ถั่วเขียว ( Green Bean ) สมุนไพร พืชตระกลูถั่ว ต้นถั่วเขียวเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ ประโยชน์และสรรพคุณลดคอเรสเตอรัล ช่วยเจริญอาหาร ลดไขมัน บำรุงผิวถั่วเขียว สมุนไพร สรรพคุณถั่วเขียว ประโยชน์ของถั่วเขียว

ต้นถั่วเขียว ภาษาอังกฤษ เรียก Green Bean ถั่วเขียว มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Vigna radiata (L.) R.Wilczek สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของถั่วเขียว เช่น ถั่วจิม, ถั่วมุม, ถั่วเขียว ถั่วทอง เป็นต้น ถั่วเขียว เป็นพืชตระกลูถั่ว มีสรรพคุณสูง เหมาะสำหรับการลดความอ้วน ถั่วเขียวช่วยลดคอเรสเตอรัล บำรุงหัวใจ ช่วยกำจัดสารพิษ บำรุงผิวพรรณ ถั่วเขียวจัดว่าเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง ประโยชน์ของถั่วเขียว มากมาย แต่มีข้อควรระวังในการบริโภคถั่วเขียวอยู่บ้าง วันนี้เรามาทำความรู้จักกับถั่วเขียวอย่างละเอียด ว่าเป็นอย่างไร ใช้รักษาอะไรได้บ้าง

คุณค่าทางโภชนาการของถั่วเขียว

นักโภชนาการได้ทำการศึกษาคุณค่าทางอาหารของ ถั่วเขียว ทั้งใน ถั่วเขียวสด และถั่วเขียวต้ม พบว่า มีคุณค่าทางอาหารที่ใกล้เคียงกัน รายละเอียดดังนี้

ถั่วเขียวต้ม ขนาด 100 กรัม นั้น ให้พลังงาน 105 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วยสารอาหารต่างๆ อาทิ เช่น คาร์โบไฮเดรต 19.15 กรัม น้ำ 72.66 กรัม น้ำตาล 2 กรัม กากใยอาหาร 7.6 กรัม ไขมัน 1.15 กรัม โปรตีน 7.02 กรัม วิตามินบี2 0.061 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.164 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.41 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.067 มิลลิกรัม วิตามินบี9 159 ไมโครกรัม วิตามินบี3 0.577 มิลลิกรัม วิตามินซี 1 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.15 มิลลิกรัม วิตามินเค 2.7 ไมโครกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 99 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 27 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.298 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.4 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 266 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 48 มิลลิกรัม และธาตุสังกะสี 0.84 มิลลิกรัม

ถั่วเขียวดิบ ขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน 347 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วยสารอาหาร ดังนี้ คาร์โบไฮเดรต 62.62 กรัม
น้ำ 9.05 กรัม น้ำตาล 6.6 กรัม กากใยอาหาร 16.3 กรัม ไขมัน 1.15 กรัม โปรตีน 23.86 กรัม วิตามินบี1 0.621 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.233 มิลลิกรัม วิตามินเค 9 ไมโครกรัม วิตามินบี3 2.251 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.382 มิลลิกรัม  วิตามินบี5 1.91 มิลลิกรัม วิตามินบี9 625 ไมโครกรัม วิตามินซี 4.8 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.51 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 189 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 132 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 6.74 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 1,246 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 1.035 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 367 มิลลิกรัม และธาตุสังกะสี 2.68 มิลลิกรัม 28%

ลักษณะของต้นถั่วเขียว

ต้นถั่วเขียว เป็นพืชล้มลุกมีอายุสั้น สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ซึ่งลักษณะของต้นถั่วเขียว นั้นมีรายละเอียด ดังนี้

  • รากของถั่วเขียว เป็นระบบรากแก้ว มีรากแขนงมากมาย ถั่วเขียวจะเจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความชื้น รากของถั่วเขียว เป็นแหล่งสะสมไนดตรเจนที่ดีสำหรับสารอาหารในดิน
  • ลำต้นของถั่วเขียว มีลักษณะลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้าน เป็นทรงพุ่ม ความสูงประมาณไม่เกิน 150 เซนติเมตร ลำต้นมีขนอ่อน
  • ใบของต้นถั่วเขียว เป็นใบเดียวแต่ในก้านหนึ่งก้านจะมีใบเดียว สามใบ
  • ดอกของต้นถั่วเขียว จะขึ้นบริเวณมุมใบ ปลายยอด และกิ่งก้าน ลักษณะดอกเป็นช่อ ความยาวประมาณ 2 ถึง 13 เซนติเมตร ดอกของถั่วเขียวมีหลายสี อาทิ เช่น สีเหลือง สีขาว และสีม่วง เป็นต้น
  • ฝักและเมล็ดของต้นถั่วเขียว ฝักจะยาวกลม งอเล็กน้อย ผิวเรียบ มีเมล็ดถั่วเขียวอยู่ด้านใน เมื่อฝักแก่เต็มที่ ก็สามารถเก็บเกี่ยวเอาเมล็ดถั่วเขียวมาใช้งานได้

สรรพคุณของถั่วเขียว

สำหรับในการใช้ประโยชน์จากถั่วเขียว นั้นนิยมใช้ประโยชน์จากเมล็ดถั่วเขียว โดยเฉพาะการกินทั้งแบบสดและแบบต้ม หรือ กินต้นอ่อน ที่เรารู้จักกันใน ถั่วงอก รายละเอียดของ สรรพคุณของถั่วเขียว มี ดังนี้

ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง ป้องกันมะเร็ง ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยบำรุงกำลัง รักษาไข้หวัด ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยลดระดับไขมัน ช่วยคอเลสเตอรอล ช่วยควบคุมระดับไขมันในเลือด ช่วยควบคุมน้ำหนัก ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวานได้ บำรุงกระดูก ป้องกันโรคกระดูกพรุน ช่วยขับร้อน แก้อาการร้อนใน รักษาโรคเลือดออกตามไรฟันช่วยถอนพิษ ช่วยกระตุ้นประสาท ทำให้ช่วยสมองทำงานได้ฉับไว ช่วยบำรุงเซลล์ประสาทและสมอง ช่วยบำรุงสายตา ช่วยแก้อาการตาพร่า รักษาตาอักเสบ ช่วยรักษาคางทูม ช่วยแก้อาการอาเจียน ช่วยขับของเหลวในร่างกาย ช่วยในการขับถ่าย เป็นยาขับปัสสาวะ ช่วยแก้ลำไส้อักเสบ ช่วยบำรุงตับ ช่วยแก้อาการไตอักเสบ ช่วยแก้ผดผื่นคัน ช่วยลดบวม ช่วยรักษาโรคข้อต่าง ๆ ช่วยรักษาฝี ช่วยแก้พิษจากพืช แก้พิษจากสารหนู ช่วยป้องกันการพิการแต่กำเนิดของทารก

ข้อควรระวังในการบริโภคถั่วเขียว

  • ถั่วเขียว มีฤทธิ์ทำให้ท้องอืด ผู้ที่มีอาการท้องอืดอยู่แล้วควรหลีกเลี่ยงการกินถั่วเขียว เพราะจะทำให้ท้องอืดมากขึ้น
  • ถั่วเขียว จะทำให้ระบบการย่อยอาหารทำงานหนักขึ้น สำหรับผู้ที่ระบบกระเพราะอาหารอ่อนแอ ในช่วยเวลานั้นๆ ควรหลีกเลี่ยงการกินถั่วเขียว
  • ถั่วเขียว เป็นคาร์โบไฮเดรต ซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็นไขมันเมื่อร่างกายมนุษย์รับประทานเข้าไป การกินถั่วเขียวมากเกินไป อาจทำให้เกิดไขมันสะสมมากเกินไปได้ ดังนั้น การกินถั่วเขียว ต้องกินให้อยู่ในริมาณที่พอดีต่อความต้องการของร่างกาย
  • ใน ถั่วเขียว มีสารชนิดหนึ่ง ชื่อ พิวรีน (Purine) มีผลการสะสมกรดยูริกในร่างกาย ทำให้เกิดเก๊าท์ได้ ผู้ที่เป็นเก๊าท์อยู่แล้ว ควรหลีกเลี่ยง หรือควบคุมปริมาณการกินถั่วเขียว

ถั่วเขียว ( Green Bean ) สมุนไพร พืชตระกลูถั่ว คุณค่าทางโภชนาการของถั่วเขียว ประโยชน์ของถั่งเขียว สรรพคุณของถั่วเขียว ลดความอ้วน ช่วยลดคอเรสเตอรัล ช่วยเจริญอาหาร ช่วยลดระดับไขมัน บำรุงผิวพรรณ ข้อควรระวังในการกินถั่วเขียว ลักษณะของต้นถั่วเขียว

โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ เพิ่มน้ำอสุจิ กระตุ้นมดลูก เหมาะสำหรับคนมีบุตรยาก ว่านโด่ไม่รู้ล้ม สตรีมีครรภ์ควรหลีกเลี่ยง โทษของโด่ไม่รู้ล้ม

โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ประฌยชน์ของโด่ไม่รู้ล้ม

ว่านโด่ไม่รู้ล้ม เป็น พืชสมุนไพร ที่มี สรรพคุณ เสริมสมรรถภาพทางเพศ ช่วยบำรุงกำลัง ลดความดันโลหิต ช่วยเพิ่มคุณภาพอสุจิ กระตุ้นมดลูก เหมาะ สำหรับคนมีบุตรยาก ว่านโด่ไม่รู้ล้ม ควรหลีกเลี่ยงสำหรับสตรีมีครรภ์ โด่ไม่รู้ล้ม ทางเภสัชศาสตร์ พบว่า โด่ไม่รู้ล้ม มี สรรพคุณ ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส ต้านความเป็นพิษต่อตับ สามารถช่วยลดไข้ ลดอักเสบ ลดความดันเลือด บำรุงลำไส้เล็ก กระตุ้นการทำงานของมดลูก เพิ่มคุณภาพน้ำอสุจิในเพศชาย เพิ่มขนาด และ ความแข็งแรงของอวัยวะเพศ

โด่ไม่รู้ล้ม ภาษาอังกฤษ เรียก Prickly-leaved elephant’s foot มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Elephantopus scaber L. เป็น พืชตระกูลเดียวกันกับทานตะวัน ชื่อเรียกอื่นๆของโด่ไม่รู้ล้ม อาทิ เช่น ขี้ไฟนกคุ่ม , คิงไฟนกคุ่ม , หนาดมีแคลน ,  หญ้าปราบ , หญ้าไก่นกคุ่ม , หญ้าไฟนกคุ้ม , หญ้าสามสิบสองหาบ เป็นต้น

ลักษณะของต้นโด่ไม่รู้ล้ม

โด่ไม่รู้ล้ม เป็น พืชล้มลุก คล้ายหญ้า ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด ชอบดินทราย สามารถพบได้ตาม ป่าโปร่ง ป่าเต็งรัง ป่าดิบ และ ป่าสนเขา ในประเทศเขตร้อน มีลักษณะของต้นว่านโด่ไม่รู้ล้ม ดังนี้

  • ลำต้น สูงประมาณ 30 เซ็นติเมตร ลำต้นสั้น ลักษณะกลม อยู่ระดับผิวดิน
  • ใบของโด่ไม่รู้ล้ม เป็นใบเดี่ยว ขึ้นบนเหง้า ใบขึ้นเป็นกระจุก เหมือนดอกกุหลาบ ใบ เป็นรูปหอกหัวกลับ ใบกว้าง ขอบใบหยัก เนื้อใบหนาและสาก ผิวของใบมีขนเล็กๆ ท้องใบจะมีขนมากกว่าหลังใบ และไม่มีก้านใบ
  • ดอกโด่ไม่รู้ล้ม   ออกดอกเป็นช่อ ออกมาจากลำต้น ดอก เป็นรูปหลอดสีม่วง หลอดกลีบดอกยาว ไม่มีขน ปลายแหลม ฐานเป็นติ่งแหลม แต่ละช่อย่อยจะอยู่รวมกันเป็นช่อกระจุกกลมที่ปลายก้านดอก
  • ผลของโด่ไม่รู้ล้ม ผลจะเป็นผลแห้ง และไม่แตก ซึ่งลักษณะของผล จะเล็ก เรียว เป็นรูปกรวย ผลมีขน

สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม

ว่านโด่ไม่รู้ล้ม สามารถใช้ประโยชน์ ทาง การรักษาโรค ได้ทุกส่วน ทั้งต้น ใบ และ ราก ซึ่งรายละเอียด ประโยชน์ทางยาของว่านโด่ไม่รู้ล้ม มี ดังนี้

  • รากของโด่ไม่รู้ล้ม ใช้ เป็นยาบำรุงร่างกาย ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยแก้อาการร้อนใน ช่วยขับเหงื่อ ใช้รักษามาลาเรีย ช่วยลดไข้ เป็นยาแก้ไอ แก้ไข้หวัด แก้อาเจียน เป็นยาแก้วัณโรค ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ ช่วยแก้อาการตาแดง ช่วยรักษาแผลในช่องปาก แก้ปวดฟัน รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ช่วยขับพยาธิ ช่วยขับระดูขาวของสตรี เป็นยาบีบมดลูก ใช้ต้มอาบหลังคลอดของสตรี ช่วยแก้นิ่ว ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยบำรุงกำหนัด ใช้เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยขับของเสีย ช่วยแก้อาการอักเสบ ช่วยรักษาฝี ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย ช่วยเพิ่มเม็ดเลือดแดง
  • ใบของโด่ไม่รู้ล้ม ใช้ เป็นยาบำรุงร่างกาย ช่วยบำรุงหัวใจ บำรุงเลือด ช่วยเจริญอาหาร ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย ช่วยขับเหงื่อ ใช้รักษาโรคมาลาเรีย ใช้ลดไข้ เป็นยาแก้ไอ ใช้รักษาวัณโรค ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ รักษาตาแดง ช่วยรักษาแผลในช่องปาก บรรเทาอาการเจ็บหน้าอก แก้อาการท้องเสีย รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ช่วยขับพยาธิ ช่วยแก้นิ่ว ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยบำรุงกำหนัด เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยขับของเสีย ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย ช่วยรักษาโรคผิวหนัง ช่วยรักษาบาดแผล ช่วยคลายเส้น แก้อาการปวดเมื่อย
  • ลำต้นของโด่ไม่รู้ล้ม ใช้ เป็นยาบำรุงร่างกาย ช่วยบำรุงหัวใจ บำรุงเลือด ช่วยเจริญอาหาร ช่วยแก้กษัย ช่วยขับเหงื่อ ใช้รักษาไข้มาลาเรีย ลดไข้  เป็นยาแก้ไอ แก้วัณโรค ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ แก้ตาแดง ช่วยรักษาอาการต่อมทอนซิลอักเสบ ช่วยรักษาแผลในช่องปาก ช่วยห้ามเลือดกำเดา บรรเทาอาการเจ็บหน้าอก แก้อาการท้องเสีย รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ช่วยขับพยาธิ ช่วยแก้นิ่ว ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยบำรุงกำหนัด บำรุงสมรรถภาพทางเพศ ช่วยขับของเสีย ช่วยรักษาฝี ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย

ประโยชน์อื่นๆของต้นโด่ไม่รู้ล้ม

  • ใช้เป็น ไม้ประดับ ปลูกประจำบ้าน เพื่อความสวยงาม
  • เป็น ต้นไม้มงคล เชื่อว่า การปลูกว่านโด่ไม่รู้ล้ม ช่วยป้องกันเสนียดจัญไร
  • นำไป แปรรูปเป็นยาสมุนไพร เช่น ผงสำเร็จรูป ยาดองเหล้า ยาแคปซูล เป็นต้น

ข้อควรระวังสำหรับการใช้โด่ไม่รู้ล้ม

สำหรับสตรีมีครรภ์ ห้ามใช้ รวมถึงคนทั่วไปที่มีปัญหาเมื่อเจออากาศหนาว คนที่ชอบดื่มของร้อน เป็นต้น

โด่ไม่รู้ล้ม พืชสมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยเพิ่มน้ำอสุจิ กระตุ้นมดลูก เหมาะสำหรับคนมีบุตรยาก ว่านโด่ไม่รู้ล้ม สตรีมีครรภ์ควรหลีกเลี่ยง โทษของโด่ไม่รู้ล้ม

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove