เห็ดหอม ( Shitake Mushroom ) สมุนไพร นิยมรับประทานเป็นอาหาร อาหารชั้นเลิศ สรรพคุณทางยาสูง ประโชยน์และสรรพคุณบำรุงกำลัง คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดหอม โทษของเห็ดหอม

เห็ดหอม สมุนไพร พืชสวนครัว ประโยชน์ของเห็ดหอม

ต้นเห็ดหอม เป็น สมุนไพร ในแถบประเทศที่มีอากาศเย็น อย่าง ประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ซึ่ง เห็ดหอม ถือเป็น อาหารชั้นเลิศ ที่มี สรรพคุณทางยาสูง มีประโยชน์ต่อร่างกาย ดีต่อสุขภาพ เห็ดหอม  นั้น นำมาทำอาหาร ก็แสนอร่อย คุณค่าทางอาหาร และ สรรพคุณ เป็นยาบำรุงกำลังชั้นยอด เป็น ยาอายุวัฒนะ ช่วยต้านมะเร็ง ชะลอวัย วันนี้เรามา ทำความรู้จักกับเห็ดหอม กันให้มากขึ้น

เห็ดหอม เป็น เชื้อราชนิดหนึ่ง เห็ดหอม ภาษาอังกฤษ เรียก Shitake Mushroom ชื่อวิทยาศาสตร์ของเห็ดหอม คือ Lentinus edodes ( Berk.) Sing ชื่อเรียกอื่นๆ ของ เห็ดหอม อาทิเช่น ไชอิตาเกะ , โบโกะ , เฮียโกะ , ชิชิ-ชามุ , เห็ดดำ เป็นต้น

มีการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ พบว่า ใน เห็ดหอม มี สารสำคัญ หลายตัว เช่น เลนติแนน ( Lentinan ) สารตัวนี้มีส่วนใน การกระตุ้นการทำงานของภูมิคุ้มกันโรค ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง  กรดอิริทาดีนีน ( Eritadenine ) เป็น กรดอะมิโน ที่ ช่วยลดไขมัน และ ลดคอเลสตรอรอลในเส้นเลือด จะ ช่วยป้องกันโรคหัวใจ และ โรคเกี่ยวกับระบบเลือด ได้ดี สารเออร์โกสเตอรอล ( Ergosterol ) เป็นสารที่ ช่วยในการบำรุงกระดูก และ ทำให้กล้ามเนื้อให้แข็งแรง  ป้องกันโรคกระดูกผุ และ โรคโลหิตจาง ได้ดี

ลักษณะของเห็ดหอม

เห็ดหอม จะ มีลักษณะหมวกเห็ดกลม มีผิวสีน้ำตาลอ่อน จนถึง น้ำตาลเข้ม มีขน สีขาว ลักษณะหยาบๆ กระจายทั่วหมวกเห็ด ก้านดอกเห็ด และ โคนของเห็ดหอม มีสีน้ำตาลอ่อน เนื้อของเห็ดหอม จะนุ่ม สามารถรับประทานได้ มีกลิ่นหอม เป็น เอกลักษณ์ ที่เฉพาะตัว จึงถูกเรียกว่า เห็ดหอม

คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดหอม

นักโภชนาการได้ทำการศึกษา คุณค่าทางอาหารของเห็ดหอม สด และ เห็ดหอมแห้ง ซึ่ง พบว่า ใน เห็ดหอมสดขนาด 100 กรัม สามารถ ให้พลังงานร่างกาย 387 กิโลแคลอรี โดยมี สารอาหารที่มีประโยชน์ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 67.5 กรัม โปรตีน 17.5 กรัม ไขมัน 8 กรัม กากใยอาหาร 8 กรัม วิตามินบี1 1.8 มิลลิกรัม วิตามินบี2 4.9 มิลลิกรัม ไนอะซิน 4.9 มิลลิกรัม แคลเซียม 98 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 476 มิลลิกรัม เหล็ก 8.5 มิลลิกรัม และมีการศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดหอมแห้ง ขนาด 100 กรัม พบว่าให้ พลังงาน แก่ร่างกาย 375 กิโลแคลอรี และมี สารอาหาร ที่ มีประโยชน์ต่อร่างกาย ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 82.3 กรัม โปรตีน 10.3 กรัม ไขมัน 1.9 กรัม กากใยอาหาร 6.5 กรัม วิตามินบี1 0.4 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.9 มิลลิกรัม ไนอะซิน 11.9 มิลลิกรัม แคลเซียม 12 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 171 มิลลิกรัม เหล็ก 4.0 มิลลิกรัม

จะเห็นได้ว่าใน เห็ดหอม ไม่ว่าจะเป็น แห็ดหอมแห้ง หรือ เห็ดหอมสด ก็ให้ คุณค่าทางอาหาร ที่ใกล้เคียงกัน แต่ การรับประทานเห็ดหอม มี ข้อควรระวัง อยู่บ้าง ซึ่ง

ข้อควรระวังในการรับประทานเห็ด คือ การรับประทานเห็ดหอม ไม่ควรรับประทานในสตรีหลังคลอดบุตร และ ผู้ป่วยที่พึ่งฟื้นไข้ รวมถึง คนที่เป็นหัด เนื่องจาก เห็ดหอม มีพวกจุลินทรีย์  ทำให้เกิดแก๊สในท้อง สำหรับสตรีหลังคลอด ระบบภายในยังไม่ดี อาจเกิด อันตรายต่อคุณแม่หลังคลอด รวมถึงจะ ส่งผลต่อน้ำนม ที่ ทำให้ลูกท้องอืด หากรับประทานนมแม่ที่กินเห็ด

สรรพคุณทางสมุนไพรของเห็ดหอม

สำหรับ การรับประทานเห็ดหอม ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยป้องกันโรคหวัด ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ช่วยบำรุงระบบหัวใจ ช่วยป้องกันโรคเกี่ยวกับเลือด ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยบำรุงกล้ามเนื้อให้แข็งแรง ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยให้เลือดลมไหลเวียนดี ช่วยสร้างภูมิต้านทานโรค ช่วยบำรุงระบบสมอง ช่วยบำรุงระบบประสาท ช่วยชะลอวัย ช่วยให้นอนหลับสบาย

เห็ดหอม ( Shitake Mushroom ) สมุนไพร นิยมรับประทานเป็นอาหาร พบได้ในแถบประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี เห็ดหอม อาหารชั้นเลิศ สรรพคุณทางยาสูง ประโชยน์ของเห็ดหอม สรรพถคุณของเห็ดหอม เป็นยาบำรุงกำลังชั้นยอด คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดหอม โทษของเห็ดหอม

กุยช่าย ( Garlic chives ) สมุนไพร ผักสวนครัว ต้นกุยช่ายเป็นอย่างไร กุยช่ายขาว กุยช่ายเขียว สรรพคุณมีสารต้านอนุมูลอิสระ บำรุงไต กระตุ้นความรู้สึกทางเพศกุยช่าย สมุนไพร ผักสวนครัว ประโยชน์ของกุยช่าย

กุยช่าย ( Garlic chives ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกุยช่าย คือ Allium tuberosum Rottler ex Spreng. สมุนไพร ผักสวนครัว ต้นกุยช่ายเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของใบกุยช่าย สรรพคุณของกุยช่าย ประโยชน์ของกุยช่าย เช่น มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็ง บำรุงไต กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ ชนิดของกุยช่าย เช่น กุยช่ายขาว กุยช่ายเขียว

ต้นกุยช่าย เป็นพืชสมุนไพร ในครัวเรือน นิยมนำใบและดอกกุยช่ายมาทำอาหาร สรรพคุณของกุยช่าย เช่น รักษาหวัด บำรุงกระดูก แก้ลมพิษ แก้ท้องอืด บำรุงไต บำรุงกำหนัด กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ กุยช่ายที่รู้จักกันในท้องตลาด มี กุยช่ายขาว และกุยช่ายเขียว ซึ่งคือพืชชนิดเดียวกัน แต่เทคนิคด้านการผลิตพืช ทำให้ใบกุยช่ายสามารถเป็นสีขาวได้ ซึ่งมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็งได้ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับสมุนไพร ชื่อ กุยช่าย กัน

กุยช่าย นิยมนำใบมาทำเป็นส่วนประกอบของอาหาร ตัวอย่างอาหารเมนูกุยช่าย เช่น ผัดเต้าหู้ ผัดหมูกรอบ ผัดหมี่ซั่ว ผัดหมีฮ่องกง เป็นต้น กุยช่ายเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบเอเชียตะวันออก แถบเทือกเขาหิมาลัย ประเทศอินเดีย ประเทศจีน และประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น กุยช่าย ภาษาอังกฤษ เรียก Garlic chives กุยช่าย มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Allium tuberosum Rottler ex Spreng. เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับพลับพลึง สำหรับกุยช่ายมีชื่อเรียกอื่น ๆ อาทิเช่น ผักไม้กวาด, ผักแป้น, กูไฉ่ เป็นต้น

ลักษณะของต้นกุยช่าย

ต้นกุยช่าย เป็นพืชตระกูบล้มลุก ความสูงของต้นกุยช่ายประมาณไม่เกิน 45 เซนติเมตร มีเหง้าเล็กๆ และแตกกอ ลักษณะของต้นกุ่ยฉ่าย มีดังนี้

  • ใบของกุยช่าย เป็นใบแบน และยาว ขึ้นที่โคนต้นเหมือนต้นหญ้า
  • ดอกของกุยช่าย จะออกเป็นช่อ มีดอกสีขาว มีกลิ่นหอม
  • ก้านของช่อดอกกุยช่าย มีความยาวประมาณ 45 เซนติเมตร
  • ผลของกุยช่าย มีลักษณะกลม เมล็ดของกุยช่าย มีสีน้ำตาล ลักษณะแบน

คุณค่าทางโภชนาการของกุยช่าย

นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางอาหารของใบกุยช่ายและดอกกุยช่าย พบว่า ต้นกุยช่ายขนาด 100 กรัม สามารถให้พลังงาน 28 กิโลแคลอรี่ ให้สารอาหารต่างๆ มากมายประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 4.1 กรัม กากใยอาหาร 3.9 กรัม ไขมัน 0.3 กรัม เบต้าแคโรทีน 136.79 ไมโครกรีม ธาตุแคลเซียม 98 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.5 มิลลิกรัมและธาตุฟอสฟอรัส 46 มิลลิกรัม ในการศึกษาดอกกุยช่ายขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 38 กิโลแคลอรี่ ให้สารอาหารต่างๆ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 6.3 กรัม กากใยอาหาร 3.4 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม เบต้าแคโรทีน 152.92 ไมโครกรัม วิตามินซี 13 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 31 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.6 มิลลิกรัมและธาตุฟอสฟอรัส 62 มิลลิกรัม

สรรพคุณของกุยช่าย

สำหรับ ประโยชน์ของกุยช่าย ด้านการรักษาโรคต่างๆ นั้่น สามารถใช้กุยช่าย ตั้งแต่ ต้น ใบ ราก เมล็ด ดอก รายละเอียดของ สรรพคุณของกุยช่าย มีดังนี้

  • ใบกุยช่าย ช่วยบำรุงกระดูก กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ แก้ปัญหาการหลั่งเร็วในเพศชาย เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยลดความดัน รักษาโรคความดันโลหิตสูง รักษาโรคเบาหวาน ช่วยรักษาโรคหูน้ำหนวก เป็นยาแก้หวัด แก้อาเจียน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับลมในกระเพาะอาหาร ช่วยรักษาแผลริดสีดวงทวาร ช่วยแก้โรคนิ่ว รักษาหนองในได้ บำรุงไต แก้พิษแมลงกัดต่อย รักษาห้อเลือด รักษาอาการฟกช้ำ รักษาแผลเป็นหนอง บำรุงน้ำนม ช่วยลดอักเสบ
  • รากกุยช่าย ช่วยแก้อาการเลือดกำเดาไหล แก้อาการอาเจียน มีฤทธิ์ในการช่วยห้ามเหงื่อ ช่วยแก้อาการแน่นหน้าอก ช่วยแก้อาการปัสสาวะขัด
  • เมล็ดของกุยช่าย ช่วยอุดฟัน ป้องกันฟันผุ ช่วยขับพยาธิ ช่วยขับปัสสาวะ เป็นยาฆ่าแมลง
    ช่วยแก้อาเจียน ด้วยการใช้ต้นกุยช่ายนำมาคั้นเอาแต่น้ำผสมกับเกลือเล็กน้อย หรือจะผสมกับน้ำขิงสักเล็กน้อยอุ่นให้
  • ต้นกุยช่าย ช่วยรักษาอาการท้องเสีย ช่วยแก้โรคนิ่ว ช่วยแก้อาการตกขาวของสตรี รักษาโรคหนองใน บำรุงน้ำนม ลดอาการอักเสบ

ข้อควรระวังในการบริโภคกุยช่าย

  • กุยช่ายมีสรรพคุณให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย หากรับประทานมากเกินไปจะทำให้ตัวร้อน และร้อนในได้
  • ไม่ควรดื่มสุรา ร่วมกับกุยช่าย เนื่องจากกุยช่ายทให้ร่างกายร้อนขึ้น และสุราก็มีฤทธิ์ร้อนเช่นกัน อาจเป็นพิษต่อร่างกายได้
  • กุยช่ายกระตุ้นการทำงานของระบบลำไส้ หากมีอาการท้องเสีย หรือเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ไม่ควรกินกุยช่าย
  • กุยช่ายแก่ จะมีกากใยอาหารมาก ในการรับประทานกุยช่าย จะทำให้ระบบลำไส้ ทำงานหนักมากขึ้น

กุยช่าย ( Garlic chives ) สมุนไพร ผักสวนครัว ต้นกุยช่ายเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของใบกุยช่าย ชนิดของกุยช่าย เช่น กุยช่ายขาว กุยช่ายเขียว สรรพคุณของกุยช่าย ประโยชน์ของกุยช่าย เช่น มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็ง บำรุงไต กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove