยาธิ ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร ช่วยรักษาโรคทางเดินปัสสาวะ ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคหนองใน ช่วยลดอาการอักเสบ
  • เถาของฟัก สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ช่วยลดไข้ ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร
  • ผลของฟัก สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ช่วยลดน้ำหนัก ลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันมะเร็ง ช่วยเพิ่มพลังทางเพศ รักษาเบาหวาน บำรุงกำลัง  บำรุงระบบประสาท ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือด ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ ช่วยแก้โลหิตเป็นพิษ  ช่วยบำรุงปอด ช่วยรักษาโรคหอบหืด ช่วยขับเสมหะ ช่วยแก้อาการร้อนใน ช่วยแก้กระหายน้ำ ช่วยแก้ท้องเสีย ช่วยแก้โรคบิด แก้ท้องอืด เป็นยาระบาย ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคหนองใน

การเลือกซื้อฟักเขียว

สำหรับ การรับประทานฟักเขียว หากไม่ได้ปลูกเอง แล้ว เทคนิคการเลือกฟักเขียว ที่ดี มีดังต่อไปนี้ ควรเลือกฟักเขียวที่มีเนื้อแข็ง เนื่องจากเนื้อที่แข็งเวลานำมาทำอาหารจะกรอบและมีรสหวาน น่ารับประทาน ลักษณะเนื้อฟักเขียวที่ดี จะมีสีเขียวบริเวณขอบและค่อยๆขาวขึ้นเมื่อเข้าไปในแกน สำหรับ การเก็บรักษาฟักเขียว สามารถเป็นไว้ได้นานเป็นเดือน

ฟักเขียว ( Winter Melon ) สมุนไพร นิยมรับประทานผลฟักเขียว ประโยชน์ของฟักเขียว สรรพคุณของฟักเขียว ลดความอ้วน ลดน้ำตาลในเลือด ลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันมะเร็ง บำรุงผิวพรรณ ทำความรู้จักกับฟักเขียว คุณค่าทางโภชนาการของฟักเขียว


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove