มะนาว น้ำจากผลมะนาวมีรสเปรี้ยว สมุนไพรรสเปรี้ยว ต้นมะนาวเป็นอย่างไร สรรพคุณของมะนาว เช่น เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงเลือด โทษของมะนาวมีอะไรบ้าง

มะนาว ชนิดของมะนาว ประโยชน์มะนาว สรรพคุณมะนาว

มะนาว ( Lime ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะนาว คือ Citrus aurantiifolia (Christm) สมุนไพร คู่ครัวไทย มีรสเปรี้ยว นิยมนำมาปรุงรส สรรพคุณของมะนาว ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ ช่วยแก้อาเจียน ช่วยรักษาสมดุลโรคความดันโลหิต ช่วยเจริญอาหาร แก้โรคตาแดง แก้ไข้ บำรุงเลือด รักษาโรคเลือดออกตามไรฟันได้ ช่วยขับเสมหะ ช่วยแก้ไอ ช่วยบรรเทาอาการเสียบแหบแห้ง บำรุงเหงือก ช่วยรักษาท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้อาการท้องร่วง ช่วยการขับพยาธิไส้เดือน เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยรักษาโรคกระเพาะ แก้อาการบิด ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคนิ่ว ช่วยบำรุงโลหิต รักษาโรคผิวหนัง ใช้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

ต้นมะนาว ภาษาอังกฤษ เรียก Lime มะนาวมีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Citrus aurantiifolia (Christm) ชื่ออื่นๆของมะนาว เช่น ส้มมะนาว โกรยชะม้า ปะนอเกล มะนอเกละ มะเน้าด์เล ปะโหน่งกลยาน ลีมานีปีห์ หมากฟ้า เป็นต้น มะนาวที่นิยมปลูกในเมืองไทย มี 4 พันธุ์ ประกอบด้วย มะนาวไข่ มะนาวแป้น มะนาวแป้นรำไพ และมะนาวหนัง มะนาวถือเป็นผลไม้ ที่มีกรดอินทรีย์หลายชนิด ประกอบด้วยกรดซิตริก กรดมาลิค และไวตามินซี นอกจากนี้แล้ว น้ำมันหอมระเหยที่สกัดได้จากผิวมะนาว มีวิตามินเอ วิตามินซี แคลเซียมและฟอสฟอรัสอีกด้วย

คุณค่าทางโภชนาการของมะนาว

จากการศึกษามะนาวขนาด 100 กรัม พบว่า ข้อมูลทางโภชนาการของมะนาว ต่อ 100 กรัม ให้พลังงาน 30 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 10.5 กรัม น้ำตาล 1.7 กรัม กากใยอาหาร 2.8 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม โปรตีน 0.7 กรัม วิตามินบี 1 0.03 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.02 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.2 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.217 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.046 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 8 ไมโครกรัม วิตามินซี 29.1 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 33 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.6 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 6 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 18 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 102 มิลลิกรัม และธาตุโซเดียม 2 มิลลิกรัม

สรรพคุณของมะนาว

สรรพคุณของมะนาว ประกอบด้วย เราได้รวบรวมประโยชน์ทางสมุนไพรของมะนาว ดังนี้ ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ ช่วยแก้อาเจียน ช่วยรักษาสมดุลโรคความดันโลหิต ช่วยในการเจริญอาหาร แก้โรคตาแดง แก้ไข้ บำรุงเลือด รักษาโรคเลือดออกตามไรฟันได้ ช่วยขับเสมหะ ช่วยแก้ไอ ช่วยบรรเทาอาการเสียบแหบแห้ง บำรุงเหงือก ช่วยรักษาท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้อาการท้องร่วง ช่วยการขับพยาธิไส้เดือน เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยรักษาโรคกระเพาะ แก้อาการบิด ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคนิ่ว ช่วยบำรุงโลหิต รักษาโรคผิวหนัง ใช้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

การนำมะนาวมาใช้ประโยชน์ทางความงาม ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส ช่วยบำรุงตา น้ำมันหอมระเหยที่ให้กลิ่นหอมสดชื่น (Aromatherapy) ช่วยเร่งการผลัดเซลล์ผิวที่เสื่อมสภาพออกไป ช่วยผิวบริเวณเหล่านี้มีความนุ่มนวลเพิ่มมากขึ้น ช่วยรักษาสิวของคุณให้ลดน้อยลงได้ แก้ปัญหาผิวแตก แก้ปัญหาส้นเท้าแตก

ประโยชน์ด้านอื่นของมะนาว

  • ป้องกันภัยจากงูและสัตว์เลื้อยคลาน ด้วยการใช้เปลือกวางไว้บริเวณใกล้ที่นอน ๆ สัตว์เหล่านี้ก็จะไม่มารบกวนเพราะได้กลิ่นมะนาว
  • แก้พิษจากการโดนงูกัด
  • ถ้าก้างปลาติดคอ ให้นำน้ำมะนาว 1 ลูก เติมเกลือ ใส่น้ำตาลเล็กน้อย แล้วกลืนลงไปให้ตรงกับบริเวณที่ก้างติดคอ อมไว้สักครู่แล้วค่อย ๆ กลืน ก้างปลาจะอ่อนตัวลงแล้วหลุดลงไปในกระเพาะ
  • แก้เล็บขบ ส้นเท้าแตก ขาลาย
  • ลบรอยเปื้อนหมึก หรือรอยเตารีด บนเสื้อผ้าได้

เมื่อพูดถึงมะนาวนั้นหลายหลายคนก็คงจะนึกถึงรสชาติความเปรี้ยวจี๊ดอีกทั้งยังนึกถึงความเป็นผลไม้รสเปรี้ยวพี่อยู่คู่กับครัวคนไทยมาแต่ช้านาน โดยส่วนใหญ่แล้วมะนาวมักจะถูกนำมาเป็นเครื่องปรุงรถสำหรับการทำอาหารประเภทยำเป็นหลัก ซึ่งรสชาติความเปรี้ยวจี๊ดของมะนาวนั้นมีสรรพคุณที่ดีมากมายนั่นเอง รสชาติเปรี้ยวจี๊ดของมะนาวนั้นอุดมไปด้วยวิตามินซีจากธรรมชาติที่สูงมากโดยวิตามินซีนั้นเป็นส่วนประกอบสำคัญที่จะช่วยในการต่อต้านอนุมูลอิสระอีกทั้งยังช่วยในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะเห็นได้ว่าหากมีอาการเจ็บป่วยหรืออาการไม่สบายต่างๆนั้นคนโบร่ำโบราณก็จะใช้มะนาวมาช่วยเพื่อบรรเทาอาการนั่นเอง

สรรพคุณของมะนาว นั้นมีมากมายหลากหลายอย่างซึ่งส่วนใหญ่แล้วนั้นจะช่วยในเรื่องของการบรรเทาอาการปวดศีรษะช่วยลดอาการอาเจียนเป็นลมวิงเวียนศีรษะหรือแม่กระทั่งแก้เมาเหล้าได้เป็นอย่างดีอีกด้วย และยังรวมไปถึงมะนาวนั้นยังมีคุณสมบัติในการช่วยแก้ไอได้เป็นอย่างดีซึ่งหากมีอาการไอแล้วก็สามารถใช้มะนาวผสมกับน้ำผึ้งแล้วก็เกลือนิดหน่อยใช้จิบบ่อยๆจะช่วยลดอาการระคายเคืองคออีกทั้งยังช่วยสามารถให้ชุมคอได้เป็นอย่างดีอีกด้วย อีกครั้งมะนาวนั้นยังมีการนำมาใช้เพื่อการบำรุงผิวและเพื่อความสวยความงามได้เป็นอย่างดีอีกด้วยโดยในน้ำมะนาวนั้นจะมีกรดซิตริกสูง ซึ่งกรดซิตริกนี้จะช่วยกระตุ้นการผลัดเซลล์ผิวที่เสื่อมสภาพได้เป็นอย่างดี จึงเห็นได้ว่าจะมีผู้คนนำน้ำมะนาวนั้นมาผสมกับดินสอพองเพื่อพอกหน้าเป็นประจำจะช่วยลดเลือนรอยแผลเป็นอีกทั้งยังช่วยลดรอยสิวและลดอาการสิวได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นแล้วมะนาวยังสามารถนำมาใช้ประกอบการหุงข้าวทำให้ข้าวนั้นขาวและอร่อยมากยิ่งขึ้นโดยการนำน้ำมะนาวเพียงแค่สองถึงสามช้อนชาใส่ลงไประหว่างหุงข้าวนั่นเอง อีกทั้งหากต้องการให้ไข่เจียวมีความฟูและนิ่มขึ้นก็สามารถใช้น้ำมะนาวเพียงสี่ถึงห้าหยดผสมลงไปในไข่พี่เตรียมจะเจียวก็สามารถทำให้ไข่นั้นนุ่มและฟูน่ากินเป็นอย่างมาก

นอกจากนั้นแล้วในเปลือกของผิวมะนาวยังมีน้ำมันหอมระเหยหลากหลายชนิดที่ให้กลิ่นหอมสดชื่นโดยกลิ่นหอมสดชื่นนั้นจะช่วยในการลดอาการวิงเวียนศีรษะและลดอาการปวดศีรษะ อีกทั้งรวมไปถึงสามารถทำให้ร่างกายเกิดความสงบและมีสมาธิในการทำงานหรือทำกิจกรรมต่างๆได้เป็นอย่างดีมากขึ้นด้วยเช่นกัน ในปัจจุบันนี้มีการแปรรูปมะนาวเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆมากมายทั้งผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับอาหารอีกทั้งยังรวมไปถึงขนมและของกินเล่นต่างๆมากมายด้วยซึ่งถือได้ว่าเป็นการต่อยอดผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นน้ำมะนาวสำเร็จรูปมะนาวผงและรวมไปถึงมะนาวดองอีกด้วย จึงนับได้ว่ามะนาวนั้นเป็นสมุนไพรใกล้ตัวที่มีสรรพคุณมากมายหลากหลายอีกทั้งยังสามารถนำมาทำเป็นส่วนประกอบในการปรุงอาหารต่างๆเพื่อสร้างรสชาติอร่อยถูกปากกับคนไทยได้เป็นอย่างดี

งาดำ สมุนไพร เมล็ดงาดำนิยมนำมาบริโภค ลักษณะของต้นงาดำเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของงาดำ สรรพคุณช่วยชะลอวัย บำรุงผิวพรรณ บำรุงผม โทษของงาดำ มีอะไรบ้าง

งาดำ สมุนไพร สรรพคุณของงาดำ

งาดำ ( Sesamum ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของงาดำ คือ Sesamum indicum L สมุนไพร คุุณค่าทางโภชนาการของงาดำ สรรพคุณของงาดำ ช่วยชะลอความแก่  ช่วยบำรุงผิว ช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัย ช่วยซ่อมแซมผิวพรรณ ช่วยบำรุงรากผม ช่วยให้ผมดกเงางาม ช่วยป้องกันการเกิดผมหงอก ช่วยบำรุงกำลัง ช่วยสลายไขมัน ใช้ลดความอ้วน ช่วยลดการดูดซึมคอเลสเตอรอลในร่างกาย

นอกจากนั้น งาดำยังมีสรรพคุณ ช่วยป้องกันหลอดเลือดแข็งตัว ช่วยป้องกันโรคหัวใจ ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ช่วยบำรุงสมอง ช่วยบำรุงโลหิต ลดความดันโลหิต ช่วยขยายหลอดเลือด ช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาว ช่วยให้นอนหลับสบาย  ป้องกันโรคหวัด ช่วยป้องกันโรคเหน็บชา ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน ป้องกันโรคท้องผูก ช่วยบรรเทาโรคริดสีดวงทวาร ช่วยป้องกันโรคข้อเสื่อม เป็นยาระบายอ่อนๆ  งาดำสามารถช่วยบำรุงร่างกาย ได้มากมาย เช่น ผม ผิว กระดูก เล็บ การขับถ่าย ระบบเลือด บำรุงหัวใจ หรือผู้หญิงวัยทอง ซึ่งงาดำช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน ได้ดี

งาดำ ถือเป็นพืชชนิดพืชล้มลุก งาดำ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า  Sesamum indicum L งาเป็นพืชท้องถิ่นของเอเชีย และแถบตะวันออกของทวีปแอฟริกา ในปัจจุบันสามารถพบงานได้ในประเทศเขตร้อน ต้นงา จะมีความสูงประมาณ 2 เมตร เมื่อผลของงาเแห้งจะมีเมล็ดเล็กๆสีดำ สามารถนำมารับประทานได้ งาถือว่าเป็นพืชที่มีประโยชน์มาก หากรับประทานอย่างต่อเนื่องจะทำให้ร่างกายแข็งแรง ในงาดำ จะมาสารอาหารมากมายประกอบด้วย วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินบี5 วิตามินบี6 วิตามินบี9 ธาตุแคลเซียม ธาตุแมกนีเซียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุโซเดียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุสังกะสี และธาตุเหล็ก

ลักษณะของต้นงาดำ

ต้นงาดำ เป็นพืชล้มลุก เป็นไม้เนื้ออ่อน มีขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรงถึงยอด ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยมสีเขียวเข้มปนม่วง มีร่องตามยาวและมีขนปกคลุม อวบน้ำ สูงประมาณ 0.5-2 เมตร ใบมีลักษณะคล้ายกับใบหญ้างวงช้าง มีขนตลอดทั้งใบ เป็นใบเดียวรูปไข่ หรือรูปหอก ขอบใบเป็นจัก ใบมีสีเขียวอ่อนไปจนถึงเขียวเข้ม บางพันธุ์ใบอาจเป็นสีเหลือง ก้านใบยาว 5 เซนติเมตร ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ กลุ่มละ 1-3 ดอก ก้านดอกสั้น กลีบรองดอกมี 5 แฉก กลีบดอกมีสีขาว ขาวอมชมพู หรือม่วงอ่อน ผลหรือฝักขนาดค่อนข้างกลม รูปทรงกระบอกหรือแบน มีขนสั้น ๆ ปกคลุมรอบฝัก ปลายฝักมีจงอยแหลม เมล็ดมีรูปไข่ งาดำจะมีเมล็ดเป็นสีดำขนาดใหญ่กว่าเม็ดแมงลักเล็กน้อย ส่วนงาขาวจะมีสีนวล

คุณค่าทางโภชนาการของงาดำ

นักวิชาการได้ศึกษางาดำขนาด 100 กรัม พบว่า คุณค่าทางโภชนาการของงาดำต่อ 100 กรัม ให้พลังงาน 573 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 23.45 กรัม กากใยอาหาร 11.8 กรัม โปรตีน 17.73 กรัม น้ำ 4.69 กรัม น้ำตาล 0.30 กรัมไขมันรวม 49.67 กรัม กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว 18.759 กรัม กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน 21.773 กรัม กรดไขมันอิ่มตัว 6.957 กรัม
กรดกลูตามิก 3.955 กรัม กรดแอสพาร์ติก 1.646 กรัม เมไธโอนีน 0.586 กรัม ทรีโอนีน 0.736 กรัม ซีสทีอีน 0.358 กรัม ซีรีน 0.967 กรัม ฟีนิลอะลานีน 0.940 กรัม อะลานีน 0.927 กรัม อาร์จินีน 2.630 กรัม โปรลีน 0.810 กรัม ไกลซีน 1.215 กรัม ฮิสทิดีน 0.522 กรัม ทริปโตเฟน 0.388 กรัม ไทโรซีน 0.743 กรัม วาลีน 0.990 กรัม ไอโซลิวซีน 0.763 กรัม ลิวซีน 1.358 กรัม ไลซีน 0.569 กรัม
ไฟโตสเตอรอล 714 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 5 ไมโครกรัม วิตามินเอ 9 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.25 มิลลิกรัม วิตามินบี 1 0.791 มิลลิกรัม
วิตามินบี 2 0.247 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 4.515 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.050 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.790 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 97 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 975 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 14.55 มิลลิกรัม ธาตุซีลีเนียม 5.7 ไมโครกรัม ธาตุโซเดียม 11 มิลลิกรัม
ธาตุฟอสฟอรัส 629 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 7.75 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 468 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 351 มิลลิกรัม
ธาตุแมงกานีส 2.460 มิลลิกรัม และธาตุทองแดง 4.082 มิลลิกรัม

สรรพคุณของงาดำ

สำหรับ สรรพคุณทางยาของงาดำ ประกอบด้วย ช่วยชะลอความแก่  ช่วยบำรุงผิว ช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัย ช่วยซ่อมแซมผิวพรรณ ช่วยบำรุงรากผม ช่วยให้ผมดกเงางาม ช่วยป้องกันการเกิดผมหงอก ช่วยบำรุงกำลัง ช่วยสลายไขมัน ใช้ลดความอ้วน ช่วยลดการดูดซึมคอเลสเตอรอลในร่างกาย ช่วยป้องกันหลอดเลือดแข็งตัว ช่วยป้องกันโรคหัวใจ ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ช่วยบำรุงสมอง ช่วยบำรุงโลหิต ลดความดันโลหิต ช่วยขยายหลอดเลือด ช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาว ช่วยให้นอนหลับสบาย  ป้องกันโรคหวัด ช่วยป้องกันโรคเหน็บชา ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน ป้องกันโรคท้องผูก ช่วยบรรเทาโรคริดสีดวงทวาร ช่วยป้องกันโรคข้อเสื่อม

ข้อควรระวังในการบริโภคงาดำ

  1. สำหรับคนที่ลดน้ำหนักโดยการกินงาดำ เนื่องจากงาดำมีน้ำหนักเบา ซึ่งทำให้น้ำหนักตัวลดมาก อาจไม่ดีต่อสุขภาพ
  2. การบริโภคเมล็ดงาดำ มากเกินไปทำให้ลำไส้ใหญ่ถูกทำลายได้ และเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
  3. เมล็ดงา ทำให้ลำไส้ใหญ่อักเสบได้ และอาจทำให้ท้องผูก ปวดท้องได้
  4. อาการแพ้งาดำ ในการบริโภคงาดำสามารถทำให้แพ้ได้ อาการการแพงงาดำ เช่น ระบบย่อยอาหารผิดปกติ ตาอักเสบ น้ำมูกไหล หายใจลำบาก เป็นต้น หรือบางรายมีอาการแพ้อย่างรุนแรง คือ หอบ ความดันโลหิตต่ำ รู้สึกแน่นหน้าอก และทางเดินหายใจตีบตัน อาจเสียชีวิตได้ในที่สุด
  5. การบริโภคงาดำมากเกินไปอาจทำให้เกิดการติดเชื้อที่ไส้ติ่งได้
  6. คุณสมบัติหนึ่งของาดำคือ เป็นยาระบาย ซึ่งถ้าบริโภคมากเกินไปจะทำให้มีการถ่ายท้องมากเกินไป
  7. งาดำมีสรรพคุณในการบำรุงผม แต่ถ้าหากใช้มากเกินไป จะทำให้ผมร่วงได้
  8. ในสตรีมีครรภ์ ช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ไม่ควรรับประทานงาดำ อาจทำให้แท้งบุตรได้

ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove