ลิ่มเลือดอุดตันในปอด โรคพีอี Pulmonary Embolism ภาวะการอุดกั้นในปอดจากกลิ่มเลือด ทำให้เจ็บหน้าอก หายใจไม่ออก แขนขาบวม อันตรายทำให้เสียชีวิตอย่างกระทันหันได้ลิ่มเลือดอุดตันในปอด โรคพีอี โรคระบบทางเดินหายใจ โรคปอด

โรคลิ่มเลือดอุดตันในปอด มีปัจจัยหลายประการ เช่น ภาวะพันธุกรรม อายุ โรคประจำตัว และ พฤตอกรรมการใช้ชีวิตในประจำวัน โรคนี้เป็นเพชรฆาตเงียบ คนแข็งแรงก็สามารถเสียชีวิตได้ หากประมาท โรคนี้มีอัตราการเสียชีวิตสูง รองจากโรคหัวใจและโรคมะเร็ง

สาเหตุของการเกิดโรคลิ่มเลือดอุดตันในปอด

สำหรับสาเหตุของการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในปอด เราสามารถแบ่งสาเหตุของการเกิดโรคได้ 2 ประเภท คือ สาเหตุจากการเกิดโรคมาก่อน และ สาเหตุที่ไม่พบว่ามีการเกิดโรคมาก่อน ซึ่ง สาเหตุของการเกิดโรคจากการเกิดโรคมาก่อน เช่น เกิดเมื่อได้รับการผ่าตัดและ ต้องนอนนิ่งๆเป็นเวลานานๆ การป่วยเป็นมะเร็งบางชนิด การรับประทานยาบางประเภท ภาวะการถ่ายทอดทางพันธุกรรม เป็นต้น ส่วนในสาเหตุการเกิดอีกประเภท คือ การเกิดลิ่มเลือดอุดตันโดยไม่มีสาเหตุของอาการมาก่อน

สาเหตุของการเกิดโรค มีปัจจัยสำคัญจากพฤติกรรมเสี่ยง ที่สำคัญ คือ การสูบบุหรี่ และ การไม่เคลื่อนไหวร่างกายเป็นเวลานาน

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคลิ่มเลือดอุดตันในปอด

สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดโรคลิ่มเลือดอุดตันในปอด สามารถสรุปปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการเกิดโรค ดังนี้

  • อายุของผู้ป่วย คนที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคมากที่สุด
  • ภาวะทางพันธุกรรม สำหรับคนที่มีประวัติคนในครอบครัวเคนเป็นโรคลิ่มเลือด อาจมีความความเสี่ยงให้เกิดโรคลิ่มเลือดอุดตันในปอดมากขึ้น
  • การเกิดอุบัติเหตุอย่างรุนแรง เช่น กระดูกหัก กล้ามเนื้อฉีก การถูกกระแทดอย่างรุนแรง เป็นต้น
  • การเกิดโรคบางชนิด เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็งปอด โรคหัวใจ โรคเหล่านี้มัโอกาสเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอด
  • เคยเข้ารับการผ่าตัดใหญ่ หรือ เข้ารับการทำเคมีบำบัด
  • อยู่ในภาวะร่างกายไม่ได้เคลื่อนไหวเป็นเวลานาน เช่น ผู้ป่วยติดเตียง เป็นต้น
  • การสูบบุหรี่
  • โรคอ้วน ภาวะน้ำหนักตัวเกินมาตราฐาน
  • ภาวะตั้งครรภ์
  • การได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจน หรือ ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน

อาการของโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด

สำหรับอาการของผู้ป่วยโรคลิ่มเลือดอุดตันในปอด จะแสดงอาการต่างๆ ซี่งความรุนแรงขึ้นอยู่กับขนาดของลิ่มเลือดที่อุดตันในปอด โดย อาการต่างๆ สามารถสังเกตุ ได้ดังนี้

  • หายใจไม่ออก หายใจลำบาก โดยเกิดแบบฉับพลัน และ จะมีอาการหนักขึ้นหากออกแรง หรือ ออกกำลังกาย
  • เจ็บหน้าอก รู้สึกแน่นหน้าอก เมื่อหายใจเข้าลึกๆ อาการเจ็บหน้าอกจะไม่หายแม้นั่งพักแล้วก็ตาม
  • มีอาการไอเป็นเลือด มีเลือดปนมากับเสมหะเวลาไอ
  • มีไข้สูง
  • วิงเวียนศีรษะ
  • เหงื่อออกมาก
  • หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
  • ชีพจรเต้นอ่อน
  • ผิวมีสีเขียวคล้ำ
  • ปวดขา และ มีอาการขาบวมเฉพาะน่อง
  • หน้ามืดเป็นลม และ หมดสติ

อาการต่างๆนี้ มีอาการของโรคที่รุนแรง ผู้ป่วยโรคลิ่มเลือดไปอุดตันในปอด สามารถเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว

การรักษาโรคลิ่มเลือดอุดตั้นในปอด

สำหรับแนวทางการรักษาโรคนี้ คือ การรักษาลิ่มเลือดที่เกิดขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้ลิ่มเลือดมีขนาดใหญ่ขึ้น และ ไม่ให้เกิดลิ่มเลือดใหม่ หากรักษาได้ทัน จะช่วยป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน แนวทางการรักษาโรค มีดังนี้

  • การใช้ยารักษา โดยใช้ ยาต้านการแข็งตัวของเลือด และ ยาสลายลิ่มเลือด
  • การสอดท่อเข้าทางหลอดเลือด เพื่อกำจัดลิ่มเลือดที่อุดตัน
  • การใช้ตะแกรงกรองลิ่มเลือด เพื่อไม่ให้ไปอุดกั้นที่ปอด การรักษาแนวทางนี้ สำหรับคนที่ไม่สามารถรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดได้
  • การผ่าตัด โดยผ่าตัดกำจัดลิ่มเลือด

การป้องกันโรคลิ่มเลือดอุดตันในปอด

แนวทางการป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในปอด คือ การลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่ทำให้เกิดลิ่มเลือด แนวทางการป้องกัน มีดังนี้

  • ควบคุมน้ำหนักตัว ให้อยู่ในมาตราฐาน
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การเคลื่อนไหวร่างกายให้มากขึ้น เป็นสิ่งจำเป็นช่วยป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตันได้
  • เลิกสูบบุหรี่
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุทั้งหลายทั้งปวง

โรคลิ่มเลือดอุดตันในปอด โรคพีอี ( Pulmonary Embolism ) ภาวะการอุดกั้นในปอด ที่เกิดจากกลิ่มเลือด ส่งผลให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก หอบเหนื่อย และ ไอ เป็นอันตรายทำให้เสียชีวิตอย่างฉับพลันได้ สาเหตุ อาการ และ การรักษา ทำอย่างไร

โรคเหน็บชา โรคขาดวิตามินบี1 มี 2 ลักษณะ โรคเหน็บชาในเด็ก โรคเหน็บชาในผู้ใหญ่ เป็นโรคระบบประสาทในประเทศไทยที่พบบ่อยในผู้ที่ติดสุราเรื้อรัง กินปลาร้า กินอาหารดิบ

โรคเหน็บชา อาการมือเท้าชา โรคระบบประสาท โรคขาดวิตามินบี1

  • อาการชา หมายถึง ภาวะอวัยวะไม่สามารถรับความรู้สึกได้ หรือ ความสามารถในการสัมผัสบางอย่างเสียไปชั่วขณะหนึ่ง เช่น  ไม่เจ็บ ไม่รู้สึก ไม่ร้อนไม่เย็น เป็นต้น
  • อาการเหน็บ หมายถึง อาการเจ็บ ที่มาจากสาเหตุการกดทับ ขาหรือแขนนานๆ จนบางครั้งมีอาการอ่อนแรงจนเหยียดขาไม่ออกและลุกขึ้นไม่ได้

เหน็บชาในผู้ใหญ่

สำหรับอาการเหน็บชาในผู้ใหญ่ สามารถแบ่งลักษณะของอาการได้ 3 ประเภท คือ เหน็บชาชนิดผอมแห้ง เหน็บชาชนิดเปียก และ เหน็บชาชนิดWernicke-Korsakoff Syndrome  โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • เหน็บชาชนิดผอมแห็ง ( Dry Beriberi ) มี อาการชาแบบไม่บวม ชาปลายมือและปลายเท้า กล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรงไม่มีกำลัง โดยเฉพาะที่ขาส่วนล่าง อาจทดสอบได้โดยให้ผู้ป่วยนั่งยอง ๆ แล้วลุกขึ้นเอง ซึ่งผู้ป่วยจะทำไม่ได้ เจ็บปวด พูดไม่ชัด พูดติดขัด อาเจียน มีความผิดปกติทางจิตใจ สับสน ตาขยับเองโดยที่ไม่รู้ตัว อัมพาต
  • เหน็บชาชนิดเปียก ( Wet Beriberi ) มีอาการบวมร่วมกับอาการชาปลายมือปลายเท้า มีอาการบวม น้ำคั่งในช่องท้อง น้ำคั่งในช่องปอด ขาส่วนล่างบวม หอบเหนื่อย หายใจตื้นขณะทำกิจกรรมต่าง ๆ ตื่นนอนขึ้นมามีอาการหายใจตื้น หัวใจโตและเต้นเร็ว อาจทำให้หัวใจวายในกรณีไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที
  • เหน็บชา Wernicke-Korsakoff Syndrome พบบ่อยในผู้ที่ติดสุราเรื้อรัง เคลื่อนไหวลูกตาได้น้อย เดินเซ มีความผิดปกติทางจิตใจ ผู้ที่เป็นมากอาจทำให้เกิดอาการทางจิตที่เรียกว่า Korsakoff’s Psychosis

สาเหตุของโรคเหน็บชา

โรคเหน็บชานั้นมีสาเหตุมาจาก พฤติกรรมการกินอาหาร โดยร่างกายได้รับวิตามินบี1 ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย พฤติกรรมที่ทำให้ขาดวิตามินบี 1 คือ การกินข้าวที่ซาวน้ำออกมากๆ กินอาหารที่มี ใบชา ใบเมี่ยง หมากพลู ปลาร้า ปลาส้มดิบ แหนมดิบ หอยลายดิบ ปลาน้ำจืดดิบ เป็นต้น หรือ ความผิดปรกติของร่างกายจากความสามารถในการเผาพลาญวิตามินบี1 เร็วขึ้น เช่น การตั้งครรภ์ ภาวะหญิงให้นมบุตร เด็กวัยเจริญเติบโต เป็นต้น นอกจากพฤติกรรมการบริโภค การเปรี่ยนแปลงของร่างกาย ยังมีสาเหตุอื่น เช่น การผ่าตัดทางเดินอาหาร การฟอกไต  โรคพิษสุราเรื้อรัง การบกพร่องทางพันธุกรรม เป็นต้น

กลุุ่มคนที่เสี่ยงการเกิดโรคเหน็บชา

สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเหน็บชา เป็นกลุ่มที่มีพฤติกรรมเข้ากับสาเหตุของการเกิดโรคที่กล่าวมาข้างต้น สามารถสรุปได้ ดังนี้

  • สตรีที่ตั้งครรภ์
  • สตรีหลังการตั้งครรภ์ ซึ่งอยู่ในช่วงเวลาการให้นมบุตร
  • เด็กวัยเจริญเติบโต
  • กลุ่มคยวัยทำงานที่ทำงานหนัก เช่น กรรมกร ชาวนา นักกีฬา เป็นต้น
  • คนมีอายุมาก
  • คนที่รับประทานอาหารที่มีวิตามินบี 1 น้อย
  • ผู้ป่วยโรคตับเรื้อรัง เช่น ตับแข็ง เป็นต้น
  • ผู้ป่วยโรคไต ที่ต้องฟอกไต
  • บุตรหลานของผู้ที่มีประวัติเป้นโรคเหน็บชา
  • นักดื่ม ที่ชอบดื่มสุราเป็นประจำ รวมถึงผู้ป่วยโรคพิษสุราเรื้อรัง

อาการของผู้ป่วยโรคเหน็บชา

สำหรับอาการผู้ป่วยโรคเหน็บบชานั้น จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ อาการของผู้ป่วยเหน็บชาในเด็ก และ อาการของผู้ป่วยเหน็บชาในผู้ใหญ่ โดยรายละเอียดของอาการของโรค มีดังนี้

  • อาการโรคเหน็บชาในเด็ก ( Infantile beriberi ) จะพบในทารก อายุไม่เกิน 6 เดือน พบได้กับทารกที่กินนมแม่ ที่ขาดสารอาหาร ขาดวิตามินบี1 จะมีอาการซึม หน้าเขียว ตัวเขียว หอบเหนื่อย ตัวบวม ขาบวม หัวใจโต หัวใจเต้นเร็ว ร้องเสียงแหบ ร้องไม่มีเสียง ตากระตุก หนังตาบนตก ชักหมดสติ เป็นต้น
  • อาการโรคเหน็บชาในผู้ใหญ่ ( Adult beriberi ) ผู้ป่วยจะอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เบื่ออาหาร ท้องผูก ท้องอืดเฟ้อ มีอาการชา  ความจำเสื่อม แต่ตรวจร่างกายแล้วไม่พบสิ่งผิดปกติ ต่อมา ผู้ป่วยจะรู้สึกชาบริเวณปลายมือปลายเท้า มีอาการปวดแสบและเสียวแปลบร่วมด้วย บางรายอาจเป็นตะคริว แขนขาไม่มีแรง โรคเหน็บชาในผู้ใหญ่ สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ โรคเหน็บชาชนิดผอมแห้ง โรคเหน็บชาชนิดเปียก และ Wernicke-Korsakoff syndrome

วิธีรักษาโรคเหน็บชา

การรักษาโรคเหน็บชานั้นเกิดจากขาดวิตามินบี 1 การรักษาแพทย์จะให้วิตามินบี 1 เสริมในขนาด 10 ถึง 20 มิลลิกรัม เป็นการเสริมวิตามินโดยการกิน หรือ ฉีดก็ได้ สำหรับในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจวาย ต้องให้ยาฉีดวิตามินบี 1 คู่กับการให้ยาขับปัสสาวะ และจำเป็นอาจต้องเอกซเรย์ ตรวจเลือด และตรวจพิเศษอื่น ๆ สำหรับผู้ป่วยที่มีสาเหตุจากพฤติกรรมการกิน ให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน

การป้องกันเหน็บชา

การป้องกันโรคเหน็บชา นั้นสามารถป้องกันจากสาเหตุของการเกิดโรค โดยสามารถสรุปการป้องกันโรคเหน็บชาได้ ดังนี้

  • เพิ่มการกินอาหารประเภทธัญพืช เนื่องจากเป็นอาหารที่มี วิตามินบี 1 สูง
  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู โดยเฉพาะ เนื้อวัว เนื้อปลา และ เนื้อหมูไม่ติดมัน ตับ ไต และไข่แดง นม เป็นต้น
  • กินผักที่มีวิตมินบี1 สูง เช่น หน่อไม้ฝรั่ง ฟักทอง กะหล่ำดาว ผักโขม เป็นต้น

โรคเหน็บชา เรียกอีกโรค คือ โรคขาดวิตามินบี1 แบ่งได้ 2 ลักษณะ โรคเหน็บชาในเด็ก และ โรคเหน็บชาในผู้ใหญ่ สาเหตุของโรค อาการของโรค การรักษาและการป้องกันการเกิดโรค โรคจากระบบประสาทในประเทศไทย พบบ่อยในผู้ที่ติดสุราเรื้อรัง กินปลาร้า กินอาหารดิบ


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove