โรคคอตีบ Diphtheria ภาวะติดเชื้อแบคทีเรียที่ทางเดินหายใจ อาการร้ายแรง ทำให้อักเสบที่เยื่อบุจมูก คอ และ หลอดลม ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ร่างกายอ่อนแรงได้

โรคคอตีบ โรคหูคจมูก โรคติดเชื้อ โรคลำคอ

โรคคอตีบ ( Diphtheria ) เป็นโรคเกิดจากทางเดินหายใจติดเชื้อแบคทีเรียชนิด Chorynebac terium diphtheriae ปัจจุบันเป็นโรคพบได้น้อยในประเทศที่พัฒนาแล้วเนื่องจากมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้ตั้งแต่เป็นทารกอายุ 2 เดือนอย่างทั่วถึง แต่ยังเป็นโรคที่พบได้บ่อยในประเทศในเขตร้อนที่ยังไม่พัฒนาหรือกำลังพัฒนารวมทั้งประเทศไทย โรคคอตีบจัดเป็นโรครุนแรงเป็นสาเหตุให้เสียชีวิต (ตาย) ได้ ทั้งนี้ความรุนแรงของโรคขึ้นกับการได้รับยาต้านสารพิษและยาปฏิชีวนะอย่างรวดเร็วภายใน 1 – 2 วันหลังมีอาการ ซึ่งช่วยลดอัตราเสียชีวิตลงเหลือประมาณ 1% แต่ถ้ามาพบแพทย์ล่าช้า หรือเมื่อผู้ป่วยอายุต่ำกว่า 5 ปี หรืออายุสูงตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป หรือเกิดผลข้างเคียงแล้ว อัตราเสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 20%

สาเหตุของการเกิดโรคคอตีบ

สำหรับต้นเหตุของโรคคอตีบเกิดจาก เชื้อแบคทีเรียคอตีบ ชื่อว่า โครินแบคทีเรียดิฟทีเรีย ( Corynebacterium diphtheriae ) เชื้อคอตีบ หลังจากนั้นเชื้อชนิดนี้จะปล่อยสารพิษ (Exotoxin) ออกมาทำลายเนื้อเยื่อต่าง ๆ โดยเฉพาะเยื่อบุคอหอย กล้ามเนื้อหัวใจ และเส้นประสาท โรคคอตีบสามารถติดต่อได้จากการรับเชื้อทางปากหรือหายใจ จากผู้ที่มีเชื้อโรค เช่น การไอ การจาม การสัมผัสน้ำลายหรือเสมหะของผู้ป่วย หลังจากได้รับเชื้อ 2-10 วันผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการ

อาการของผู้ป่วยโรคคอตีบ  

ผู้ป่วยจะมี น้ำมูก เจ็บคอ มีไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัว พบว่ามีอาการต่อมน้ำเหลืองโต หายใจและกลืนน้ำลายลำบาก จะมีแผลที่ผิวหนัง มีอาการอักเสบที่แผล เจ็บ และมีหนองเขียวที่แผล หากไม่รักษาให้ทันท่วงที จะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้ คือ การอักเสบที่กล้ามหัวใจ จะทำให้มีภาวะหัวใจล้มเหลว  เกิดภาวะน้ำท่วมปอด การเต้นของหัวใจจะผิดปกติ หรืออาจจะส่งผลถึงเส้นประสาทที่สมอง อาจเป็นอัมพาต เกิดปากเบี้ยว ตาเข มือเท้าชา และกล้ามเนื้ออ่อนแรง สามารถสรุบอาการของโรคคอตีบได้ดังนี้

  • มีไข้มักไม่เกิน 39 องศาเซลเซียส (Celsius) อาจรู้สึกหนาวสั่น
  • อ่อนเพลีย เจ็บคอมาก กิน/ดื่มแล้วเจ็บคอมากจึงกิน/ดื่มได้น้อย
  • หายใจลำบาก หายใจไม่ออก หายใจเร็ว หอบเหนื่อย
  • คออาจบวมและไอมีเสียงดังเหมือนสุนัขเห่า
  • มีแผ่นเยื่อในจมูก ต่อมทอนซิล ลำคอ และกล่องเสียง ก่ออาการค่อยๆมีเสียงแหบลงเรื่อยๆ และน้ำมูกอาจมีเลือดปน/น้ำมูกเป็นเลือด
  • อาจมีต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคอบวมโตซึ่งโตได้ทั้งสองข้าง
  • หลังจากมีอาการทางเดินหายใจแล้ว อาจพบมีแผลบริเวณผิวหนังพบได้ทั่วตัวแต่พบบ่อยบริเวณแขนและขา แผลมีลักษณะเหมือนแผลทั่วไป แต่เมื่อตรวจเชื้อจะพบว่าเกิด จากเชื้อโรคคอตีบ

ระยะของโรคคอตีบ

สำหรับอาการของโรคคอตีบนั้นสามารถแบ่งได้ 2 ระยะ ตามลักษณะของอาการของโรค คือ คอตีบระยะฟักตัวของโรค และ คอตีบระยะติดต่อ ซึงรายละเอียดของโรคคอตีบแต่ละระยะ มีดังนี้

  • คอตีบระยะฟักตัวของโรค  ตั้งแต่ได้รับเชื้อจนแสดงอาการจะใช้เวลาประมาณ 1-7 วัน (โดยเฉลี่ย 3 วัน) แต่อาจนานได้ถึง 10 วัน และผู้ป่วยมักมีอาการอยู่นาน 4-6 สัปดาห์หรืออาจนานกว่านี้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค ในบางกรณีผู้ติดเชื้ออาจจะไม่แสดงอาการใด ๆ เลยก็ได้ ซึ่งกลุ่มผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการเหล่านี้ (Carrier) มักจะเป็นแหล่งแพร่เชื้อที่สำคัญในชุมชน
  • คอตีบระยะติดต่อ ผู้ที่มีอาการของโรคคอตีบจะมีเชื้ออยู่ในจมูกและลำคอได้นาน 2-3 สัปดาห์ แต่บางครั้งอาจนานถึงหลายเดือน ส่วนผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาอย่างเต็มที่แล้วเชื้อจะหมดไปภายใน 1 สัปดาห์

การรักษาโรคคอตีบ

แนวทางการรักษาโรคคอตีบ สามารถรักษาได้โดยใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น penicillin หรือ Erythromycin ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาเพื่อฆ่าเชื้อโรค กับแพทย์ ประมาณ 2 สัปดาห์ ผ่าตัดเอาแผ่นฝ้าขาวออกเพื่อไม่ให้อุดหลอดลม พักผ่อนให้มากๆ

การป้องกันโรคคอตีบ

แนวทางการป้องกันการติดเชื้อโรคคอตีบ สามารถทำได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันคอตีบ สรุปแนวทางการป้องกันการเกิดโรคคอตีบได้ ดังนี้

  • การรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน เพื่อให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ลดโอกาสติดเชื้อต่างๆซึ่งรวมทั้งเชื้อโรคคอตีบและลดการติดโรคที่ก่อให้เกิดภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำเช่น ติดเชื้อเอชไอวีหรือโรคเอดส์
  • ใช้หน้ากากอนามัย
  • การร่วมมือกันในชุมชนในการรักษาสิ่งแวดล้อมให้มีสุขอนามัยที่ดี
  • โรคนี้สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก และไอกรน (DTP vaccine) หรือฉีดวัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบและบาดทะยัก (DT vaccine)
  • ผู้ที่สัมผัสโรคหรือผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการป้องกัน ซึ่งแพทย์จะเพาะเชื้อจากคอหอย ติดตามอาการเป็นเวลา 7 วัน และให้รับประทานยาอิริโทรมัยซิน (Erythromycin) ในขนาดเดียวกันกับที่ใช้รักษา แต่ให้รับประทานป้องกันเพียง 7 วัน และจะฉีดวัคซีนป้องกันให้ถ้าไม่เคยฉีดวัคซีนมาก่อนหรือฉีดไม่ครบ แต่ถ้าเคยฉีดวัคซีนป้องกันมาแล้วและเข็มสุดท้ายได้รับมานานเกิน 5 ปี แพทย์จะฉีดวัคซีนกระตุ้นให้อีกครั้ง
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วยในระยะติดต่อ ควรสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสกับผู้ป่วย

โรคคอตีบ ( Diphtheria ) ภาวะติดเชื้อแบคทีเรียที่ระบบทางเดินหายใจ อาการร้ายแรง ทำให้อักเสบที่เยื่อบุจมูก คอ และ หลอดลม ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจเกิดการอักเสบ และ อ่อนแรง ได้ การรักษาโรคคอตีบ การป้องกันโรคคอตีบ

คอพอก ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์จากการขาดสารไอโอดีน ทำให้คอโต อ่อนแรง เหนื่อยง่าย ไม่กระฉับกระเฉง ผิวหนังแห้ง ท้องผูก อันตรายกับสตรีมีครรถ์ ลูกเป็นปัญญาอ่อนได้โรคคอพอก โรคขาดสารไอโอดีน โรคต่อมไร้ท่อ โรคไม่ติดต่อ

โรคคอพอก ภาษาอังกฤษ เรียก Simple goiter คือโรคเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ คือ ต่อมไทรอยด์  หมายถึง โรคที่เกิดจากความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ จากการขาดสารไอโอดีน ซึ่งโรคคอพอกจะมีลักษณะ คือ คอโต ซึ่งโรคคอพอกสามารถแบ่งได้ 4 ชนิด รายละเอียด ดังนี้

  • คอพอก ชนิดต่อมไทรอยด์โตเรียบทั่วทั้งต่อม และ สามารถสร้างฮอร์โมนได้ปกติ เรียกว่า Diffuse nontoxic goitre คือ  ลักษณะนี้ต่อมไทรอยด์ ยังสามารถทำงานได้ตามปรกติ เกิดจากการขาดสารไอโอดีน ลักษณะคอจะโตเรียบ
  • คอพอก ชนิดต่อมไทรอยด์เป็นตะปุ่มตะป่ำและสามารถสร้างฮอร์โมนได้ตามปรติ เรียกว่า Nontoxic multinodular goitre โรคคอพอกชนิดนี้พบว่าเป็นสาเหตุของการเกิดคอพอก ถึง 10 % เกิดจากสถาพแวดล้อมขาดสารไอโอดีน จะมีปุ่มเกิดขึ้นบริเวณคอ เหมือนก้อนเนื้อ
  • คอพอก ชนิดต่อมไทรอยด์เป็นตะปุ่มตะป่ำ แต่เกิดการสร้างฮอร์ดมนมากกว่าปรกติ เรียกว่า Toxic multinodular goitre ลักษณะคอพอกชนิดนี้ พบไม่มาก ลักษณะเกิดปุ่มเหมือนก้อนเนื้อที่คอ เกิดการสร้างฮอร์โมนมากกว่าปรกติ ทำให้เกิดอาการของต่อมไทรอยด์เป็นพิษร่วมด้วยได้ สาเหตุเกิดจากความผิดปรกติของพันธุกรรม และการขาดสารไอโอดีน
  • คอพอก ชนิดมีปุ่มเนื้อปุ่มเดียว และ เกิดการสร้างฮอร์โมนมากกว่าปกติ เรียกว่า Hyperfunctioning solitary nodule เป็นการเกิดที่ต่อมไทรอยด์เพียงกลีบเดียว สามารถคลำได้ เป็นก้อน ลักษณะของไทรอยด์ชนิดนี้ ผู้ป่วยจะมีอาการต่อมไทรอยด์เป็นพิษร่วมด้วยได้

โดยทั่วไปคอพอกสามารถแบ่ง ระดับของคอพอก ได้ 5 ระดับ ประกอบด้วย ระดับ 0 1A 1B 2 และ 3 รายละเอียดของ คอพอกระดับต่างๆ มีดังนี้

  • ระดับ 0 ไม่พบอาการคอบวม
  • ระดับ 1A ระดับนี้จะมีก้อนที่คอ ขนาดเท่าหัวแมมือ สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้
  • ระดับ 1B ระดับนี้ขนาดของคอพอกจะโดตขึ้น 2 ถึง 3 เท่า
  • ระดับ 2 สามารถมองเห็นอาการคอพอกได้อย่างชัดเจน มีอาการบวมอย่างเห้นได้ชัด
  • ระดับ 3 ขนาดของคอพอกโตมาก สามารถมองเห็นได้จากระยะไกล

ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคคอพอก

เป็นที่ทราบกันว่า โรคคอพอกเกิดจากการขาดสารไอโอดีน ซึ่งหากจะแยก ปัจจัยของการขาดสารไอโอดีน มีดังนี้

  1. ปัจจัยด้านภูมิประเทศ สภาพภูมิประเทศที่ห่างไกลทะเล สารไอโอดีน เป็นสารอาหารที่พบมากในอาหารทะเล ซึ่งในพื้นที่ที่ไม่ติดทะเล จะไม่สามารถหาอาหารทีมีสารไอโอดีนจากสัตว์ทะเลทานได้ จึงเป็นปัจจัยของการขาดสารไอดอดีน
  2. ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากอาหารทะเลที่มีสารไอโอดีน มีราคาสูงเมื่อเปรียบเทียบกับอาหารชนิดอื่นๆ ในคนที่มีสภาวะทางเศรษฐกิจไม่ดีมาก ก็ไม่สามารถหาอาหารทะเลทานได้
  3. ปัจจัยด้านการคมนาคม การเดินทางที่ไม่สะดวก ทำให้อาหารที่มีสารไอโอดีนอย่างอาหารทะเลเข้าไม่ถึง
  4. ปัจจัยด้านพฤติกรรมกิน ในกลุ่มคนที่ไม่ชอบทานอาหารทะเล ก็ทำให้ขาดสารไอโอดีนได้
  5. ปัจจัยด้านร่างกาย ในบางคนมีความผิดปรกติของร่างกาย ร่างกายดุดซึมสารไอโอดีนได้ไม่ดี

อาการของโรคคอพอก

สามารถแบ่งอาการของโรคนี้ตามวัยของผู้ป่วย ประกอบด้วย ทารกในครรถ์ ทารกแรกเกิด เด็กและวัยรุ่น สุดท้าย คือ ผู้ใหญ่ อาการของคอพอก ในวัยต่างๆ มีรายละเอียดดังนี้

  • อาการโรคคอพอกในทารกในครรถ์และมารดา เป็นลักษณะมารดาที่ตั้งครรถ์มีอาการคอพอก เป็นภาวะขาดสารไอโอดีน ซึ่ง เป็นอันตราย ซึ่งจะส่งผลทำให้แท้งบุตรได้ ในรายที่อาการหนักมาก มารดาสามารถเสียชีวิตได้
  • อาการคอพอกที่เกิดกับทารกแรกเกิด ไม่เกิน 2 ปี ในมารดาที่มีอาการคอพอกในช่วงตั้งครรถ์ หากคลอดลูกออกมา ลูกจะเกิดความผิดปรกติ จากภาวะฮอร์โมนไทร๊อกซินต่ำ ทำให้เด็กเกิดความผิดปกติของระบบประสาท สมอง และร่างกาย ส่งผลให้เป็นปัญญาอ่อน หูหนวก แขนขากระตุก ตาเหล่ เป็นต้น
  • อาการของคอพอกที่เกิดกับเด็กและวัยรุ่น การขาดสารไอโอดีนในช่วงที่ร่างกายต้องการสารอาการเพื่อการเจริญเติบโตนั้น ทำให้พัฒนาของร่างกายช้า ระดับฮอร์โมนไทร๊อกซินต่ ทำให้ร่างกายแคระแกร็น ผอม สติปัญญาต่ำ
  • อาการของโรคคอพอกในผู้ใหญ่ ระดับฮอร์โมนไทร๊อกซินต่ำ ทำให้ อ่อนแรง เหนื่อยง่าย ไม่กระฉับกระเฉง ผิวหนังแห้ง ท้องผูก และเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคอื่นๆได้ง่าย

การรักษาโรคคอพอก

สามารถทำได้หลายวิธี โดยการรับประทาอาหารที่มีไอโอดีน รับสารไอดอดีนเข้าร่างกายและการผ่าตัด ซึ่งรายละเอียดการรักษา มีดังนี้

  1. การให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มีสารไอโอดีนให้มากขึ้น เนื่องจาก สาเหตุของคอพอกเกิดจากการขาดสารไอโอดีน
  2. การให้สารไอโอดีนเข้าสู่ร่างกาย โดยสามารถให้สารไอโอดีนโดยวิธีการฉีดสารเข้าสู่ร่างกายและการให้สารไอโอดีนเพื่อรับประทาน
  3. การรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งวิธีนี้จะใช้กับผู้ป่วยที่เป็นมาก คอบวมและโตจนส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตตามปรกติ

การป้องกันโรคคอพอก

สามารถทำได้โดยการป้องกันที่สาเหตุของโรค คือ การขาดสารไอโอดีน ดังนั้น ต้องรับประทานอาหารที่มีสารไอโอดีนบ้าง ซึ่งอาหารที่มีไอโอดีนสูง เป็น อาหารจำพวก อาหารทะเล และในปัจจุบันมีอาหารต่างๆที่ใส่สารไอโอดีนเป็นส่วนประกอบทำให้ได้รับสารไอโอดีนโดยไม่ต้องรับประทานอาหารทะเลได้

โรคคอพอก เกิดจากความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ จากการขาดสารไอโอดีน ส่งผลให้คอโต ทำให้ อ่อนแรง เหนื่อยง่าย ไม่กระฉับกระเฉง ผิวหนังแห้ง ท้องผูก และเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคอื่นๆได้ง่าย หากเกิดกับสตรีมีครรถ์ จะทำให้ลูกที่เกิดมา ความผิดปกติของระบบประสาท สมอง และ ร่างกาย เป็นปัญญาอ่อน หูหนวก แขนขากระตุก ตาเหล่ เป็นต้น

โรคคอพอก คืออะไร สาเหตุ อาการ การป้องกัน เป็นโรคคอพอก ควรรับประทานอะไรดี อาการของโรคคอพอก มีอาการคอบวมเป็นคอพอกหรือเปล่า วิธีตรวจโลกคอพอกทำอย่างไร วันนี้เราจะมาเรียนรู้ เรื่องเกี่ยวกับโรคคอพอก กัน ไทรอยด์ กับ คอพอก ต่างกันอย่างไร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove