กานพลู clove tree สมุนไพร ส่วนประกอบของเครื่องเทศ มีประโยชน์มากมาย บำรุงเหงือกและฟัน ช่วยขับลม ขับของเสียออกจากร่างกาย ลักษณะของต้นกานพลูเป็นอย่างไร

กานพลู สมุนไพร สรรพคุณของกานพลู

ต้นกานพลู ภาษาอังกฤษ เรียก clove tree ชื่อวิทยาศาสตร์ของกานพลู คือ SyZagium aromaticum สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของกานพลู เช่น จันจี่ ดอกจัทร์ เป็นต้น แหล่งกำเนิดของกานพลู เป็นพรรณไม้พื้นเมืองของหมู่เกาะโมลุกกะ ปลูกในเขตร้อนทั่วโลก ชอบความชื้นสูง พบได้ตามป่าดงดิบ ประเทศฟิลิปปินส์มีกานพลูเป็นพืชประจำท้องถิ่น

กานพลูในประเทศไทย สำหรับการปลูกกานพลูในประเทศไทย พบว่าสามารถปลูกได้เฉพาะเพียงบางพื้นที่เท่านั้น และ การปลูกกานพลูในประเทศไทยมีน้อยมาก แต่ความต้องการในการใช้ประโยชน์จากกานพลูมาก โดยใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องเทศในอาหาร ประเทศไทยจึงต้องนำเข้ากานพลูเป็นหลัก โดยการนำเข้ากานพลูมีมากกว่า 100 ตันต่อปี และ ประเทศที่ส่งกานพลูเข้ามาขายในประเทศไทย คือ ประเทศอินโดนีเชีย

นอกจากจะเป็นส่วนประกอบของเครื่องเทศแล้ว กานพลูสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านการรักษาโรค ซึ่งตำรายาสมุนไพรของไทยใช้ดอกกานพลูแห้งนำมาดองเหล้า ใช้แก้ปวดฟัน นำดอกกานพลูแห้งบดให้ละเอียดชงกับน้ำดื่ม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลม ใช้ทำยาบ้วนปากช่วยระงับกลิ่นปาก

ลักษณะของต้นกานพลู

ต้นกานพลูเป็นไม้ยืนต้น ชอบความชื้นสูง พบได้ตามป่าดงดิบ  ลักษณะของต้นกานพลู มีดังนี้

  • ลำต้นกานพลู ลักษณะลำต้นตั้งตรง เปลือกเรียบ สีเทาความสูงประมาณ 10 เมตร เรือนยอดเป็นรูปกรวยคว่ำ แตกกิ่งต่ำ
  • ใบกานพลู ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยวรูปวงรี ออกเรียงแบบตรงข้าม ขอบเป็นคลื่น สีแดงหรือน้ำตาลอมแดง และบริเวณเนื้อใบจะค่อนข้างเหนียวและมัน 
  • ดอกกานพลู ออกดอกเป็นช่อที่ซอกใบ โดยดอกนั้นมักร่วงหล่นจากต้น กลีบดอกมีสีขาว ส่วนกลีบเลี้ยงและฐานดอกจะมีสีแดงหนาๆ แข็งๆ ส่วนผลจะมีลักษณะรูปทรงไข่

คุณค่าทางโภชนาการของกานพลู

สำหรับการบริโภคกานพลูเป็นอาหารนิยมใช้ดอกแห้งกานพลูเป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของกานพลู พบว่ากานพลูมีสารสำคัญมากมาย เช่น  แคลเซียม ฟอสฟอรัส ในปริมาณสูง

ดอกของการพลูสามารถสกัดน้ำมันระเหยได้ จากการศึกษาพบมีสาร ยูยูจีนอลอะซีเตท (eugenolacetate) จีนอล (eugenol) และประมาณ 20 % ของน้ำมันกานพลู มี กรดแกลโลแทนนิค ( gallotannic acid ) ประมาณ 10% มีสารโครมีนส์ ( chromenes ) สารคารีโอไฟลีน ( caryophylline )  และกรดไตรเตอฟีน ( triterpene acid )

สรรพคุณของกานพลู

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกานพลู ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ดอก ใบ เปลือกของลำต้น และ ผล รายละเอียดของสรรพคุณของกานพลู มีดังนี้

  • ดอกของกานพลู สรรพคุณแก้ปวดฟัน ช่วยละลายเสมหะ แก้หอบหืด บรรเทาเลือดออกตามไรฟัน แก้ปวดท้อง แก้โลหิตเป็นพิษ รักษาเหน็บชา ขับน้ำคาวปลา แก้ท้องอืด
  • ใบของกานพลู สรรพคุณรักษาแผลไฟไหม้ แก้ผื่นคันแก้ปวดท้อง
  • น้ำมันกานพลู สรรพคุณช่วยบรรเทาการชักกระตุก แก้ปวดท้อง แก้ปวดฟัน มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรคหลายชนิด ใช้เป็นยาไล่ยุง
  • เปลือกต้นกานพลู สรรพคุณแก้ปวดท้อง แก้ลม

วิธีใช้กานพลูรักษาอาการปวดฟัน สามารถทำได้โดย ใช้สำลีชุบน้ำมันกานพลู หยดในรูฟันที่มีอาการปวด หรือใช้ฟันที่ปวดคาบสำลีที่ชุบน้ำมันกานพลูไว้ ก็สามารถบรรเทาอาการปวดฟันได้ดี

วิธีใช้กานพลูมากำจัดกลิ่นปาก โดย ดอมดอกกานพลูประมาณ 1-2 นาที และบ้วนทิ้ง ก็สามารถลดกลิ่นปากได้

วิธีใช้กานพลู รักษาอาการท้องอืด สามารถทำได้โดย นำดอกกานพลูมาบด และต้มน้ำรับประทาน จะช่วยให้ถ่ายง่ายขึ้น และขับลมได้ด้วย

โทษของกานพลู

การนำกานพลูมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆนั้นจำเป็นต้องนำมาใช้ประโยชน์อย่างถูกวิธีและได้รับการแนะนำจากแพทย์ผู้มีความรู้ ซึ่งหากนำกานพลูมาบริโภคในปริมาณที่มากเกินไป จะส่งผลเสียต่อร่างกาย โดยโทษของกานพลู สามารถสรุป ได้ดังนี้

  • กานพลูทำให้เกิดอันตรายมีฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือด เป็นอันตรายต่อร่างกาย สำหรับสตรีมีครรภ์และสตรีอยู่ในระหว่างการให้นมบุตร ควรระวังการใช้กานพลู
  • ดอกกานพลูมีสาร eugenol ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังได้ ไม่ควรใช้น้ำมันกานพลูในปริมาณที่มากเกินไป
  • น้ำมันจากดอกกานพลู ใช้รักษาอาการปวดฟัน หรือ เพื่อระงับกลิ่นปากได้ แต่อาจทำให้เกิดการระคายเคืองเหงือกและเยื่อบุในช่องปากได้

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

กระท้อน ( Santol ) ผลไม้ สมุนไพร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณบำรุงร่างกาย บำรุงสายตา บำรุงผิว กระตุ้นน้ำย่อย ช่วยเจริญอาหาร ควบคุมน้ำตาลในเลือด ลดคอเรสเตอรอล

กระท้อน สมุนไพร ผลไม้ สรรพคุณของกระท้อน

ต้นกระท้อน เป็นชื่อ ผลไม้ ที่คุ้นหูคนไทยเป็นอย่างดี ตำบักต้อง หรือ ตำกระท้อน เมนูบ้านๆ แต่กระท้อนมีสรรพคุณ สำหรับ คนรักสวยรักงาม กระท้อนป้องกันสิว กระชับผิว ลดหน้ามันได้ สนใจใน กระท้อน แล้วซิ มาทำความรู้จักกับกระท้อนกัน ว่าผลไม้ชนิดนี้ เป็นอย่างไร มีสรรพคุณการรักษาโรคอะไรบ้าง กระท้อนเป็นผลไม้ มาจากอินโดนีเซียและมาเลเซีย แต่คนไทยรู้จักกระท้อนนานมาก

กระท้อน ภาษาอังกฤษ เรียก Sentul หรือ Santol หรือ Red sentol หรือ Yellow sentol กระท้อนมีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Sandoricum koetjape ( Burm. f.) Merr. ชื่อเรียกอื่นๆของกระท้อน อาทิ เช่น เตียน, ล่อน, สะท้อน,มะต้อง, มะติ๋น ,สตียา, สะตู, สะโต เป็นต้น ผลกระท้อน มีวิตามินเอ วิตามินซีสูง และยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยบำรุงสายตา บำรุงผิว ดีต่อระบบขับถ่าย เป็นยาระบายอ่อนๆ กระท้อนช่วยเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต โปรตีนและไขมัน ได้ดี ส่วนใบช่วยขับเหงื่อ ขับของเสียออกทางผิวหนัง เปลือกใช้รักษาโรคผิวหนังได้ดี เนื่องจากมีสรรพคุณยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย

ลักษณะของต้นกระท้อน

ต้นกระท้อน เป็นไม้ยืน เป็นไม้ผลัดใบ ที่มีขนาดใหญ่ ความสูงประมาณ 30 เมตร ที่ลำต้นมีกิ่งก้านตั้งแต่กลางลำต้นเป็นต้นไป ใบมีขนาดใหญ่ เป็นทรงพุ่มใหญ่

  • เปลือกของต้นกระท้อน เป็นผิวเรียบ สีน้ำตาล เนื้อไม้ของต้นกระท้อน เมื่อยังเป็นต้นอ่อนจะหักง่าย เมื่ออายุมากขึ้น เนื้อไม้จะมีความแข็งปานกลาง
  • ใบของกระท้อน เป็นใบเดี่ยว แทงออกจากปลายกิ่ง ใบมีลักษณะรูปไข่ สีเขียว ปลายใบมน ใบค่อนข้างเหนียว เนื้อใบหยาบ มีขนอ่อนๆและสากมือ ขอบใบหยักเป็นลูกคลื่น
  • ดอกของกระท้อน จะออกเป็นช่อ ออกตามซอกใบและซอกกิ่ง แต่ละกิ่งจะมีประมาณช่อดอก 4 ช่อ ดอกยาว ดอกตูมมีสีเขียว ดอกบานมีสีเหลือง ดอกของกระท้อนจะพัฒนาเป็นผล
  • ผลและเมล็ดของกระท้อน ผลกระท้อนมีลักษณะกลม ผิวเปลือกเรียบ และมีขนทั่วผล ที่ผลจะมียางสีขาว ผลแก่จะมีสีน้ำตาล ผิวเปลือกหยาบก้าน มีรอย่น เปลือกจะมีความหนา ภายในผลจะมีเนื้อผล และเมล็ด สามารถนำเมล็ดมาขยายพันธุ์ต่อได้

คุณค่าทางโภชนาการของกระท้อน

นักโภชนาการได้มีการศึกษาผลกระท้อนขนาดต่อ 100 กรัม พบว่ามีสารอาหารมากมาย ประกอบด้วย โปรตีน 0.118 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม กากใยอาหาร 0.1 กรัม แคลเซียม 4.3 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 17.4 มิลลิกรัม เหล็ก 0.42 มิลลิกรัม แคโรทีน 0.003 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.045 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.741 มิลลิกรัม และวิตามินซี 86.0 มิลลิกรัม

สรรพคุณของกระท้อน

คุณค่าทางสมุนไพร สำหรับการรักษาโรคของกระท้อนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายส่วน ประกอบด้วย ผล ใบ เปลือกและเนื้อไม้ รายละเอียดดังนี้

  • ผลของกระท้อน ใช้บำรุงร่างกาย บำรุงสายตา บำรุงผิว สร้างภูมต้านทานโรค ช่วยกระตุ้นน้ำย่อย ช่วยเจริญอาหาร ป้องกันมะเร็ง ลดน้ำหนัก ควบคุมน้ำตาลในเลือด และลดคอเรสเตอรอล
  • เปลือกของกระท้อน มีสรรพคุณต้านเชื้อจุลินทรีย์ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย รักษาการอักเสบ รักษาแผลในปาก ป้องกันฟันผุ แก้อาการท้องเสีย รักษาอาการคันตามผิวหนัง
  • ใบของกระท้อน ช่วยในการขับเหงื่อ ขับของเสียออกจากร่างกาย สำหรับสตรีหลังคลอด ช่วยลดไข้ ลดอาการหนาวสั่น รักษากลากเกลื้อน และรักษาโรคผิวหนัง
  • รากของกระท้อน ช่วยดับพิษร้อน ช่วยขับลม แก้ท้องเสีย ช่วยลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ

การปลูกกระท้อน

กระท้อนชอบพื้นที่ลุ่ม สำหรับการปลูกกระท้อนให้ยกร่องสูง ทนน้ำท่วม

  • การเตรียมแปลง ต้องไถให้เรียบ กำจัดวัชพืชออก ขุดลึกและกว้างประมาณ 50 เซนติเมตร เว้นระยะห่างต่อหลุ่มประมาณ 6 เมตร
  • การปลูก แนะนำให้ปลูกช่วงฤดูฝน นำต้นพันธุ์ลงปลูกตรงกลาง ใช้ฟางข้าวหรือเศษใบไม้คลุมรอบโคนต้นและรดน้ำให้ชุ่ม
  • การให้น้ำ ให้น้ำสัปดาห์และ 1 ครั้ง อย่างสม่ำเสมอ และให้น้ำทุกวัน เมื่อต้นกระท้อนเริ่มออกดอกและติดผล
  • การใส่ปุ๋ย ให้ใส่ปุ๋ยคอกเป็นหลักในช่วง 2 ปีแรก ที่ยังไม่ให้ผล จากนั้นค่อยให้ปุ๋ยเร่งดอก เร่งผล
  • การเก็บเกี่ยวผล ให้ห่อผล เพื่อป้องกันการเสียหายของผิวเปลือกผล เมื่อผลโต และมีสีเขียวอมเหลือง ให้ใช้กระดาษ ห่อ เพื่อป้องกันศัตรูพืชทำลาย และช่วยให้ผิวเรียบ สวย

กระท้อน ( Santol ) ผลไม้ สมุนไพร คุณค่าทางโภชนาการของกระท้อน สรรพคุณของกระท้อน บำรุงร่างกาย บำรุงสายตา บำรุงผิว สร้างภูมต้านทานโรค ช่วยกระตุ้นน้ำย่อย ช่วยเจริญอาหาร ป้องกันมะเร็ง ลดน้ำหนัก ควบคุมน้ำตาลในเลือด ลดคอเรสเตอรอล


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove