ตะไคร้ สมุนไพรไทย น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้มีประโยชน์ นิยมนำมาทำอาหารไทย เช่น ต้มยำ แกงต่างๆ สรรพคุณของตะไคร้ เช่น บำรุงผิว ช่วยขับลม เป็นต้น

ตะไคร้ สมุนไพร

ต้นตะไคร้ ภาษาอังกฤษ เรียก Lemongrass ชื่อวิทยาศาสตร์ของตะไคร้ คือ Cymbopogon citratus (DC.) Stapf ตะไคร้เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย พม่า ศรีลังกา และไทย นิยมนำลำต้นตะไคร้มาประกอบอาหาร มีสรรพคุณทางยา เช่น ช่วยเจริญอาหาร ขับสารพิษในร่างกาย ลดไข้ ลดความดัน บรรเทาอาการปวด แก้อาเจียน ขับปัสสาวะ รักษานิ่ว รักษาโรคผิวหนัง ช่วยขับลม เป็นต้น ประเภทของตะไคร้มี 6 ชนิด ได้แก่ ตะไคร้หอม ตะไคร้กอ ตะไคร้ต้น ตะไคร้น้ำ ตะไคร้หางนาค และตะไคร้หางสิงห์ เป็นต้น

ประโยชน์ของตะไคร้ นิยมนำมาใช้ในการประกอบอาหารไทยหลายชนิด เช่น ต้มยำ ใช้เพื่อเพิ่มรสชาติอาหาร กลิ่นหอมของตะไคร้ใช้ไล่ยุงได้ดี น้ำมันหอมระเหยของตะไคร้เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์จำพวกยากันยุงชนิดต่าง ๆ เช่น ยากันยุงตะไคร้หอม รวมถึงสามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ตะไคร้ผงอบแห้ง ชาตะไคร้ เป็นต้น

ลักษณะของต้นตะไคร้

ตะไคร้ พืชล้มลุก มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว การปลูกตะไคร้ เราใช้การปักชำลำต้นของตะไคร้ ตะไคร้ชอบดินร่วนซุย เป็นพืชที่ชอบน้ำ ชอบแดด เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกประเภท ลักษณะของต้นตะไคร้ มีดังนี้

  • ลำต้นตะไคร้ มีเหง้าใต้ดิน ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง รูปทรงกระบอก มีความสูงได้ถึง 1 เมตร (รวมทั้งใบ) ส่วนของลำต้นที่เรามองเห็นจะเป็นส่วนของกาบใบที่ออกเรียงช้อนกันแน่น โคนต้นมีลักษณะกาบใบหุ้มหนา ผิวเรียบ และมีขนอ่อนปกคลุม ส่วนโคนมีรูปร่างอ้วน มีสีม่วงอ่อนเล็กน้อย และค่อยๆเรียวเล็กลงกลายเป็นส่วนของใบ แกนกลางเป็นปล้องแข็ง ส่วนนี้สูงประมาณ 20-30 ซม. ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน และพันธุ์ และเป็นส่วนที่นำมาใช้สำหรับประกอบอาหาร
  • ใบตะไคร้ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ก้านใบ (ส่วนลำต้นที่กล่าวข้างต้น) หูใบ (ส่วนต่อ ระหว่างกาบใบ และใบ) และใบ ใบตะไคร้ เป็นใบเดี่ยว มีสีเขียว มีลักษณะเรียวยาว ปลายใบโค้งลู่ลงดิน โคนใบเชื่อมต่อกับหูใบ ใบมีรูปขอบขนาน ผิวใบสากมือ และมีขนปกคลุม ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ แต่คม กลางใบมีเส้นกลางใบแข็ง สีขาวอมเทา มองเห็นต่างกับแผ่นใบชัดเจน ใบกว้างประมาณ 2 ซม. ยาว 60-80 เซนติเมตร
  • ดอกตะไคร้ ออกดอกยาก จึงไม่ค่อยพบเห็น ดอกตะไคร้ จะออกดอกเป็นช่อกระจาย มีก้านช่อดอกยาว และมีก้านช่อดอกย่อยเรียงเป็นคู่ๆ ในแต่ละคู่จะมีใบประดับรองรับ มีกลิ่นหอม ดอกมีขนาดใหญ่คล้ายดอกอ้อ

คุณค่าทางโภชนาการของตะไคร้ 

สำหรับการบริโภคตะไคร้เป็นอาหาร นิยมใช้ลำต้นตะไคร้มาทำอาหาร ซึ่งนักโภขนาการได้ศึกษาตะไคร้ ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 143 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน 1.2 กรัม ไขมัน 2.1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 29.7 กรัม กากใยอาหาร 4.2 กรัม แคลเซียม 35 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2.6 มิลลิกรัม ตามินเอ 43 ไมโครกรัม มีไทอามีน 0.05 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.02 มิลลิกรัม ไนอาซิน 2.2 มิลลิกรัม วิตามินซี 1 มิลลิกรัม

สารสำคัญพบในน้ำมันหอมระเหยของตะไคร้ ( Volatile oil ) ประกอบด้วย ซิทราล ( Citral ) ซึ่งพบมากที่สุด 90%
ทรานซ์ ไอโซซิทราล ( Trans-isocitral ) ไลโมเนน ( Limonene ) ยูจีนอล ( Eugenol ) ลินาลูล ( Linalool ) เจอรานิออล ( Geraniol ) คาริโอฟิวลีน ออกไซด์ ( Caryophyllene oxide ) เจอรานิล อะซิเตท ( Geranyl acetate ) 6-เมทิล 5-เฮพเทน-2-วัน ( 6-Methyl 5-hepten-2-one ) 4-โนนาโนน ( 4-Nonanone ) เมทิลเฮพทีโนน ( Methyl heptennone ) ซิโทรเนลลอล ( Citronellol ) ไมร์ซีน ( Myrcene ) และ การบูร ( Camphor )

สรรพคุณของตะไคร้

สำหรับประโยชน์ของตะไคร้มีมากมาย สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ทั้งต้น หัว ราก ต้น ใบ

  • รากของตะไคร้ สามารถใช้แก้ปวดท้อง และรักษาอาการท้องเสีย
  • ลำต้นตะไคร้ สามารถนำมาใช้เป็น ยาขับลม แก้อาการเบื่ออาหาร ขับปัสสาวะ รักษาโรคทางเดินปัสสาวะ รักษานิ่ว เป็นยาบำรุงไฟธาตุ รักษาโรคหนองใน และช่วยดับกลิ่นคาวอาหารได้ด้วย
  • ใบสดของตะไคร้ นำมาใช้เป็นยาแก้ไข้หวัด ลดอาการไอ รักษาโรคความดันโลหิตสูง บรรเทาอาการปวดได้ แก้อาการปวดศีรษะ

โทษของตะไคร้

สำหรับการใช้ประโยชน์จากตะไคร้ จำเป็นต้องใช้อย่างถูกต้องและใช้ในปริมาณที่เหมาะสมจึงจะไม่เกิดโทษ ซึ่งโทษของตะไคร้มีดังนี้

  • น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ ไม่ควรนำมารับประทาน ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองช่องปากและลำคอ ทำให้เกิดอาการอาเจียน และ หากกินมากเกินไปเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ อย่างไรก็ตามการรับประทานตะไคร้สดๆไม่มีรายงานว่ามีอันตราย แต่การรับประทานในประมาณที่มากเกินไปก็ไม่เป็นที่นิยมเช่นกัน

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

ยี่หร่า ( Tree Basil ) สมุนไพร สรรพคุณช่วยขับลม บำรุงประสาท บำรุงผิว ต้นยี่หร่าเป็นอย่างไร ยี่หร่าใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมความงาม ทำเครื่องหอม เครื่องดื่มยี่หร่า สมุนไพร สรรพคุณยี่หร่า ประโยชน์ของยี่หร่า

ยี่หร่า เป็น สมุนไพรท้องถิ่น มีชื่อเรียกภาษาอังกฤษ ว่า Tree Basil ยี่หร่า มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Ocimum gratissimum L. ยี่หร่าเป็นพืชตระกูลเดียวกันกับกระเพราและผักชี สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของยี่หร่า เช่น กะเพราญวณ จันทร์หอม เนียม จันทร์ขี้ไก่ เนียมต้น สะหลีดี หอมป้อม โหระพาช้าง กะเพราควาย หร่า เทียนขาว เป็นต้น

ต้นยี่หร่า เป็นอีกหนึ่ง สมุนไพร ที่นิยมนำมาใช้ทำอาหารรับประทาน สรรพคุณเด่นของยี่หร่า ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ บำรุงระบบประสาท บำรุงผิวพรรณ ช่วยย่อยอาหาร ขับเสมหะ  มีฤทธิ์เผ็ดร้อน วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับยี่หร่า กัน

ยี่หร่าในสังคมไทย

ยี่หร่า เป็น พืชที่มีความผูกพันกับสังคมไทยมาช้านาน ในกาบเห่เรือ ยังมีบทหนึ่ง “มัสมั่น หอมยี่หร่า รสร้อนแรง ชายใดได้กลืนแกง แรงอยากให้ใฝ่ฝันหา” ยี่หร่าเป็นพืชล้มลุก มีกลิ่นแรง รสเผ็ดร้อน ซึ่งในใบของยี่หร่า จะมีน้ำมันหอมระเหยชนิดหนึ่ง เรียกว่า น้ำมันยี่หร่า นำมาเป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมความงาม ทำเครื่องหอม น้ำหอม ทำเครื่องดื่ม

ถิ่นกำเนิดของยี่หร่า

ถิ่นกำเนิดของยี่หร่า นั้นอยู่ในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน อินเดีย และจีน การนำเอายี่หร่ามาใช้ประโยชน์มากมาย เช่น ใช้เป็นเครื่องปรุงอาหาร ช่วยดับคาว จากนั้นสัตว์ ช่วยในการถนอมอาหาร ประเภทเนื้อสัตว์ ช่วยป้องกันไม่ให้อาหารเน่า และน้ำมันหอมระเหยของยี่หร่า ใช้แต่งกลิ่นอาหาร และใช้แต่งกลิ่นน้ำหอมต่างๆได้อีกด้วย

ต้นยี่หร่า

ต้นยี่หร่า เป็นไม้ประเภทล้มล้ก เป็นไม้พุ่ม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด และการปักชำกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยและมีความชื้นปานกลาง อาการถ่ายเทได้สะดวก ชอบอยู่กลางแจ้ง

  • ลำต้นของยี่หร่า มีความสูงไม่เกิน 80 เซนติเมตร ลักษณะของลำต้นยี่หร่า มีสีน้ำตาล แตกกิ่งก้านสาขา กิ่งก้านไม่ใหญ่
  • ใบยี่หร่า มีลักษณะเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ตามกิ่งก้าน ใบเป็นรูปกลมรี ปลายใบแหลม ขอบใบเป็นหยัก สีเขียวสด ผิวใบสากๆ มีกลิ่นหอม
  • ดอกของยี่หร่า จะออกบริเวณปลายยอด มีลักษณะเป็นช่อ โดยแต่ละช่อจะประกอบไปด้วยดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก 
  • ผลของยี่หร่าหรือเมล็ดของยี่หร่า คือตัวเดียวกัน ผลของยี่หร่า มีลักษณะเป็นทรงกลม ขนาดเล็ก ผลอ่อนจะมีสีเขียว และผลแก่ จะเปลี่ยนเป็นสีสีดำหรือสีน้ำตาล

คุณค่าทางโภชนาการของยี่หร่า

นักโภชนาการได้ทำการศึกษา คุณค่าทางอาหารของใบยี่หร่า ขนาด 100 กรัม พบว่า ในใบยี่หร่า 100 กรัม นั้น มี กากใยอาหาร 26.8 กรัม มีแร่ธาตุต่างๆ เช่น ไขมัน 0.6 กรัม โปรตีน 14.5 กรัม วิตามินบี1 0.10 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.25 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.62 มิลลิกรัม วิตามินซี 0 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 2 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 215 มิลลิกรัม
และธาตุเหล็ก 25.5 มิลลิกรัม

สรรพคุณของยี่หร่า

ยี่หร่าในทางสมุนไพรและการรักษาโรค นั้น สามารถใช้ได้ทุกส่วน ของยี่หร่า ตั้งแต่ ต้น ใบ ราก ผล ซึ่งรายละเอียดของสรรพคุณของยี่หร่า มีดังนี้

  • รากยี่หร่า สามารถช่วยกระตุ้นระบบย่อยอาหาร ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ อาการปวดท้อง ช่วยขับลมในลำไส้
  • ต้นยี่หร่า สามารถช่วยกระตุ้นระบบย่อยอาหาร ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ อาการปวดท้อง ช่วยขับลมในลำไส้
  • ผลของยี่หร่า สามารถช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์
  • ใบยี่หร่า สามารถช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยขับเหงื่อ ช่วยขัยของเสียออกจากร่างกาย แก้คลื้นไส้อาเจียน แก้ท้องอืด ขับลม ช่วยเจริญอาหาร ช่วยลดอาการปวดประจำเดือน

โทษของยี่หร่า

สำหรับคนที่มีอาการแพ้ยี่หร่า อาจมีอาการระคายเคืองร่างกาย เกิดผื่นคัน หากพบว่ามีอาการแพ้ให้หยุดรับประทานทันที

ยี่หร่า ( Tree Basil ) สมุนไพร รสเผ็ดร้อน คุณค่าทางอาหารของใบยี่หร่า สรรพคุณของยี่หร่า ประโยชน์ของยี่หร่า ช่วยขับลม บำรุงระบบประสาท บำรุงผิวพรรณ ต้นยี่หร่าเป็นอย่างไร ชื่ออื่นๆของยี่หร่า ยี่หร่านำมาเป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมความงาม ทำเครื่องหอม น้ำหอม และ เครื่องดื่ม

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove