ว่านชักมดลูก Curcuma comosa Roxb สมุนไพรสำหรับสตรี สรรพคุณช่วยกระชับมดลูก ช่วยขับลม แก้ปัญหาประจำเดือนไม่ปรกติ ทำความรู้จักกับว่านชักมดลูกว่ามีประโยชน์อย่างไร

ว่านชักมดลูก สมุนไพร สรรพคุณว่านชักมดลูก

ว่านชักมดลูก ถือเป็น สมุนไพร พืชตระกูลขิง มีหัวอยู่ใต้ดิน ว่านชักมดลูกถูกนำเอาไปวิจัย ซึ่งพบว่าว่านชักมดลูกมีเอสโตรเจน ที่มีฤทธิ์คล้ายกับฮอร์โมนเพศหญิง สามารถนำว่านชักมดลูกมารักษาปัญหาสุขภาพของสตรีวัยทองได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นยังมีสรรพคุณอื่นๆ เช่น ช่วยกระชับช่องคลอด แก้ท้องอืดเฟ้อ ทำให้มดลูกเข้าอู่สำหรับสตรีหลังคลอดบุตร  แก้ปัญหาประจำเดือนมาไม่ปกติ ช่วยขับประจำเดือน แก้ปวดท้องประจำเดือน แก้ริดสีดวงทวาร  รักษาอาการตกขาว เป็นต้น

สายพันธ์ของว่านชักมดลูก

สำหรับการแบ่งสายพันธ์ของว่านชักมดลูก มีอยู่ 2 สายพันธุ์  คือ ว่านชัดมดลูกตัวเมีย และ ว่านชักมดลูกตัวผู้

  • ว่านชักมดลูกตัวเมีย ภาษาอังกฤษ เรียก Curcuma comosa Roxb.
  • ว่านชักมดลูกตัวผู้ ภาษาอังกฤษ เรียก Curcuma latifolia Roscoe มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Curcuma xanthorrhiza Roxb ว่านชักมดลูกพบว่ามีการปลูกมากในจังหวัดเลย และเพชรบูรณ์ แต่เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดที่ประเทศอินโดนีเซีย

ลักษณะของต้นว่านชักมดลูก

ต้นว่านชักมดลูก เป็นพืชล้มลุก มีความสูงประมาณ 1 เมตร หัวของว่านชักมดลูกอยู่ใต้ดิน ยาวประมาณ 10 เซนติเมตร มีลักษณะใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกัน รูปวงรี ขนาดกว้างประมาณ 15 เซ็นติเมตรและยาวประมาณ 40 เซ็นติเมตร ก้านกยาว 20 เซ็นติเมตร ลักษณะของต้นว่านชักมดลูก มีดังนี้

  • หัวของว่านชักมดลูก อยู่ใต้ดิน ขนาดยาวถึง 10 เซ็นติเมตร เนื้อสีส้มถึงสีส้มแดง หัวใต้ดินของว่านชักมดลูกตัวผู้ จะมีลักษณะจะมีลักษณะต่างจากตัวเมียตรงที่ หัวใต้ดินจะกลมแป้นมากกว่า และแขนงจะยาวมากกว่า หัวใต้ดินของว่านชักมดลูกตัวเมีย จะมีลักษณะของหัวกลมรีตามแนวตั้ง มีแขนงสั้น
  • ใบว่านชักมดลูก เป็น ใบเดี่ยว เรียงสลับ ออกเป็นกระจุกเหนือดิน รูปวงรีหรือรูปวงรีแกมใบหอกกว้าง 15 – 20 ซม. ยาว 40 – 90 ซม. มีแถบสีม่วงกว้างได้ถึง 10 ซม. บริเวณกลางใบ ดอกช่อเชิงลด ออกที่บริเวณกาบใบ
  • ก้านดอกว่านชักมดลูก ยาว 15 – 20 ซม. กลีบดอกสีแดงอ่อน ใบประดับสีม่วง เกสรตัวผู้ที่เป็นหมัน แปรรูปคล้ายกลีบดอกสีเหลือง ผลแห้ง แตกได้

สรรพคุณของว่านชักมดลูก

สำหรับการนำเอาว่านชักมดลูกมาใช้ประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถนำส่วน เหง้าและราก มาใช้ประโยชน์ทางสมุนไพร รายละเอียด ดังนี้

  • รากของว่านชักมดลูก ใช้แก้ท้องอืดเฟ้อได้ดี
  • เหง้าของว่านชักมดลูก ใช้เป็นยาบีบมดลูก สำหรับทำให้มดลูกเข้าอู่เร็ว ใช้กับสตรีหลังคลอดบุตร ช่วยให้ประจำเดือนมาตามปรกติ รักษาโรคมดลูกพิการปวดบวม แก้ปวดประจำเดือน ใช้รักษาริดสีดวงทวารหนัก รักษาไส้เลื่อน เป้นยาขับเลือด ช่วยขับลม ขับน้ำคาวปลา แก้โรคลมชัก ช่วยย่อยอาหาร

โทษของว่านชักมดลูก

การใช้ว่านชักมดลูกในด้านการดูแลสุขภาพ จำเป็นต้องใช้อย่างถูกต้องและในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งการใช้ประโยชน์จากว่านชักมดลูก มีข้อจำกัด ดังนี้

  • วานชักมดลูกจะทำให้มีการตกขาวมากกว่าปกติ
  • อาจทำให้เวียนหัว ปวดหัว มีไข้ ไอ แต่อาการนี้จะเกิดกับสตรีที่ไม่แข็งแรง หากพบปัญหานี้ให้ลดปริมาณการบริโภค
  • อาจมีผื่นขึ้นที่ผิวหนังและลำตัว หากมีผื่นมาก แนะนำให้ลดปริมาณการบริโภคลง
  • อาจปวดหน้าอก รู้สึกตึงหน้าอก ปวดมดลูก
  • สตรีในวัยทอง ที่หมดประจำเดือนไปแล้ว อาจจะมีประจำเดือนกลับมาได้

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

ขมิ้น พืชสารพัดประโยชน์ คู่สังคมไทย นิยมมาทำอาหารรวมถึงใช้รักษาโรค บำรุงผิวพรรณ ลักษณะของต้นขมิ้นเป็นอย่างไร ประโยชน์และโทษของขมิ้นมีอะไรบ้าง

ขมิ้น สมุนไพร สมุนไพรบำรุงผิว

ต้นขมิ้น ภาษาอังกฤษ เรียก Turmaric ชื่อวิทยาศาสตร์ของขมิ้น คือ Curcuma longa Linn สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของขมิ้น เช่น ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว หมิ้น ขมิ้นป่า ขมิ้นทอง ขมิ้นดี ตายอ เป็นต้น ขมิ้นอยู่คู่สังคมไทยมาช้านาน นิยมนำไปใช้ในการประกอบอาหาร แต่งสีอาหาร แต่งกลิ่นอาหาร อาหารไทยที่มีขมิ้นเป็นส่วนประกอบ เช่น แกงไตปลา แกงกะหรี่ เป็นต้น

นอกจากนี้ ขมิ้นมีประโยชน์ทางสมุนไพรใช้รักษาโรคได้ มีประวัติในการนำขมิ้นใช้ในการรักษามากกว่า 5,000 ปี สรรพคุณของขมิ้นเช่น ช่วยแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม ป้องกันมะเร็ง รักษาโรคกระเพาะ รักษาลำไส้อักเสบ รักษาโรคผิวหนัง ลดไขมันในเลือด เป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ยาฆ่าเชื้อรา รักษาฝี รักษาแผลไฟไหม้ บำรุงตับ ช่วยย่อยอาหาร ลดไขมันในตับ เป็นต้น

ลักษณะของต้นขมิ้น

ขมิ้น เป็นพืชล้มลุก มีเหง้าอยู่ใต้ดิน สามารถขยายพันธ์โดยการแยกหน่อ ลักษณะของต้นขมิ้น มีดังนี้

  • ลำต้นของขมิ้นชัน มีความสูงประมาณ  30 ถึง 95 เซ็นติเมตร
  • เหง้าของขมิ้นชัน เป็นลักษณะทรงรี รูปไข่ อยู่ใต้ดิน อ้วนและสั้น ในเนื้อของเหง้ามีสีเหลืองส้ม กลิ่นฉุน
  • ใบของขมิ้นชัน ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ตรงกลางใบมีสีแดงคล้ำ ออกมาจากเหง้า เรียงซ้อนทับกันเป็นวง ลักษณะใบเป็นรูปหอก
  • ดอกของขมิ้นชัน ดอกออกมาจากเหง้าขมิ้นชั้น แทรกขึ้นตามก้านใบ ดอกขมิ้นรูปทรงกระบอก สีเหลืองอ่อน ใบประดับสีเขียวอ่อน

คุณค่าทางโภชนาการของขมิ้น

ขมิ้น มีวิตามินเอ วิตามินอี และวิตามินซี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็งตับได้ ช่วยลดไขมันในตับ สมานแผลในกระเพราะอาหาร เปลี่ยนไขมันให้เป็นกล้ามเนื้อ ทำความสะอาดลำไส้ ช่วยย่อยอาหาร

ขมิ้นชัน อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี วิตามินอี ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก และเกลือแร่ต่าง ๆ รวมไปถึงเส้นใย คาร์โบไฮเดรต และโปรตีน เป็นต้น

สรรพคุณของขมิ้น

สำหรับการใช้ขมิ้นในการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย สามารถใช้ประโยชน์จากเหง้าของขมิ้น ซึ่งสรรพคุณของขมิ้น มีดังนี้

  • ช่วยบำรุงร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยชะลอวัย เสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย
  • บำรุงผิวหนัง ช่วยป้องกันผิวหนังจากสภาพแวดล้อมต่างๆ แก้อาการผื่นคันตามร่างกาย รักษาโรคผิวหนัง รักษากลากเกลื้อน บรรเทาอาการผิวหนังพุพอง ทำให้ ผิวพรรณนุ่มนวล ขาวผ่องใส เต่งตึง รักษาสิวเสี้ยน สิวผด สิวอุดตัน
  • ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในร่างกาย รักษาโรคเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต
  • ช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย ล้างพิษ ลดการเกิดพิษในร่างกาย
  • บำรุงกระดูก รักษาโรคเกาต์ ลดกรดยูริคในเลือด ลดอาการปวดบวมตามข้อ
  • บำรุงร่างกายสำหรับสตรีหลังคลอดบุตร ช่วยเพิ่มน้ำนม
  • รักษาโรคระบบทางเดินหายใจ ช่วยให้หายใจคล่อง บำรุงปอด
  • บำรุงสมอง ลดอาการสมองเสื่อม แก้อาการเวียนหัว
  • แก้ปวด ลดการอักเสบ บวมแดงของร่างกาย
  • ช่วยลดไข้ ลดอาการไอ
  • รักษาแผลที่ปาก แผลร้อนใน
  • บรรเทาอาการปวดท้อง ช่วยรักษาอาการท้องเสีย  รักษาอาการจุดเสียด ท้องอืดท้องเฟ้อ
  • บำรุงระบบทางเดินอาหาร รักษาโรคลำไส้อักเสบ รักษาโรคแผลในลำไส้ ช่วยเรื่องการขับถ่าย ลดการบีบตัวของลำไส้  รักษาอาการลำไส้ใหญ่บวม อาการอุจจาระไม่ออก ช่วยขับลม ป้องกันการเกิดกรดไหลย้อน
  • บำรุงตับให้แข็งแรงขึ้น ป้องกันการเกิดตับอักเสบ และตับอ่อนอักเสบ และป้องกันตับจากฤทธิ์ของยาพาราเซตามอล
  • แก้อาการตกเลือด แก้อาการตกขาว
  • รักษาแผลจากแมลงสัตว์กัดต่อย
  • ต้านการเจริญเติบโตของเชื้อรา
  • รักษาแผล ช่วยสมานแผล

โทษของขมิ้น

สำหรับการใช้ประโยชน์จากขมิ้นหากใช้อย่างไม่ถูกต้องสามารถทำให้เกิดโทษได้ ดังนี้

  • หากรับประทานขมิ้นแล้วเกิดอาการคลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดหัว หรือ นอนไม่หลับ ต้องหยุดการรับประทานขมิ้นทันที
  • การใช้ขมิ้นเพื่อบรรเทาอาการต่างๆ เมื่ออาการเหล่านั้นหายดีแล้ว ควรเลิกรับประทาน ไม่ควรรับประทานต่อเนื่อง
  • ขมิ้นชั้นเป็นอันตรายสำหรับผู้ป่วยเกี่ยวกับท่อน้ำดี อาจทำให้เกิดการอุดตันของท่อน้ำดีได้

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove