หอมแดง ( Shallot ) สมุนไพร นิยมนำมาทำอาหาร ต้นหอมแดงเป็นอย่างไร คุณค่าทางอาหาร สรรพคุณของหอมแดง ช่วยเจริญอาหาร บำรุงร่างกาย บำรุงสมอง บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ

หอมแดง ต้นหอม สมุนไพร สรรพคุณของหอมแดง

ต้นหอมแดง เป็น พืชเศรษฐกิจ เนื่องจากนิยมนำมาทำอาหาร และสามารถหาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาดของประเทศไทย นิยมปลูกมากในภาคอีสาน จังหวัดศรีษะเกษ ซึ่งในหอมหัวแดงนั้น มีสารตัวหนึ่ง ชื่อ Allicin และ n-propyl disulphide ที่มีประโยชน์และมีกลิ่นฉุน วันนี้เราจามาทำความรู้จักกัน

หอมแดง ภาษาอังกฤษ เรียก Shallot อ่านว่า ชาลอต หอมแดงมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Allium ascalonicum L. หอมแดงเป็นพืชตระกูลเดียวกับพลับพลึง สำหรับหอมแดง มีชื่อเรียกอื่น ๆ อาทิเช่น ผักบั่ว หอมหัวขาว หอมบัว หอมปั่ว หอมแกง หอมไทย หอมเล็ก หอมหัว เป็นต้น

ในหอมหัวแดงนั้นมีกลิ่นฉุ่น จากน้ำมันหอมระเหยจากตัวหอมหัวแดง ซึ่งสารต่างๆที่อยู่ในหอมหัวแดง ประกอบด้วย  Ethanol, Acetonc, methyl Ethyl, Methyl Disulfide, Methyl, Methyl Trisulfide, Methyl I-propyl Trisulfide, I-propyl Trisulfide, Ketone, I-propanol, 2 – propanol, Methanol, I-butanol, Hydrogen Sulfidc, I-propanethiol, I-propyl Disulfide, Thioalkanal-S-oxide, di-n- propyl Disulfide, n- propyl-allyl Disulfide, Diallyl Disulfide, Dithiocarbonate และ Thiuram Sulfidc  น้ำมันหอมระเหยจากหอมหัวแดง จะมีรสขม เผ็ดร้อน มีฤทธิ์ทำให้ระคายเคืองตา แสบจมูก และเป็นพิษต่อผิวหนัง เช่น ทำให้เกิดผื่นคัและแสบร้อน แต่สารน้ำมันหอมระเหยนี้ ช่วยลดไขมัน และน้ำตาลกในเลือดได้เป็นอย่างดี และยังมีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ได้ดี

คุณค่าทางโภชนาการของหอมหัวแดง

สำหรับการศึกษาคุณค่าทางอาหารของหอมแดง นั้น พบว่าในหอมแดงขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน 63 กิโลแคลอรี่ ให้สารอาหาร ต่างๆ ประกอบด้วย โปรตีน 2.7 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม คาร์โบไฮเดรต 12.6 กรัม กากใยอาหาร 0.6 กรัม แคลเซียม 16 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 59 มิลลิกรัม วิตามินเอ 28 ไมโครกรัม ไทอามีน 0.09 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.03 มิลลิกรัม ไนอาซิน 0.5 มิลลิกรัม และวิตามินซี 5 มิลลิกรัม

ต้นหอมแดงเป็นอย่างไร

สำหรับต้อนหอมแดง เป็นพืชล้มลุก หัวอยู่ในดิน ซึ่งหัวของหอมแดงเป็นแหล่งสะสมอาหารและน้ำ การขยายพันธ์ุของหอมแดงใช้การแตกหน่อ จากหัวของหอมแดง ใบของหอมแดง เป็นลักษณะยาวกลม ผิวเรียบในตั้งตรงขึ้นฟ้า ความยาว 20 ถึง 30 เซ็นติเมตร แต่ละต้นจะมีใบประมาณ 5 ถึง 8 ใบต่อต้น รากของหอมแดง เป็นรากฝอยขึ้นบิเวณก้นของหัวหอม สำหรับหมอแดงมีหลายสายพันธ์ แต่สำหรับหัวหอมที่นิยมปลูกในประเทศไทย มี 4 สายพันธุ์ ประกอบด้วย

  • หอมแดง พันธุ์ศรีสะเกษ ลักษณะของหอมแดงพันธ์ุนี้ คือ เปลือกของหัวด้านนอกหนา มีสีแดงอมม่วง หัวกลมป้อม มีกลิ่นฉุน รสหวาน ใบเขียวเข้ม
  • หอมแดง พันธุ์บางช้าง สำหรับหอมแดงพันธุ์นี้ มีลักษณะใกล้เคียงกับพันธุ์ศรีสะเกษ แต่เปลือกของหัวหอมจะสีจางกว่า แต่ลักษณะเด่น คือ ให้ผลผลิตต่อไร่สูง
  • หอมแดง พันธุ์เชียงใหม่ สำหรับพันธุ์นี้ ลักษณะ คือ เปลือกของหัวหอมบาง มีสีส้มอ่อน หัวกลมรี กลิ่นไม่ฉุนรสหวาน ใบสีเขียว
  • หอมแดง พันธุ์สีขาว ลักษณะเด่นของพันธุ์นี้ คือ เปลือกบาง หัวมีสีสีขาวอมเหลือง หัวกลมป้อม กลิ่นไม่ฉุน

สรรพคุณของหอมแดง

สำหรับการใช้ประโยชน์ของหอมแดง นั้นจะใช้ประโยชน์จากหัวและใบของหอมแดง ซึ่งประโยชน์ของส่วนต่างๆของหอมแดง มีดังนี้ คือ ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยบำรุงสมอง บำรุงความจำ ช่วยบำรุงโลหิต ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง ปรับสมดุลย์ของความดันเลือด ช่วยลดอาการเวียนหัว ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยกำจัดไขมันเลวส่วนเกิน ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้หวัด แก้คัดจมูกได้ ช่วยขับเสมหะ รักษาโรคในช่องปาก แก้อาการปวดหู ช่วยทำให้อาเจียน แก้อาการท้องเสีย แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ ใช้เป็นยาถ่าย ช่วยย่อยอาหาร ช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับพยาธิ ช่วยรักษาแผล ช่วยบรรเทาอาการคัน ช่วยแก้พิษแมงมุมกัด รักษาแมลงสัตว์กัดต่อย ช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย หอมแดงรักษาสิว ฝ้า กระ จุดด่างดำ บำรุงผิวพรรณ แก้ผมร่วง ช่วยบำรุงเส้นผม ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ

การปลูกหอมแดง

สำหรับการปลูกหอมแดง นั้น มี 4 ขั้นตอนหลักๆ คือ การเตรียมดิน การปลูก การดูแลรักษาและการเก็บเกี่ยว ซึ่งรายละเอียด มีดังนี้

  • การเตรียมปลูกหอมแดง หอมแดงชอบดินร่วนซุย ต้องการความชื้นในดินสูง ชอบแสงแดด อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของหอมแดงอยู่ที่ 12 ถึง 23 องศาเซลเซียส ในการเตรียมดินสำหรับปลูก ให้ทำการยกแปลง สูงประมาณ 20 เซ็นติเมตร
  • วิธีการปลูกหอมแดง ให้นำหัวหอมแดง กดลงดินในแปลงปลูก ระยะห่าง หัวละ 15 ถึง 20 เซ็นติเมตร ก่อนนำหัวหอมลงไปดำในแปลงปลูก ควรทำให้ดินชื้นก่อน หญ้าแห้งหรือฟางคลุม เพื่อช่วยรักษาความชื้น และไม่ให้มีวัชพืชมาแย่งอาหารของหอมหัวแดง
  • วิธีการดูแลรักษาหอมแดง หลังจากปลูกได้ 2 สัปดาห์ จะช่วยให้การเจริญเติบโตของหอมแดง ดีขึ้น ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ หมั่นทำให้ดินร่วนซุย อย่าปล่อยให้หน้าดินแห้ง  การให้น้ำนั้นต้องให้หลังจากการปลูกอย่างสม่ำเสมอ และงดการให้น้ำเมื่อหอมแดงเริ่มแก่
  • การเก็บเกี่ยวหอมแดง สำหรับการเก็บผลผลิต สามารถเก็บได้เมื่อหอมแดงอายุได้ 70 ถึง 110 วัน โดยให้สังเกตสีของใบ หากสีเขียวจางลงและเหลือง หมายความว่าหอมแดงแก่เพียงพอสำหรับพร้อมจะเก็บเกี่ยวแล้ว

หอมแดง ( Shallot ) เป็นพืช ที่คนไทยรู้จักกันดี เป็นพืชที่มีกลิ่นฉุน นิยมนำมาทำเป็นส่วนประกอบของอาหาร ให้รสหวาน แต่ประโยชน์ของหอมหัวแดง มีมากมายเหลือเกิน ที่สำคัญคือ ช่วยลดไขมันและน้ำตาลในเส้นเลือด วันนี้ เราจึงแนะนำ สมุนไพรไทยในครัวเรือน ที่มีชื่อว่า หอมแดง หอมแดงเป็นอย่างไร มีชื่อเรียกว่าอย่างไร ลักษณะของต้นหอมแดง การปลูกหอมแดง การใช้ประโยชน์ด้านยาของหอมแดง มีอะไรบ้าง คุณค่าทางอาหารของหอมแดง เป็นอย่างไร บทความนี้จะให้ความรู้ รอบด้านเกี่ยวกับหอมแดง

หอมแดง ( Shallot ) สมุนไพร นิยมนำมาทำอาหาร ประโยชน์ของหอมหัวแดง ลักษณะของต้นหอมแดง การปลูกหอมแดง คุณค่าทางอาหารของหอมแดง สรรพคุณของหอมแดง ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยบำรุงสมอง บำรุงความจำ ช่วยบำรุงโลหิต ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง

เก็กฮวย มีหลายสายพันธ์ เก๊กฮวยขาว เก๊กฮวยเหลือง เก๊กฮวยป่า ดอกเก็กฮวยกลิ่นฉุน รสหวานขม ประโชยน์และสรรพคุณช่วยดับกระหาย ช่วยขับสารพิษ ขับเหงื่อ โทษของเก็กฮวย

เก็กฮวย ดอกเก็กฮวย สมุนไพร สรรพคุณของเก็กฮวย

นอกจากนี้ เก็กฮวย ช่วยดูดซับสารก่อมะเร็งและจุลินทรีย์ ช่วยขยายหลอดเลือดแดง ช่วยป้องกันโรคหัวใจ ช่วยป้องกันการโรคความดันโลหิตสูง ช่วยป้องกันการเกิดโรคเส้นเลือดตีบ ช่วยบำรุงเลือด ช่วยบำรุงสายตา ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ ช่วยลดไข้  ช่วยแก้ไอ ช่วยระบายและย่อยอาหาร ช่วยขับลม บำรุงปอด บำรุงตับ บำรุงไต ใช้รักษาฝีเป็นหนอง ช่วยรักษาผมร่วง

ต้นเก๊กฮวย เป็นพืชที่ปลูกในแถบประเทศจีนและญี่ปุ่น และได้มีการแพร่กระจายมาในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งสามารถปลูกได้ในพื้นที่สูง ในดอกเก๊กฮวย พบว่ามี สารฟลาโวนอยด์ ( Flavonoid ) สารไครแซนทีมิน ( Chrysanthemin ) สารอดีนีน ( Adenine ) สตาไคดวีน ( Stachydrine ) โคลีน ( Choline ) กรดอะมิโน และน้ำมันหอมระเหย ซึ่งสามารถช่วยรักษาโรคหัวใจ ช่วยขยายหลอดเลือด ลดภาวะหัวใจล้มเหลว

ต้นเก๊กฮวย ที่นิยมในการบริโภค มีอยู่ 2 ชนิด คือ เก็กฮวยดอกขาว และ เก็กฮวยดอกเหลือง รายละเอียดของเก็กฮวยแต่ละชนิด มี ดังนี้

  • เก๊กฮวยดอกขาว มี 2 ชนิด คือ เก็กฮวยขาวดอกใหญ่ และ เก็กฮวยขาวดอกเล็ก
    • เก๊กฮวยขาวดอกใหญ่ มีลักษณะทั่วไป คือ ลำต้น ตรง แข็ง เป็นพุ่มใหญ่ ใบมีขนาดใหญ่ สีเขียวเข้ม ก้านใบมีสีม่วงอมเขียว ดอกมีสีขาว ขนาดใหญ่ ขนาดประมาณ 4.7-5 เซนติเมตร กลีบดอกมี 5-6 ชั้น มีกลีบดอกประมาณ 90 กลีบ เมื่อนำมาตากแดด ดอกจะแห้งเร็ว
    • เก๊กฮวยขาวดอกเล็ก มีลักษณะทั่วไป คือ ลำต้นตรง เป็นพุ่มเล็ก ลำต้นค่อนข้างอ่อน ดอกมีขนาดประมาณ 4.5 เซนติเมตร เล็กกว่าพันธุ์แรก ส่วนกลีบดอกมีมากกว่าที่ 6-7 ชั้น มีจำนวนกลีบดอกประมาณ 120 กลีบ ส่วนสีดอกมีสีขาวอมสีเนื้อ ดอกเมื่อนำมาต้มจะให้กลิ่นหอมกว่าดอกใหญ่ แต่อาจมีรสขมปนเล็กน้อย
  • เก๊กฮวยดอกเหลือง มีลักษณะทั่วไป คือ หลีบดอกมีสีเหลือง และให้รสขมมากกว่าพันธุ์ดอกขาว

เก๊กฮวย เป็นพืชที่มีต้นกำเนิดในประเทศจีน มีพันธุ์เก๊กฮวยที่นิยมปลูก และนำมาต้มเป็นน้ำเก๊กฮวยมากที่สุด คือ เก๊กฮวยดอกขาว ที่ปลูกมากกว่าร้อยละ 90 ของเก๊กฮวยทั้งหมด โดยเฉพาะที่เมืองหังโจ ประเทศจีน ส่วนเก๊กฮวยสีเหลือง ไม่นิยมทำน้ำเก๊กฮวย เพราะน้ำให้รสขม แต่นิยมใช้เป็นยาสมุนไพรสำหรับแก้ร้อนใน

สำหรับดอกเก๊กฮวยที่ชาวยุโรปนิยมใช้ชงเป็นชาดื่มเหมือนกับเก๊กฮวยของชาวเอเชียจะเป็นดอกเก๊กฮวยที่อยู่ในวงศ์เดียวกันดาวเรืองหรือเก๊กฮวย คือ ดอกคาโมมายล์ (Chamaemelum nobile (L.) All. มีกลีบดอก 2 สี คือ สีขาว และสีเหลือง

สรรพคุณของเก็กฮวย

สามารถ ช่วยดับกระหาย ช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย ช่วยขับเหงื่อ ช่วยดูดซับสารก่อมะเร็งและจุลินทรีย์ ช่วยขยายหลอดเลือดแดง ช่วยป้องกันโรคหัวใจ ช่วยป้องกันการโรคความดันโลหิตสูง ช่วยป้องกันการเกิดโรคเส้นเลือดตีบ ช่วยบำรุงเลือด ช่วยบำรุงสายตา ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ ช่วยลดไข้  ช่วยแก้ไอ ช่วยระบายและย่อยอาหาร ช่วยขับลม บำรุงปอด บำรุงตับ บำรุงไต ใช้รักษาฝีเป็นหนอง ช่วยรักษาผมร่วง

ประโยชน์เก๊กฮวย

  • ดอกเก๊กฮวยแห้งนิยมใช้ต้มหรือชงเป็นชาดื่ม น้ำเก๊กฮวยจะมีสีเหลืองอ่อน และให้กลิ่นหอมน่าดื่ม น้ำ ซึ่งอาจใช้ทั้งดอกเก๊กฮวยแห้งหรือผงดอกเก๊กฮวย
  • ใช้เป็นส่วนผสมของยาสมุนไพร คือ เก๊กฮวยสีเหลือง ซึ่งให้รสขม
  • ใช้เป็นส่วนผสมของอาหารสัตว์
  • ลำต้นเก๊กฮวย ใช้เป็นเชื้อเพลิงในครัวเรือน
  • ลำต้น และใบเก๊กฮวยที่เก็บดอกแล้ว ทำการไถกลบสำหรับเป็นปุ๋ยพืชสดหรือนำมาใช้ทำปุ๋ยหมัก

คำแนะนำในการบริโภคเก็กฮวย

  • เมล็ดพุด 1-2 เมล็ดจะให้น้ำสีเหลืองกำลังดี ถ้า 3 เมล็ดจะออกสีเหลืองมาก
  • วิธีทำน้ำเก๊กฮวยแบบถูกวิธีห้ามเคี่ยวดอกเก๊กฮวยเพราะจะทำให้น้ำมีรสขมได้
  • การกรองดอกเก๊กฮวยออกห้ามบี้เด็ดขาดเพราะจะทำให้น้ำมีรสขมได้
  • ถ้าต้มน้ำดอกเก๊กฮวยแล้วเปรี้ยว สาเหตุอาจมาจากการใส่ดอกเก๊กฮวยมากเกินไป หรือการใช้เวลาต้มนานจนเกินไป
  • การชงเก๊กฮวยแบบชงชาจะให้รสชาติที่ดีกว่าการนำมาต้มในน้ำเดือด ๆ นาน ๆ
  • ผู้ที่มีปัญหาเรื่องระบบขับถ่าย มีอาการท้องเสียง่าย ควรดื่มในปริมาณที่พอเหมาะ
  • สำหรับผู้ที่เป็นโรคกระเพาะอาหาร การดื่มชาเก็กฮวยอาจทำให้เกิดกรดในกระเพาะเพิ่มมากขึ้น

เกร็ดความรู้

เก๊กฮวยชงจะกินง่ายกว่าต้ม เพราะต้มแล้วรสชาติจะออกขม แนะนำให้ชงโดยนำดอกเก็กฮวยใส่ถ้วยพอประมาณ จากนั้นเทน้ำเดือดจัดๆ ลงไป ปิดถ้วยทิ้งไว้ให้เย็นแล้วจึงนำมาดื่ม หากรู้สึกว่าจืดไปให้เติมน้ำตาลกรวดลงไปเล็กน้อย หมดถ้วยแล้วก็เติมน้ำร้อนไปเรื่อยๆ จนกว่าจะจืด แต่เก็กฮวยมีข้อควรระวังคือ ผู้ที่มีอาการท้องร่วง ถ่ายบ่อย ควรรับประทานแต่น้อย

เมื่อพูดถึง สมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยา และ มีฤทธิ์เป็นยาเย็น มีมากมายหลากหลายชนิด แต่ทว่า เก๊กฮวย นั้นนับได้ว่าเป็น สมุนไพร ที่ขึ้นชื่อเรื่องของ การเป็นยาเย็น เหมาะสมสำหรับการแก้อาการร้อนในและกระหายน้ำได้เป็นอย่างดีนั่นเอง

เก๊กฮวย เป็นพืช สมุนไพรจีน ที่ต้องเพราะปลูกในพื้นที่ที่มีอากาศเย็นตลอดทั้งปี โดย เก๊กฮวยนั้นเป็นพืชที่มีดอกสีเหลือง กลิ่นหอมอ่อนๆ ซึ่งคนทั่วไปอาจจะรู้จักเพียงแค่การนำมาทำน้ำเก๊กฮวยรสชาติหอมหวานชื่นใจเท่านั้น ซึ่งหลายคนก็อาจจะยังไม่รู้ว่ามีประโยชน์อย่างไรซึ่งนอกจากจะนำมาทำน้ำดื่มที่มีสรรพคุณทางยามากมายแล้วนั้น

เก๊กฮวย มีสารฟลาโวนอยด์ในปริมาณที่สูงมาก โดยสารฟลาโวนอยด์ นั้นนับได้ว่าเป็นสารที่ดีและมีประโยชน์ต่อร่างกายชนิดหนึ่ง  โดย สรรพคุณหลักๆของเก๊กฮวย นั้นก็ คือ ช่วยลดอาการร้อนใน อีกทั้งยัง ช่วยแก้กระหายน้ำได้เป็นอย่างดี ซึ่งเก๊กฮวยนั้นจะมีคุณสมบัติ เป็นยาเย็น ช่วยในการฟื้นฟูสภาพและปรับสมดุลให้กับร่างกาย ได้เป็นอย่างดีนั่นเอง

นอกจากนั้น ดอกเก๊กฮวย ยังมีคุณสมบัติในการ ช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย โดยการขับของเสียออกทางเหงื่อนั่นเอง อีกทั้งยัง ช่วยในการดูดซับของเสีย และ สารก่อมะเร็ง ที่ตกค้างอยู่ในร่างกายและขับออกจากร่างกายได้เป็นอย่างดี

จึงถือว่า ดอกเก๊กฮวย นั้นมี คุณประโยชน์ที่หลากหลาย นั่นเอง นอกจากนั้นแล้วดอกเก๊กฮวยยังมีคุณสมบัติในการช่วยบำรุงโลหิตและช่วยในการขยายหลอดเลือดและช่วยแก้ไขปัญหาโรคเลือดต่างๆได้เป็นอย่างดีอีกด้วย และล่าสุดก็ยังมีผลงานวิจัยที่รับรองเกี่ยวกับดอกเก๊กฮวยว่าสามารถช่วยในการยับยั้งเชื้อไวรัสเอดส์ได้เป็นอย่างดีนั่นเอง

เมื่อพูดไปแล้ว เก๊กฮวย นั้นนับได้ว่าเป็น สมุนไพรที่มีประโยชน์ อีกทั้งยังมี สรรพคุณ ที่เหมาะสมสำหรับใช้ใน การบำรุงร่างกาย ได้เป็นอย่างดี โดยผู้ที่ต้องการใช้ เก๊กฮวยเพื่อบำรุงร่างกาย นั้นก็สามารถทำได้ง่ายๆเพียงการใช้ดอกเก๊กฮวยเพียงเล็กน้อย ประมาณ 4-5 ดอก ชงกับน้ำร้อนเพื่อทำเป็นชาจิบได้ตลอดเวลา จะช่วยสร้างความผ่อนคลายให้กับผู้ดื่มได้เป็นอย่างดี อีกทั้งหากดื่มก่อนนอนเป็นประจำก็จะช่วยให้นอนหลับได้สบายมากยิ่งขึ้นเนื่องจากดอกเก๊กฮวยนั้นเป็นดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมละมุนอ่อนๆ

ซึ่งจะสามารถสร้างความผ่อนคลายให้กับผู้ดื่มได้เป็นอย่างดี อีกทั้งน้ำดอกเก๊กฮวยก็ยังเหมาะสำหรับการดื่มในฤดูร้อนเพื่อช่วยคลายจากความเหนื่อยและความร้อนแรงของแสงแดดได้เป็นอย่างดีเช่นกัน จึงนับได้ว่า ดอกเก๊กฮวย นั้นเป็น สมุนไพร ที่มีความสามารถที่จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกายได้เป็นอย่างดี อีกทั้ง เก๊กฮวย ก็เป็น ดอกไม้ที่มีราคาไม่สูง จนเกินได้ด้วย เช่นกัน จึงเหมาะสำหรับนำมาทำเป็น สมุนไพรบำรุงร่างกาย ได้เหมาะกับทุกเพศและทุกวัยนั่นเอง

เก็กฮวย มีหลายสายพันธ์ เช่น เก๊กฮวยขาว เก๊กฮวยเหลือง เก๊กฮวยป่า ดอกเก็กฮวย มีกลิ่นฉุน มีรสหวานขม ประโชยน์และสรรพคุณของเก็กฮวย เช่น ช่วยดับกระหาย ช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย ช่วยขับเหงื่อ โทษของเก็กฮวย มีอะไรบ้าง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove