ผักคะน้า ( Kale ) นำมาทำอาหาร สมุนไพร สำหรับสตรีตั้งครรถ์ ต้นคะน้าเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ ประโยชน์และสรรพคุณป้องกันมะเร็ง บำรุงผิวพรรณ บำรุงสายตา

ผักคะน้า สมุนไพร ผักสวนครัว ประโยชน์ของผักคะน้า

ผักคะน้า ( Kale ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักคะน้า คือ Brassica albroglabra พืชสวนครัว นิยมนำมาทำอาหารรับประทาน สมุนไพร เหมาะสำหรับสตรีตั้งครรถ์ คุณค่าทางโภชนาการของผักคะน้า คะน้ามีโฟเลตสูง มีวิตามินหลายชนิด แคลเซียมสูง ผักคะน้า มีถิ่นกำเนิดจากจีน ประโยชน์ของผักคะน้า สรรพคุณของผักคะน้า ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยบำรุงสายตา

ผักคะน้า ชื่อของพืชชนิดนี้ คุ้นหูคนไทยเป็นอย่างดี คะน้าเป็นผักสวนครัว ที่นิยมนำมาทำอาหาร ได้หลากหลายชนิด เหมาะสำหรับสตรีตั้งครรถ์ เนื่องจากมีโฟเลต ช่วยสร้างสมองทารกใรครรถ์ ผักคะน้ามีถิ่นกำเนิดจากจีน คนจีนนำมาปลูกและนิยมนำมาทำอาหารทั้งเมนูต้ม ผัด แกง ทอด ประโยชน์ของผักคะน้า คือ มีวิตามินหลายชนิด และแคลเซียมสูง

คะน้า ภาษาอังกฤษ เรียก Kale ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักคะน้า คือ Brassica albroglabra ชื่อเรียกอื่นๆของผักคะน้า เช่น ไก๋หลาน กำหนำ เป็นต้น ต้นคะน้า พืชล้มลุก ในตระกูลกะหล่ำปลี นิยมรับประทาน ใบและยอดของคะน้า มาทำความรู้จักกับผักคะน้าให้มากกว่านี้

สายพันธุ์ผักคะน้า

ผักคะน้า ที่นิยมปลูกในประเทศไทยนั้น มีอยู่ 3 พันธุ์ โดยรายละเอียดมีดังนี้

  • พันธุ์ใบกลม ได้แก่ พันธ์ฝางเบอร์1 พันธ์นี้มีลักษณะใบกว้างใหญ่ ปล้องสั้น ปลายใบมนและผิวใบเป็นคลื่นเล็ก
  • พันธุ์ใบแหลม ได้แก่ พันธ์ PL20 พันธ์นี้มีลักษณะใบแคบกว่าพันธุ์ใบกลม ปลายใบแหลม ข้อห่าง ผิวใบเรียบ
  • พันธุ์ยอด ได้แก่ พันธ์แม่โจ้ ซึ่งพันธ์นี้มีลักษณะใบเหมือนกับคะน้าใบแหลม แต่จำนวนใบต่อต้นมีน้อยกว่า ปล้องยาวกว่า

ลักษณะของต้นผักคะน้า

ผักคะน้า เป็น พืชล้มลุก อายุสั้น ผักคะน้ามีอายุ 2 ปี อายุการเก็บเกี่ยวผักคะน้าอยู่ที่ 55 วัน โดยผักคะน้าสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี แต่ช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับการปลูกผักคะน้ามากที่สุด คือ เดือนตุลาคมถึงเดือนเมษายน ของทุกปี

  • รากของผักคะน้า รากแก้วจะมีขนาดใหญ่ อยู่ติดจากลำต้น ลึกลงดินประมาณ 10 ถึง 30 เซ็นติเมตร รากฝอยจะเกาะตามรากแก้ว มีน้อย
  • ลำต้นของผักคะน้า ลำต้นตั้งตรง สูงประมาณ 30 เซ็นติเมตร ลำต้นอวบใหญ่ สีเขียว
  • ใบของผักคะน้า ใบกลม ลักษณะก้านใบยาว การแตกของใบจะแตกออกจากลำต้นเรียงสลับกัน ผิวของใบ คลืน ผิวมัน สีเขียว
  • ยอดและดอกของผักคะน้า ส่วนของยอดที่มีลักษณะเป็นใบอ่อน คล้ายดอกบัวตุม สีเขียวอ่อน

คุณค่าทางโภชนาการของคะน้า

นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของผักคะน้า สดปริมาณ 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 24 กิโลแคลอรี มีสารอาหารต่างๆ ประกอบด้วย โปรตีน 2.7 กรัม คาร์โบไฮเดรต 2.2 กรัม แคลเซียม 245 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.2 มิลลิกรัม วิตามินซี 147 มิลลิกรัม กากใยอาหาร 3.2 กรัม

คะน้า จะมีสารชนิดหนึ่ง เรียก กอยโตรเจน ( Goitrogen ) สารชนิดนี้ส่งผลต่อร่างกายทำให้ท้องอืดท้องเฟ้อ รวมถึงทำให้ร่างกายขาดแร่ธาตุไอโอดีน ทำให้เป็นดรคคอพอกได้ นอกจากนั้นทำให้การสร้างฮอร์โมนในต่อมไทรอยด์ลดประสิทธิภาพลง ดังนั้น การรับประทานผักคะน้าในปริมาณพอเหมาะ จะทำให้มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

สรรพคุณของผักคะน้า

การรับประทานผักคะน้า ในปริมาณที่เหมาะสม จะช่วยให้มีสรรพคุณทางสมุนไพร ดังนี้ มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้ร่างกาย ช่วยบำรุงผิวพรรณ ป้องกันการติดเชื้อ ช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อให้ชุ่มชื้น ช่วยบำรุงสายตา  ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต้อกระจก ป้องกันจอประสาทตาเสื่อม ช่วยบำรุงโลหิต ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน ช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ช่วยลดอาการไมเกรน ช่วยชะลอความจำเสื่อม ช่วยลดความเสี่ยงโรคกระเพาะอาหาร ป้องกันมะเร็งลำไส้ ป้องกันมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ป้องกันมะเร็งปอด ป้องกันมะเร็งเต้านม ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง ช่วยรักษาโรคหอบหืด ช่วยขยายหลอดลม ช่วยรักษาโรคภูมิแพ้ ป้องกันการเกิดตะคริว รักษาสมดุลฮอร์โมนเอสโตรเจน ควบคุมน้ำตาลในเลือดช่วยลดความเสี่ยงต่อการที่เด็กทารกพิการแต่กำเนิด

โทษของผักคะน้า 

สารกอยโตรเจน ( Goitrogen ) ที่อยู่ในผักคะน้า ทำให้ท้องอืดท้องเฟ้อ ทำให้ร่างกายขาดแร่ธาตุไอโอดีน และ ทำให้การสร้างฮอร์โมนในต่อมไทรอยด์ลดประสิทธิภาพลง การรับประทานผักคะน้าในปริมาณที่เหมาะสม

การปลูกผักคะน้า

  • การเพาะกล้าต้นกล้าผักคะน้า วิธีการหว่านเมล็ดในแปลง โดยแปลงให้ยกร่องสูง 30 เซนติเมตร พร้อมพรวนดิน และรดน้ำให้ชุ่ม เมล็ดจะงอกประมาณ 3 ถึง 5 วัน หลังจากเมล็ดงอกได้ 7 ถึง 10 วัน ให้คัดต้นกล้าแข็งแรงที่สด เพื่อดูแลต่อ และคัดต้นที่อ่อนแอออก
  • วิธีการปลูกผักคะน้า เมื่อต้นกล้าสูงได้ประมาณ 10 เซ็นติเมตร สังเกตุได้ว่ามีใบแท้ประมาณ 3 ถึง 5 ใบ อายุของต้นกล้าประมาณ 30 วัน ก็ให้ย้ายลงแปลงปลูก ให้ระยะห่างระหว่างต้น 20 เซ็นติเมตร
  • การดูแลผักคะน้า ให้น้ำสม่ำเสมอทุกวันเช้าเย็น ให้ปุ๋ยทุก 15 วัน  และกำจัดวัชพืช เป็นประจำทุกเดือน
  • การเก็บผลผลิตผักคะน้า สามารถเก็บผลผลิตได้ หลังตากเพาะต้นกล้า 60 วัน โดยไม่ควรใช้มือเด็ดหรือถอน ใช้มีดตัดออก และให้เด็ดใบแก่ติดโคนต้นออก และนำมาล้างทำความสะอาด

มะเขือเทศ ( Tomato ) สมุนไพร คุณค่าทางโภชนาการของมะเขือเทศ ประโยชน์และสรรพคุณช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา ป้องกันมะเร็งลำไส้ ช่วยให้ผิวนุ่มเนียน รักษาสิวมะเขือเทศ สมุนไพร สรรพคุณของมะเขือเทศ ประโยชน์ของมะเขือเทศ

มะเขือเทศ เป็น พืชเศรษฐกิจ ที่นิยมนำมาทำอาหาร นิยมนำมารับประทาน  มะเขือเทศ ภาษาอังกฤษ เรียก Tomato มะเขือเทศ มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Lycopersicon esculentum Mill. มะเขือเทศ เป็น พืชที่มีคุณค่าทางอาหาร อุดมณ์ด้วยวิตามินต่างๆ มีสารที่ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา ป้องกันมะเร็งลำไส้ได้ มีวิตามินต่างๆ มากมาย สำหรับความสวยงาม มะเขือเทศช่วยให้ผิวนุ่มเนียน และรักษาสิวได้ดี

คุณค่าทางโภชนาการของมะเขือเทศ

มีการศีกษา คุณค่าทางโภชนาการของมะเขือเทศ ขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงาน 18 กิโลแคลอรี มีน้ำ 94.34 กรัม โปรตีน 0.95 กรัม ไขมัน 0.11 กรัม คาร์โบไฮเดรต 4.01 กรัม กากใยอาหาร 0.7 กรัม น้ำตาล 2.49 กรัม แคลเซียม 11 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.68 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 9 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 28 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 218 มิลลิกรัม โซเดียม 11 มิลลิกรัม สังกะสี 0.14 มิลลิกรัม วิตามินซี 22.8 มิลลิกรัม โฟเลต 13 µg วิตามินเอ 489 IU วิตามินอี 0.56 มิลลิกรัม วิตามินเค 2.6 µg ลูทีนและซีแซนทีน 123 µg

ลักษณะของต้นมะเขือเทศ

ต้นมะเขือเทศ จัดป็น พืชล้มลุก ลักษณะพุ่ม มีอายุสั้น เพียง 1 ปี  การขยายพันธ์ของมะเขือเทศใช้การขยายพันธ์โดยทางเมล็ด ลักษณะของต้นมะเขือเทศ มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลักษณะของลำต้น เป็นลำต้นตั้งตรง มีลักษณะเป็นพุ่ม
  • ใบของมะเขือเทศ เป็นใบประกอบออกสลับกันตามกิ่งของต้นมะเขือเทศ ใบกลมใหญ่ ปลายใบจะแหลม ขอบใบเป็นหยัก มีขนอ่อนๆ ที่ใบ
  • ดอกของต้นมะเขือเทศ จะออกเป็นช่อ สีเหลือง ออกดอกตามซอกใบ
  • ผลของต้นมะเขือเทศ เป็นผลเดี่ยว กลม มีสีแดง ผิวนอเป็นมัน ตอนผลยังไม่สุกจะเป็นสีเขียว ภายในผลมะเขือเทศมีน้ำ รสเปรี้ยว  มีเมล็ดจำนวนมาก

การปลูกต้นมะเขือเทศ

สำหรับ การปลูกมะเขือเทศ นั้น อยู่ที่การเตรียมดิน การเพาะเมล็ด การดูแล และการเก็บเกี่ยว ซึ่งรายละเอียดของ การปลูกมะเขือเทศ มีดังนี้

  • การเตรียมดิน ดินที่เหมาะกับการเจริญเติบโตของ มะเขือเทศ ต้อง มีสารอาหารสำ หรับพืช มีความชื้น และอากาศถ่ายเทได้สะดวก ค่าความเป็นกรด ด่าง ควรอยู่ที่ 6.0-6.8 ph ยกแปลงสูง 20 ถึง 30 เซ็นติเมตร ป้องกันการเกิดโรครากเน่าโคนเน่า ระยะห่างระหว่างแปลง 1.5 เมตร
  • การเพาะต้นกล้า และการย้ายลงแปลงปลูก เริ่มจากการเตรียมกระบะเพาะเมล็ดพันธ์ ใส่เมล็ดพันธ์ 2-3 เมล็ดต่อหลุ่มเพาะ รดน้ำเช้าเย็น ให้ชุ่มน้ำอยู่เสมอ ภายใน 25 ถึง 30 วัน ต้นกล้าจะเจริญเติบโต มีใบแท้ขึ้น ประมาณ 4 ถึง 5 ใบ จากนั้นนำลงแปลงปลูก สำหรับการย้ายต้นกล้าลงแปลงปลูก ให้ทำในตอนเย็น เนื่องจากป้องกับต้นกล้าเฉา และตาย รดน้ำแปลงปลูกให้ชุ่มน้ำก่อนย้ายต้นกล้าลงแปลงปลููก 2 วัน
  • การเก็บเกี่ยวผลผลิตมะเขือเทศ สามารถเก็บเกี่ยวได้หลังจากนำต้นกล้าลงแปลง 60 วัน สังเกตุผลของมะเขือเทศเป็นสีแดง การเก็บเกี่ยวให้เก็บเกี่ยวช่วงเช้าหรือเย็น จะทำให้ผลของมะเขือเทศไม่เฉา

สรรพคุณทางสมุนไพรของมะเขือเทศ

ใน ผลของมะเขือเทศ มีสารสำคัญตัวหนึ่ง ที่ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา ป้องกันมะเร็งลำไส้และมะเร็งต่อมลูกหมากได้ ในมะเขือเทศ มีกรดอะมีโน ที่เป็นสารชนิดเดียวกันกับผงชูรส และที่สำคัญ ช่วยบำรุงผิวพรรณ รักษาสิวได้ดี เราขอนำเสนอ ประโยชน์ของมะเขือเทศ มีดังนี้

  • ในมะเขือเทศช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นของใบหน้า ทำให้ใบหน้าไม่แห้งกร้าน โดยนำมะเขือเทศมาฝานและวางบนหน้า
  • มะเขือเทศ มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอการเหี่ยวย่นของผิวพรรณ
  • มะเขือเทศ มีน้ำและน้ำตาล ช่วยเพิ่มความสดชื่นให้กับร่างกาย
  • มะเขือเทศ ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันร่างกาย
  • มะเขือเทศ ช่วยบำรุงสายตา เนื่องจากในมะเขือเทศ มีวิตามินเอสูง
  • มะเขือเทศ ช่วยในการรักษาสิว โดยการนำน้ำมะเขือเทศมาพอกใบหน้า หรือฝานผลมะเขือเทศบาง ๆ วางบนใบหน้า
  • มะเขือเทศ ช่วยให้ผิวพรรณแต่งตึง ด้วยวิธีเดียวกับการรักษาสิวด้วยมะเขือเทศ
  • ช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์หรือโรคสมองเสื่อม
  • มะเขือเทศ ใช้รักษาโรคในช่องปาก โรคเลือดออกตามไรฟัน
  • มะเขือเทศบำรุงเลือด ช่วยป้องกันหลอดเลือดแข็งตัว ช่วยปรับสมดุลย์ของความดันเลือด ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจวาย โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ช่วยบำรุงหัวใจ
  • มะเขือเทศ ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคปัสสาวะขัด หรือ นิ่ว รวมถึงช่วยขับของเสียทางปัสสาวะ
  • มะเขือเทศ ช่วยบำรุงระบบขับถ่าย ช่วยในการย่อยอาหารและให้ขับถ่ายอุจจาระได้สะดวก
  • มะเขือเทศ ช่วยลดกลิ่นปาก เนื่องจากมะเขือเทศมีสารช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา
  • มะเขือเทศ ช่วยบำรุงเส้นผม ให้ผมมีความชุ่มชื่น ป้องกันผมแห้ง ไม่มีน้ำหนัก
  • มะเขือเทศช่วยบรรเทาอาการเจ็บและปวดจากการฟกช้ำได้

มะเขือเทศ ( Tomato ) สมุนไพร คุณค่าทางโภชนาการของมะเขือเทศ ประโยชน์ของมะเขือเทศ สรรพคุณของมะเขือเทศ ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา ป้องกันมะเร็งลำไส้ ช่วยให้ผิวนุ่มเนียน รักษาสิว


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove