มะดัน ( Madan ) เป็นผลไม้รสเปรี้ยว วิตามินซีสูง กินผลสดได้ ต้นมะดันเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณขับเสมหะ แก้เจ็บคอ เป็นยาระบาย แก้ไข้ทับระดู โทษของมะดัน

มะดัน ต้นมะดัน สรรพคุณของมะดัน ประโยชน์ของมะดัน

ต้นมะดัน ชื่อสามัญ คือ Madan ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะดัน คือ Garcinia schomburgkiana Pierre พืชตระกูลเดียวกับมังคุด ชื่อเรียกอื่นๆของมะดัน เช่น ส้มมะดัน  ส้มไม่รู้ถอย เป็นต้น

ลักษณะของต้นมะดัน

ต้นมะดัน เป็นไม้ยืนต้น ไม่ผัดใบ มีรสเปรี้ยว สามารถเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่เขตร้อน โดยเฉพาะประเทศไทย สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ด ลักษณะของลำต้น ใบ ดอก ผล มีดังนี้

  • ลำต้นมะดัน มีความสูงประมาณ 7 – 10 เมตร ลักษณะแตกกิ่งก้านเป็นพุ่ม เปลือกของลำต้นเรียบ สีน้ำตาลอมดำ
  • ใบมะดัน ลักษณะเป็นใบเดี่ยว มีสีเขียวเข้ม ขอบใบเรียบ โคนใบและปลายใบแหลม แผ่นใบมะดันลักษณะเรียบลื่น
  • ดอกมะดัน ดอกของมะดันจะออกตามซอกใบ ออกดอกเป็นดอกเดี่ยว ลักษณะเป็นกระจุก ซึ่งกระจุกหนึ่งจะมี 3 – 6 ดอก ดอกมะดันมีสีเหลืองอมส้ม กลีบดอกคล้ายรูปไข่
  • ผลมะดัน มีลักษณะเป็นทรงรี ปลายของผลแหลม มีสีเขียว ผิวเรียบ มันลื่น ผลมะดันมีรสเปรี้ยว ภายในผลมีเมล็ด ผลละหนึ่งเมล็ด

คุณค่าทางโภชนากการของมะดัน

สำหรับการนำมะดันมาบริโภค นั้นนิยมบริโภคใบอ่อนและผลของมะนั้น นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนากการของผลมะดันและใบมะดัน โดยมีายละเอียด ดังนี้

  • คุณค่าทางโภชนาการของผลมะดัน ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 6.5 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม โปรตีน 0.3 กรัม กากใยอาหาร 0.4 มิลลิกรัม วิตามินเอ 431 หน่วยสากล วิตามินบี2 0.04 มิลลิกรัม วิตามินซี 5 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 17 มิลลิกรัม และ ธาตุฟอสฟอรัส 7 มิลลิกรัม
  • คุณค่าทางโภชนาการของใบมะดันอ่อน ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 7.3 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม โปรตีน 0.3 กรัม วิตามินเอ 225 หน่วยสากล วิตามินบี1 0.01 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.04 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.02 มิลลิกรัม วิตามินซี 16 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 103 มิลลิกรัม และ ธาตุฟอสฟอรัส 8 มิลลิกรัม

ประโยชน์ของมะดัน

เนื่องจากมะดันมีวิตามิหลายชนิด และ มีวิตามินซีสูง มะดันจึงถูกนำมาเป็นส่วนประกอบของเครื่องสำอางค์บำรุงผิวพรรณ ทั้ง สบู่ ครีมบำรุงผิว โทนเนอร์ เป็นต้น นอกจากนั้นมะดันมีรสเปรี้ยว ดังนั้น จึงนิยมนำเอามะดันมาทำอาหาร ให้รสเปรี้ยวต่างๆ เช่น น้ำพริก ต้มยำ เป็นต้น ผลของมะดัน สามารถนำมาทำผลไม้แช่อิ่มได้

สรรพคุณของมะดัน

สำหรับมะดัน จัดเป็นพืชพื้นเมือง มีประโยชน์ต่อการดำรงค์ชีวิต ในด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค โดย สรรพคุณของมะดัน มีการนำเอา รกมะดัน รากมะดัน ใบมะดัน ผลมะดัน เปลือกมะดัน ดอกมะดัน มาใช้ประโยชน์ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • ดอกมะดัน มีสรรพคุณช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอก รักษามะเร็ง
  • ผลมะดัน มีรสเปรี้ยว สรรพคุณช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยสร้างภูมิต้านทานโรค ทำให้ชุ่มคอ แก้เจ็บคอ แก้กระษัย รักษาไข้หวัด แก้ไอ ขับเสมหะ ขับประจำเดือน ช่วยขับน้ำคาวปลา แก้ระดูเสีย แก้ประจำเดือนมาไม่ปรกติ
  • ใบมะดัน สรรพคุณ แก้กระษัย ช่วยขับเลือด ช่วยฟอกเลือด รักษาหวัด แก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยแก้ระดูเสียในสตรี แก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ช่วยขับประจำเดือน
  • รกของมะดัน สรรพคุณแก้กระษัย ช่วยขับเลือด ฟอกเลือด รักษาไข้หวัด รักษาไข้ทับระดู ขับเสมหะ
  • รากของมะดัน สรรพคุณเป็นยาระบายอ่อนๆ ขับปัสสาวะ แก้กระษัย ช่วนขับเลือด ช่วยฟอกเลือด รักษาไข้หวัด รักษาไข้ทับระดู ขับเสมหะ
  • เปลือกของมะดัน สรรพคุณแก้กระษัย ช่วนขับเลือด ช่วยฟอกเลือด รักษาไข้หวัด รักษาไข้ทับระดู ขับเสมหะ

ความเด่นของมะดัน คือ ความเปรี้ยว มีกรดอินทรีย์ วิตามินซีสูง ช่วยสร้างภูมิคุ้มโรคกรดอินทรีย์ในมะดัน สามารถนำมาใช้ในการดูแลผิวพรรณ ช่วยให้ผลัดเซลล์ผิว จึงนำมาใช้ในกระบวนการผลิตเครื่องสำอาง ทั้ง สบู่ ครีมบำรุงผิว เป็นต้น

โทษของมะดัน

มะดันมีลักษณะเด่น ที่ รสเปรี้ยวมาก มีความเป็นกรดสูง แต่ก็มีวิตามินซี การใช้ประโยชน์และการบริโภคมะดัน จึงต้องอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม หากมากเกินไปจะเกิดโทษต่อร่างกายได้ โดยโทษของการกินมะดันมากเกินไป มีดังนี้

  • สำหรับผู้ป่วยโรคระบบทางเดินอาหาร ไม่ความกินมะดัน ที่มีความเปรี้ยวในปริมาณมาก เนื่องจากกรดและความเปรีี้ยวของมะดันจะทำให้ระบบทางเดินอาหารทำงานหนักขึ้น
  • สำหรับผู้ป่วยโรคไต ควรงดการกินมะดัน เนื่องจากรสเปรี้ยวของมะดัน จะกระตุ้นให้ขับปัสสาวะมากขึ้น ทำให้ไตทำงานหนักขึ้น
  • กรดจากอาหารที่มีรสเปรี้ยว จะกัดกร่อน ผิวเคลือบฟัน ทำให้ให้ฟันสึกหรอเร็ว ทำให้เสียวฟัน
  • การกินอาหารรสเปรี้ยวมากเกินไป ทำให้ ท้องเสีย ร้อนใน และ ระบบน้ำเหลืองในร่างกายมีปัญหา

มะดัน ( Madan ) คือ พืชไม้ยืนต้น เป็นผลไม้รสเปรี้ยว สามารถบริโภคผลสดได้ ต้นมะดันเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของมะดัน สรรพคุณของมะดัน เช่น ขับเสมหะ แก้เจ็บคอ เป็นยาระบาย แก้ไข้ทับระดู แก้กระษัย โทษของมะดัน ผลมะดันมีวิตามินซีสูง มี เบตาแคโรทีน รวมถึงแร่ธาตุสำคัญ เช่น แคลเซียม เหล็ก ฟอสฟอรัส เป็นตัน

ข่า ( Galanga ) สมุนไพร นิยมนำมาทำอาหาร ต้นข่าเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของข่า ประโยชน์และสรรพคุณช่วยดับคาว ลดน้ำตาลในเลือด ป้องกันมะเร็ง โทษข่ามีอะไรบ้างข่า สมุนไพร พืชสวนครัว ประโยชน์ของข่า

ต้นข่า ภาษาอังกฤษ เรียก Galanga ข่ามีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Alpinia galanga (L.) Willd. เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับกระชาย ขิง กระวาน ขมิ้น เป็นต้น สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของข่า เช่น ข่าหยวก ข่าหลวง กฎุกกโรหินี เป็นต้น

ข่า พืชท้องถิ่น ปลูกง่าย นิยมปลูกในทุกครัวเรือนของบ้านในประเทศไทย ข่า เป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง สามารถหาซื้อได้ตามตลาด สำหรับอาหารไทยและอาหารอินโดนีเซีย นิยมใช้ข่ามาปรุงอาหาร ข่าเป็นหนึ่งในเครื่องเทศยอดนิยม เมนูอาหารอย่าง ต้มข่าไก่ หรือต้มยำกุ้ง น้ำพริกต่างๆ ต้องมีข่าเป็นส่วนผสม

ลักษณะของต้นข่า

ข่า จัดเป็นพืชล้มลุก มีเหง้าอยู่ในดิน เหง้าจะมีข้อและปล้องมองเห้นได้ค่อนข้างชัดเจน ลำต้นตรง มีความสูงประมาณ 1 ถึง 2 เมตร ลำต้นมีสีเขียว ใบของข่า เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกันที่ยอดของลำต้น ใบมีลักษณะรี ดอกของข่าจะออกที่ยอดลำต้น มีขนาดเล็ก สีขาว และผลของข่าจะเป็นทรงกลม สามารถมองเห็นได้เมื่อดอกแห้ง

คุณค่าทางโภชนาการของข่า

สำหรับการใช้ประโยชน์จากข่า นิยมนำข่ามาบริโภค เหง้าอ่อนของข่า ซึ่งเป็นส่วนที่มีรสเผ็ด ช่วยขับลมได้ดี มีการศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของเหง้าข่าอ่อน ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 20 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารต่างๆ ประกอบด้วย กากใยอาหาร 1.1 กรัม แคลเซียม 5 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 27 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.1 มิลลิกรัม วิตามินบี 1 0.13 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.15 กรัม และวิตามินซี 23 มิลลิกรัม

สรรพคุณทางสมุนไพรของข่า

สำหรับการใช้ ประโยชน์ข่า ด้านการรักษาโรค และใช้ทำสมุนไพร นั้น นิยมใช้ หน่อ เหง้า ราก ดอก ผล และใบ เรียกได้ว่าทุกส่วนของข่าสามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมด รายละเอียด ดังต่อไปนี้

  • เหง้าของข่า สามารถนำมาช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ ช่วยขับเสมหะ ช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยแก้บิด แก้อาหารเป็นพิษ ช่วยย่อยอาหาร เป็นยาระบายอ่อน ๆ ช่วยยับยั้งแผลในกระเพาะอาหาร ช่วยลดการบีบตัวของลำไส้ ช่วยขับน้ำดี ช่วยขับเลือด ขับน้ำคาวปลา เป็นยารักษาแผลสด ช่วยลดอาการอักเสบ ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย ใช้รักษาโรคผิวหนัง ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา ช่วยรักษากลากเกลื้อน ช่วยแก้โรคน้ำกัด ช่วยแก้ฟกช้ำ ช่วยแก้เหน็บชา ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ ช่วยบำรุงสมรรถภาพทางเพศ ช่วยไล่แมลง
  • ใบของข่า สามารถนำมาช่วยฆ่าพยาธิ ช่วยรักษากลากเกลื้อน
  • รากของข่า สามารถนำมาช่วยให้ระบบไหลเวียนของเลือดปรกติ ช่วยขับเสมหะ
  • ดอกของข่า สามารถนำมาช่วยแก้อาการท้องเสีย ช่วยแก้ฝีดาษ
  • ผลของข่า สามารถนำมารักษาอาการปวดฟัน ช่วยรักษาโรคท้องร่วง ช่วยย่อยอาหาร
  • หน่อของข่า สามารถนำมาช่วยบำรุงธาตุไฟ ช่วยแก้ลมแน่นหน้าอก

โทษของข่า

ข่า เป็นพืชที่มีรสเผ็ดร้อน การใช้ประโยชน์จากข่า มีข้อควรระวังในการใช้ข่า ดังนี้

  • น้ำมันหอมระเหยจากเหง้าข่า มีความเป็นพิษ หากบริโภคในปริมาณมากเกินไป ทำให้เป็นพิษต่อร่างกาย
  • ข่า ทำให้เกิดอาการระคายเคืองผิวหนังได้ ทำให้มีอาการแสบร้อนผิวหนัง

ข่า ( Galanga ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของข่า คือ Alpinia galanga (L.) Willd. สมุนไพร พืชตระกูลกระชาย ลักษณะของต้นข่า คุณค่าทางโภชนาการของข่า ประโยชน์ของข่า สรรพคุณของข่า ช่วยดับคาว ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยช่วยรักษาหลอดลมอักเสบ ช่วยขับเสมหะ ช่วยแก้คลื่นไส้อาเจียน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลม ต้นข่าเป็นอย่างไร ต้นข่า เป็นพืชพื้นเมือง มีถิ่นกำเนิดในแถบประเทศเขตร้อน สามารถพบได้ตามประเทศ ศรีลังกา อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ อินเดีย และไทย เป็นต้น คนไทยมีความคุ้นเคยกับข่าเป็นอย่างดี ข่าสำหรับคนไทย นิยมนำมาเป็นส่วนประกอบในการปรุงอาหาร ช่วยดับความอาหารได้เป็นอย่างดี แต่ข่ามีประโยชน์ด้านสมุนไพร มากมาย

การปลูกข่า

ข่าเป็นพืช เศรษฐกิจ ปลูกง่าย ไม่ต้องดูแลรักษามาก ศัตรูพืชน้อย สำหรับการปลูกข่า นั้นมีเรื่องที่ต้องรู้ คือ การเตรียมดิน การปลูก การเก็บผลผลิต รายละเอียด ดังนี้

  1. การเตรียมดิน สำหรับปลูกข่า ข่าชอบดินร่วนซุย มีความชื้น แต่ไม่ชอบน้ำขัง สำหรับการเตรียมต้นพันธุ์ สำหรับปลูกข่า ให้ใช้ต้นพันธุ์อายุ 1 ปี ครึ่ง เนื่องจากอายุพันธุ์ข่า ขนาดนี้เหมาะสำหรับการนำมาปลูก เนื่องจากมีแข็งแรง และมีตามาก ทำให้การเจริญเติบโตจะดี
  2. การปลูกข่า ใช้วิธีการปักดำ นำเหง้าพันธ์ุข่ามาปักลงหลุมที่เตรียมดินไว้ สำหรับหลุมละ 3 เหง้า ระยะห่าง ประมาณ 1 เมตร ต่อหลุม ข่าสามารถแตกหน่อได้มากถึง 1500 กอ ให้ผลผลิตที่ดี
  3. การดูแลข่า ข่าเป็นพืชที่ชอบความชื้นแต่ไม่ชอบน้ำขัง จึงต้องหมั่นตรวจสอบอย่าให้น้ำขัง รดน้ำเดือนละ 2 ครั้งก็เพียงพอสำหรับข่า หมั่นให้ปุ๋ย สามารถเก็บเกี่ยวข่าได้ตามต้องการ

ข่า ( Galanga ) สมุนไพร พืชสวนครัว นิยมนำมาทำอาหาร ลักษณะของต้นข่า เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของข่า ประโยชน์และสรรพคุณของข่า เช่น ช่วยดับคาว ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยป้องกันมะเร็ง โทษของข่า มีอะไรบ้าง

บทความนี้เรามาทำความรู้จักกับข่ากัน ว่า ข่าเป็นอย่างไร ประโยชน์ด้านยาของข่า การปลูกข่า คุณค่าทางโภชนาการของข่า และเรื่องราวมากมายเกี่ยวกับข่า ต้มข่าไก่


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove