ระบบประสาทถูกทำลาย สาเหตุจากอุบัติเหตุ การติดเชื้อโรค และการผิดปรติของร่างกาย ทำให้ควบคุมร่างกายไม่ได้ เป็นอัมพาต เกิดได้กับทุกเพศทุกวัย แนวทางการรักษาอย่างไรระบบประสาทถูกทำงาย เส้นประสาทส่วนผลายถูกทำลาย โรคระบบประสาทและสมอง โรค

โรคระบบประสาทถูกทำลาย คือ ภาวะระบบประสาทถูกทำลาย จากสาเหตุต่างๆ มักเกิดกับผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุ แรงกระแทก แรงอัด การได้รับปาดเจ็บจากการต่อสู่ ทำให้เส้นประสาทได้รับความเสียหาย หากโดยเส้นประสาทที่สำคัญบริเวณกระดูกสันหลัง ก้านสมอง สมอง มักจะมีอาการรุนแรง เมื่อระบบประสาทถูกทำลาย  มักจะทำให้เกิดโรคอัมพฤษ์และอัมพาต

สาเหตุของโรคระบบประสาทถูกทำลาย

ภาวะเส้นประสาทส่วนปลายถูกทำบายนั้น เป็นเส้นประสาทที่อยู่นอกสมองและไขสันหลัง โอกาสการเกิดโรคนี้พบได้ ร้อยละ 2.4 ของประชากรทั่วไป ซึ่งเส้นประสาทส่วนปลาย จะมีกลุ่มเส้นประสาท 3 กลุ่ม คือ เส้นประสาทกล้ามเนื้อ เส้นประสาทรับความรู้สึก และ เส้นประสาทอัตโนมัติ

ความผิดปกติของเส้นประสาทส่วนปลาย สามารถเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ซึ่งพบได้บ่อยที่สุด คือ ความผิดปกติทางระบบประสาท เรียกว่า Charcot-Marie-Tooth แต่จริงๆแล้วสาเหตุการเกิดโรคมีหลายสาเหตุ สามารถแบ่งสาเหตุของการเกิดโรคได้ 3 กลุ่มใหญ่ คือ

  • ความผิดปกติของเส้นประสาทจากการเกิดโรค ซึ่งโรคในกลุ่มนี้กระทบกับร่างกายโดยรวม ทำให้เกิดความผิดปกติของเส้นประสาท พบมากที่สุด คือ โรคเบาหวาน ความผิดปกติของไต การได้รับสารพิษ การรับยาบางชนิด ความผิดปกติจากโรคตับ เกิดโรคเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ ภาวะการขาดวิตามิน การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป โรคมะเร็งหรือเนื้องอก
  • ความผิดปกติของเส้นประสาทจากการเกิดอุบัติเหตุ การเกิดอุบัตติเหตุจากแรงปะทะ แรงบด แรงอัด หรือ แรงยืด อย่างรุนแรงทำให้เส้นประสาทขาดออกจากไขสันหลัง การทำลายเส้นประสาทอย่างรุนแรง ส่งผลกระทบต่อระบบประสาทโดยตรง
  • ความผิดปกติของเส้นประสาทจากการติดเชื้อและความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน โรคจากการติดเชื้อโรคทำลายเส้นประสาทได้โดยทางตรงและทางอ้อม โดยโรคที่มีผลต่อระบบประสาท เช่น HIV งูสวัด Epstein-Barr virus โรคไลม์ โรคคอตีบ โรคเรื้อน

การรักษาโรคระบบประสาทถูกทำลาย

สำหรับการรักษาโรคระบบประสาทถูกทำลายนั้น รักษาตามอาการของโรค ร่วมกับการทำกายภาพบำบัด เพื่อฟื้นฟูการทำงานขิงร่างกาย โดยรายละเอียด ดังนี้

  • การรักษาตามอาการที่พบ เช่น หากมีการตกเลือดจะต้องห้ามเลือดก่อน การรักษาการติดเชื้อต่างๆ การขับพิษออกจากร่างกาย
  • การผ่าตัดเพื่อทำวัตถุที่ฝังในร่างกายออก
  • การผ่าตัดเพื่อต่อเส้นประสาท
  • การทำกายภาพบำบัด เพื่อฟื้นฟูร่างกาย
  • การรักษาสภาพจิตใจ เพื่อ ฟื้นฟูสภาพจิตใจที่ไม่สามารถรักษาให้หายกลับมาเดินได้
  • รักษาด้วยการใช้อุปกรณ์เสริมช่วยช่วยเดิน เช่น ไม้เท้า วิลแชร์ เป็นต้น

การป้องกันการเกิดโรคระบบประสาทถูกทำลาย

ระบบประสาทถูกทำลาย ส่งผลต่อระบบการทำงานของร่างกาย และ กล้ามเนื้อ รวมถึงการเคลื่อนไหวร่างกาย การป้องกันที่ดีที่สุด คือ ลดปัจจัยเสี่ยงการติดเชื้อโรคและการเกิดอุบัติเหตุ สามารถสรุปแนวทางการป้องกันการเกิดโรคได้ ดังนี้

  • ควบคุมอาหาร รับประาทนอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • ลดความอ้วน น้ำหนักตัวที่มาก ทำให้มีโอกาสการกระแทกสูงและมีความรุนแรงมากกว่าปรกติ
  • หมั่นออกกำลังกาย
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ไม่ประมาทในการเดินทางและการใช้ชีวิตต่างๆ
  • ตรวจสุขภาพประจำปี

โรคไขสันหลัง การบาดเจ็บที่ส่งผลต่อกระดูกสันหลัง เกิดได้กับทุกคนและเกิดจากหลายสาเหตุ ทำให้อัมพฤกษ์ อัมพาต ได้ แนวทางการรักษาและป้องกันการเกิดโรคต้องทำอย่างไรโรคไขสันหลัง โรคข้อและกระดูก โรคระบบประสาท โรคไม่ติดต่อ

ไขสันหลัง

สำหรับไขสันหลังนั้น มีหน้าที่หลักในการเชื่อมต่อการทำงาน รับและส่งสัญญาณต่างๆระหว่างสมองกับเส้นประสาทส่วนปลายที่ควบคุมการการเคลื่อนไหวและการรับรู้ความรู้สึกของเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆในร่างกาย หน้าทีของไขสันหลัง สามารถสรุปได้ ดังนี้

  • รับและส่ง คำสั่งการ ( Motor information ) ในการทำงานของอวัยวะต่างๆ
  • รับและส่งประสาทสัมผัส รับความรู้สึกต่างๆ และ สั่งให้เกิดปฏิกิริยาตอบสนองฉับพลันต่อตัวกระตุ้น ( Stimulus ) เช่น อาการไอ การหลับตา การจาม การเกา เป็นต้น

โรคของไขสันหลัง หากเป็นโรคจากความผิดปรกติของไขสันหลังเองนั้นพบไม่บ่อย โดยมากจากเกิดจากการถูกกระทบกระเทือนโดยตรงต่อกระดูกสันหลัง เช่น อุบัติเหตุ การตกจากที่สูง การถูกยิง การถูกแทง หรือ การติดเชื้อในกระแสลือดที่แพร่กระจายจนลุกลามสู่ไขสันหลัง สำหรับการติดเชื้อสู่ไขสันหลัง เกิดจากโรคต่างๆ เช่น ไขสันหลังอักเสบติดเชื้อ  การอักเสบต่างๆที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ โรคเนื้องอกไขสันหลัง โรคมะเร็ง

สาเหตุของการเกิดโรคไขสันหลัง

สำหรับสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคไขสันหลัง สามารถสรุปสาเหตุได้ ดังนี้

  • การเกิดอุบัติเหตุ กระแทกต่อกระดูกสันหลัง ทำให้มีโอกาสเกิดดารกดทับไขสันหลังของกระดูกสันหลังได้
  • การติดเชื้อโรคที่ส่งผลให้เกิดไขสันหลังอักเสบ ซึ่งมักเกิดจากเชื้อไวรัสชนิดรุนแรง เช่น โรคโปลิโอ โรคหัด โรคคางทูม เป็นต้น
  • การอักเสบของร่างกาย แต่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อโรค เช่น โรคแพ้ภูมิต้านทานตนเอง โรคเนื้องอกต่างๆ โรคเนื้องอกที่ไขสันหลัง เป็นต้น
  • การแพร่กระจายของมะเร็ง เข้าสู่กระแสเลือด และลามเข้าสู่ไขสันหลัง
  • เกิดจาดผลข้างเคียงจากการรับวัคซีนบางชนิด เช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนโรคหัด เป็นต้น
  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรม

อาการของผู้ป่วยโรคไขสันหลัง

สำหรับผู้ป่วยโรคไขสันหลัง จะแสดงอาการสำคัญ ที่ระบบประสาท การควบคุมร่างกาย และ อาการที่หลังบริเวณกระดูกสันหลังโดยตรง สามารถสรุปอาการสำคัญ ได้ดังนี้

  • มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง เช่น แขนขาอ่อน หรือ แขนทั้ง 2 ข้างอ่อนแรง หรือ ขาทั้ง 2 ข้างอ่อนแรง หรือจะมีอาการอ่อนแรงครึ่งซีก
  • มีอาการปวดหลังชนิดเรื้อรัง
  • มีอาการกระตุกที่กล้ามเนื้อ
  • ไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้
  • อาจมีอาการกล้ามเนื้อแขนขาลีบ

การวินิจฉัยโรคไขสันหลัง

การวินิจฉัยเพื่อหาโรคไขสันหลัง นั้นแพทย์จะทำาการ ซักถามประวัติต่างๆ ประวัติการรักษาโรค ประวัติการเกิดอุบัติเหตุ ประวัติการรับวัคซีน และทำการตรวจร่างกายอย่างละเอียด เช่น เอกซเรย์ไขสันหลัง การตรวจน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลัง การเจาะน้ำไขสันหลัง ซึ่งการเจาะน้ำที่ไขสันหลังนั้น สามารถตรวจดู สารผิดปกติ สารภูมิต้านทานเฉพาะโรคต่างๆ ดูเซลล์ผิดปกติต่างๆ และอาจ ต้องตัดชิ้นเนื้อจากก้อนเนื้อที่ไขสันหลัง ไปตรวจทางพยาธิวิทยา ด้วย

การรักษาโรคไขสันหลัง

การรักษาโรคไขสันหลังนั้น มีแนวทางการรักษาโรค โดยการรักษาตามสาเหตุของการเกิดโรค การประคับประคองอาการของโรคตามอาการป่วย และการทำกายภาพบำบัด โดยสามารถสรุปรายละเอียด ดังนี้

  • การรักษาตามสาเหตุของการเกิดโรค เช่น หากเกิดอุบัตติเหตุต้องรับการผ่าตัด หากเกิดจากเนื้องอกให้ทำการผ่าตัดร่วมกับการฉายรังสี และให้ยาปฏิชีวนะเมื่อเกิดจากการติดเชื้อโรค เป็นต้น
  • การรักษาด้วยการประคับประคองตามอาการของโรค เช่น การให้ยาแก้ปวด การใช้สายสวนปัสสาวะ การสวนอุจจาระ เป็นต้น
  • การทำกายภาพบำบัด ในกรณีกล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นต้น

การดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคกระดูกสันหลัง

สำหรับการดูแลตนเองนั้นมีความสำคัญต่อการรักษาโรค โดนจำเป็นต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของ แพทย์ รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน เพื่อลดการติดเชื้อโรค รักษาสุขภาพจิตให้มีคามเข้มแข็ และทำกายภาพบำบัดอย่างสม่ำเสมอ

การป้องกันการเกิดโรคไขสันหลัง

สำหรับการป้องกันการเกิดโรคนี้นั้น ต้องดูแลตนเองไม่ให้มีดอกาสเกิดอุบัติเหตุ รวมถึงต้องรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคที่เป็นสาเหตุของไขสันหลังอักเสบ เช่น โรคโปลิโอ โรคหัด เป็นต้น

โรคไขสันหลัง คือ การบาดเจ็บที่ส่งผลต่อการทำงานของกระดูกสันหลัง โรคข้อและกระดูก พบไม่บ่อย เกิดได้กับทุกคน เกิดจากหลายสาเหตุ ส่งผลต่อโรคอื่นๆได้ เช่น โรคอัมพฤกษ์ โรคอัมพาต การรักษาโรคไขสันหลัง และ การป้องกันการเกิดโรคไขสันหลัง