เก็กฮวย มีหลายสายพันธ์ เก๊กฮวยขาว เก๊กฮวยเหลือง เก๊กฮวยป่า ดอกเก็กฮวยกลิ่นฉุน รสหวานขม ประโชยน์และสรรพคุณช่วยดับกระหาย ช่วยขับสารพิษ ขับเหงื่อ โทษของเก็กฮวย

เก็กฮวย ดอกเก็กฮวย สมุนไพร สรรพคุณของเก็กฮวย

นอกจากนี้ เก็กฮวย ช่วยดูดซับสารก่อมะเร็งและจุลินทรีย์ ช่วยขยายหลอดเลือดแดง ช่วยป้องกันโรคหัวใจ ช่วยป้องกันการโรคความดันโลหิตสูง ช่วยป้องกันการเกิดโรคเส้นเลือดตีบ ช่วยบำรุงเลือด ช่วยบำรุงสายตา ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ ช่วยลดไข้  ช่วยแก้ไอ ช่วยระบายและย่อยอาหาร ช่วยขับลม บำรุงปอด บำรุงตับ บำรุงไต ใช้รักษาฝีเป็นหนอง ช่วยรักษาผมร่วง

ต้นเก๊กฮวย เป็นพืชที่ปลูกในแถบประเทศจีนและญี่ปุ่น และได้มีการแพร่กระจายมาในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งสามารถปลูกได้ในพื้นที่สูง ในดอกเก๊กฮวย พบว่ามี สารฟลาโวนอยด์ ( Flavonoid ) สารไครแซนทีมิน ( Chrysanthemin ) สารอดีนีน ( Adenine ) สตาไคดวีน ( Stachydrine ) โคลีน ( Choline ) กรดอะมิโน และน้ำมันหอมระเหย ซึ่งสามารถช่วยรักษาโรคหัวใจ ช่วยขยายหลอดเลือด ลดภาวะหัวใจล้มเหลว

ต้นเก๊กฮวย ที่นิยมในการบริโภค มีอยู่ 2 ชนิด คือ เก็กฮวยดอกขาว และ เก็กฮวยดอกเหลือง รายละเอียดของเก็กฮวยแต่ละชนิด มี ดังนี้

  • เก๊กฮวยดอกขาว มี 2 ชนิด คือ เก็กฮวยขาวดอกใหญ่ และ เก็กฮวยขาวดอกเล็ก
    • เก๊กฮวยขาวดอกใหญ่ มีลักษณะทั่วไป คือ ลำต้น ตรง แข็ง เป็นพุ่มใหญ่ ใบมีขนาดใหญ่ สีเขียวเข้ม ก้านใบมีสีม่วงอมเขียว ดอกมีสีขาว ขนาดใหญ่ ขนาดประมาณ 4.7-5 เซนติเมตร กลีบดอกมี 5-6 ชั้น มีกลีบดอกประมาณ 90 กลีบ เมื่อนำมาตากแดด ดอกจะแห้งเร็ว
    • เก๊กฮวยขาวดอกเล็ก มีลักษณะทั่วไป คือ ลำต้นตรง เป็นพุ่มเล็ก ลำต้นค่อนข้างอ่อน ดอกมีขนาดประมาณ 4.5 เซนติเมตร เล็กกว่าพันธุ์แรก ส่วนกลีบดอกมีมากกว่าที่ 6-7 ชั้น มีจำนวนกลีบดอกประมาณ 120 กลีบ ส่วนสีดอกมีสีขาวอมสีเนื้อ ดอกเมื่อนำมาต้มจะให้กลิ่นหอมกว่าดอกใหญ่ แต่อาจมีรสขมปนเล็กน้อย
  • เก๊กฮวยดอกเหลือง มีลักษณะทั่วไป คือ หลีบดอกมีสีเหลือง และให้รสขมมากกว่าพันธุ์ดอกขาว

เก๊กฮวย เป็นพืชที่มีต้นกำเนิดในประเทศจีน มีพันธุ์เก๊กฮวยที่นิยมปลูก และนำมาต้มเป็นน้ำเก๊กฮวยมากที่สุด คือ เก๊กฮวยดอกขาว ที่ปลูกมากกว่าร้อยละ 90 ของเก๊กฮวยทั้งหมด โดยเฉพาะที่เมืองหังโจ ประเทศจีน ส่วนเก๊กฮวยสีเหลือง ไม่นิยมทำน้ำเก๊กฮวย เพราะน้ำให้รสขม แต่นิยมใช้เป็นยาสมุนไพรสำหรับแก้ร้อนใน

สำหรับดอกเก๊กฮวยที่ชาวยุโรปนิยมใช้ชงเป็นชาดื่มเหมือนกับเก๊กฮวยของชาวเอเชียจะเป็นดอกเก๊กฮวยที่อยู่ในวงศ์เดียวกันดาวเรืองหรือเก๊กฮวย คือ ดอกคาโมมายล์ (Chamaemelum nobile (L.) All. มีกลีบดอก 2 สี คือ สีขาว และสีเหลือง

สรรพคุณของเก็กฮวย

สามารถ ช่วยดับกระหาย ช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย ช่วยขับเหงื่อ ช่วยดูดซับสารก่อมะเร็งและจุลินทรีย์ ช่วยขยายหลอดเลือดแดง ช่วยป้องกันโรคหัวใจ ช่วยป้องกันการโรคความดันโลหิตสูง ช่วยป้องกันการเกิดโรคเส้นเลือดตีบ ช่วยบำรุงเลือด ช่วยบำรุงสายตา ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ ช่วยลดไข้  ช่วยแก้ไอ ช่วยระบายและย่อยอาหาร ช่วยขับลม บำรุงปอด บำรุงตับ บำรุงไต ใช้รักษาฝีเป็นหนอง ช่วยรักษาผมร่วง

ประโยชน์เก๊กฮวย

  • ดอกเก๊กฮวยแห้งนิยมใช้ต้มหรือชงเป็นชาดื่ม น้ำเก๊กฮวยจะมีสีเหลืองอ่อน และให้กลิ่นหอมน่าดื่ม น้ำ ซึ่งอาจใช้ทั้งดอกเก๊กฮวยแห้งหรือผงดอกเก๊กฮวย
  • ใช้เป็นส่วนผสมของยาสมุนไพร คือ เก๊กฮวยสีเหลือง ซึ่งให้รสขม
  • ใช้เป็นส่วนผสมของอาหารสัตว์
  • ลำต้นเก๊กฮวย ใช้เป็นเชื้อเพลิงในครัวเรือน
  • ลำต้น และใบเก๊กฮวยที่เก็บดอกแล้ว ทำการไถกลบสำหรับเป็นปุ๋ยพืชสดหรือนำมาใช้ทำปุ๋ยหมัก

คำแนะนำในการบริโภคเก็กฮวย

  • เมล็ดพุด 1-2 เมล็ดจะให้น้ำสีเหลืองกำลังดี ถ้า 3 เมล็ดจะออกสีเหลืองมาก
  • วิธีทำน้ำเก๊กฮวยแบบถูกวิธีห้ามเคี่ยวดอกเก๊กฮวยเพราะจะทำให้น้ำมีรสขมได้
  • การกรองดอกเก๊กฮวยออกห้ามบี้เด็ดขาดเพราะจะทำให้น้ำมีรสขมได้
  • ถ้าต้มน้ำดอกเก๊กฮวยแล้วเปรี้ยว สาเหตุอาจมาจากการใส่ดอกเก๊กฮวยมากเกินไป หรือการใช้เวลาต้มนานจนเกินไป
  • การชงเก๊กฮวยแบบชงชาจะให้รสชาติที่ดีกว่าการนำมาต้มในน้ำเดือด ๆ นาน ๆ
  • ผู้ที่มีปัญหาเรื่องระบบขับถ่าย มีอาการท้องเสียง่าย ควรดื่มในปริมาณที่พอเหมาะ
  • สำหรับผู้ที่เป็นโรคกระเพาะอาหาร การดื่มชาเก็กฮวยอาจทำให้เกิดกรดในกระเพาะเพิ่มมากขึ้น

เกร็ดความรู้

เก๊กฮวยชงจะกินง่ายกว่าต้ม เพราะต้มแล้วรสชาติจะออกขม แนะนำให้ชงโดยนำดอกเก็กฮวยใส่ถ้วยพอประมาณ จากนั้นเทน้ำเดือดจัดๆ ลงไป ปิดถ้วยทิ้งไว้ให้เย็นแล้วจึงนำมาดื่ม หากรู้สึกว่าจืดไปให้เติมน้ำตาลกรวดลงไปเล็กน้อย หมดถ้วยแล้วก็เติมน้ำร้อนไปเรื่อยๆ จนกว่าจะจืด แต่เก็กฮวยมีข้อควรระวังคือ ผู้ที่มีอาการท้องร่วง ถ่ายบ่อย ควรรับประทานแต่น้อย

เมื่อพูดถึง สมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยา และ มีฤทธิ์เป็นยาเย็น มีมากมายหลากหลายชนิด แต่ทว่า เก๊กฮวย นั้นนับได้ว่าเป็น สมุนไพร ที่ขึ้นชื่อเรื่องของ การเป็นยาเย็น เหมาะสมสำหรับการแก้อาการร้อนในและกระหายน้ำได้เป็นอย่างดีนั่นเอง

เก๊กฮวย เป็นพืช สมุนไพรจีน ที่ต้องเพราะปลูกในพื้นที่ที่มีอากาศเย็นตลอดทั้งปี โดย เก๊กฮวยนั้นเป็นพืชที่มีดอกสีเหลือง กลิ่นหอมอ่อนๆ ซึ่งคนทั่วไปอาจจะรู้จักเพียงแค่การนำมาทำน้ำเก๊กฮวยรสชาติหอมหวานชื่นใจเท่านั้น ซึ่งหลายคนก็อาจจะยังไม่รู้ว่ามีประโยชน์อย่างไรซึ่งนอกจากจะนำมาทำน้ำดื่มที่มีสรรพคุณทางยามากมายแล้วนั้น

เก๊กฮวย มีสารฟลาโวนอยด์ในปริมาณที่สูงมาก โดยสารฟลาโวนอยด์ นั้นนับได้ว่าเป็นสารที่ดีและมีประโยชน์ต่อร่างกายชนิดหนึ่ง  โดย สรรพคุณหลักๆของเก๊กฮวย นั้นก็ คือ ช่วยลดอาการร้อนใน อีกทั้งยัง ช่วยแก้กระหายน้ำได้เป็นอย่างดี ซึ่งเก๊กฮวยนั้นจะมีคุณสมบัติ เป็นยาเย็น ช่วยในการฟื้นฟูสภาพและปรับสมดุลให้กับร่างกาย ได้เป็นอย่างดีนั่นเอง

นอกจากนั้น ดอกเก๊กฮวย ยังมีคุณสมบัติในการ ช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย โดยการขับของเสียออกทางเหงื่อนั่นเอง อีกทั้งยัง ช่วยในการดูดซับของเสีย และ สารก่อมะเร็ง ที่ตกค้างอยู่ในร่างกายและขับออกจากร่างกายได้เป็นอย่างดี

จึงถือว่า ดอกเก๊กฮวย นั้นมี คุณประโยชน์ที่หลากหลาย นั่นเอง นอกจากนั้นแล้วดอกเก๊กฮวยยังมีคุณสมบัติในการช่วยบำรุงโลหิตและช่วยในการขยายหลอดเลือดและช่วยแก้ไขปัญหาโรคเลือดต่างๆได้เป็นอย่างดีอีกด้วย และล่าสุดก็ยังมีผลงานวิจัยที่รับรองเกี่ยวกับดอกเก๊กฮวยว่าสามารถช่วยในการยับยั้งเชื้อไวรัสเอดส์ได้เป็นอย่างดีนั่นเอง

เมื่อพูดไปแล้ว เก๊กฮวย นั้นนับได้ว่าเป็น สมุนไพรที่มีประโยชน์ อีกทั้งยังมี สรรพคุณ ที่เหมาะสมสำหรับใช้ใน การบำรุงร่างกาย ได้เป็นอย่างดี โดยผู้ที่ต้องการใช้ เก๊กฮวยเพื่อบำรุงร่างกาย นั้นก็สามารถทำได้ง่ายๆเพียงการใช้ดอกเก๊กฮวยเพียงเล็กน้อย ประมาณ 4-5 ดอก ชงกับน้ำร้อนเพื่อทำเป็นชาจิบได้ตลอดเวลา จะช่วยสร้างความผ่อนคลายให้กับผู้ดื่มได้เป็นอย่างดี อีกทั้งหากดื่มก่อนนอนเป็นประจำก็จะช่วยให้นอนหลับได้สบายมากยิ่งขึ้นเนื่องจากดอกเก๊กฮวยนั้นเป็นดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมละมุนอ่อนๆ

ซึ่งจะสามารถสร้างความผ่อนคลายให้กับผู้ดื่มได้เป็นอย่างดี อีกทั้งน้ำดอกเก๊กฮวยก็ยังเหมาะสำหรับการดื่มในฤดูร้อนเพื่อช่วยคลายจากความเหนื่อยและความร้อนแรงของแสงแดดได้เป็นอย่างดีเช่นกัน จึงนับได้ว่า ดอกเก๊กฮวย นั้นเป็น สมุนไพร ที่มีความสามารถที่จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกายได้เป็นอย่างดี อีกทั้ง เก๊กฮวย ก็เป็น ดอกไม้ที่มีราคาไม่สูง จนเกินได้ด้วย เช่นกัน จึงเหมาะสำหรับนำมาทำเป็น สมุนไพรบำรุงร่างกาย ได้เหมาะกับทุกเพศและทุกวัยนั่นเอง

เก็กฮวย มีหลายสายพันธ์ เช่น เก๊กฮวยขาว เก๊กฮวยเหลือง เก๊กฮวยป่า ดอกเก็กฮวย มีกลิ่นฉุน มีรสหวานขม ประโชยน์และสรรพคุณของเก็กฮวย เช่น ช่วยดับกระหาย ช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย ช่วยขับเหงื่อ โทษของเก็กฮวย มีอะไรบ้าง

งาดำ สมุนไพร เมล็ดงาดำนิยมนำมาบริโภค ลักษณะของต้นงาดำเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของงาดำ สรรพคุณช่วยชะลอวัย บำรุงผิวพรรณ บำรุงผม โทษของงาดำ มีอะไรบ้าง

งาดำ สมุนไพร สรรพคุณของงาดำ

งาดำ ( Sesamum ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของงาดำ คือ Sesamum indicum L สมุนไพร คุุณค่าทางโภชนาการของงาดำ สรรพคุณของงาดำ ช่วยชะลอความแก่  ช่วยบำรุงผิว ช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัย ช่วยซ่อมแซมผิวพรรณ ช่วยบำรุงรากผม ช่วยให้ผมดกเงางาม ช่วยป้องกันการเกิดผมหงอก ช่วยบำรุงกำลัง ช่วยสลายไขมัน ใช้ลดความอ้วน ช่วยลดการดูดซึมคอเลสเตอรอลในร่างกาย

นอกจากนั้น งาดำยังมีสรรพคุณ ช่วยป้องกันหลอดเลือดแข็งตัว ช่วยป้องกันโรคหัวใจ ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ช่วยบำรุงสมอง ช่วยบำรุงโลหิต ลดความดันโลหิต ช่วยขยายหลอดเลือด ช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาว ช่วยให้นอนหลับสบาย  ป้องกันโรคหวัด ช่วยป้องกันโรคเหน็บชา ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน ป้องกันโรคท้องผูก ช่วยบรรเทาโรคริดสีดวงทวาร ช่วยป้องกันโรคข้อเสื่อม เป็นยาระบายอ่อนๆ  งาดำสามารถช่วยบำรุงร่างกาย ได้มากมาย เช่น ผม ผิว กระดูก เล็บ การขับถ่าย ระบบเลือด บำรุงหัวใจ หรือผู้หญิงวัยทอง ซึ่งงาดำช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน ได้ดี

งาดำ ถือเป็นพืชชนิดพืชล้มลุก งาดำ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า  Sesamum indicum L งาเป็นพืชท้องถิ่นของเอเชีย และแถบตะวันออกของทวีปแอฟริกา ในปัจจุบันสามารถพบงานได้ในประเทศเขตร้อน ต้นงา จะมีความสูงประมาณ 2 เมตร เมื่อผลของงาเแห้งจะมีเมล็ดเล็กๆสีดำ สามารถนำมารับประทานได้ งาถือว่าเป็นพืชที่มีประโยชน์มาก หากรับประทานอย่างต่อเนื่องจะทำให้ร่างกายแข็งแรง ในงาดำ จะมาสารอาหารมากมายประกอบด้วย วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินบี5 วิตามินบี6 วิตามินบี9 ธาตุแคลเซียม ธาตุแมกนีเซียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุโซเดียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุสังกะสี และธาตุเหล็ก

ลักษณะของต้นงาดำ

ต้นงาดำ เป็นพืชล้มลุก เป็นไม้เนื้ออ่อน มีขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรงถึงยอด ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยมสีเขียวเข้มปนม่วง มีร่องตามยาวและมีขนปกคลุม อวบน้ำ สูงประมาณ 0.5-2 เมตร ใบมีลักษณะคล้ายกับใบหญ้างวงช้าง มีขนตลอดทั้งใบ เป็นใบเดียวรูปไข่ หรือรูปหอก ขอบใบเป็นจัก ใบมีสีเขียวอ่อนไปจนถึงเขียวเข้ม บางพันธุ์ใบอาจเป็นสีเหลือง ก้านใบยาว 5 เซนติเมตร ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ กลุ่มละ 1-3 ดอก ก้านดอกสั้น กลีบรองดอกมี 5 แฉก กลีบดอกมีสีขาว ขาวอมชมพู หรือม่วงอ่อน ผลหรือฝักขนาดค่อนข้างกลม รูปทรงกระบอกหรือแบน มีขนสั้น ๆ ปกคลุมรอบฝัก ปลายฝักมีจงอยแหลม เมล็ดมีรูปไข่ งาดำจะมีเมล็ดเป็นสีดำขนาดใหญ่กว่าเม็ดแมงลักเล็กน้อย ส่วนงาขาวจะมีสีนวล

คุณค่าทางโภชนาการของงาดำ

นักวิชาการได้ศึกษางาดำขนาด 100 กรัม พบว่า คุณค่าทางโภชนาการของงาดำต่อ 100 กรัม ให้พลังงาน 573 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 23.45 กรัม กากใยอาหาร 11.8 กรัม โปรตีน 17.73 กรัม น้ำ 4.69 กรัม น้ำตาล 0.30 กรัมไขมันรวม 49.67 กรัม กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว 18.759 กรัม กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน 21.773 กรัม กรดไขมันอิ่มตัว 6.957 กรัม
กรดกลูตามิก 3.955 กรัม กรดแอสพาร์ติก 1.646 กรัม เมไธโอนีน 0.586 กรัม ทรีโอนีน 0.736 กรัม ซีสทีอีน 0.358 กรัม ซีรีน 0.967 กรัม ฟีนิลอะลานีน 0.940 กรัม อะลานีน 0.927 กรัม อาร์จินีน 2.630 กรัม โปรลีน 0.810 กรัม ไกลซีน 1.215 กรัม ฮิสทิดีน 0.522 กรัม ทริปโตเฟน 0.388 กรัม ไทโรซีน 0.743 กรัม วาลีน 0.990 กรัม ไอโซลิวซีน 0.763 กรัม ลิวซีน 1.358 กรัม ไลซีน 0.569 กรัม
ไฟโตสเตอรอล 714 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 5 ไมโครกรัม วิตามินเอ 9 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.25 มิลลิกรัม วิตามินบี 1 0.791 มิลลิกรัม
วิตามินบี 2 0.247 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 4.515 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.050 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.790 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 97 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 975 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 14.55 มิลลิกรัม ธาตุซีลีเนียม 5.7 ไมโครกรัม ธาตุโซเดียม 11 มิลลิกรัม
ธาตุฟอสฟอรัส 629 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 7.75 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 468 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 351 มิลลิกรัม
ธาตุแมงกานีส 2.460 มิลลิกรัม และธาตุทองแดง 4.082 มิลลิกรัม

สรรพคุณของงาดำ

สำหรับ สรรพคุณทางยาของงาดำ ประกอบด้วย ช่วยชะลอความแก่  ช่วยบำรุงผิว ช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัย ช่วยซ่อมแซมผิวพรรณ ช่วยบำรุงรากผม ช่วยให้ผมดกเงางาม ช่วยป้องกันการเกิดผมหงอก ช่วยบำรุงกำลัง ช่วยสลายไขมัน ใช้ลดความอ้วน ช่วยลดการดูดซึมคอเลสเตอรอลในร่างกาย ช่วยป้องกันหลอดเลือดแข็งตัว ช่วยป้องกันโรคหัวใจ ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ช่วยบำรุงสมอง ช่วยบำรุงโลหิต ลดความดันโลหิต ช่วยขยายหลอดเลือด ช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาว ช่วยให้นอนหลับสบาย  ป้องกันโรคหวัด ช่วยป้องกันโรคเหน็บชา ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน ป้องกันโรคท้องผูก ช่วยบรรเทาโรคริดสีดวงทวาร ช่วยป้องกันโรคข้อเสื่อม

ข้อควรระวังในการบริโภคงาดำ

  1. สำหรับคนที่ลดน้ำหนักโดยการกินงาดำ เนื่องจากงาดำมีน้ำหนักเบา ซึ่งทำให้น้ำหนักตัวลดมาก อาจไม่ดีต่อสุขภาพ
  2. การบริโภคเมล็ดงาดำ มากเกินไปทำให้ลำไส้ใหญ่ถูกทำลายได้ และเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
  3. เมล็ดงา ทำให้ลำไส้ใหญ่อักเสบได้ และอาจทำให้ท้องผูก ปวดท้องได้
  4. อาการแพ้งาดำ ในการบริโภคงาดำสามารถทำให้แพ้ได้ อาการการแพงงาดำ เช่น ระบบย่อยอาหารผิดปกติ ตาอักเสบ น้ำมูกไหล หายใจลำบาก เป็นต้น หรือบางรายมีอาการแพ้อย่างรุนแรง คือ หอบ ความดันโลหิตต่ำ รู้สึกแน่นหน้าอก และทางเดินหายใจตีบตัน อาจเสียชีวิตได้ในที่สุด
  5. การบริโภคงาดำมากเกินไปอาจทำให้เกิดการติดเชื้อที่ไส้ติ่งได้
  6. คุณสมบัติหนึ่งของาดำคือ เป็นยาระบาย ซึ่งถ้าบริโภคมากเกินไปจะทำให้มีการถ่ายท้องมากเกินไป
  7. งาดำมีสรรพคุณในการบำรุงผม แต่ถ้าหากใช้มากเกินไป จะทำให้ผมร่วงได้
  8. ในสตรีมีครรภ์ ช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ไม่ควรรับประทานงาดำ อาจทำให้แท้งบุตรได้

ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove