งาดำ สมุนไพร ธัญพืช คุณค่าทางโภชนาการสูง นิยมนำมาบริโภคเป็นอาหาร สรรพคุณช่วยชะลอวัย บำรุงผิวพรรณ บำรุงเส้นผม แล้วโทษของงาดำมีไหม เป็นอย่างไร

งาดำ สมุนไพร สรรพคุณของงาดำ

งาดำ ภาษาอังกฤษเรียก Black Sesame Seeds ชื่อวิทยศาสตร์ของงาดำ คือ Sesamum indicum L. งาดำ เป็นพืชในเขตร้อน นิยมรับประทานเมล็ดงาดำเป็นอาหาร เพราะ อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุมากมาย เช่น วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินบี5 วิตามินบี6 วิตามินบี9 ธาตุแคลเซียม ธาตุแมกนีเซียม ธาตุโพแทสเซียม โซเดียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุสังกะสี และ ธาตุเหล็ก เป็นต้น

สรรพคุณของงาดำ ประกอบด้วย ช่วยชะลอความแก่ ช่วยบำรุงผิว ช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัย ช่วยซ่อมแซมผิวพรรณ ช่วยบำรุงรากผม ช่วยให้ผมดกเงางาม ช่วยป้องกันการเกิดผมหงอก ช่วยบำรุงกำลัง ช่วยสลายไขมัน ใช้ลดความอ้วน ช่วยลดการดูดซึมคอเลสเตอรอลในร่างกาย

สายพันธุ์งาดำ

สำหรับงาดำในประเทศไทย มีหลายสายพันธ์ ซึ่ง สายพันธ์ที่นิยมปลูก มี 4 สายพันธ์ ประกอบด้วย งาดำบุรีรัมย์ งาดำนครสวรรค์ งาดำมก18 และ งาดำมข2 ลักษณะดังนี้

  • งาดำ สายพันธ์บุรีรัมย์ เป็นสายพันธุ์พื้นเมือง ลักษณะเด่น คือ เมล็ดมีขนาดใหญ่ สีเกือบดำสนิท มีอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 90 ถึง 100 วัน
  • งาดำ สายพันธ์นครสวรรค์ เป็นสายพันธุ์พื้นเมือง สายพันธ์นี้นิยมปลูกมากในทุกภาคของประดทศ ลักษณะเด่น คือ ลำต้นสูง ใบค่อนข้างกลม เมล็ดสีดำอวบและใหญ่ อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 95 ถึง 100 วัน
  • งาดำ สายพันธ์ มก.18 เป็นสายพันธ์แท้ พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลักษณะเด่น คือ ลำต้นสูง ไม่แตกกิ่ง ข้อลำต้นสั้น จำนวนฝักต่อต้นสูง ลำต้นแข็งแรง และทนต่อโรคราแป้งได้ดี
  • งาดำ สายพันธ์ มข.2 สายพันธ์ดั้งเดิม คือ ซีบี 80 เป็นสายพันธ์ที่พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น ลักษณะเด่น คือ ลำต้นสูงเมล็ดสีดำสนิท อายุการเก็บเกี่ยวสั้น ประมาณ 70 ถึง 75 วัน ทนแล้ง และต้านทานต่อโรคเน่าดำได้ดี

ลักษณะของต้นงาดำ

ต้นงาดำ เป็นพืชล้มลุกที่เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่เขตร้อน สามารถขยายพันธ์ุได้โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ซึ่งลักษณะของต้นงาดำ มีดังนี้

  • ลำต้นงาดำ ลักษณะลำต้นตั้งตรง ความสูงประมาณ 1 เมตร ลำต้นเป็นเหลี่ยมๆ มีร่องตามยาว ลำต้นไม่มีแก่น อวบน้ำ มีขนสั้นปกคลุม เปลือกลำต้นสีเขียว
  • ใบงาดำ ลักษณะเป็นใบเดี่ยว สีเขียว ใบเป็นรูปหอก โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเล็กน้อย
  • ดอกงาดำ ลักษณะดอกเป็นช่อ ดอกเดี่ยว ขึ้นตามซอกใบ กลีบดอกลักษณะทรงกรวย กลีบดอกเมื่อบานเป็นสีขาว
  • ผลงาดำ หรือ ฝักงาดำ ลักษณะฝักยาวรี ปลายฝัฟแหลมทั้งสองข้าง ผิวฝักเรียบ ฝักเป็นร่องพู ฝักอ่อนสีเขียว มีขนปกคลุม ฝักแก่เป็นสีน้ำตาล
  • เมล็ดงาดำ เมล็ดอยู่ภายในฝัก ลักษณะเล็กๆ ทรงรีและแบน เมล็ดมีจำนวนมาก เปลือกเมล็ดมีสีดำ เมล็ดงาดำมีกลิ่นหอม

คุณค่าทางโภชนาการของงาดำ

การบริโภคหรือใช้ประโยชน์จากงาดำนิยมใช้ประโยชน์จากเมล็ดของงาดำ ซึ่งนักวิชาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของงาดำขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 573 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 23.45 กรัม กากใยอาหาร 11.8 กรัม โปรตีน 17.73 กรัม น้ำ 4.69 กรัม น้ำตาล 0.30 กรัมไขมันรวม 49.67 กรัม กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว 18.759 กรัม กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน 21.773 กรัม กรดไขมันอิ่มตัว 6.957 กรัม กรดกลูตามิก 3.955 กรัม กรดแอสพาร์ติก 1.646 กรัม เมไธโอนีน 0.586 กรัม ทรีโอนีน 0.736 กรัม ซีสทีอีน 0.358 กรัม ซีรีน 0.967 กรัม ฟีนิลอะลานีน 0.940 กรัม อะลานีน 0.927 กรัม อาร์จินีน 2.630 กรัม โปรลีน 0.810 กรัม ไกลซีน 1.215 กรัม ฮิสทิดีน 0.522 กรัม ทริปโตเฟน 0.388 กรัม ไทโรซีน 0.743 กรัม วาลีน 0.990 กรัม ไอโซลิวซีน 0.763 กรัม ลิวซีน 1.358 กรัม ไลซีน 0.569 กรัม ไฟโตสเตอรอล 714 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 5 ไมโครกรัม วิตามินเอ 9 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.25 มิลลิกรัม วิตามินบี 1 0.791 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.247 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 4.515 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.050 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.790 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 97 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 975 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 14.55 มิลลิกรัม ธาตุซีลีเนียม 5.7 ไมโครกรัม ธาตุโซเดียม 11 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 629 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 7.75 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 468 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 351 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 2.460 มิลลิกรัม และธาตุทองแดง 4.082 มิลลิกรัม

สรรพคุณของงาดำ

การใช้ประโยชน์จากงาดำ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ใช้ประโยชน์จากงาดำ ซึ่ง สรรพคุณทางยาของงาดำ ประกอบด้วย ช่วยชะลอความแก่  ช่วยบำรุงผิว ช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัย ช่วยซ่อมแซมผิวพรรณ ช่วยบำรุงรากผม ช่วยให้ผมดกเงางาม ช่วยป้องกันการเกิดผมหงอก ช่วยบำรุงกำลัง ช่วยสลายไขมัน ใช้ลดความอ้วน ช่วยลดการดูดซึมคอเลสเตอรอลในร่างกาย ช่วยป้องกันหลอดเลือดแข็งตัว ช่วยป้องกันโรคหัวใจ ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ช่วยบำรุงสมอง ช่วยบำรุงโลหิต ลดความดันโลหิต ช่วยขยายหลอดเลือด ช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาว ช่วยให้นอนหลับสบาย  ป้องกันโรคหวัด ช่วยป้องกันโรคเหน็บชา ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน ป้องกันโรคท้องผูก ช่วยบรรเทาโรคริดสีดวงทวาร ช่วยป้องกันโรคข้อเสื่อม

โทษของงาดำ

การใช้ประโยชน์จากงาดำ มีข้อควรระวังการใช้ประโยชน์ ดังนี้

  1. สำหรับคนที่ลดน้ำหนักโดยการกินงาดำ เนื่องจากงาดำมีน้ำหนักเบา ซึ่งทำให้น้ำหนักตัวลดมาก อาจไม่ดีต่อสุขภาพ
  2. การบริโภคเมล็ดงาดำ มากเกินไปทำให้ลำไส้ใหญ่ถูกทำลายได้ และเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
  3. เมล็ดงา ทำให้ลำไส้ใหญ่อักเสบได้ และอาจทำให้ท้องผูก ปวดท้องได้
  4. อาการแพ้งาดำ ในการบริโภคงาดำสามารถทำให้แพ้ได้ อาการการแพงงาดำ เช่น ระบบย่อยอาหารผิดปกติ ตาอักเสบ น้ำมูกไหล หายใจลำบาก เป็นต้น หรือบางรายมีอาการแพ้อย่างรุนแรง คือ หอบ ความดันโลหิตต่ำ รู้สึกแน่นหน้าอก และทางเดินหายใจตีบตัน อาจเสียชีวิตได้ในที่สุด
  5. การบริโภคงาดำมากเกินไปอาจทำให้เกิดการติดเชื้อที่ไส้ติ่งได้
  6. คุณสมบัติหนึ่งของาดำคือ เป็นยาระบาย ซึ่งถ้าบริโภคมากเกินไปจะทำให้มีการถ่ายท้องมากเกินไป
  7. งาดำมีสรรพคุณในการบำรุงผม แต่ถ้าหากใช้มากเกินไป จะทำให้ผมร่วงได้
  8. ในสตรีมีครรภ์ ช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ไม่ควรรับประทานงาดำ อาจทำให้แท้งบุตรได้

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

บัวบก ( Gotu kola ) สมุนไพร ต้นบัวบกเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ ประโยชน์และสรรพคุณรักษาแผล แก้ร้อนใน ลดความร้อนในร่างกาย เป็นยาเย็น ข้อควรระวังในการใช้ใบบัวบก

บัวบก สมุนไพร สรรพคุณของบัวบก ประโยชน์ของบัวบก

บัวบก (Gotu kola) สมุนไพร คุ้นหู มาทำความรู้จักกับ ต้นบัวบก และ สรรพคุณของบัวบก เป็นแผลให้ใบบัวบกช่วยให้หายได้เร็วขึ้น ประโยชน์และข้อควรระวังในการใช้ใบบัวบกในการรักษาโรคมีอะไรบ้าง ใบบัวบกเหมาะสำหรับคนที่ขี้ร้อน มีภาวะแกร่ง หรือมีความร้อนชื้น เพราะเป็น สมุนไพรที่มีฤทธิ์เป็นยาเย็น

ต้นบัวบก ภาษาอังกฤษ เรียก Gotu kola ชื่อวิทยาศาสตร์ของบัวบก คือ Centella asiatica (L.) Urb. เป็น พืชตระกูลเดียวกับผักชี สำหรับ บัวบก มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกหลายชื่อ ที่เรียกแตกต่างกันตามท้องถิ่น เช่น ผักหนอก , ผักแว่น , กะโต่ เป็นต้น

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของบัวบก

ต้นบัวบก เป็น พืชล้มลุก เป็น ไม้เลื้อย ขึ้นตามพื้นดิน เป็น พืชคลุมดิน ใบเป็นใบเดียว ออกตามข้อของลำต้น ใบออกเป็นกระจุก ตามข้อของลำต้น ใบลักษณะคล้ายรูปไต ขอบใบมนๆ ดอกของบัวบกคล้ายร่ม ออกเป็นช่อ กลีบดอกมีสีม่วงอมแดง ผลของบัวบกเป็นผลแห้ง ลักษณะแบนและแตก

คุณค่าทางโภชนาการของบัวบก

นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของใบบัวบก สดปริมาณ 100 กรัม พบว่ามีสารอาหารหลายชนิด ประกอบด้วย  วิตามินบี 1 แคลเซียม 146 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 3.9 มิลลิกรัม เบตาแคโรทีน 2,428 ไมโครกรัม และวิตามินซี 15 มิลลิกรัม

นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษา ใบบัวบก อย่างจริงจัง พบว่ามีสารสำคัญหลายชนิด เช่น วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 6 วิตามินเอ วิตามินเค ธาตุแคลเซียม ธาตุแมกนีเซียม ธาตุโซเดียม สารบราโมซัยด์ สารบรามิโนซัยด์ สารไตรเตอพีนอยด์ สารมาดิแคสโซซัยด์ กรดมาดิแคสซิค  และกรดอะมิโน หลายตัว เช่น แอสพาเรต กรดกลูตามิก เซรีน ทรีโอนีน อะลานีน ไลซีน ฮีสทีดิน เป็นต้น

สรรพคุณของบัวบก

สำหรับการใช้ประโยชน์ของบัวบก ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นิยมใช้ ใบบัวบก ทั้งใบสดและใบแห้งมาใช้ประโยชน์ ซึ่งเราได้รวม สรรพคุณของใบบัวบก ดังนี้

  • ช่วยชะลดวัย ลดการเหี่ยวย่นของผิวพรรณ
  • ใบบัวบกเป็นยาอายุวัฒนะ
  • ใบบัวบกช่วยเสริมสร้าง และกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและอีลาสติน
  • ใบบัวบกช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งในร่างกาย มีสารยับยั้งหรือชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง
  • ใบบัวบกช่วยบำรุงและรักษาสายตา รวมถึงฟื้นฟูโดยรอบของดวงตา
  • ช่วยรักษาอาการอักเสบและบวมแดงของตา
  • ใบบกช่วยบำรุงระบบประสาทและสมอง ช่วยให้ความจำดีขึ้น ทำให้มีปฏิภาณไหวพริบดี ช่วยเพิ่มความจำสำหรับผู้สูงวัย ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ และสมองเสื่อม ช่วยเพิ่มการมีสมาธิ แก้ปัญหาสมาธิสั้นได้
  • ช่วยแก้อาการปวดหัว รักษาอาการไมเกรน แก้ปวดหัวข้างเดียว ลดอาการเวียนหัว
  • ช่วยให้ผ่อนคลาย ลดความเครียด ให้นอนหลับสบาย ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย เมื่อยล้า
  • ช่วยบำรุงเลือด ช่วยทำให้เลือดระบบเลือดทำงานได้ดีขึ้น ช่วยกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อของร่างกาย เป็นยาบำรุง
  • ช่วยบำรุงหัวใจ ระบบการทำงานของหัวใจสมดุลย์ ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง
  • ช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกายสำหรับคนป่วย
  • ช่วยให้ความชุ่มชื่นของลำคอ บำรุงเสียง ช่วยรักษาอาการเจ็บคอ ช่วยแก้กระหายน้ำ ช่วยแก้อาการร้อนใน ช่วยลดไข้ ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ
  • ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวานได้
  • รักษาโรคดีซ่าน รักษาโรคโลหิตจาง ช่วยรักษาอาการหอบหืด ช่วยรักษาโรคลมชัก
  • รักษาอาการเต้านมอักเสบ ที่เป็นหนองในระยะแรก
  • ช่วยเจริญอาหาร ป้องกันอาการท้องเสีย ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหารเป็นแผล
  • ใบบัวบกใช้เป็นยาระบาย ช่วยระบายท้อง แก้ลม
  • ใบบัวบกใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้อาการปัสสาวะติดขัด ป้องกันการเกิดนิ่ว ช่วยรักษาโรคนิ่วที่ทางเดินปัสสาวะ
    ช่วยรักษาอาการหนอง ที่ออกจากปัสสาวะ รักษาหนองใน
  • บำรุงม้าม รักษาโรคม้ามโต ช่วยแก้อาการน้ำดีที่มีมากเกินไปในร่างกาย
  • แก้อาการปวดข้อรูมาตอยด์ รักษาโรครูมาตอยด์ได้
  • ใช้เป็นยาห้ามเลือด รักษาแผลสด ทำให้แผลหายเร็วขึ้น แก้ฟกช้ำ
  • ใบบัวบกช่วยรักษาอาการแมลงสัตว์กัดต่อย ช่วยรักษาโรคผิวหนัง เช่น รักษาโรคเรื้อน รักษาโรคสะเก็ดเงิน รักษาหิด รักษาหัด เป็นต้น ช่วยระงับการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ช่วยลดอาการอักเสบของแผลได้
  • ใบบัวบกใช้เป็นยาถอนพิษ ช่วยรักษาแผลน้ำร้อนลวก ลดอาการปวดแสบปวดร้อนจากแผลไฟไหม้ และยังช่วยป้องกันการเกิดแผลซ้ำ
  • ใบบัวบกช่วยบำรุงหนังศีรษะและเส้นผม ทำให้เส้นผมดกดำ รักษาอาการผมร่วง
  • ใบบัวบก เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางค์ ช่วยบำรุงผิว และป้องกันเชื้อแบคทีเรียที่ผิว นำสารสกัดเป็นสบู่ใบบัวบก ช่วยรักษาสิว ทำให้ผิวขาว ใบหน้าเต่งตึง

ข้อควรระวังในการใช้บัวบก

  • ใบบัวบก ไม่เหมาะสำหรับคนที่มี ภาวะตัวเย็น จะทำให้ร่างกายยเย็นขึ้นและท้องอืด
  • การกินบัวบกมากเกินไป ไม่ดี เนื่องจากใบบัวบกเป้นยาเย็น หากมีปริมาณมากเกินไปจะทำให้ ร่างกายเสียสมดุลถ้ากิน ใบสด ปริมาณครั้งละ 10 ถึง 20 ใบต่อสัปดาห์ ถือว่าอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม แต่ไม่ควรกินทุกวันอาจเป็นพิษต่อร่างกายได้
  • ไม่ควรนำใบบักบกมาตากแห้ง เพราะจะเสียคุณค่าทางตัวยา ใบบัวบกจะนำมาสกัดให้อยู่ในรูปแบบน้ำมันหอมระเหย

ต้นบัวบก พืชสมุนไพร ที่มีต้นกำเนิดในแถบเอเชีย เป็น พืชล้มลุก มีขนาดเล็ก มีกลิ่นฉุน รสขมอมหวาน สามารถใช้รักษาโรคมากมาย บัวบก ทำให้แผลให้หายได้เร็วขึ้น และ ลดอาการอักเสบของแผล มีการศึกษาพบว่า ใน ใบบัวบก มี กรดมาเดคาสสิก กรดอะเซียติก และ สารอะเซียติโคไซด์ มีสรรพคุณช่วยในการสมานแผลและลดการอักเสบ

เราจะเห็นว่ามียาหลายชนิด ทั้ง ยาแผนปัจจุบัน และ ยาแผนโบราณ ที่มีส่วนผสมของใบบัวบก ซึ่งผลิตออกมาในรูปแบบ ครีม ผง ยาเม็ด เป็นต้น และยังมีการสกัดสารสำคัญที่ได้จากใบบัวบก ซึ่งสารที่สกัดได้จากใบบัวบก มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสและต้านอนุมูลอิสระ

นอกจาก ใบบัวบก มีสรรพคุณทางยา ใบสดของบัวบก สามารถนำมาทำอาหาร รับประทานเป็นผักสดได้ อาหารไทย ก็ หลายมี เมนูอาหาร ที่มีบัวบกเป็นผัก เช่น ผัดไทย ผัดหมี่ หมี่กะทิ ขนมจีน ลาบ ยำ รวมถึงนำใบสดมาคั้นทำ น้ำใบบัวบก การกินใบบัวบกสดๆ ช่วยแก้อาการเวียนหัว ท้องร่วง รักษาอาการถ่ายเป็นเลือด รักษาอาการแขนขากระตุก

บัวบก ( Gotu kola ) สมุนไพร ลักษณะของต้นบัวบก เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของบัวบก ประโยชน์และสรรพคุณของบัวบก เช่น รักษาแผล แก้ร้อนใน ลดความร้อนในร่างกาย เป็นยาเย็น ข้อควรระวังในการใช้ใบบัวบก มีอะไรบ้าง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove