ไตวายเรื้อรัง ( Chrome Renal Failure ) ไตถูกทำลายนานกว่า 3 เดือน อาการของโรคปัสสาวะลดลง ความดันสูง เหนื่อยง่าย นอนไม่หลับ คันตามตัว แขนขาและหน้าบวม รู้สึกช้าไตวายเรื้อรัง โรคไต โรคไม่ติดต่อ ไตอักเสบ

ไตวายเรื้อรัง แตกต่างจากโรคไตวาย อย่างไร โรคไตวายเรื้อรัง เกิดจากสาเหตุอะไร อาการของโรคไตวายเรื้อรัง การรักษาโรคไตวายเรื้อรัง การดูแลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังทำอย่างไร การฟอกเลือด การล้างไต และการเปลี่ยนไต สามารถช่วยให้ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังหายได้

โรคไตวายเรื้อรัง เป็นภาวะที่มีไตถูกทำลายนานกว่า 3 เดือน ซึ่งไตทำงานผิดปกติ ไตวายเรื้อรังเป็นภาวะที่ไตไม่สามารถขับของเสียและน้ำออกจากกระแสโลหิตได้ ทำให้ของเหลวและของเสียในเลือดมีมากเกินไป ส่งผลให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆมากมาย

สาเหตุของการเกิดโรคไตวายเรื้อรัง

สาเหตุของโรคไตวายเรื้อรังเกิดจากการป่วยเป็นโรคบางโรคและการรับประทายยาบางชนิด โรคที่มีผลต่อการเกิดโรคไตวายเรื้อรัง คือ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคกรวยไตอักเสบเรื้อรัง นิ่วที่ทางเดินปัสสาวะ โรคถุงน้ำในไต โรคหัวใจ โรคเก๊าท์ ส่วนการกินยาบางชนิดที่มีผลต่อการทำงานของไต เช่น ยาแก้ปวด และยาปฏิชีวนะ เป็นต้น

อาการของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง

ในระยะแรกผู้ป่วยจะไม่มีอาการให้เห็นอย่างเด่นชัด เมื่อเกิดความผิดปรกติอย่างชัดเจน อาการของโรคจะพบว่า ผู้ป่วยมีอาการปัสสาวะลดลง ความดันโลหิตสูง ผิวซีด เหนื่อยง่าย เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน นอนไม่หลับ คันตามตัว บวมตามหน้า ขาบวม และลำตัวบวม ประสาทรับความรู้สึกช้า มีอาการชัก เป็นต้น

โรคไตวายเรื้อรังมีกี่ระยะ

โรคไตเรื้อรัง สามารถแบ่งระยะของโรคได้เป็น 5 ระยะ ซึ่งแต่ละระยะจะมีความรุนแรงของโรคมากขึ้นไปเรื่อยๆ รายละเอียดของโรคไตวายเรื้อรังในระยะต่างๆ มีดังนี้

  • ไตวายเรื้อรังระยะที่ 1 ในระยะนี้ไตเริ่มมีการถูกทำลาย แต่การทำงานของการกรองของเสียของไตยังสามารถทำงานได้ตามปรกติ โดยความสามารถในการกรองของเสียของไตอยู่ที่ 90 มล ต่อนาที ความผิดของไตสามารถตรวจได้จากการตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะและเอกซเรย์
  • ไตวายเรื้อรังระยะที่ 2 ระยะนี้ความสามารถของการทำงานของไตจะลดลง ความสามารถของการกรองของเสียอยู่ที่ 60 ถึง 89 มล.ต่อนาที.
  • ไตวายเรื้อรังระยะที่ 3 ในระยะนี้ไตถูกทำลายปานกลาง ความสามารถของการกรองของเสียของไตลงลงเลือครึ่งหนึ่งของอัตราการกรองของเสียของไตที่ทำงานได้ตามปรกติ
  • ไตวายเรื้อรังระยะที่ 4 ไตถูกทำลายมากแล้ว ความสามารถในการกรองของเสียอยู่ที่ 15 ถึง 29 มล.ต่อนาที
    ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ไตถูกทำลาย ความสามารถในการทำงานของไตต่ำมาก มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูง

การรักษาโรคไตวายเรื้อรัง

การรักษาโรคไตวายเรื้อรัง ต้องรักษาโรคอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุของโรค คือโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคเกาต์ นิ่ว เป็นต้น นอกจากการรักษาโรคที่เป็นสาเหตุของโรคไตวายเรื้อรัง จะต้องรักษาอาการของโรคไตวายเรื้อรัง คือ การทำความสะอาดไต โดยทางการแพทย์จะรักษาโดยด้วยการล้างไต ซึ่งการล้างไต มี 2 วิธี คือ การฟอกเลือดและการล้างไตทางช่องท้อง

หากรักษาสาเหตุของโรคและการล้างไตแล้ว ในผุ้ป่วยที่หนักมาก แพทย์อาจจะต้องผ่าตัดปลูกถ่ายไตหรือเปลี่ยนไต ซึ่งไตต้องมีเนื้อเยื่อที่สามารถเข้ากันกับผู้ป่วยได้ ซึ่งส่วนมากต้องเป็นเนื้อเยื่อของญาติพี่น้อง หากร่างกายไม่ต่อต้านไตใหม่ และไตใหม่สามารถทำงานได้ตามปรกติ ผู้ป่วยก็สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปรกติ

สิ่งที่ควรระวังในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง

การรับประทานยาหรือสมุนไพร ที่มีผลต่อการทำงานของไต ซึ่งยาในกลุ่ม OTC ภาษาอังกฤษ เรียก Over the Counter Drugs เป็นยาจำพวก ยาแก้ไอ ยาลดไข้ ยาลดน้ำมูก ยาแก้ปวดเมื่อย ยาระบาย ยาแก้ท้องเสีย เป็นต้น ส่วนยาจีน และสมุนไพรต่างๆ ต้องระมัดระวังในการบริโภค

  • ยาแก้ปวดลดอักเสบ เป็นยากลุ่มสเตียรอยด์ ยาประเภทนี้ทำให้เลือดไปเลี้ยงไตได้ลดลง
  • ยาแอสไพริน ชนิดเม็ดฟู่ ยาชนิดนี้มีเกลือผสมอยู่ หากบริโภคมากเกินไปจะทำให้โซเดียม น้ำ และเกลือแร่สะสมในร่างกายมากเกินไปส่งผลกระทบต่อไต
  • ยาน้ำแก้ไอและยาน้ำแก้ปวดท้อง ยาเหล่านี้ทำให้เกิดการสะสมของโพแทสเซียม
  • ยาระบายหรือยาลดกรด อาจทำให้เกิดการสะสมของเกลือแร่ในร่างกาย
  • ยาระบาย ทำให้เกิดการเสียน้ำและเกิดการสะสมของฟอสเฟตในร่างกาย
    สมุนไพรจำพวกสารสะกัดจาก ใบแปะก๊วย โสม และกระเทียม ทำให้เลือดแข้งตัว ทำให้มีการสะสมของโพแทสเซียม ทำให้ไตมีปัญญหา

การดูแลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง

การดูแลผู้ป่วยต้องดูแลให้ร่างกายแข็งแรงและชะลออาการเสื่อมของไต โดยต้องความคุมอาหาร ระดับน้ำตาลในอาหารให้ลดลง ป้องกันโรคที่เกิดจากระบบหัวใจและหลอดเลือด รักษาระดับความดันเลือด ด้วยการพักผ่อนให้มาก ควบคุมอาหาร อย่าออกกำลังกายหนัก โดยสามารถแยกเป็นข้อๆดังนี้

  1. หลีกเลี่ยงสิ่งเสพติด เช่น บุหรี่และสุรา
  2. ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติ
  3. ควบคุมและรักษาโรคที่เป็นสาเหตุของโรคไตวายเรื้อรัง คือ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคเกาต์ หรือนิ่ว
  4. หลีกเลี่ยงการใช้ยาบางชนิด ที่มีผลต่อการทำงานของไต

ไตวายเรื้อรัง ( Chrome Renal Failure ) ภาวะไตถูกทำลายนานกว่า 3 เดือน ไตวายเรื้อรังแตกต่างจากโรคไตวายอย่างไร อาการของโรคไตวายเรื้อรัง คือ ปัสสาวะลดลง ความดันโลหิตสูง เหนื่อยง่าย เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน นอนไม่หลับ คันตามตัว บวมตามหน้า ขาบวม ตัวบวม ประสาทรับความรู้สึกช้า การฟอกเลือด การล้างไต การเปลี่ยนไต สามารถรักษาโรคไตวายเรื้อรังได้

ไตวายฉับพลัน ( Acute Kidney Injury ) ขาดเลือดไปเลี้ยงไต ส่งผลให้เกิดอาการกระหายน้ำ ปัสสาวะลดลง เวียนหัว ความดันต่ำ หายใจไม่ออก การรักษาไตวายเฉียบพลันทำอย่างไรไตวายฉับพลัน โรคไต ไตวาย โรคไม่ติดต่อ

ไต เป็นอวัยวะที่ทำงานเกี่ยวกับช่วยกรองของเสียในร่างกาย ไตจะกรองของเสียออกจากเลือด การที่ไตทำงานหนักมากเกิน อาจส่งผลต่อการเกิดภาวะไตวายได้ การเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันมักเกิดจากการขาดเลือดที่ไต

ภาวะไตวายเฉียบพลัน คือ ภาวะการสูญเสียการทำงานของไตอย่างรวดเร็ว เป็นภาวะที่ไต แยกน้ำปัสสาวะจากเลือดลงมาสู่กระเพาะปัสสาวะได้น้อย ซึ่งเกิดจากการขาดเลือดไปเลี้ยงไต โดยสาเหตุมีหลายปัจจัย

สาเหตุของโรคไตวายเฉียบพลัน

สาเหตุของการเกิดโรคไตวายเฉียบพลัน เกิดจากภาวะการทำงานหนักของไต ภาวะเกี่ยวกับความดันเลือด ระดับเลือดที่ไปเลี้ยงไตลดลงไม่เพียงพอ ซึ่งสามารถแบ่งสาเหตุขอโรคได้ เป็น 4 สาเหตุ คือ การขาดน้ำ การเสียเลือด การได้รับบสารพิษ และการติดเชื้อ รายละเอียด ดังนี้

  1. การสูญเสียน้ำและเกลือแร่ในร่างกายอย่างรุนแรง เช่น ท้องเสีย หากเป็นหนักมากทำงห้ร่างกายอ่อนเพลีย เกิดภาวะความดันลดต่ำลง ทำให้เกิดไตวายและช็อกได้
  2. การเสียเลือดจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นการเกิดอุบัตติเหตุ การผ่าตัด หากไม่ได้รับเลือดทดแทนอย่างทันท่วงที จะส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงไตไม่เพียงพอ สามารถทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้
  3. การได้รับสารพิษบางชนิด สารพิษหลายชนิด มีผลกระทบต่อไต เช่น ยาแก้ปวดบางชนิด ยาฆ่าหญ้า เมื่อสารพิษเข้าสู่ร้างกายทำให้ไตต้องทำงานหนัก อาจทำให้เกิดไตวายเฉียบพลันได้
  4. การติดเชื้อรุนแรง การติดเชื้อส่งผลต่อระบบการทำงานของร่างกาย รวมถึงไตด้วย ไม่ว่าจะเป็นเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรีย หากเชื้อโรคเข้าถึงไต สามารถทำให้ระบบไตผิดปรกติได้ หากรักษาไม่ทันทำให้เกิดไตวายเฉียบพลัน

นอกจากสาเหตุ 4 ประการที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ภาวะไตวายเฉียบพลันสามารถแยกสาเหตุของโรคได้เป็น 2 สาเหตุหลักๆ คือ ภาวะความดันเลือดต่ำเป็นเวลานาน และภาวะความผิดปรกติของระบบทางเดินปัสสาวะ รายละเอียด ดังนี้

การเกิดโรคไตอักเสบจากภาวะความดันเลือดต่ำเป็นเวลานาน เช่น

  1. การติดเชื้อในกระแสเลือด
  2. การเกิดโรคไตชนิดรุนแรง
  3. การที่ร่างกายมีเฮโมโกลบินอิสระไหลเวียนอยู่ในเลือด
  4. การที่ร่างกายถูกทำลายเนื้อเยื่ออย่างรุนแรง
  5. การแพ้ยาหรือสารบางชนิดที่มีพิษต่อไต
  6. ภาวะการอุดตันของทางเดินปัสสาวะ

การอักเสบของทางเดินปัสสาวะ  เช่น

  1. ระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่างอักเสบเฉียบพลัน
  2. ไตและกรวยไตอักเสบเฉียบพลัน
  3. ไตและกรวยไตอักเสบเรื้อรัง

ระยะของโรคไตวายเฉียบพลัน
ระยะของโรคนี้สามารถแบ่งระยะของโรคได้เป็น 3 ระยะใหญ่ๆ คือ ระยะก่อนไตวาย ระยะไตวายและระยะหลังไตวาย รายละเอียดของระยะต่างๆ มีดังนี้

  1. ระยะก่อไตวาย ภาษาอังกฤษ เรียก Prerenal Failure ในระยะนี้ มีอาการภาวะร่างกายขาดน้ำ ผู้ป่วยมีอาการกระหายน้ำ ปัสสาวะได้ลดลง เวียนศีรษะ ระดับความดันเลือดต่ำ หายใจลำบาก และเหนื่อย แต่อาการเหล่านี้จะกลับมาปรกติ หลังจากที่ไตกลับมาทำงานได้ตามปรกติ
  2. ระยะไตวาย ภาษาอังกฤษ เรียก Intrinsic renal failureในระยะนี้ ผู้ป่วยจะมีไตวายเรื้อรัง ผู้ป่วยจะบวมน้ำ ระดับความดันเลือดสูง ปัสสาวะออกมาเป็นเลือด ซึ่งเกิดจากหลอดเลือดฝอยที่ไตถูกทำลาย ในระยะนี้ ไตจะเกิดภาวะกล้ามเนื้อลายสลายและเม็ดเลือดแดงแตก
  3. ระยะหลังไตวาย ภาษาอังกฤษ เรียก Postrenal failure ผู้ป่วยจะมีอาการรอุดตันที่ทางเดินปัสสาวะ มีอาการต่อมลูกหมากโต มีความเสี่ยงในการเกิดนิ่วในไต

โรคไตวายเฉียบพลันกับโรคไตวายเรื้อรังมีความแตกต่างกันอย่างไร

โรคไตวายเฉียบพลัน จะมีอาการเฉียบพลัน กระทันหัน แต่อาการไตวายเฉียบพลัน สามารถรักษาให้หายได้ แต่การเกิดโรคไตวายเรื้อรัง เกิดจากอาการสะสมของโรคไตเป็นเวลานาน การรักษามักไม่หายขาด ผู้ป่วยทั้ง 2 โรคต้องทำการรักษาและควบคุมการบริโภคยาและอาหาร และหากเกิดโรคในระยะสุดท้ายต้องทำการฟอกไตช่วย

การรักษาภาวะไตวายเฉียบพลัน
การรักษาโรคไตวายเฉียบพลัน สามารถรักษา โดย การรักษาสาเหตุของการเกิดโรค ใช้ยาแก้ไขภาวะไตวายเฉียบพลัน ประคับประคองและรักษาโรคแทรกซ้อน การให้สารอาหารกับผู้ป่วยภาวะไตวายเฉียบพลัน และการล้างไต การรักษาต้องใช้ 5 วิธีนี้ตามลำดับของโรค รายละเอียดดังนี้

  1. การรักษาสาเหตุของการเกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน ซึ่งสาเหตุของกการเกิดโรคคือ การขาดน้ำ สารอาหาร และการขาดเลือดที่ไต ต้องให้เกลือแร่ น้ำ และให้ระดับเลือดในไตเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  2. ใช้ยารักษาไตวายเฉียบพลัน ยาที่ใช้ในการรักษา เช่น ยาช่วยเพิ่มปริมาณของปัสสาวะ ยากระตุ้นหลอดเลือด
  3. การประคับประคองโรคและรักษาอาการแทรกซ้อนของโรค เป็นการรักษาในช่วงที่รอไตฟื้นตัว ได้แก่ การควบคุมปริมาณน้ำ หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีผลต่อไต แก้ภาวะความเป็นกรดในเลือด
  4. ให้สารอาหารต่อผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันให้เพียงพอต่อความต้องการ
  5. ล้างไต ภาษาอังกฤษ เรียก Dialysis การล้างไตเป็นการรักษาแบบมาตรฐานสำหรับผู้ป่วยไตวายเฉียบพลัน สำหรับผู้ป่วยที่รักษาแบบประคับประคองแล้วไม่ได้ผล

โรคไตวายฉับพลัน ( Acute Kidney Injury ) ภาวะที่ไตแยกน้ำปัสสาวะจากเลือดลงมาสู่กระเพาะปัสสาวะได้น้อย เกิดจากการขาดเลือดไปเลี้ยงไต ส่งผลให้เกิดอาการกระหายน้ำ ปัสสาวะได้ลดลง เวียนหัว บความดันเลือดต่ำ หายใจลำบาก ตัวบวมน้ำ ทำให้ไตวาย โดยสาเหตุมีหลายปัจจัย ระยะของโรคไตวายมีกี่ระยะ การรักษาไตวายเฉียบพลันต้องทำอย่างไร

ไตวายเฉียบพลัน พยาธิสภาพ ไตวายเฉียบพลัน รักษาหายไหม อาการไตวายระยะสุดท้าย ไตวายเฉียบพลัน ภาษาอังกฤษ อาหาร และ โรค ไต วาย เฉียบพลัน ใหม่ โรค ไต วาย เฉียบพลัน มี กี่ ระยะ ไตวายเฉียบพลัน หายได้ไหม โรคไตวายฉับพลันจากเหตุต่างๆ ไตวายเฉียบพลัน ภาวะไตวายเฉียบพลัน โรคไตเฉียบพลัน ไตวายเฉียบพลัน สาเหตุ ไตวายเฉียบพลันเกิดจากอะไร สาเหตุไตวายเฉียบพลัน


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove