กระถิน สมุนไพร ไม้ยืนต้น สรรพคุณของกระถิน เช่น บำรุงกระดูก ช่วยขับลม ลักษณะของต้นกระถินเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของกระถิน โทษของกระถิน เป็นอย่างไรกระถิน สรรพคุณของกระถิน ประโยชน์ของกระถิน สมุนไพร

ต้นกระถิน ( White popinac ) พืชสมุนไพรในเขตร้อน มีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบทวีปอเมริกา และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ขยายพันธุ์ได้ง่าย จัดเป็นไม้พุ่ม ไม้ต้นขนาดเล็ก นิยมรับประทาน ยอดอ่อน และ ฝักอ่อน สรรพคุณของกระถิน เช่น บำรุงกระดูก บำรุงหัวใจ ช่วยขับลม เป็นต้น โทษของกระถินมีอะไรบ้าง

กระถิน ( White popinac ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระถิน คือ Leucaena leucocephala (Lam.) de Wit  จัดเป็นพืชตระกูลถั่ว ชื่อเรียกอื่นๆของกระถิน คือ กะเส็ดโคก กะเส็ดบก กะตง กระถินน้อย กระถินบ้าน ผักก้านถิน ผักหนองบก กระถินไทย กระถินดอกขาว กระถินหัวหงอก ตอเบา สะตอเทศ สะตอบ้าน กระถินยักษ์ เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของกระถิน

นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางอาหารของยอดกระถินอ่อน ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานสูงถึง 62 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 5 กรัม โปรตีน 8.4 กรัม ไขมัน 0.9 กรัม กากอาหาร 3.8 กรัม น้ำ 80.7 กรัม วิตามินเอ 7,883 หน่วยสากล วิตามินบี 1 0.33 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.09 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 1.7 มิลลิกรัม วิตามินซี 8 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 137 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 9.2 มิลลิกรัม และ ธาตุฟอสฟอรัส 11 มิลลิกรัม

ลักษณะของต้นกระถิน

ต้นกระถิน สามารถขยายพันธุ์ ด้วยการใช้เมล็ด และสามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย สำหรับลักษณะของต้นกระดิน มีรายละเอียด ดังนี้

  • ต้นกระถิน มีความสูงประมาณไม่เกิน 10 เมตร ลักษณะทรงต้นเป็นเรือนยอดรูปไข่ เปลือกมีสีเทา มีปุ่มนูนของรอยกิ่งก้านที่หลุดร่วงไป
  • ใบกระถิน เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับกัน แกนกลางใบประกอบมีขน เรียงตรงข้ามกัน ส่วนใบย่อยเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของโคนใบเบี้ยว ปลายใบแหลม ขอบใบมีขน
  • ดอกกระถิน ดอกของกระถินจะมีสีขาว ออกอดช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายนของทุกปี ดอกมีลักษณะเป็นช่อ แบบกระจุกแน่น ออกดอกตามง่ามใบและปลายกิ่ง ลักษณะเป็นรูประฆัง
  • ฝักกระถิน ลักษณะแบน ปลายฝักแหลม เมื่อฝักแก่จะแตกตามยาว ภายในฝักกระถินจะมีเมล็ดเรียงตามขวางจำนวนมาก และจะออกผลช่วงเดือนกรกฎาคมจนถึงเดือนมกราคมของทุุกปี
  • เมล็ดกระถิน สำหรับเมล็ดของกระถิน จะอยู่ภายในฝักกระถิน มีลักษณะเป็นรูปไข่ แบน สีน้ำตาล และ มัน

สรรพคุณของกระถิน

สำหรับต้นกระถินสามารถใช้ประโยชน์ได้ในทุกส่วน ตั้งแต่ ลำต้น เปลือก ใบ ดอก เมล็ด โดยรายละเอียด ดังนี้

  • รากของกระถิน มีสรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยขับระดู
  • เมล็ดแก่ของกระถิน มีสรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยให้นอนหลับ ช่วยขับลม ช่วยขับระดูขาวของสตรี ช่วยบำรุงไต
  • เมล็ดของกระถิน มีสรรพคุณ บำรุงกระดูก เป็นยาถ่ายพยาธิตัวกลม ช่วยลดการเกิดนิ่วในกระเพาะอาหาร
  • ฝักอ่อนของกระถิน มีสรรพคุณ บำรุงกระดูก บำรุงหัวใจ ช่วยเจริญอาหาร แก้กระหายน้ำ ช่วยแก้อาการท้องร่วง ช่วยลดการเกิดนิ่วในกระเพาะอาหาร
  • ยอดอ่อนของกระถิน มีสรรพคุณ บำรุงกระดูก ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด บำรุงสายตา บำรุงหัวใจ ช่วยเจริญอาหาร แก้กระหายน้ำ ช่วยลดการเกิดนิ่วในกระเพาะอาหาร
  • ดอกของกระถิน มีสรรพคุณช่วยแก้เกล็ดกระดี่ขึ้นตา ช่วยบำรุงตับ
  • เปลือกของกระถิน มีสรรพคุณช่วยห้ามเลือด

โทษของกระถิน

ในใบของกระถิน มีสารชนิกหนึ่งที่มีฤทธิ์เป็นพิษ ชื่อ สารลิวซีนีน ( Leucenine ) หากกินไปมากๆ อาจทำให้ขนร่วงและเป็นหมันได้  กระถินเป็นพืชที่มีคุณสมบัติ ช่วยดูดธาตุซีลีเนียมจากดินได้มาก จึงอาจทำให้เกิดพิษเนื่องจากธาตุนี้ได้

อบเชย เปลือกอบเชยมีกลิ่นหอมนำมาทำเครื่องเทศ อบเชย มี 5 ชนิด อบเชยเทศ อบเชยจีน อบเชยญวน อบเชยชวา อบเชยไทย สรรพคุณลดความดัน ลดน้ำตาลในเลือด ต้านเชื้อโรคต่างๆอบเชย สมุนไพร สมุนไพรในครัว ต้นอบเชย

อบเชย สมุนไพรเครื่องเทศ กลิ่นหอม อบเชยมีฤทธิ์ลดความดัน ลดน้ำตาลและไขมันในเลือด ลดการหดเกร็งของหลอดลม ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ และ กระเพาะอาหาร มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง ต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา แก้ปวดและช่วยทำให้แผลหายเร็ว อบเชยจะใช้เปลือกไม้ชั้นในที่แห้งแล้วนำมาใช้ประโยชน์

ต้นอบเชย นิยมใช้ทำเครื่องแกง เช่น พริกแกงกะหรี่ หรือใช้ร่วมกับโป๊ยกั้ก นำมาต้มน้ำแกง เช่น พะโล้และเนื้อตุ๋น หรือใส่อบเชยในของหวาน บดละเอียดโรยหน้ากาแฟใส่นม เป็นต้น อบเชย ภาษาอังกฤษ เรียก Cinnamon ชื่อวิทยาศาสตร์ของอบเชย คือ Cinnamomum spp. ชื่อเรียกอื่นๆของอบเชย เช่น บอกคอก พญาปราบ สะวง ฝักดาบ สุรามิด กระแจกโมง โมงหอม กระเจียด เจียดกระทังหัน อบเชยต้น มหาปราบ เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของอบเชย

สำหรับอบเชยชนิดผงขนาด 10 กรัม ให้พลังงานถึง 24.7 แคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย ไขมัน 0.12 กรัม คาร์โบไฮเดรท 8.06 กรัม และ โปรตีน 0.4 กรัม

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของอบเชย

อบเชย คือ เครื่องยาหรือเครื่องเทศ ได้จากเปลือกของอบเชย ลอกเปลือกชั้นในออกจากแก่นลำต้น และใช้มีดกรีดตามยาวของกิ่ง จากนั้นนำไปตากแดดประมาณ 5 วัน เปลือกของอบเชยจะเป็นสีน้ำตาลอ่อนเหมือนสีสนิม มีรสสุขุม เผ็ด หวานเล็กน้อย และมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว สำหรับอบเชย มีหลายชนิด แต่ที่นิยมใช้กัน มี 5 ชนิด คือ อบเชยเทศ อบเชยจีน อบเชยญวน อบเชยชวาและอบเชยไทย

ชนิดของอบเชย

สำหรับ ต้นอบเชย นั้นมีอยู่หลายชนิด โดยแต่ละชนิดก็มีคุณภาพที่แตกต่างกัน อบเชยญวนจะมีคุณภาพสูงสุด รองลงมา คือ อบเชยจีน และ อบเชยเทศ แต่อบเชยแต่ละชนิดจะมีสรรพคุณทางยาที่ใกล้เคียงกัน สามารถนำมาใช้แทนกันได้ เราจะแนะนำอบเชย 5 ชนิด คือ อบเชยเทศ อบเชยจีน อบเชยญวน อบเชยชวา และ อบเชยไทย โดยรายละเอียด ดังนี้

  • อบเชยเทศ หรือ อบเชยลังกา อบเชยชนิดนี้มาจากประเทศอินเดียและศรีลังกา มีราคาแพงที่สุด จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง เปลือกลำต้นเป็นสีเทาและหนา กิ่งขนานกับพื้นและตั้งชันขึ้น ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกันตามลำต้น ใบเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบแหลม ขอบใบเรียบ ใบหนา ผิวใบเรียบมัน สีเขียวเข้ม  ดอกอบเชยออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง มีขนาดเล็ก สีเหลือง มีกลิ่นหอม ผลเป็นสีดำ คล้ายรูปไข่ ผิวเปลือกเรียบ
  • อบเชยจีน ขนาดของลำต้นใหญ่กว่าอบเชยเทศ เปลือกหนาหยาบกว่า และ มีสีเข้มกว่าอบเชยเทศ รสชาติจะอ่อนที่สุดในบรรดาอบเชยทุกชนิด นิยมนำมาทำเป็นยาสมุนไพร
  • อบเชยญวน กลิ่นจะหอมไม่เท่ากับอบเชยเทศ มีรสหวานแต่ไม่ค่อยหอม ปลูกได้ดีมากในประเทศไทย และ ประเทศไทยส่งออกอบเชยชนิดนี้เป็นหลัก
  • อบเชยชวา มีกลิ่นหอมแต่น้อยกว่าอบเชยเทศ แต่เป็นอบเชยที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน
  • อบเชยไทย เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลของจังหวัดระนอง

สรรพคุณของอบเชย

สำหรับประโยชน์ของอบเชย สามารถใช้ประโยชน์ได้ตั้งแต่ เนื้อไม้ เปลือก ใบ ราก เมล็ด โดยรายละเอียด ดังนี้

  • เปลือกอบเชย สรรพคุณ คือ เป็นยาบำรุงร่างกาย ทำให้เลือดหมุนเวียนดี แก้ปวดศีรษะ แก้อาการอ่อนเพลีย ช่วยชูกำลัง ยาบำรุงกำลัง บำรุงตำ บำรุงไต บำรุงม้าม บำรุงหัวใจ  ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยเจริญอาหาร ช่วยย่อยสลายไขมัน ช่วยควบคุมระดับไขมันในเลือด ช่วยต้านมะเร็ง เป็นยาแก้ไข้หวัด ไข้สันนิบาต แก้อาการหวัด แก้อาการไอ แก้คลื่นไส้อาเจียน ช่วยขับลม แก้ท้องเสีย  ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร เป็นยาถ่าย ช่วยขับพยาธิ ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคหนองใน ช่วยขับน้ำคาวปลา  แก้ปวดประจำเดือน แก้ตับอักเสบ  ช่วยแก้อาการปวด แก้ปวดหลัง
  • ใบอบเชย สรรพคุณ คือ แก้ไข้สำหรับสตรีหลังคลอด ช่วยขับลม เป็นยาฆ่าเชื้อ ยาทาแผลถอนพิษของยางน่อง เป็นยาพอกแก้อาการปวดรูมาติสซั่ม
  • รากอบเชย สรรพคุณ คือ แก้ไข้สำหรับสตรีหลังคลอด แก้อาการปวดฟัน รากนำมาต้มสำหรับสตรีกินหลังการคลอดบุตร ช่วยลดไข้หลังการผ่าตัด
  • เมล็ดอบเชย สรรพคุณ คือ ยาแก้ไอสำหรับเด็ก เป็นยาแก้บิดสำหรับเด็ก

โทษของอบเชย

การบริโภคอบเชยมีข้อควรระวังอยู่บ้าง เนื่องจากอบเชยเป็น สมุนไพรมีกลิ่นหอม มีน้ำมันหอมระเหย โดยข้อควรระวังในการบริโภคอบเชย มีดังนี้

  • อบเชยมีน้ำมันส่งผลให้อาการคลื่นไส้อาเจียน และเป็นอันตรายต่อไต สำหรับผู้ป่วยมีไข้ ตัวร้อน ปัสสาวะขัด ปัสสาวะเป็นเลือด อุจจาระแข็ง เป็นโรคริดสีดวงทวาร เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ขวบ และสตรีมีครรภ์ ห้ามรับประทานอบเชย
  • สำหรับ อบเชยจีน เป็นสมุนไพรที่ค่อนข้างปลอดภัย แต่อบเชยจีนมีสารคูมารินซึ่งเป็นสารที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อตับ และการได้รับสารนี้ในปริมาณมากเกินไปอาจมีปัญหาต่อตับ สำหรับคนที่ป่วยเกี่ยวกับโรคตับ ไม่ควรรับประทานอบเชย

อบเชย พืชท้องถิ่น เปลือกของอบเชยมีกลิ่นหอม นำมาทำเครื่องเทศ อบเชย มี 5 ชนิด คือ อบเชยเทศ อบเชยจีน อบเชยญวน อบเชยชวา และ อบเชยไทย สรรพคุณของอบเชย เช่น ลดความดัน ลดน้ำตางในเลือด ต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา