หนองในเทียม ( Chlamydia infection ) ติดเชื้อแบคทีเรีย คลามัยเดีย ทราโคมาทิส ที่อวัยวะสืบพันธุ์ ทำให้มีลูกยาก อาการมีหนองออกจากอวัยวะเพศ รักษาและป้องกันอย่างไร

โรคหนองในเทียม หนองในเทียม โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคติดต่อ

สาเหตุของหนองในเทียม

สาเหตุของการติดโรคหนองในเทียม เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์กับคนเป็นโรคหนองในเทียมอยู่แล้ว โดยไม่มีการป้องกันการเกิดโรค ซึ่งเชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคหนองในเทียม คือ เชื้อแบคทีเรียคลามัยเดียทราโคมาติส ( Chlamydia Trachomatis )  เชื้อแบคทีเรียชนิดนี้สามารถเจริญเติบโตและแพร่กระจายเชื้อโรคทาง เช่น อวัยวะเพศ ทวารหนัก ปาก หรือ ดวงตา โดยเชื้อโรคจะปะปนมมากับสารคัดหลั่งของมนุษย์ โรคนี้ยังสามารถแพร่จากแม่สู่ลูกได้ เป็นอันตรายสำหรับสตรมีครรภ์

กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสในการติดโรคหนองในเทียม

สำหรับกลุ่มที่มีโอกาสในการเกิดโรคหนองในเทียม คือ กลุ่มวัยรุ่นที่มักไม่มีการป้องกันในการมีเพศสัมพันธ์ กลุ่่มคนที่นิยมเปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ รวมถึงเด็กในครรภ์ที่มีแม่มีเชื้อโรคหนองในเทียมในร่างกายเป็นต้น

อาการของผู้ป่วยโรคหนองในเทียม

เมื่อร่างกายได้รับเชื้อแบคทีเรีย ที่เป็นสาเหตุของโรคหนองในเทียม เชื้อโรคจะมีระยะในการฟักตัว ภายใน 7 – 21 วัน อาการที่พบของโรคโดยทั่วไป จะมีอาการติดเชื้อในลำคอ เจ็บคอเรื้อรัง หรือ ปวดรูตูด มีน้ำหรือเลือดไหลออกจากตูด เป็นอาการที่แสดงออกมาจากแหล่งที่เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย หากเข้าทางปาก จะแสดงอาการที่คอ หากเชื้อโรคเข้าทางทวารหนัก ก็จะแสดงอาการทางทวารหนัก แต่อาการของโรคหนองในเทียมจะแสดงอาการแตกต่างกันในชายและหญิง ซึ่งรายละเอียดของการการของโรค มีดังนี้

อาการหนองในเทียมที่เกิดในผู้หญิง

  • มีอาการตกขาวผิดปกติ
  • ปัสสาวะขัดและมีอาการแสบ
  • ปวดท้องน้อย
  • ปวดหลัง
  • คลื่นไส้ อาเจีน
  • มีไข้
  • เลือดออกผิดปกติระหว่างรอบประจำเดือน

อาการหนองในเทียมที่เกิดในผู้ชาย

  • มีสารคัดหลั่งไหลออกมาจากอวัยวะเพศ ลักษณะใสหรือขุ่นข้นๆ
  • ปวดแสบเวลาปัสสาวะ
  • ปัสสาวะขัด
  • คันบริเวณอวัยวะเพศ
  • ปวดอันฑะ
  • ลูกอัณฑะบวม

อาการแทรกซ้อนที่เกิดกับโรคหนองในเทียม

ความอันตรายหนึ่งของโรคหนองในเทียม คือ ภาวะแทรกซ้อนของโรค ซึ่งภาวะแทรกซ้อนนี้มีอาการแตกต่างกันในผู้ชายและผู้หญิง โดย รายละเอียด มีดังนี้

ภาวะแทรกซ้อนในเพศชาย

สำหรับโรคที่เกิดและมีสาเหตุของโรคจากการติดเชื้อหนองในเทียม คือ อัณฑะอักเสบ ติดเชื้อต่อมลูกหมาก ถ้าไม่ทำการรักษาอย่างทันทั่งทีทำให้เป็นหมันได้ โรคข้ออักเสบ โรคหนองในเทียม ทำให้ข้อกระดูกอักเสบ ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ตาอักเสบ เช่นเดียวกัน

ภาวะแทรกซ้อนในเพศหญิง

สำหรับโรคที่เกิดและเป็นสาเหตุมาจากการติดเชื้อหนองในเทียม คือ โรคอุ้งเชิงกรานอักเสบ ทำให้เกิดภาวะการมีบุตรยาก เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์นอกมดลูก เป็นต้น

การรักษาโรคหนองในเทียม

สำหรับการรักษาโรคหนองในเทียมนั้น สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ โดยให้กินยา Azithromycin ขนาด 1 กรัม ครั้งเดียว  หรือ กินยา Doxy cycline สองครั้ง ในเวลา 7 วัน คำแนะนำไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง ต้องอยู่ในการวินิจฉัยของแพทย์เท่านั้น นอกจากนั้น ต้องรักษาอาการแทรกซ้อนของโรคด้วยตามอาการที่พบ สำหรับคนที่เคยมีประวัติการติดเชื้อหนองในเทียม ต้องเข้ารับการตรวจโรคซ้ำ 90 วันหลังจากรักษาโรคแล้ว

การป้องกันโรคหนองในเทียม

สำหรับสาเหตุหลักของการติดเชื้อโรคหนองในเทียม คือ การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยโรคหนองในเทียม โดยขาดการป้องกันที่ดี โดยการป้องกันการเกิดโรคหนองในเทียม มีรายละเอียดดังนี้

  • การมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอน ที่ไม่ใช้คู่ของตน ต้องสวมถุงยางอนามันป้องกันทุกครั้ง
  • หลีกเลี่ยงการการเที่ยวกลางคืนและการหลับนอนกับคนที่เราไม่รู้จักโดยไม่มีการป้องกันโรค
  • การใช้ชิวิตร่วมกับผู้ป่วยโรคหนองในเทียม ต้องป้องกันการติดเชื้อ

โรคหนองในเทียม ( Chlamydia infection ) คือ โรคติดต่อจากเชื้อแบคทีเรีย คลามัยเดีย ทราโคมาทิส ทำลายระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง ทำให้มีลูกยาก อาการของโรค คือ มีหนองไหลออกจากอวัยวะสืบพันธ์ การรักษาโรคหนองในเทียม และ การป้องกันโรคทำอย่างไร

ภาวะตับล้มเหลว ตับวาย ( Liver failure ) ตับไม่ทำงาน ทำให้อวัยวะอื่นผิดปรกติ มีน้ำในท้องมาก นอนไม่หลับ หลงลืมง่าย สาเหตุมีหลายปัจจัย การรักษาและป้องกันทำอย่างไรตับวาย ตับหล้มเหลว โรคตับ กินยาพาราเกินขนาด

อวัยวะที่มีความสำคัญมากอวัยวะหนึ่งของร่างกาย คือ ตับ ภาษาอังกฤษ เรียก Liver คำนี้มาจากภาษากรีก คือ Hepar หน้าที่หลักของตับ คือ กำจัดของเสียออกจากร่างกายผ่านทางน้ำดี ช่วยให้เลือกแข็งตัว ช่วยสร้างฮอร์โมนบางชนิด เป็นแหล่งสะสมน้ำตาลที่สำคัญของร่างกาย ช่วยควบคุมระดับความดันเลือดของช่องท้อง และสร้างภูมิต้านทานโรคของร่างกาย การเกิดตับวาย นั้นสามารถเกิดได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย โดยอัตราการเกิดโรคเท่าๆกันทั้งในชายและหญิง สำหรับ ภาวะตับวาย สามารถแบ่งได้ เป็น 2 ลักษณะ ประกอบด้วย ตับวายแบบเฉียบพลัน และ ตับวายแบบเรื้อรัง โดยรายละเอียดมี ดังนี้

  • ตับวายแบบเฉียบพลัน ภาษาอังกฤษ เรียก Acute liver failure หรือ Fulminant hepatic failure มีคำย่อว่า FHF เป็นภาวะตับวายที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงและรวดเร็ว ผู้ป่วยมักไม่เคยมีโรคตับมาก่อน และ ตับทำงานอย่างปกติก่อนเกิดภาวะตับวายเฉียบพลัน อาการที่แสดงให้เห็นชัดเจน คือ มีอาการทางสมอง เช่น คลื่นไส้อาเจียน โดย ลักษณะของตับวายเฉียบพลันสามารถแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ ตับวายเร็วร้าย และ ตับวายกึ่งเร็วร้าย
  • ตับวายเรื้อรัง ภาษาอังกฤษ เรียก Chronic liver failure คือ มีอาการผิดปรกติทางระบบประสาทและสมอง จากการทำงานผิดปรกติของตับ เช่น การดื่มสุราระยะเวลานาน ป่วยเป็นโรคตับอักเสบบี หรือ กินยาพาราเกินขนาด เป็นต้น ลักษณะอาการที่พบ จะ คลื่นไส้ นานเกิน 6 เดือน ซึ่งการรักษาอาการตับวายแบบเรื้อรัง นั้นขึ้นอยู่กับสาเหตุ และ อาการ  ซึ่งระยะเวลาในการรักษาก็จะต่างกันออกไป

สาเหตุของการเกิดภาวะตับวาย

สำหรับโรคตับวาย สามารถสรุปสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคตับวายได้ ดังนี้

  • เกิดจากการประสบอุบัตติเหตุ ทำให้เกิดการกระแทกอย่างรุนแรงที่ตับ ทำให้ตับสูญเสียการทำงานหรือเซลล์ตับบาดเจ็บ
  • เกิดจากเป็นโรคตับแข็ง
  • ภาวะพิษสุราเรื้อรัง
  • การติดเชื้อโรคที่ตับ เช่น โรคไวรัสตับอักเสบ
  • ได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกาย เช่น การกินเห็ดพิษ กินสมุนไพรบางชนิด
  • กินอาหารที่มีพิษต่อร่างกาย เช่น อาหารที่ปนเปื้อนโลหะหนุก เช่น ตะกั่ว ทองแดง
  • กินยาเกินขนาด เช่น ยาพาราเซตามอล
  • การเสพยาเสพติดเกินขนาด
  • เกิดจากป่วยเป็นโรคมะเร็งตับ หรือ มะเร็งแพร่กระจายสู่ตับ

อาการของภาวะตับวาย

สำหรับโรคตับวาย นี้ จะมีอาการเกิดขึ้นจากความผิดปรกติของการทำงานของตับส่งผลต่อการทำงานของร่างกายส่วนอื่นๆ โดยเฉพาะระบบสมอง อาการที่จะเกิดขึ้น คือ คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดท้องด้านขวาบน ตัวเหลืองตาเหลือง หลังจากนั้นอาการจะรุนแรงมากขึ้น  โดยอาการจะมีลักษณะตามนี้

  • มีน้ำในท้อง เกิดจากความดันเลือกในช่องท้องสูง ทำให้มีน้ำซึมจากหลอดเลือดเข้าสู่ช่องท้อง
  • เลือดออกง่าย หรือ มีลอยจ้ำห้อเลือด มีจุดแดงเล็กๆคล้ายในไข้เลือดออก เนื่องจากการทำงานหลักของตับ อย่างการทำให้เลือดแข็งตัวไม่สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
  • มีอาการทางสมอง เนื่องจากตับทำหน้าที่ขับสารพิษ แต่เมื่อการทำงานผิดปรกติ ทำให้พิษเข้าสู่สมองและพิษเข้าไปทำลายเซลล์สมองโดยตรง เกิดภาวะสมองบวมได้ โดยอาการเริ่มต้นจะ นอนไม่หลับ หลงลืมง่าย ตัด สินใจไม่ได้ กระสับกระส่าย สับสน ต่อจากนั้น จะซึมลง
  • มีอาการของ ไตวายเฉียบพลัน โดยไม่เคยมีโรคไตมาก่อนจากไตขาดเลือด สา เหตุจากความดันในระบบไหลเวียนโลหิตของช่องท้องสูงขึ้น เช่น บวมทั้งตัว โดย เฉพาะขาและเท้า ปัสสาวะน้อย หรือไม่มีปัสสาวะ สับสน ซึม ชัก และโคม่า
    หมดสติ โคม่า และเสียชีวิตในที่สุด

การวินิจฉัยภาวะตับวาย

การวินิจฉัยนั้น แพทย์จะทำการซักประวัติ อาการ ประวัติการใช้ยา และพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น ที่อยู่อาศัย อาชีพ อาหาร น้ำดื่ม จากนั้นต้องทำการตรวจร่างกาย การตรวจเลือด เพื่อดูการทำงานของตับและไต ดูภูมิต้านทานโรค ทำการอัลตร้าซาวน์ ดูภาพของตับ และต้องตัดชิ้นเนื้อจากตับเพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา

การรักษาภาวะตับวาย

สำหรับการรักษาภาวะตับวาย นั้นต้องรักษาต้นเกตุของปัญหา คือ ตับไม่สามารถกำจัดของเสียออกจากร่างกายได้ โดยจะพยายามกำจัดสารพิษออกจากร่างกายให้เร็วที่สุด รวมถึงการลดปริมาณสารพิษที่จะเข้าสู่ร่างกาย เช่น ลดอาหารประเภทโปรตีนเพื่อลดสารไนโตรเจน ซึ่งเป็นพิษต่อตับ เป็นต้น

การรักษาภาวะตับวาย จะต้องควบคุมอาหาร การรักษาสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย รวมถึงต้องการป้องกันการเกิดเลือดออก
ผู้ป่วยที่เป็นโรคตับวาย ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล ในรายที่ตับสูญเสียมาก ต้องรับการปลูกถ่ายตับ จะทำให้มีโอกาสรอดชีวิตได้

ผลข้างเคียงที่เกิดจากการเกิดภาวะตับวาย

โรคตับวาย เป็นภาวะความผิดปรกติของร่างกานที่มีความรุนแรงสูง สามารถทำให้ตายได้ โดยผลข้างเคียงของการเกิดโรคตับวาย มีรายละเอียด ดังนี้

  • ระบบการแข็งตัวของเลือด ไม่ทำงาน ทำให้มีเลือดออกตามอวัยวะต่างๆอย่างรุนแรง
  • ทำให้ตัวเหลืองตาเหลือง
  • ทำให้ร่างกายตืดเชื้อง่าย เนื่องจากภาวะภูมิต้านทานโรคต่ำ
  • ทำให้สมองบวม
  • ทำให้มีน้ำในช่องท้องมากและจะเกิดการติดเชื้อตามมา

การป้องกันโรคตับวาย

สำหรับการป้องกันการเกิดภาวะตับวาย หรือ ภาวะตับล้มเหลวนั้น คือ การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงทั้งหมดที่จะทำให้เกิดการเป็นพิษต่อตับ โดยรายละเอียดดังนี้

  • ไม่กินยาเกินขนาด
  • ระวังเรื่องการรับประทานอาหาร ไม่ทานอาหารที่มีสารพิษเจือปน
  • ระวังการสัมผัสสารคัดหลั่งของคนที่มีโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคไวรัสตับอักเสบ
  • ระวังเรื่องการใช้สารเคมีทุกชนิด โดยเฉพาะ ยาฆ่าหญ้า
  • งดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอร์
  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐานให้สะอาด
  • ไม่เสพยาเสพติด
  • เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ บี

ภาวะตับล้มเหลว หรือ ตับวาย ( Liver failure ) ภาวะตับไม่ทำงาน ทำให้อวัยวะต่างๆทำงานผิดปรกติ มีน้ำในท้องมาก นอนไม่หลับ หลงลืมง่าย สาเหตุของโรคมีหลายปัจจัย การรักษาโรค และ การป้องกันต้องทำอย่างไร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove