ปอดบวม ภาวะปอดอักเสบจากการติดเชื้อ ติดจากสารคัดหลั่งของผู้มีเชื้อโรค ทำให้เจ็บหน้าอก ไอ หายใจลำบาก อ่อนเพลีย ทำให้ร่างกายขาดอ๊อกซิเจน อาจเสียชีวิต รักษาอย่างไร

โรคปอดบวม โรคปอดอักเสบ โรคทางเดินหายใจ โรคติดเชื้อ

ภาวะปอดอักเสบ เป็นภาวะอันตรายทำให้เสียชีวิตได้ เนื่องจากปอดอักเสบ ส่งผลกระทบต่อระดับออกซิเจนในร่างกาย ซึ่งปอดจะมีอาการบวม มีน้ำในถุงลม และ ปอดมีหนอง เกิดจากการติดเชื้อโรคต่างๆ เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส ซึ่งเชื้อโรคเหล่านี้มักอาศัยอยู่ในน้ำลายและเสมหะของผู้ป่วย เกิดการแพร่กระจายจากการไอ การจาม เป็นต้น

สาเหตุของโรคปอดบวม

สำหรับสาเหตุของโรคปอดบวม หรือ ปอดอักเสบ มี 2 สาเหตุหลักๆ คือ ปอดอักเสบจากการติดเชื้อโรค และ ปอดอักเสบจากการไม่ติดเชื้อโรค โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • ปอดอักเสบจากการติดเชื้อ เป็นสาเหตุของปอดบวมที่พบมากที่สุด เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ปอด ทำให้เกิดการอักเสบของปอดและถุงลมในปอด
  • ปอดอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ เป็นสาเหตุขากการสูดอากาศทึ่มีมลพิษ ก่อให้เกิดการระคายเคืองที่ระบบทางเดินหายใจ นอกจากนี้การใช้ยาปฏิชีวนะบางชนิดทำให้ปอดอักเสบได้

โรคปอดบวม ( Pneumonia ) เกิดจากเชื้อโรค เช่น ไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา หรือ พยาธิ ซึ่งเชื้อโรคมักจะอยู่ในน้ำลายและเสมหะของผู้ป่วย โดยแพร่กระจายได้โดยการไอหรือจาม  นอกจากนี้พบว่ามีสารเคมี เช่น ไนโตรเจน แอมโมเนีย ไดออกไซด์ สามารถทำให้เกิดโรคปอดบวม 

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคปอดบวม

โรคปอดอักเสบสามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย ซึ่งสำหรับปอดอักเสบที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อโรค มักพบบ่อยในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ และ ผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป นอกจากนี้ ยังพบได้ในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆอีก ดังต่อไปนี้

  • อายุ ในเด็กเล็กๆและในผู้สูงอายุ เพราะร่างกายมีความบกพร่องในการป้องกันและกำจัดเชื้อโรค
  • การดื่มสุรา สูบบุหรี่ และ/หรือรับประทานยาบางชนิด เช่น ยากดภูมิคุ้มกัน ยารักษาโรคมะ เร็ง (ยาเคมีบำบัด) ซึ่งจะมีผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรค และการกำจัดเชื้อโรค
  • การมีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคถุงลมโป่งพอง โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ฟันผุ และเหงือกเป็นหนอง โรคไตเรื้อรัง ฯลฯ
  • การไม่รักษาสุขภาพและอนามัย เช่น การขาดอาหาร สุขภาพทรุดโทรม อยู่อาศัยในสถานที่ที่ไม่มีการถ่ายเทอากาศที่ดีพอ ในที่ที่มีมลภาวะที่ต้องหายใจและสูดมลภาวะเข้าไปในปอด

อาการของโรคปอดบวม

สำหรับการแสดงอาการของโรคปอดบวม หรือ ปอดอักเสบ เนื่องจากปอดเป็นแหล่งของออกซิเจนในร่างกาย นอกจากการแสดงอาการที่ระบบทางเดินหายใจโดนตรงและ ผู้ป่วยจะมีอาการทั่วร่างกาย เช่น เหนื่อยง่าย ปวดตัว มีไข้ หรือ ตัวอุ่นๆ สำหรับลักษณะอาการของโรคปอดบวม สามารถสรุปลักษณะของอาการ ได้ดังนี้

  • ไอมีเสมหะ
  • เจ็บหน้าอกขณะหายใจหรือไอ
  • หายใจเร็ว หายใจหอบ หายใจลำบาก
  • มีไข้ เหงื่อออก หนาวสั่น
  • คลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเสีย
  • อ่อนเพลีย
  • สำหรับผู้สูงอายุ อาจมีอาการซึม ความรู้สึกสับสน อุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติ
  • สำหรับเด็กเล็ก อาจมีอาการท้องอืด อาเจียน ซึม ไม่ดูดนมหรือน้ำ

การรักษาโรคปอดบวม

สำหรับแนวทางการรักษาโรคปอดบวม สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะในการฆ่าเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรค รวมกับการประคับประครองตามอาการของโรค และ ป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรค โดยรายละเอียดของการรักษาโรคปอดบวม มีดังนี้

  • การให้ยาปฏิชีวนะ หากในรายที่เป็นไม่มากและไม่มีอาการแทรกซ้อนอาจให้การรักษาแบบผู้ป่วยนอกด้วยยาชนิดรับประทาน กรณีนอกจากนี้การรักษาควรให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดแบบผู้ป่วยใน
  • การรักษาประคับประคองตามอาการทั่วๆไปเช่น การให้ยาลดไข้ การให้สารน้ำทางหลอดเลือด การให้ออกซิเจน การให้อาหารเหลวทางสายให้อาหารลงกระเพาะอาหารในรายที่รับประทานอาหารเองไม่เพียงพอ ฯลฯ
  • การรักษาอาการแทรกซ้อนเช่น การใช้เครื่องช่วยหายใจในรายที่เหนื่อยและหายใจเองไม่เพียงพอ การให้ยาเพิ่มความดันโลหิตหากมีความดันโลหิตลดต่ำลง ฯลฯ

การป้องกันโรคปอดบวม

แนวทางการป้องกันโรคปอดบวม สามารถทำได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรค และ ดูแลสุขอนามัยให้สะอาดถูกหลักอนามัย เพื่อป้องกันการติดเชื้อโรค ซึ่งสามารถป้องกันโรค ได้ดังนี้

  • ดูแลสภาพแวดล้อมต่างๆให้สะอาดปราศจากเชื้อโรค
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • นอนหลับให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • การงดและเลิก บุหรี่ สุรา และยาเสพติด
  • หากท่านมีโรคประจำตัวอยู่ ให้รักษาตามแผนและคำแนะนำของการรักษาโรคนั้นๆอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตที่ควรจะเป็นอยู่แล้ว
  • หากจำเป็นต้องอยู่ในสถานที่ที่มีความเสี่ยงเกิดโรค ให้ป้องกันการรับเชื้อโดยการปิดปากและจมูกเมื่อต้องสัมผัสผู้ป่วยที่ไอ หรือจาม และผู้ป่วยที่มีอาการไอหรือจาม ควรป้องกันการแพร่กระจายฝอยละอองไปยังผู้อื่น ด้วยการปิดปากและจมูกด้วยกระดาษหรือผ้าเช็ดหน้าหรือหน้ากากอนามัย
  • ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว เช่น โรคถุงลมโป่งพอง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ผู้ได้ยากดภูมิคุ้มกันต้านทานโรค เช่น ยารักษาโรคมะเร็ง ยาเคมีบำบัด ฯลฯ ควรพิจารณาฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่เป็นประจำปีทุกปี

นิ่วที่ถุงน้ำดี เรียกหลายชื่อ นิ่วน้ำดี เกิดก้อนิ่วขนาดเล็กจำนวนมากที่ถุงน้ำดี ทำให้ปวดท้อง ท้องอืดง่าย เจ็บที่ลิ้นปี่และชายโครงขาว ตัวเหลือง ตาเหลืองนิ่วถุงน้ำดี นิ่วในถุงน้ำดี นิ่วที่ถุงน้ำดี รักษานิ่วถุงน้ำดี

นิ่วในถุงน้ำดี ภาษาอังกฤษเรียก Gallstone หรือ Cholelithiasis คือ ภาวะขาดความสมดุลของสารประกอบในน้ำดี จึงทำให้เกิดการตกผลึกเป็นก้อนนิ่ว ขนาดเล็กจำนวนมากที่ถุงน้ำดี โดยทั่วไปโรคนี้ไม่รุนแรงสามารถรักษาได้ เป็นโรคของผู้ใหญ่ พบมากในคนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป อัตราการเกิดโรคผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

ข้อสังเกตุสัญญาณว่าเรามีโอกาศเสี่ยงเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดี มีข้อสังเกตุ ดังนี้

  1.  มีอาการปวดท้อง จุกเสียด และแน่น บริเวณลิ้นปีี่หรือใต้ชายโครงด้านขวา
  2. มีอาการอาหารไม่ย่อย และ อิ่มง่าย หลังจากกินอาหารที่มีความมัน
  3. มีอาการคลี่นไส้และอาเจียน พร้อมกับมีไข้
  4. มีอาการตัวเหลืองและตาเหลือง

สาเหตุของการเกินนิ่วในถุงน้ำดี

ถุงน้ำดี จะเป็นอวัยวะที่ทำงานร่วมกับตับ ซึ่งตับจะสร้างน้ำดี และนำไปเก็ยที่ถุงน้ำดี เมื่อร่างกายต้องการน้ำดีเพื่นนำไปย่อยไขมัน ถุงน้ำดีจะส่งน้ำดีผ่านทางท่อน้ำดี ไปยังลำไส้เพื่อทำหน้าที่ย่อยอาหาร การเกิดนิ่วที่ถุงน้ำดี เกิดจากการสะสมสารประกอบในน้ำดีที่ไม่สมดุล จึงทำให้เกิดการตกผลึก เป็นนิ่ว และเข้าไปอุดตันทางเดินของน้ำดี ทำให้เกิดตัวเหลืองตาเหลือง ถุงน้ำดีอักเสบ ตับอ่อนอักเสบ เป็นต้น

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดนิ่วที่ถุงน้ำดี

ปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อการเกิดก้อนนิ่วที่ถุงน้ำดี มีรายละเอียด ดังนี้

  • ภาวะคอเล็สเตอรัลสูง ในคนอ้วนทำให้ความสามารถการบีบตัวของถุงน้ำดีน้อยลง
  • การได้ฮอร์โมนเอสโตรเจน ทำให้ระดับคอเลสเตอรัลในน้ำดีสูง
  • ภาวะการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
  • เพศ ซึ่งพบว่าเพศหญิงมีโอกาสการเกิดโรคสูงกว่าเพศชาย เนื่องจากการตั้งครรถ์ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจน ทำให้คอเรสเตอรัลสูง
  • อายุที่มากขึ้น ทำให้การสะสมคอเรสเตอรัลมีมากขึ้น
  • การกินยาลดไขมัน
  • ผู้ป่วยเบาหวาน
  • การลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว ทำให้ร่างกายละลายไขมันมากไป

ชนิดของนิ่วในถุงน้ำดี

นิ่วในถุงน้ำดี สามารถแบ่งชนิดของนิ่วได้ 3 ชนิด คือ นิ่วในถุงน้ำดีชนิดที่เกิดจากคอเลสเตอรอล นิ่วในถุงน้ำดีชนิดที่เกิดจากเม็ดสีหรือบิลิรูบิน โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • นิ่วถุงน้ำดีชนิดที่เกิดจากคอเลสเตอรอล (cholesterol stones) สามารถพบได้ร้อยละ 80 ของสาเหตุการเกิดนิ่วที่ถุงน้ำดี ลักษณะจะเป็นก้อนสีขาว เหลือง หรือ เขียว เกิดจากการมีคอเลสเตอรอลมากในน้ำดี และถุงน้ำดีไม่สามารถบีบออกได้มากพอ จนเกิดการสะสม
  • นิ่วถุงน้ำดีชนิดที่เกิดจากเม็ดสี หรือ บิลิรูบิน (pigment stones) พบในผู้ป่วยที่เป็นโรคตับแข็ง หรือ คนที่มีความผิดปกติของเลือด เช่น โรคธาลัสซีเมีย โรคโลหิตจาง เป็นต้น

อาการของผู้ป่วนโรคนิ่วในถุงน้ำดี

สำหรับโรคนิ่วในถุงน้ำดี สามารถพบอาการของโรคได้ ดังนี้

  • มีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง บริเวณช่วงท้องส่วนบน หรือ ชายโครงด้านขวา มีอาการปวดร้าวไปยังบริเวณกระดูกสะบัก หรือ บริเวณไหล่ด้านขวา
  • มีอาการอาเจียน และ คลื่นไส้
  • มีอาการด้านระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย แสบร้อนที่ยอดอก มีลมในกระเพาะอาหาร โดยเฉพาะเสียดแน่นท้องบริเวณลิ้นปี่หลังรับประทานอาหารมัน
  • มีไข้
  • มีอาการตัวเหลืองตาเหลือง
  • ปัสสาวะมีสีเข้ม

การรักษาโรคนิ่วในถุงน้ำดี

สำหรับแนวทางการรักษาโรคนี้ มีแนวทางการรักษา คือ การผ่าตัดถุงน้ำดี การผ่าตัดถุงน้ำดีแบบเปิดหน้าท้อง การผ่าตัดถุงน้ำดีโดยการส่องกล้อง  การส่องกล้องตรวจรักษาท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อนในกรณีที่มีนิ่วในท่อน้ำดีร่วมด้วย โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • การรักษาเริ่มต้นด้วยการประคับประคองตามอาการ เช่น การลดกรดในกระเพราอาหาร ให้ยาปฏิชีวนะเมื่อมีการติดเชื้อแบคทีเรียของถุงน้ำดี และให้ผู้ป่วยงดการรับประทานอาหารมัน ๆ
  • การใช้ยาละลายนิ่วในถุงน้ำดี การใช้ยาสามารถรักษาได้ผลกับนิ่วบางชนิดเท่านั้น และผู้ป่วยยังต้องกินยาติดต่อกันเป็นเวลานาน
  • การสลายนิ่วด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ( Extracorporeal shock wave lithotripsy – ESWL )  เป็นการใช้คลื่นเสียงกระแทกนิ่วให้แตก แต่การรักษาด้วยวิธีนี้ป่วยจะปวดท้อง และมีอัตราการรักษาสำเร็จไม่สูง การรักษาด้วยวิธีทนี้ปัจจุบันแพทย์ไม่นิยมใช้
  • การผ่าตัดเอาถุงน้ำดีออก ( Cholecystectomy ) เป็นการรักษาที่ทำให้หายขาด แต่มีผลข้างเคียง และ ต้องป้องกันและเฝ้าระวังอาการแทรกซ้อนหลังจากการผ่าตัด ซึ่งการผ่าตัดถุงน้ำดีในปัจจุบันจะมี 2 วิธี คือ การผ่าตัดถุงน้ำดีแบบเปิดหน้าท้อง (Open cholecystectomy) การผ่าตัดถุงน้ำดีโดยการส่องกล้อง (Laparoscopic cholecystectomy)
  • การส่องกล้องเพื่อตรวจรักษาท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อน (Endoscopic retrograde cholangiopancreatography – ERCP) ใช้สำหรับการรักษาในผู้ป่วยมีนิ่วในท่อน้ำดี เพื่อเอานิ่วออกจากท่อน้ำดี

การป้องกันการเกิดโรคนิ่วในถุงน้ำดี

  • ควบคุมอาหาร ลดการกินอาหารที่มีความมัน มีคอเสเตอรัลสูง รวมถึงอาหารหวาน เช่น น้ำอัดลม อาหารกระป๋อง เป็นต้น
  • ควบคุมน้ำหนัก
  • ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
  • ควบคุมระดับคอเลสเตอรอลในร่างกาย
  • ทานอาหารจำพวกแป้งไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ผักผลไม้สด ถั่ว และธัญพืชต่างๆ เป็นต้น
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ตรวจสุขภาพประจำปี

โรคนิ่วที่ถุงน้ำดี เรียกหลายชื่อ เช่น นิ่วน้ำดี นิ่วถุงน้ำดี หรือ นิ่วในถุงน้ำดี การเกิดก้อนิ่วขนาดเล็กจำนวนมากที่ถุงน้ำดี ทำให้ ปวดท้อง ท้องอืดง่าย เจ็บที่ลิ้นปี่ และ ชายโครงขาว ตัวเหลือง ตาเหลือง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove