มะเขือพวง สมุนไพร สรรพคุณมะเขือพวง ช่วยเจริญอาหาร ย่อยอาหาร ช่วยระบบขับถ่าย ช่วยบำรุงเลือด ช่วยลดเบาหวาน ช่วยเผาผลาญไขมัน ผักพื้นบ้าน ประโยชน์ของมะเขือพวงมะเขือพวง สมุนไพร พืชสวนครัว ประโยชน์ของมะเขือพวง

ต้นมะเขือพวง สมุนไพร คู่ครัวไทย เป็นสมุนไพรช่วยบำรุงสุขภาพ มากมาย สรรพคุณมะเขือพวง ช่วยเจริญอาหาร ย่อยอาหาร ช่วยระบบขับถ่าย บำรุงธาตุ ขับเสมหะ แก้ไอ ช่วยบำรุงเลือด ช่วยลดเบาหวาน ช่วยเผาผลาญไขมัน มะเขือพวง เป็นพืชผักสมุนไพร และนิยมปลูกจนกลายเป็นพืชผักสวน  นิยมนำผลมาประกอบอาหาร ผักพื้นบ้านของไทย

มะเขือพวง ภาษาอังกฤษ เรียก Pea Eggplant มะเขือพวง มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Solanum torvum Sw. มะเขือพวง มีชื่ออื่นๆ อาทิ เช่น มะเขือละคร มะแว้งช้าง มะแคว้งกุลา หมากแข้ง เขือน้อย เขือพวง เขือเทศ ลูกแว้ง เป็นต้น ต้นมะเขือพวง เป็นพืชในเขตร้อน มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกา เป็นพืชที่ทนต่อโรคสูง สำหรับประเทศไทย นิยมนำผลมะเขือพวงมาทำอาหาร ไม่ว่าจะเป็น แกงป่า แกงคั่วปลาไหล แกงอ่อมปลาดุก แกงเขียวหวาน น้ำพริกกะปิ น้ำพริกแมงดา น้ำพริกกุ้งสด น้ำพริกไข่เค็ม ปลาร้าทรงเครื่อง ผัดเผ็ดต่างๆ เป็นต้น

มะเขือพวง มีสาร อยู่ 2 กลุ่ม ที่มีความสำคัญ เป็นสารในกลุ่มไฟโตนิวเทรียนท์ และสารกลุ่มอัลคาลอยด์ มาทำความรู้จักกับสาร 2 กลุ่มนี้ ว่ามีประโยชน์อย่างไร

  • สารกลุ่มไฟโตนิวเทรียนท์ (Phytonutrient) สารอาหารเหล่านี้จะช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกายให้ดีขึ้น  สามารถกลับมาทำงานได้ตามปกติ สารสำคัญที่เป็นสารในกลุ่มนี้ คือ Torvoside และซาโปนิน เป็นสารที่ช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือด กระตุ้นให้ตับนำโคเลสเตอรอลในเลือดไปใช้มากขึ้น ยับยั้งการดูดซึมโคเลสเตอรอลในลำไส้ด้วย ป้องกันโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด มีฤทธิ์ขับเสมหะ เป็นยาเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
  • สารกลุ่มอัลคาลอยด์ (Alkaloids) สารกลุ่มนี้มีฤทธิ์เป็นด่าง รสขม ไม่มีสี มีฤทธิ์ต่อระบบประสาท และอวัยวะต่างๆ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย อัลคาลอยด์เป็นสารที่สลายตัวได้ง่าย ซึ่งหากนำมาผ่านความร้อนแล้ว สามารถบริโภคได้อย่างปลอดภัย สารกลุ่มนี้มีสรรพคุณในการต้านโรคมะเร็ง ยับยั้งการแบ่งตัวที่ผิดปกติของเซลล์มะเร็ง

คุณค่าทางโภชนาการของมะเขือพวง

การศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของผลมะเขือพวง ขนาด 100 กรัม พบว่า ผลมะเขือพวงให้พลังงาน 24 กิโลแคลอรี มีสารอาหารต่างๆ อาทิ เช่น คาร์โบไฮเดรต 5.7 กรัม น้ำตาล 2.35 กรัม กากใยอาหาร 3.4 กรัม ไขมัน 0.19 กรัม โปรตีน 1.01 กรัม วิตามีนบี1 0.039 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.037 มิลลิกรัม สารไนอะซิน 0.649 มิลลิกรัม กรดแพนโทเทนิก 0.281 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.084 มิลลิกรัม กรดโฟเลต 22 ไมโครกรัม วิตามินซี 22 มิลลิกรัม แคลเซียม 9 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.24 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 14 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 25 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 230 มิลลิกรัม สังกะสี 0.16 มิลลิกรัม และธาตุแมงกานีส 0.25 มิลลิกรัม

ลักษณะของต้นมะเขือพวง

ต้นมะเขือพวง เป็น พืชล้มลุก ลำต้นมีความสูง 1 ถึง 4 เมตร กิ่งก้านแตกสาขามากมาย เป็นลักษณะพุ่ม ใบมะเขือพวง ตรงข้ามกิ่งก้าน ใบเป็นมีรูปไข่ สีเขียว ดอกของมะเขือพวง ออกเป็นช่อ เป็นลักษณะรูปกรวย มีกลีบเลี้ยงสีเขียว 5 กลีบ ดอกสีขาวหรือสีม่วง และเกสรสีเหลือง ผลของมะเขือพวง เป็นลักษณะกลม ขนาดของผลประมาณ 1 เซนติเมตร ผลอ่อนมีสีเขียว ผลอ่อนจะมีรสขม แต่ผลสุกจะเป็นสีเหลือง รสฝาด เปรี้ยว ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดมีลักษณะกลม แบน มีสีน้ำตาล

สรรพคุณของมะเขือพวง

สำหรับการใช้ ประโยชน์ของมะเขือพวง ด้านสมุนไพร นั้น สามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ตั้งแต่ทั้งต้น เมล็ด ผล ใบ และราก ประโยชน์ของมะเขือพวง มีรายละเอียด ดังนี้

  • เมล็ดของมะเขือพวง ช่วยแก้ปวดฟัน
  • ผลของมะเขือพวง ช่วยบำรุงไต ช่วยขับปัสสาวะ รักษาแผลกระเพาะอาหาร รักษาท้องผูก ช่วยกระตุ้นการขับถ่าย ช่วยย่อยอาหาร ช่วยเจริญอาหาร แก้ไอ บำรุงสายตา บำรุงเลือด ช่วยให้นอนหลับสบาย รักษาความดันโลหิตสูง ลดคอเลสเตอรอล ช่วยดูดซับไขมัน ช่วยขับเสมหะ ป้องกันมะเร็ง
  • ทั้งต้นมะเขือพวง ช่วยรักษาโรคผิวหนัง รักษากลากเกลื้อน รักษาฝี รักษาพิษแมลงสัตว์กัดต่อย
  • ใบของมะเขือพวง ช่วยรักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย ใช้ห้ามเลือด รักษาโรคผิวหนัง แก้ฟกช้ำ แก้ปวดตามข้อและกระดูก ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยลดไข้ ขับเหงื่อ ขับของเสียออกจากร่างกาย
  • รากของมะเขือพวง ช่วยรักษาแผล รักษาตาปลา รักษาเท้าแตก

การปลูกมะเขือพวง

การปลูกมะเขือพวง นั้นง่ายมาก การขยายพันธ์มะเขือพวงสามารถทำได้โดยเมล็ดมะเขือพวง การปักชำลำต้น การปักชำราก การปักชำยอด การตอนกิ่ง หรือการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และให้ผลผลิตตลอดทั้งปี เป็นผักที่ปลูกตามครัวเรือน มีเรื่องที่สำคัญ เป็นเรื่องการเตรียมดิน การปลูก การดูแลรักษาและการเก็บเกี่ยวผลผลิต รายละเอียดมีดังนี้

  • การเตรียมดิน มะเขือพวงชอบดินร่วน การเตรียมปลูกมะเขือพวง ให้ยกร่องเป็นแปลง ระยะห่างระหว่างต้น 2-3 เมตร
  • การปลูกมะเขือพวง มะเขือพวงสามารถปลูกได้ในทุกภาคของประเทศไทย และปลูกได้ตลอดปี สามารถเลือกการปลูกได้ตามต้องการ เช่น เมล็ดมะเขือพวง การปักชำลำต้น การปักชำราก การปักชำยอด การตอนกิ่ง หรือการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ สำหรับการเพาะเมล็ด นั้น เพาะในกระบะ ในกระถางหรือในถุง อายุได้ 1 เดือน ก็สามารถย้ายลงแปลงที่เตรียมไว้ได้
  • การดูแลมะเขือพวง ให้หมั่นพรวนดิน รดน้ำสม่ำเสมอ หากบำรุงด้วยฮอร์โมน โดยการฉีดพ่นทางใบในทุกๆ 10 วัน ช่วยให้มะเขือพวงออกดอกดก ติดลูกดก
  • การเก็บเกี่ยวมะเขือพวง สามารถเก็บเกี่ยวหลังจากมะเขือพวง อายุ 120 วัน และหากบำรุงดีๆ สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้นานถึง 3 ปี

บัวหลวง ( Lotus ) สมุนไพร ประโยชน์และสรรพคุณบำรุงร่างกาย ช่วยขยายหลอดเลือด ลดความดัน ชะลอการหลั่ง แต่ต้องกินปริมาณที่เหมาะสม ต้นบัวหลวงเป็นอย่างไรบัวหลวง สมุนไพร ต้นบัว ประโยชน์ของบัวหลวง

ต้นบัวหลวง เป็นสมุนไพร มีสรรพคุณ ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยขยายหลอดเลือด ลดความดันเลือด ซึ่งสรรพคุณเหล่านี้ ช่วยในการเพิ่มสมรรถภาพทางเพศของท่านชาย ช่วยชลอการหลั่งได้ หากรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม เรามาให้ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร ชื่อ บัวหลวง กันอย่างละเอียด ว่า บัวหลวงมีลักษณะทางพันธุศาสตร์อย่างไร สรรพคุณของบัวหลวงมีอะไรบ้าง

ต้นบัวหลวง ภาษาอังกฤษ เรียก Lotus มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Nelumbo nucifera Gaertn. ชื่อเรียกอื่นๆของบัวหลวง เช่น โกกระณต บัว บัวอุบล บัวฉัตรขาว บัวฉัตรชมพู บัวฉัตรสีชมพู บุณฑริก ปุณฑริก ปทุม ปัทมา สัตตบงกช สัตตบุษย์ เป็นต้น

ลักษณะของต้นบัวหลวง

ต้นบัวหลวง เป็นพืชล้มลุก อายุยืน อยู่ตามแหล่งน้ำ อยู่ในพื้นที่ ที่มีน้ำขัง รายละเอียดของต้นบัวหลวง มีลักษณะ ดังนี้

  • เหง้าของบัวหลวงอยู่ใต้ดิน ลักษณะของเหง้าจะเป็นท่อนยาว มีปล้อง สีเหลืองอ่อน สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินเหนียว ในระดับความลึกของน้ำที่ประมาณ  50 เซนติเมตร
  • การขยายพันธ์ของบัวหลวงใช้การขยายพันธ์โดยใช้เมล็ดและการแตกไหลบัว
  • ใบของบัวหลวง ใบลักษณะใบเดี่ยว กลมและมีขนาดใหญ่ ขอบของใบเรียบ จะมีก้านใบจะติดอยู่ตรงกลางของใบบัว อยุ่ด้านล่าง สำหรับก้านบัวจะมีหนาม
  • ดอกบัวหลวง ลักษณะเป็นดอกเดี่ยว มีสีขาว สีชมพู ดอกบัวมีกลิ่นหอม ในดอกจะมีเกสรตัวผู้สีเหลืองอยู่เป็นจำนวนมาก และล้อมรอบอยู่บริเวณฐานรองดอก เราเรียกส่วนฐานนั้นว่า “ฝักบัว”ภายในฝักบัวจะมีเม็ดบัว
  • ฝักบัวหลวง จะมีผลอ่อนสีเขียว ในฝักบัวจะมีผลบัว เมื่อฝักบัวแก่ เม็ดบัวจะขยาย สำหรับดีบัว คือ ส่วนของต้นอ่อนที่อยู่ในเม็ดบัว

คุณค่าทางโภชนาการของบัวหลวง

นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางอาหารของรากบัวหลวง ขนาด 100 กรัม นั้นให้พลังงาน พลังงาน 66 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย สารอาหาร คาร์โบไฮเดรต 16 กรัม น้ำ 81 กรัม น้ำตาล 0.5 กรัม เส้นใยอาหาร 3 กรัม ไขมัน 0.07 กรัม โปรตีน 1.5 กรัม วิตามินบี1 0.127 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.01 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.3 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.3 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.2 มิลลิกรัม วิตามินบี9 8 ไมโครกรัม โคลีน 25 มิลลิกรัม วิตามินซี 27 มิลลิกรัม แคลเซียม 26 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.9 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 22 มิลลิกรัม แมงกานีส 0.22 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 78 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 36 มิลลิกรัม โซเดียม 45 มิลลิกรัม และสังกะสี 0.33 มิลลิกรัม

สรรพคุณของบัวหลวง

การนำบัวหลวงมาใช้ประโยชน์นั้น สามารถนำมาใช้ได้ทุกส่วน ประกอบด้วย ทั้งต้น รากและเหง้า ใบบัว เม็ดบัวหลวง ดีบัว ดอกบัว รายละเอียด ดังนี้

  • สรรพคุณของต้นบัวหลวงทั้งต้น ใช้แก้พิษ ช่วยลดความดันโลหิต ลดไขมันในเส้นเลือด
  • สรรพคุณของรากบัวและเหง้าบัว ช่วยห้ามเลือด ช่วยรักษาแผลพุพอง ช่วยขับปัสสาวะ รักษาอาการท้องร่วง ช่วยขับเสมหะ
  • สรรพคุณของฝักบัวหลวง ใช้แก้พิษเห็ดเมา ช่วยสมานแผลในมดลูก แก้ไอ เป็นยาชูกำลัง
  • สรรพคุณของใบบัว นำมาใช้แก้อาการบวม อาการอักเสบ
  • สรรพคุณของเม็ดบัวหลวง ช่วยบำรุงครรภ์ของสตรี  ช่วยบำรุงไขข้อและเส้นเอ็น รักษาโรคเกี่ยวกับข้อกระดูก ช่วยแก้อาการน้ำกามเคลื่อน ลดอาการฝันเปียก ช่วยรักษาแผลพุพอง ช่วยบำรุงไต บำรุงม้าม บำรุงตับ ช่วยแก้อาการประจำเดือนมามากกว่าปกติ ช่วยแก้ลำไส้อักเสบ รักษาอาการท้องร่วง ช่วยขับเสมหะ เป็นยาบำรุงหัวใจ ช่วยบำรุงประสาทและสมอง เป็นยาชูกำลัง
  • สรรพคุณของดีบัว ช่วยบำรุงครรภ์ของสตรี ช่วยแก้อาการน้ำกามเคลื่อน ลดอาการฝันเปียก ช่วยแก้อหิวาตกโรค ช่วยบำรุงถุงน้ำดี ช่วยแก้อาการอาเจียนเป็นเลือด ช่วยรักษาการติดเชื้อในช่องปาก ช่วยทำให้เส้นเลือดขยาย
  • สรรพคุณของดอกบัวหลวง ช่วยทำให้คลอดบุตรง่าย  ช่วยบำรุงครรภ์ของสตรี  ช่วยแก้อาการช้ำใน ช่วยแก้อาการผดผื่นคัน ช่วยห้ามเลือด ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับเสมหะ ช่วยลดไข้ เป็นยาบำรุงหัวใจ
    ฝักบัวหลวง ช่วยขับรกออกมาให้เร็วขึ้น

คำแนะนำสำหรับการนำบัวหลวงมาใช้ประโยชน์
การนำบัวหลวงมาใช้ประโยชน์นั้นมีข้อแนะนำเกี่ยวกับการเลือกซื้อและการนำเอาบัวหลวงมาใช้ประโยชน์ ซึ่งรายละเอียดมี ดังนี้

  • บัวหลวงมีสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็งได้ แต่บัวหลวงที่มีขายในประเทศไทยนั้นมีหลายแหล่ง เช่นประเทศจีน ซึ่งบัวหลวงของจีนนั้นจะมีขนาดของเมล็ดที่ใหญ่กว่าบัวหลวงของไทย แต่คุณค่าทางอาหารบัวหลวงของไทยมีคุณค่ามากกว่าบัวหลวงของจีนหลายเท่า
  • การรับปรัทานสารสกัดจากบัวหลวงนั้นต้องระวังอาจมีสารเจือปนที่มีพิษต่อร่างกายได้ การรับประทานบัวหลวงให้ได้ประโยชน์สูงสุดควรรับประทานสดๆจากต้น
  • การเลือกซื้อบัวหลวงนั้น ควรเลือกซื้อบัวที่สดและมีเมล็ดขนาดใหญ่ สีเขียวอ่อน
  • การเลือกซื้อเม็ดบัวอบแห้ง ควรระวังสิ่งเจือปนที่ไม่สะอาด เช่น ฝุ่นละออง กลิ่นสาบ กลิ่นเหม็นหืน ขั้วเม็ดดำคล้ำ เป็นต้น
  • หากต้องการให้สรรพคุณของเม้ดบัวมากขึ้น ให้นำเม็ดบัวมาปรุงอาหารร่วมกับลำไยอบแห้ง
  • สำหรับผู้ที่แพ้เกสรดอกไหม้ ให้ระวังเรื่องการบริโภคบัวหลวง เนื่องจากบัวหลวงมีเกสรดอกไม้
  • บัวหลวงทำให้ท้องผูก ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพเรื่องการขับถ่ายไม่ควรบริโภคบัวหลวง

บัวหลวง ( Lotus ) สมุนไพร ประโยชน์ของบัวหลวง สรรพคุณของบัวหลวง บำรุงร่างกาย ช่วยขยายหลอดเลือด ลดความดันช่วยชลอการหลั่ง แต่ต้องกินปริมาณที่เหมาะสม ลักษณะของต้นบัวหลวงเป็นอย่างไร ต้นบัวหลวง คำแนะนำสำหรับการนำบัวหลวงมาใช้ประโยชน์


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove