ใบเตย Pandan leaves สมุนไพร กลิ่นหอม ต้นเตยเป็นอย่างไร สรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ บำรุงหัวใจ รักษาเบาหวาน ใบเตยนิยมนำทำอาหารให้กลิ่นหอม และ ให้สีเขียวจากธรรมชาติ

เตย สมุนไพร ใบเตย สรรพคุณของเตย

ต้นเตย หรือที่เรียกกันว่า เตยหอม มีชื่อภาษาอังกฤษ ว่า Pandan leaves ชื่อวิทยาศาสตร์ของเตย คือ  Pandanus amaryllifolius Roxb. ชื่อเรียกอื่นๆ ของเตยนั้น เช่น ใบส้มม่า ส้มตะเลงเครง ส้มปู ส้มพอดี ผักเก็งเค็ง ต้นลำเจียก เตยทะเลลำ เป็นต้น

เตยในสังคมไทย

พืชที่อยู่คู่ครัวไทย หลีกหนีไม่พ้น หนึ่งในในั้น คือ ใบเตยหอม เนื่องจากอาหารไทยนิยมใช้ใบเตยมาประกอบอาหาร โดยการนำมาแต่งกลิ่นและสีของอาหาร ใบเตยจะให้สีเขียวแบบธรรมชาติ การปลูกใบเตยจึงมีอยู่ทั่วไปในทุกบ้านของสังคมไทย ปัจจุบัน เตยเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย มีการส่งออกใบเตยรูปแบบใบแช่แข็งในหลายประเทศทั่วโลกที่มีชุมชนชาวไทยอาศัยอยู่

ชนิดของเตย

สำหรับต้นเตยนั้น มี 2 ชนิด คือ เตยหนาม และ เตยไม่มีหนาม โดยรายละเอียดดังนี้

  • เตยหนาม เรียกว่า ต้นลำเจียก เตยทะเลลำ ซึ่ง ต้นเตยจะออกดอก และดอกมีกลิ่นหอม เตยหนามนั้นไม่นิยมนำใบมาประกอบอาหาร และนิยมนำมาใช้ทำเครื่องจักสาน
  • เตยไม่มีหนาม เรียกว่า เตย หรือ เตยหอม ซึ่งลักษณะของลำต้นจะเล็ก ไม่มีดอก นิยมนำมาใช้ประกอบอาหาร หรือ ทำขนมหวาน

ลักษณะของต้นเตย

เตย เป็นไม้ยืนต้น มีพุ่มเล็ก ลักษณะเป็นกอ ลำต้นของเตยอยู่ใต้ดิน ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยว ใบเป็นทางยาว สีเขียวเข้ม มัน ขอบของใบเรียบมีกลิ่นหอม ซึ่งใบของเตย เราสามารถนำมาทำสีผสมอาหาร ให้สีเขียวได้

คุณค่าทางอาหารของเตย

นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของใบเตยหอม ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 35 กิโลแคลลอรี่ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย เบต้าแคโรทีน 3 ไมโครกรัม วิตามินซี 8 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.2 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 1.2 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 124 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.1 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 27 มิลลิกรัม คาร์โบไฮเดรต 4.6 กรัมและโปรตีน 1.9 กรัม

ใบเตย นั้นจะมีน้ำมันหอมระเหย และสารให้สีเขียว ซึ่งในน้ำมันหอมระเหย นั้นประกอบไปด้วยสารหลายชนิด เช่น เบนซิลแอซีเทต (benzyl acetate) และแอลคาลอยด์ (alkaloid) (Fatihanim et.al.,2008) ลินาลิลแอซีเทต (linalyl acetate ) ลินาโลออล (linalool) และเจอรานิออล (geraniol) และสารที่ทำให้ มีกลิ่นหอม คือคูมาริน (coumarin) และเอทิลวานิลลิน (ethyl vanillin)

สรรพคุณของเตย

เตย เรานำสามารถนำมาทำเป็นสมุนไพร เพื่อประโยชน์การบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ได้ทั้งราก และ ใบ ซึ่งรายละเอียดดังนี้

  • ใบเตย มีสรรพคุณ บำรุงหัวใจ และช่วยลดการกระหายน้ำ มีกลิ่นหอม เมื่อนำไปต้มน้ำ ดื่มจะรู้สึกชุ่มคอ และให้ความสด นิยมนำมาน้ำผสมกับขนมไทย ใหเกลิ่นหอมและมีสีเขียว
  • รากเตย มีสรรพคุณ ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ลดระดับน้ำตาลในเลือด

โทษของเตย

การบริโภคเตยให้ปลอดภัยสูง ไม่มีข้อมูลทางการแพทย์รายงานว่าการบริโภคใบเตยมีอันตราย แต่พืชทุกชนิดจำเป็นต้องใช้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง การกินใบสดๆ นำมาเคี้ยวรับประทาน กลิ่นที่หอมของใบเตย อาจทำให้เกิดอาหารอาเจียนได้ โดยการใช้ประโยชน์จากใบเตย ต้องนำไปต้มเพื่อให้ได้กลิ่นหอม หรือ การนำเอาใบเตยมาบดให้ละเอียด และ คั้นเอาน้ำสีเขียวจากใบเตยมาใช้ประโยชน์ในการรับประทาน

ใบเตย ( Pandan leaves ) สมุนไพร กลิ่นหอม สีเขียว ลักษณะของต้นเตย เป็นอย่างไร สรรพคุณของใบเตย ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงหัวใจ รักษาเบาหวาน ใบเตย นิยมนำมาประกอบ อาหาร ให้กลิ่นหอม และ สีเขียว

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.   Take care of yourself first with good information. The content on this website is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick or feel unwell You should consult a doctor. to receive proper treatment For more information, please see our Terms and Conditions of Use.

พริกไทย สมุนไพร เมล็ดพริกไทยให้รสเผ็ดร้อน ต้นพริกไทยเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของพริกไทย สรรพคุณช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ โทษของพริกไทย มีอะไรบ้างพริกไทย สมุนไพร สรรพคุณของสมุนไพร สมุนไพรไทย

พริกไทย ภาษาอังกฤษ เรียก Pepper ชื่อวิทยาศาสตร์ของพริกไทย Piper nigrum L. ลักษณะของต้นพริกไทย สายพันธุ์พริกไทย  ประโยชน์ของพริกไทย สรรพคุณของพริกไทย ขับปัสสาวะ ขับสารพิษ ช่วยควบคุมน้ำหนัก ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม บำรุงกระดูก บำรุงฟัน บำรุงสายตา  ยาอายุวัฒนะ ต้านมะเร็ง มีสารต้านอนุมูลอิสระ ขัยเสมหะ ใช้กำจัดเชื้อจุลินทรีย์

ต้นพริกไทย ภาษาอังกฤษ เรียก Pepper มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Piper nigrum Linn พริกไทย มีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น พริกน้อย พริก พริกไทยดำ พริกไทยล่อน  พริกขี้นก ชื่อเรียกจะแตกต่างกันออกไปตาม ท้องถิ่น เป็นพืชประจำถิ่นในประเทศอินเดีย และยังเป็น พืชเศรษฐกิจในเขตร้อน ประเทศที่ผลิตพริกไทย จำนวนมาก เช่น เวียตนาม อินโดนีเซีย บราซิล และอินเดีย พริกไทย

พริกไทย นิยมนำมาทำเป็นเครื่องปรุงอาหาร เพิ่มรสชาติ พริกไทยมีสรรพคุณ ช่วยขับปัสสาวะ ขับสารพิษในร่างกาย ช่วยควบคุมน้ำหนัก ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม บำรุงกระดูก บำรุงฟัน บำรุงสายตา  ยาอายุวัฒนะ ต้านมะเร็ง มีสารต้านอนุมูลอิสระ ขับเสมหะ  ใช้กำจัดเชื้อจุลินทรีย์ พริกไทยมีแคลเซียมสูง โดยเฉพาะพริกไทยอ่อน ช่วยในการบำรุงกระดูก บำรุงฟัน ป้องกันโรคกระดูกพรุนได้  พริกไทย มี ฟอสฟอรัสและวิตามินซีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ชะลอกการเสื่อมสภาพของเซลล์ ลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง มีเบต้าแคโรทีน ช่วยในการมองเห็น

ลักษณะของต้นพริกไทย

ต้นพริกไทย สามารถปลูกได้ในเขตร้อน หรือในเขตอบอุ่น โดยปกติแล้วสามารถปลูกได้โดยการเพาะเมล็ด หรือ การปักชำ จัดพืชตระกูลไม้เลื้อย ลักษณะของต้นพริกไทยเป็นอย่างไร

  • ลำต้นพริกไทย พริกไทยเจริญในแนวดิ่ง ความสูงประมาณ 500 เซ็นติเมตร ลำต้นจะสร้างรากพิเศษสั้นๆบริเวณข้อเพื่อยึดเกาะสิ่งรอบข้าง ช่วยในการพยุงลำต้น ลำต้นเป็นข้อๆ รากของต้นพริกไทยจะเกิดบริเวณข้อตามลำต้นเป็นรากเล็กๆ
  • ใบพริกไทย ใบจะมีสีเขียว ใหญ่เหมือนใบโพ ใบเดี่ยว รูปรี เรียงสลับ โคนใบและปลายใบแหลม ใบสีเขียวเข้ม
  • ดอกพริกไทย พริกไทยจะดอกเล็กจะออกช่อเป็นพวงตามข้อ ดอกสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน
  • เมล็ดของพริกไทย มีลักษณะกลมเป็นพวง  ลำต้นแตกแขนงออกเป็นพุ่ม ผลทรงกลมแบบเมล็ด ผลอ่อนมีสีเขียวผลสุกมีสีแดง

สรรพคุณของต้นพริกไทย

พริกไทยสามารถนำมาทำสมุนไพร ได้หลายส่วน ประกอบด้วย ดอก เมล็ด ใบ เถา ราก

  • ดอกของพริกไทย มีสรรพคุณช่วยลดความดันตา แก้อาการตาแดงจากความดันโลหิตสูง
  • เมล็ดของพริกไทย มีสรรพคุณช่วยย่อยอาหาร ขับสารพิษในร่างกาย ขับเสมหะ บำรุงธาตุ แก้ท้องอืด ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ แก้ระดูขาว
  • ใบของพริกไทย มีสรรพคุณ แก้จุกเสียด แก้ปวดท้อง
  • เถาของพริกไทย ใช้ขับเสมหะ แก้ท้องร่วง และท้องเดิน
  • รากของพริกไทย ใช้ขับลมในลำไส้ แก้ปวดท้อง ลดอาการวิงเวียน ช่วยย่อยอาหาร ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ
  • น้ำมันหอมระเหยจากพริกไทย สามารถใช้รักษาหวัด ทำให้หายใจสะดวก

พริกไทยยังมีสรรพคุณในการกำจัดเชื้อจุลินทรีย์หลายชนิด และนิยมนำมาถนอมอาหาร เช่น ทำไส้กรอก กุนเชียง หมูยอ

โทษของพริกไทย

สำหรับการใช้ประโยชน์จากพริกไทย หากใช้อย่างไม่เหมาะสมจะทำให้เกิดโทษต่อร่างกายได้ เนื่องจากคุณสมบัติของพริกไทย คือ มีฤทธ์ร้อน รสเผ็ด การรับประทานพริกไทยมีข้อควรระวัง ดังนี้

  • สำหรับผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร โรคเกี่ยวกับกระเพาะและลำไส้ ควรลดการกินพริกไทย เพื่อให้ระบบลำไส้ลดการระคายเคืองในระบบทางเดินอาหาร
  • การรับประทานพริกไทยมากเกินไป ทำให้เกิดอาการอักเสบได้ เช่น ตาอักเสบ คออักเสบ เป็นแผลในปาก และ ฟันอักเสบเป็นหนอง เป็นต้น

พริกไทย พืชพื้นบ้าน สมุนไพร นิยมรับประทานเมล็ดพริกไทย ลักษณะของต้นพริกไทยเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของพริกไทย สรรพคุณของพริกไทย เช่น ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ โทษของพริกไทย มีอะไรบ้าง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove