พริก ( chili ) พริกขี้หนูสวน ( Bird pepper ) สมุนไพรรสเผ็ดร้อน นิยมนำมาปรุงรสอาหาร ต้นพริกเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณช่วยเจริญอาหาร กระตุ้นน้ำย่อย โทษของพริกพริก สมุนไพร สรรพคุณของพริก ประโยชน์ของพริก

พริก หากกล่าวถึงพริก เป็นพืชสวนครัว ที่รู้จักกันทั่วโลก พริกให้รสเผ็ดร้อน นิยมนำมาปรุงอาหารให้รสเผ็ด เรามาทำความรู้จักกับพริก ว่าลักษณะทางพฤษศาสตร์ของพริก ประโยชน์ สรรพคุณของพริก  และข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากพริก เป็นอย่างไร พะแนงเนื้อ แกงเลียง

พริกเป็นพืชเศรษฐกิจ พริกในทางการค้าและอุตสาหกรรม มีการนำเอาสีของพริก ที่มีความหลากหลาย เช่น พริกสีเขียว พริกสีแดง พริกสีเหลือง พริกสีส้ม พริกสีม่วง และพริกสีงาช้าง มาใช้ประโยชน์ ทั้งด้านการใช้สีสันของพริก และการปรุงอาหาร ซึ่งพริกสามารถปลูกได้ดีในประเทศเขตร้อนชื้น ที่มีแสงแดด

ซึ่งปัจจุบัน เทรนในการอนุรักษ์ธรรมชาติมีมากขึ้นทุกวัน การใช้สีที่ได้มาจากธรรมชาติจึงมีต้องการมากขึ้น พริกเป็นพืชอายุสั้น ที่สามารถให้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจสูง ทั้งใช้บริโภคพริกสดและแปรรูปพริกให้อยู่ในรูปแบบต่างๆ เช่น พริกแห้ง พริกป่น พริกดอง ซอสพริก น้ำพริก เครื่องพริกแกง น้ำจิ้มแบบต่าง ๆ รวมถึงยารักษาโรค

ประโยชน์ของพริกมีมากมายขนาดนี้ ไม่มาทำความรู้จักกับพริกได้อย่างไร

พริก ภาษาอังกฤษว่า Chilli peppers หรือ chili คำคำนี้มาภาษาสเปน ว่า chile ส่วน พริกขี้หนูสวน เรียก Bird pepper หรือ Chili pepper ชื่อวิทยาศาสตร์ของพริก คือ Capsicum annuum L. พริกจัดเป็นพืชตระกลูเดียวกันกับมะเขือ พริกขี้หนู มีชื่อเรียกอื่นๆ อีก ที่เรียกแตกต่างกันตามแต่ละท้องถิ่น เช่น พริกแด้ พริกแต้ พริกนก พริกแจว พริกน้ำเมี่ยง หมักเพ็ด ดีปลีขี้นก พริกขี้นก พริกมะต่อม ปะแกว มะระตี้ ดีปลี ครี ลัวเจียะ ล่าเจียว มือซาซีซู, มือส่าโพ เป็นต้น

มีการนำพริกมาศึกษาสารเคมีในพริก พบว่ามีสารสำคัญ คือ Capsaicin  เป็นสารเคมีที่ให้ฤทธิ์เผ็ดร้อน นอกจากนั้นมีสารเคมีอื่นในพริก ประกอบด้วย Dihydrocapsaicin ,Nordihydrocapsaicin ,Homodihydrocapsaicin และ Homocapsaicin

สำหรับสารเคมี Capsaicin ที่อยู่ในพริกนั้นมีฤทธิ์ระคายเคืองต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งทำให้ประสาท เกิดความรู้สึกร้อนไหม้ กระตุ้นให้เกิดเมือกเพื่อป้องกันการระคายเคือง รวมถึงกระตุ้นการหลั่งน้ำย่อย

นักวิทยาศาสตร์ยังสามารถค้นพบสารเคมีในพริก ชื่อ แคโรทีนอยด์ มีสรรพคุณต้านมะเร็งได้ สำหรับสารแคโรทีนอยด์ เป็นรูปแบบหนึ่งของสารแคโรทีน นักวิทยาศาสตร์ ได้นำเอาสารชนิดนี้มาสกัดทำอาหารเสริม ซึ่งในปัจจุบัน เป็นอาหารเสริมที่ได้รับความนิยมเป็นจำนวนมาก ในพริกนอดจากมีสารเคมีสำคัญมีประโยชน์ต่อร่างกาย ยังมีวิตามินซีสูง ช่วยบำรุงผิว แต่หากกินมากเกินไป จะทำให้ปวดท้อง และทำให้ท้องเสียได้

ชนิดของพริก

พริกมีหลากหลายพันธ์ เช่น พริกขี้หนูสวน พริกไทย พริกหยวก พริกเหลือง พริกชี้ฟ้า พริกหนุ่ม พริกกะเหรี่ยง สำหรับการปลูกพริกใช้บริโภคในประเทศไทยนั้น นิยมปลูกอยู่ 2 ชนิด คือ พริกรสหวาน เช่น พริกหยวก พริกชี้ฟ้า เป็นต้น และ พริกรสเผ็ด เช่น พริกขี้หนูสวน พริกขี้หนูใหญ่ เป็นต้น

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของพริกขี้หนู

พริกขี้หนู เป็นพืชล้มลุก เป็นไม้พุ่ม อายุสั้น ประมาณไม่เกิน 3 ปี เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในแถบทวีปอเมริกา เมล็ด สามารถนำเมล็ดไปขยายพันธ์ต่อได้ ลักษณะของพริกมีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นของพริก ความสูงของต้นพริกประมาณไม่เกิน 1 เมตร ลักษณะมีการแตกกิ่งก้านสาขาจำนวนมากมาก กิ่งมีสีเขียว และสีน้ำตาล
  • ใบของพริกขี้หนู เป็นใบเดี่ยว สีเขียว ใบเรียงสลับกันตามกิ่งก้าน ใบเป็นรูปไข่ ปลายแหลม ผิวใบเรียบ
  • ดอกของพริกขี้หนู ออกเป็นช่อ ลักษณะดอกจะกระจุกตามซอกใบ มีช่อละ 2 ถึง 3 ดอก และดอกจะเปลี่ยนเป็นผลพริก
  • ผลของพริกขี้หนูสวน ลักษณะของผลพริกจะยาวรี ปลายแหลม ผลมีสีเขียว เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีแดง ภายในผลมีเมล็ด สามารถนำเมล็ดไปขยายพันธ์ต่อได้

สรรพคุณของพริกขี้หนู

พริกขี้หนูมีการนำเอาพริกมาใช้ประโยชน์ในการรักษาโรค ในทุกส่วนของพริก ทั้ง ต้น ผล ใบ ซึ่งเราได้แยกสรรพคุณขอพริกตามส่วนต่างๆ ของพริกมาให้ ดังนี้

  • ใบของพริก ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับลม  ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด ช่วยผ่อนคลาย รักษาไข้หวัด แก้อาการปวดหัว  ช่วยแก้อาการคัน  ใช้รักษาแผลสดและแผลเปื่อย ใช้รักษาอาการบวม ฟกช้ำดำเขียว ปวดตามข้อ เคล็ดขัดยอก
  • ผลพริก ช่วยเจริญอาหาร ช่วยกระตุ้นน้ำย่อย ช่วยบำรุงร่างกาย รักษาโรคพยาธิในลำไส้ ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยลดน้ำหนัก ลดไขมันในเส้นลือด ช่วยบำรุงเลือด ช่วยรักษาโรคความดัน ช่วยสลายลิ่มเลือด ช่วยลดการอุดตันของหลอดเลือด ช่วยขับเสมหะ ลดน้ำมูก บรรเทาอาการไอ รักษาการอาเจียน ใช้ขับน้ำคาวปลาของสตรีหลังคลอด สมุนไพรสำหรับสตรีหลังคลอด  ช่วยรักษาโรคหิด รักษากลากเกลื้อน แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย  ช่วยกระตุ้นให้ผมงอก
  • รากของพริก ช่วยบำรุงเลือด ช้วยฟอกเลือด  เป็นยารักษาโรคเก๊าท์ ช่วบลดอาการปวด
  • ลำต้นพริก นำมาทำยาแก้กระษัย เป็นยาขับปัสสาวะ  แก้เท้าแตก

การปลูกพริก

  • การเตรียมดิน สำหรับปลูกพริก ให้ไถพรวน แล้วรดน้ำตาม เพื่อปรับสภาพดินและป้องกันกำจัดเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคในพริก กำจัดวัชพืชในแปลงพริก
  • การเพาะกล้า ให้แช่เมล็ดพริกในน้ำ เพื่อเร่งการงอกของราก จากนั้นหว่านเมล็ดลงบนแปลงเพาะ หรือถาดหลุม จากนั้นอีกประมาณ 30 วัน ให้ย้ายต้นกล้าลงแปลงปลูก
  • การบำรุงต้นพริกและผลพริก เพื่อความสะดวกและการประหยัดค่าใช้จ่าย ให้ใช้ปุ๋ยชีวภาพ ฉีดพ่นเพื่อกระตุ้นให้ต้นให้พริกเจริญเติบโตออกดอก ให้ผลดก การให้ปุ๋ย หลังย้ายต้นกล้าลงแปลงปลุก ประมาณ 5 วันแล้ว ให้เริมให้ปุ๋ย เพื่อเร่งการเจริญเติบโต เมื่อต้นพริกอายุได้ 50 วัน ให้ใส่ปุ๋ยเพื่อเร่งดอก
  • โรคและแมลงศัตรูพืชของพริก มีน้อยมาก ถ้าให้ปุ๋ยชีวภาพอย่างสม่ำเสมอและถูกต้อง มักจะพบปัญหา ยอดหงิก ซึ่งมาจากเพลี้ยไฟ ให้ถอนและทำลายต้นทิ้ง

ข้อควรระวังในการรับประทานพริกขี้หนู

  • สำหรับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับกระเพราะอาหารและลำไส้ ไม่ควรกินพริก เนื่องจากพริกจะทำให้ระคายเคืองมากขึ้น
  • หากเด็กกินพริกเข้าไป จะมีอาการแสบร้อนมากกว่าผู้ใหญ่ ให้แก้ด้วยการให้ดื่มนมตา ในน้ำนมจะมีสาร Casein ช่วยให้อาการเผ็ด แสบร้อนลดลงได้
  • พริกทำให้ให้เกิดสิวได้ เนื่องจากพริกมีฤทธ์ให้ขับของเสียออกจากร่างกาย และของเสียจะถูกขับออกมาทางผิวหนัง ซึ่งทำให้ผิวหนังมีอาการอักเสบมากขึ้น
  • สำหรับผู้ที่ไม่เคยกินเผ็ด ความเผ็ดของพริกจากมากกว่าปรกติ ให้ระมัดระวังในการรับประทาน

พริก ( chili ) พริกขี้หนูสวน ( Bird pepper ) พืชสวนครัว รสเผ็ดร้อน สมุนไพร นิยมนำมาปรุงรสอาหาร ลักษณะของต้นพริก เป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณของพริก ช่วยเจริญอาหาร ช่วยกระตุ้นน้ำย่อย ช่วยบำรุงร่างกาย ข้อควรระวังในการกินพริก

กระท้อน ( Santol ) ผลไม้ สมุนไพร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณบำรุงร่างกาย บำรุงสายตา บำรุงผิว กระตุ้นน้ำย่อย ช่วยเจริญอาหาร ควบคุมน้ำตาลในเลือด ลดคอเรสเตอรอล

กระท้อน สมุนไพร ผลไม้ สรรพคุณของกระท้อน

ต้นกระท้อน เป็นชื่อ ผลไม้ ที่คุ้นหูคนไทยเป็นอย่างดี ตำบักต้อง หรือ ตำกระท้อน เมนูบ้านๆ แต่กระท้อนมีสรรพคุณ สำหรับ คนรักสวยรักงาม กระท้อนป้องกันสิว กระชับผิว ลดหน้ามันได้ สนใจใน กระท้อน แล้วซิ มาทำความรู้จักกับกระท้อนกัน ว่าผลไม้ชนิดนี้ เป็นอย่างไร มีสรรพคุณการรักษาโรคอะไรบ้าง กระท้อนเป็นผลไม้ มาจากอินโดนีเซียและมาเลเซีย แต่คนไทยรู้จักกระท้อนนานมาก

กระท้อน ภาษาอังกฤษ เรียก Sentul หรือ Santol หรือ Red sentol หรือ Yellow sentol กระท้อนมีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Sandoricum koetjape ( Burm. f.) Merr. ชื่อเรียกอื่นๆของกระท้อน อาทิ เช่น เตียน, ล่อน, สะท้อน,มะต้อง, มะติ๋น ,สตียา, สะตู, สะโต เป็นต้น ผลกระท้อน มีวิตามินเอ วิตามินซีสูง และยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยบำรุงสายตา บำรุงผิว ดีต่อระบบขับถ่าย เป็นยาระบายอ่อนๆ กระท้อนช่วยเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต โปรตีนและไขมัน ได้ดี ส่วนใบช่วยขับเหงื่อ ขับของเสียออกทางผิวหนัง เปลือกใช้รักษาโรคผิวหนังได้ดี เนื่องจากมีสรรพคุณยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย

ลักษณะของต้นกระท้อน

ต้นกระท้อน เป็นไม้ยืน เป็นไม้ผลัดใบ ที่มีขนาดใหญ่ ความสูงประมาณ 30 เมตร ที่ลำต้นมีกิ่งก้านตั้งแต่กลางลำต้นเป็นต้นไป ใบมีขนาดใหญ่ เป็นทรงพุ่มใหญ่

  • เปลือกของต้นกระท้อน เป็นผิวเรียบ สีน้ำตาล เนื้อไม้ของต้นกระท้อน เมื่อยังเป็นต้นอ่อนจะหักง่าย เมื่ออายุมากขึ้น เนื้อไม้จะมีความแข็งปานกลาง
  • ใบของกระท้อน เป็นใบเดี่ยว แทงออกจากปลายกิ่ง ใบมีลักษณะรูปไข่ สีเขียว ปลายใบมน ใบค่อนข้างเหนียว เนื้อใบหยาบ มีขนอ่อนๆและสากมือ ขอบใบหยักเป็นลูกคลื่น
  • ดอกของกระท้อน จะออกเป็นช่อ ออกตามซอกใบและซอกกิ่ง แต่ละกิ่งจะมีประมาณช่อดอก 4 ช่อ ดอกยาว ดอกตูมมีสีเขียว ดอกบานมีสีเหลือง ดอกของกระท้อนจะพัฒนาเป็นผล
  • ผลและเมล็ดของกระท้อน ผลกระท้อนมีลักษณะกลม ผิวเปลือกเรียบ และมีขนทั่วผล ที่ผลจะมียางสีขาว ผลแก่จะมีสีน้ำตาล ผิวเปลือกหยาบก้าน มีรอย่น เปลือกจะมีความหนา ภายในผลจะมีเนื้อผล และเมล็ด สามารถนำเมล็ดมาขยายพันธุ์ต่อได้

คุณค่าทางโภชนาการของกระท้อน

นักโภชนาการได้มีการศึกษาผลกระท้อนขนาดต่อ 100 กรัม พบว่ามีสารอาหารมากมาย ประกอบด้วย โปรตีน 0.118 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม กากใยอาหาร 0.1 กรัม แคลเซียม 4.3 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 17.4 มิลลิกรัม เหล็ก 0.42 มิลลิกรัม แคโรทีน 0.003 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.045 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.741 มิลลิกรัม และวิตามินซี 86.0 มิลลิกรัม

สรรพคุณของกระท้อน

คุณค่าทางสมุนไพร สำหรับการรักษาโรคของกระท้อนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายส่วน ประกอบด้วย ผล ใบ เปลือกและเนื้อไม้ รายละเอียดดังนี้

  • ผลของกระท้อน ใช้บำรุงร่างกาย บำรุงสายตา บำรุงผิว สร้างภูมต้านทานโรค ช่วยกระตุ้นน้ำย่อย ช่วยเจริญอาหาร ป้องกันมะเร็ง ลดน้ำหนัก ควบคุมน้ำตาลในเลือด และลดคอเรสเตอรอล
  • เปลือกของกระท้อน มีสรรพคุณต้านเชื้อจุลินทรีย์ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย รักษาการอักเสบ รักษาแผลในปาก ป้องกันฟันผุ แก้อาการท้องเสีย รักษาอาการคันตามผิวหนัง
  • ใบของกระท้อน ช่วยในการขับเหงื่อ ขับของเสียออกจากร่างกาย สำหรับสตรีหลังคลอด ช่วยลดไข้ ลดอาการหนาวสั่น รักษากลากเกลื้อน และรักษาโรคผิวหนัง
  • รากของกระท้อน ช่วยดับพิษร้อน ช่วยขับลม แก้ท้องเสีย ช่วยลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ

การปลูกกระท้อน

กระท้อนชอบพื้นที่ลุ่ม สำหรับการปลูกกระท้อนให้ยกร่องสูง ทนน้ำท่วม

  • การเตรียมแปลง ต้องไถให้เรียบ กำจัดวัชพืชออก ขุดลึกและกว้างประมาณ 50 เซนติเมตร เว้นระยะห่างต่อหลุ่มประมาณ 6 เมตร
  • การปลูก แนะนำให้ปลูกช่วงฤดูฝน นำต้นพันธุ์ลงปลูกตรงกลาง ใช้ฟางข้าวหรือเศษใบไม้คลุมรอบโคนต้นและรดน้ำให้ชุ่ม
  • การให้น้ำ ให้น้ำสัปดาห์และ 1 ครั้ง อย่างสม่ำเสมอ และให้น้ำทุกวัน เมื่อต้นกระท้อนเริ่มออกดอกและติดผล
  • การใส่ปุ๋ย ให้ใส่ปุ๋ยคอกเป็นหลักในช่วง 2 ปีแรก ที่ยังไม่ให้ผล จากนั้นค่อยให้ปุ๋ยเร่งดอก เร่งผล
  • การเก็บเกี่ยวผล ให้ห่อผล เพื่อป้องกันการเสียหายของผิวเปลือกผล เมื่อผลโต และมีสีเขียวอมเหลือง ให้ใช้กระดาษ ห่อ เพื่อป้องกันศัตรูพืชทำลาย และช่วยให้ผิวเรียบ สวย

กระท้อน ( Santol ) ผลไม้ สมุนไพร คุณค่าทางโภชนาการของกระท้อน สรรพคุณของกระท้อน บำรุงร่างกาย บำรุงสายตา บำรุงผิว สร้างภูมต้านทานโรค ช่วยกระตุ้นน้ำย่อย ช่วยเจริญอาหาร ป้องกันมะเร็ง ลดน้ำหนัก ควบคุมน้ำตาลในเลือด ลดคอเรสเตอรอล


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove