โรคฉี่หนู เลปโตสไปโรซิส leptospirosis ภาวะติดเชื้อแบคทีเรีย มีหนูเเป็นพาหะนำโรค ซึ่งมากับน้ำท่วม ทำให้ตับอักเสบ มีไข้ ปวดหัว ปวดตามตัว ตัวเหลือง ตาเหลือง โรคฉี่หนู เล็ปโตสไปโรซิส โรคติดเชื้อ โรคจากหนู

โรคฉี่หนู หรือ โรคเลปโตสไปโรซิส ภาษาอังกฤษ เรียก leptospirosis โรคที่มากับน้ำท่วม เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบททีเรียทำให้เกิดการอักเสบของตับ การอักเสบของไต อาการที่สำคัญของโรคฉี่หนู คือ มีไข้ ปวดหัว ปวดตามตัว หากเป็นมากจะมีอาการดีซ่านและปัสสาวะได้น้อย โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน โรคฉี่หนู เป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดในของโรคติดเชื้อที่ติดต่อจากสัตว์สู่มนุษย์ สัตว์ที่เป็นพาหะของโรค เช่น หนู กระรอก แมว หมา หมู กระบือ วัว กวาง ซึ่งโรคนี้สามารถพบได้ทั่วโลก

สาเหตุของการเกิดโรคฉี่หนู 

เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในกลุ่ม Leptospira ที่มีพาหะนำโรค คือ หนู ซึ่งสัตว์กลุ่มนี้จะมีเชื้อโรคที่ไต เมื่อ ฉี่ออกมาก เชื้อโรคก็ออกมาด้วย เมื่อเชื้อโรคปะปนกับน้ำและโคลน หากคนไปสัมผัส และ รับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ก็จะเกิดโรคขึ้น โดยการรับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย นั้นสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ 2 ทาง คือ การเข้าสู่ร่างกายทางตรง และ การเข้าสู่ร่างกายทางอ้อม โดยรายละเอียดดังนี้

  1. การรับเชื้อโรคโดยตรง จากการสัมผัสสัตว์ที่มีเชื้ออยู่ หรือ โดนกัด เป็นต้น
  2. การรับเชื้อโรคทางอ้อม เช่น การรับเชื้อจากการสัมผัสน้ำหรือโคลนที่มีเชื้อโรคปะปนอยู่ โดยเชื้อโรคจะเข้าทางผิวหนังผ่านแผล นอกจากแผล เชื้อโรคสามารถเข้าสู่ร่างกาย ผ่านเยื่อบุในปาก ตา จมูก รวมถึงการรับประทานอาหารที่มีเชื้อโรคปนเปื้อน

อาการของผู้ป่วยโรคฉี่หนู

สำหรับอาการของโรคฉี่หนู หลังจากผู้ป่วยได้รับเชื้อ 2-14 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการ มีไข้ ปวดศีรษะ ตาแดง ปวดตามตัว ตัวเหลือง ตาเหลือง หากไม่ได้รับการรักษา จะเกิด ภาวะไตวาย มีอาการทางสมองและระบบประสาท และ เสียชีวิตในที่สุด

  1. ภาวะเยื่อบุตาบวมแดงเกิดขึ้นในตาทั้งสองข้างภายใน 3 วันแรกของโรค และอยู่ได้นานตั้งแต่ 1-7 วัน อาจจะพบร่วมกับเลือดออกที่ตาขาวข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้
  2. กดเจ็บกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง โดยเฉพาะที่น่อง
  3. มีเลือดออกแบบต่างๆ โดยเฉพาะในรายที่มีอาการรุนแรง เช่นจุดเลือดออกตามผิวหนัง petichae ผื่นเลือดออก purpuric spot เลือดออกใต้เยื่อบุตา conjunctival haemorrhage หรือเสมหะเป็นเลือด
  4. ผื่น อาจจะพบได้หลายแบบ ผื่นแดงราบ ผื่นแดง ผื่นลมพิษ
  5. อาการเหลือง อาการเหลืองมักเกิดวันที่4-6 ของโรค

ระยะของการเกิดโรคฉี่หนู นั้นมี 2 ระยะ คือ ระยะเชื้อเข้ากระแสเลือด และ ระยะร่างกายสร้างภูมิ หลังจากได้รับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ภายใน 2 สัปดาห์ ผู้ป่วยจะเกิดอาการ ซึ่งแบ่งออกได้เป็นสองระยะ รายละเอียด ดังนี้

  • ระยะเชื้อเข้ากระแสเลือด เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือด ผู้ป่วยจะมีอาการ คือ ปวดหัว บริเวณหน้าผาก หรือ หลังตา ซึ่งบางรายปวดบริเวณขมับทั้งสองข้าง ปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง โดยเฉพาะบริเวณ น่อง โคนขา กล้ามเนื้อหลัง และ มีไข้สูง ร่วมกับเยื่อบุตาแดง
  • ระยะร่างกายสร้างภูมิ  หลังจากมีไข้ประมาณ 1 สัปดาห์ จะเกิดอาการมีไข้ขึ้นอีกครั้ง และจะมีอาการปวดหัว เบื่ออาหาร เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เยื่อบุตาอักเสบ ตรวจพบเชื้อในเลือดและน้ำไขสันหลังในระยะ1-2 วันของระยะโรคนี้ ระยะนี้ถ้าเจาะเลือดจะพบภูมิต่อเชื้อเพิ่ม ระยะนี้กินเวลา 4-30 วัน

การรักษาโรคฉี่หนู

สำหรับการรักษาโรคฉี่หนู หรือ โรคเล็ปโตสไปโรซิส ในปัจจุบันสามารถรักษาได้โดยใช้ยาปฏิชีวนะ แต่ต้องเข้ารับการรักษาให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งไม่ควรเกิน 4 วันหลังจากมีอาการ การใช้ยาปฏิชีวนะนั้นจะแตกต่างกันไปตามความรุนแรงของอาการ แต่เนื่องจากโรคนี้เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ แนะนำให้ผู้ป่วยอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด

การป้องกันการเกิดโรคฉี่หนู

สำหรับการป้องกันโรคฉี่หนู สามารถทำได้โดย หลีกเลี่ยงการอยู่ในแหล่งน้ำที่สกปรก หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ให้ใส่เครื่องมือป้องกัน เช่น รองเท้าบูท ถุงมือ และให้กำจัดหนูและสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค โดยการป้องกันการเกิดโรคฉี่หนูครับปฏิบัต ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการลุยน้ำ ลุยโคลน หากมีความจำเป็นต้องสวมรองเท้าบู๊ทยางกันน้ำ
  • หากมีบาดแผลที่ขา หรือส่วนที่สามารถสัมผัสน้ำได้ ต้องหาเครื่องป้องกัน
  • รีบล้างเท้าและร่างกายหลังจากสัมผัสน้ำหรือโคลน โดยให้ทำความสะอาดด้วยสบู่และเช็ดให้แห้ง
  • ให้ระมัดระวังการสัมผัสน้ำไม่สะอาด เช่น การกระเด็นเข้าปาก ตา หรือ จมูก
  • รับประทานอาหารที่สะอาด และ ปรุงสุก การเก็บอาหารต้องเก็บให้มิดชิด
  • พยายามลดปริมาณขยะเท่าที่ทำได้ ติดต่อหน่วยงานท้องถิ่น ให้นำขยะไปทำลายให้บ่อยที่สุดเท่าที่ทำได้

โรคฉี่หนู เลปโตสไปโรซิส ( leptospirosis ) เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย โรคติดต่อที่มีหนูเเป็นพาหะนำโรค โรคที่มากับน้ำท่วม ทำให้ตับอักเสบ ไตอักเสบ อาการสำคัญ คือ มีไข้ ปวดหัว ปวดตามตัว ตัวเหลือง ตาเหลือง การรักษาและการป้องกันโรคฉี่หนู

มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งทวารหนัก ( Colon Cancer ) เนื้อร้ายที่ลำไส้ใหญ่หรือทวารหนัก เกิดจากพฤติกรรมการกิน อาการปวดท้องเป็นๆหายๆ ท้องผูกสลับท้องเสีย ถ่ายเป็นเลือดมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคมะเร็ง

มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งทวารหนัก ( Colon Cancer ) เนื้อร้ายที่ลำไส้ใหญ่หรือทวารหนัก โรคอันดับ 3 ของโลก อาการปวดท้องเป็นๆหายๆ ท้องผูกสลับท้องเสีย ถ่ายอุจจาระมีเลือดปน เกิดจากพฤติกรรมการกินที่ไม่ดีต่อสุขภาพ จากสถิติของผู้ป่วย โรคมะเร็ง พบว่ามีผู้ป่วย โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก สามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย เพศชายมีอัตราการเกิดโรคสูงกว่าเพศหญิง และแนวโน้มการเกิดโรคพบว่ามีเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

สัญญาณอะไรบ้างบ่งบอกว่าท่านควรตรวจร่างกายอย่างละเอียด เพื่อ คัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

  • ปวดท้องเป็นพักๆ การปวดแบบเป็นๆหายๆ ปวดตามจังหวะการบีบตัวของลำไส้ อาการปวดจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆและปวดบ่อยมากขึ้น
  • ท้องผูกสลับท้องเสีย ระบบการขับถ่ายผิดปกติ มีอาการท้องผูกต่อเนื่องกันหลายวัน สลับกับท้องเสียจากการติดเชื้อ
  • อุจจาระมีเลือดปด เป็นมูก เป็นผลมาจากตัวเนื้องอก ที่ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
  • ก้อนอุจจาระมีขนาดเล็ก เนื่องจากรูของลำไส้ใหญ่มีขานดแคบลง
  • ปวดท้องถ่ายอุจจาระตลอดเวลา แต่ถ่ายไม่ออก ไม่มีอุจจาระแต่ปวดท้อง เนื่องมาจากการมีก้อนเนื้องอกในทวารหนัก ทำให้ร่างกายมีความรู้สึกเหมือนมีอุจจาระในทวารหนักตลอดเวลา

เรามาทำความรุ้จักกับ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ กันว่าเป็นอย่างไร

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นอีก โรคมะเร็ง ที่พบว่าเกิดกับ คนอายุ 55 ปีขึ้นไป โอกาสในการเกิดในเพศชายและหญิงมีอัตราเท่าๆกัน ลำไส้ใหญ่ เป็นอวัยวะในช่องท้อง

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ พบว่าปัจจัยด้านพฤติกรรมการกิน เป็นสาเหตุหลักของปัญหา และปัจจัยด้านการถ่ายทอดทางพันธุกรรม มีผลต่อการเกิดโรค เรามีปัจจัยการเกิดโรคมาให้ดังนี้

  • การกินอาหารที่มีไขมันสูง บ่อยและเป็นเวลานานสะสมหลายปี เนื่องจาก ไขมัน เป็นอาหารที่ไม่มีกากใยอาหาร ส่งผลเสียต่อระบบลำไส้ โดยเฉพาะ คนที่กิยอาหารที่มีกากาใยอาหารน้อย
  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรม จากสถิติ มีการพบว่าในผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เคยมี่บุคคลในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เหมือนกัน
  • ป่วนโรคติ่งเนื้อเมือกที่ลำไส้ใหญ่ ซึ่งเป็นเนื้องอกที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้

อาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

สำหรับอาหารของผู้ป่วยที่เป็น โรคโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ พบว่ามีอาการผิดปรกติ เกี่ยวกับระบบการย่อยอาหารและขับถ่ายเริ่มมีอาการผิดปรกติ อาการผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มี ดังนี้

  • อุจจาระเป็นเลือด มีมูกปนเลือดในอุจจาระ
  • ท้องผูกสลับกับท้องเสีย โดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ปวดท้องเรื้อรัง

ระยะของอาการโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

สำหรับ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เราพบว่ามีระยะการเกิดโรค 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ถึง ระยะที่ 4 ซึ่ง รายละเอียดของ โรคมะเร็ง ระยะต่างๆ มีดังนี้

  • โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ระยะที่ 1 จะมีก้อนเนื้อ และแผลขนาดเล็กที่ผนังลำไส้ใหญ่
  • โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ระยะที่ 2 ก้อนเนื้อและแผล ลุกลามไปจนถึงเยื่อหุ้มลำไส้ใหญ่
  • โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ระยะที่ 3 ก้อนเนื้อและแผล ลุกลามเข้าสู่ต่อมน้ำเหลือง ที่อยู่ใกล้กับลำไส้ใหญ่
  • โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ระยะที่ 4 เชื้อมะเร็งเข้าสู่ต่อมน้ำเหลือง และลามสู่อวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย และกระแสเลือด

สำหรับ การวินิจฉัยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เริ่มจากการ ตรวจสอบประวัติของผู้ป่วย และอาการผิดปรกติของร่างกาย ตรวจร่างกาย ตรวจทวารหนัก ส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ และตัดชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยา

การตรวจเพื่อคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ นั้นสามารถตรวจเพื่อ คัดกรองโรคมะเร็ง ได้ เหมือน มะเร็งเต้านม การตรวจ คัดกรองโรคมะเร็ง มีความจำเป็น เนื่องจาก มะเร็งลำไส้ใหญ่ ส่วนมากจะตรวจพบในระยะที่มากกว่าระยะที่ 2 แล้ว การรักษาจะยาก

การรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

การรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เราใช้การ ผ่าตัดชิ้นเนื้อออก และรักษาร่วมกับอาหารทำเคมีบำบัด การฉายแสง เพื่อให้เนื้อร้ายฝ่อ แต่การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่จะได้ผลดมากน้อย ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของเนื้อร้าย และระยะของโรค

การป้องกันการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

การป้องกันการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ให้หลีกเลี้ยงปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรค ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อระบบการย่อยอาหารและการขับถ่าย หมั่นตรวจคัดกรอง โรคมะเร็ง เป็นระยะๆ


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove