อหิวาตกโรค ( Cholera ) โรคติดต่อร้ายแรง จากเชื้อแบคทีเรียวิบริโอ โคเลอรี ทำให้เกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง อาเจียน ร่างกายขาดน้ำ และ เสียชีวิตกินอาหารไม่สะอาดอหิวาตกโรค โรคห่า โรคติดต่อ โรคระบบทางเดินอาหาร

สาเหตุของการเกิดอหิวาตกโรค

โรคนี้เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียนที่ระบบทางเดินอาหาร ชื่อ แบคทีเรียวิบริโอ โคเลอรี ( Vibrio Cholerae ) เชื้อแบคทีเรียได้หลั่งสารซิกัวทอกซิน ( Ciguatoxin: CTX ) เมื่อสารซิกัวทอกซินรวมตัวกับโซเดียม หรือ คลอไรด์ ที่ลำไส้ ทำให้เกิดการกระตุ้นการขับน้ำออกจากร่างกาย โดยการอุจจาระ ซึ่งเป็นอาการอย่างกะทันหัน แบคทีเรียวิบริโอ โคเลอรี จะปนเปื้อนอยู่ตามสิ่งปฏิกูล อุจจาระ ซึ่งเชื้อโรคหากกระจายอยู่ในแหล่งน้ำ ก็มีโอกาสปะปนกับอาหาร และ พืชผัก ผลไม้ ต่างๆได้

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคอหิวาตกโรค

อหิวาตกโรคเกิดจากการกินอาหารไม่สะอาด ดังนั้น ปัจจัยต่างๆที่มีโอกาสทำให้เกิดอหิวาตกโรค มีดังนี้

  • ภาวะสุขอนามัยไม่ดี เชื่ออหิวาตกโรค สามารถแพร่กระจายตามแหล่งน้ำ หากการจัดการสิ่งแวดล้อมไม่สะอาด ผิดหลักการอนามัย ทำให้เกิดการระบาดของโรคได้ง่าย
  • ภาวะไม่มีกรดในกระเพาะอาหาร ( Hypochlorhydria/Chlorhydria ) การที่ร่างกายไม่มีกรดในกระเพาะอาหาร ทำให้เมื่อเชื้ออหิวาเข้าสู่ร่างกาย ก็สามารถแพร่กระจาย และ เจริญเติบโต จนปล่อยสารพิษ เข้าสู่ร่างกาย
  • การอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยอหิวาตกโรค เชื้ออหิวาตกโรค สามารถแพร่กระจายผ่านอุจจาระของผู้ป่วย เมื่ออยู่ใกล้ ก็มีดอกาสในารเกิดโรคเช่นกัน
  • การกินอาหารไม่สะอาด และ ไม่ปรุงให้สุกก่อนนำมารับประทาน อาหารทะเล พวกหอย หากปรุงไม่สุกมีโอกาสเสี่ยงทำให้เกิดอหิวาตกโรคได้

การวินิจฉัยอหิวาตกโรค

สำหรับการวินิจฉัยโรค แพทย์จะทำการซักประวัติ และ สังเกตุอาการเบื้องต้นก่อน จากนั้น ต้องทำการคตรวจร่างกาย ตรวจอุจจาระ การวินิจฉัยโรค สามารถระบุสาเหตุ ของอาการท้องร่วง เพื่อทำการรักษาอย่างถูกต้อง

อาการของผู้ป่วยอหิวาตกโรค

เมื่อเชื้อแบคทีเรียวิบริโอ โคเลอรี ( Vibrio Cholerae )เข้าสู่ร่างกาย จะมีระยะเวลาในการเกิดโรคจะเกิดภายใน 2 ชั่วโมง ถึง 5 วัน ซึ่งเป็นระยะเวลาในการฟักตัวของโรค เมื่อเกิดอาการของอหิวาตกโรค จะแสดงอาการ ท้องเสียอย่างเฉียบพลัน ถ่ายเป็นน้ำ อุจจาระมีสีขาวลักษณะเหมือนน้ำซาวข้าว อุจจาระมีกลิ่นเหม็นคาว คลื่นไส้อาเจียน ไม่มีไข้ ซึ่งอาการของโรคสามารถสรุป ได้ดังนี้

  • มีอาการปวดท้อง แบบปวดบิด
  • เกิดภาวะการขาดน้ำและเกลือแร่ โดยแสดงอาการ กระหายน้ำ ปากแห้ง คอแห้ง ผิวหนังแห้ง ไม่มีน้ำตา กระหม่อมบุ๋ม ปัสสาวะน้อย ปัสสาวะมีสีเหลืองเข้ม หรือ ไม่ถ่ายปัสสาวะ อ่อนเพลีย ชีพจรเต้นเร็ว ความดันโลหิตต่ำ

การรักษาอหิวาตกโรค

สำหรับการรักษาอหิวาตกโรค ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาอย่างทันที่ โดยให้การรักษาอาการร่างกายขาดน้ำก่อน และ แพทย์จะพิจารณาการใช้ยาปฏิชีวนะ ในการฆ่าเชื้อโรค หลังจากตรวจอุจจาระและทราบเชื้อโรคที่ชัดเจน โดยรายละเอียดของการรักษาอหิวาตกโรค มีดังนี้

  • ให้น้ำเกลือ เพื่อให้ร่างกายได้รับน้ำและเกลือแร่เพื่อทดแทนส่วนที่เสียไป
  • ให้สารอาหารน้ำทดแทน ( Intravenouse Fluids ) ในกรณีที่ผู้้ป่วยเกิดภาวะขาดน้ำและเกลือแร่อย่างรุนแรง จำเป็นต้องให้สารน้ำทางน้ำเกลือเพื่อป้องกันการช็อคอย่างเฉียบพลัน
  • ให้ยาปฏิชีวนะ เนื่องมาจากเชื้ออหิวา เช่น ยาดอกซีไซคลิน ( Doxycycline ) ยาอะซีโธรมัยซิน ( Azithromycin )

ภาวะแทรกซ้อนของอหิวาตกโรค

ความอันตรายของอหิวาตกโรค นอกจากการขาดน้ำแล้ว โรคแทรกซ้อน เป็นอีกหนึ่งที่ต้องเฝ้าระวัง โดยภาวะแทรกซ้อนของอหิวาตกโรค มีดังนี้

  • ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ( Hypoglycemia ) ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ เป็นภาวะอันตราย หากเกิดกับเด็ก อาจทำให้เกิดอาการชัก ไม่ได้สติ และถึงขั้นเสียชีวิต
  • ภาวะโพแทสเซียมต่ำ ( Hypokalemia ) ภาวะโพแทสเซียมต่ำ ส่งผลต่อระบบหัวใจและเส้นประสาท เป็นอันตรายต่อชีวิต
  • ภาวะไตวาย การเสียสมดุลย์ของน้ำในร่างกาย ทำให้ไตไม่ทำงาน ส่งผลต่อของเสียต่างๆ ตกค้างในร่างกาย เป็นอันตรายต่อชีวิต

การป้องกันการเกิดอหิวาตกโรค

สำหรับการป้องกันการเกิดอหิวาตกโรค โดยหลักๆ คือ การรักษาความสะอาด ของสิ่งแวดล้อมและอาหาร โดยการป้องกันการเกิดอหิวาตกโรค มีรายละเอียด ดังนี้

  • ดื่มน้ำสะอาด งดการกินน้ำแข็ง เพราะ อาจมีสิ่งเจือปนในน้ำแข็งได้
  • การรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน
  • ปรุงอาหารสุก และ กินอาหารที่สุกเท่านั้น
  • ทำความสะอาด วัตถุดิบของอาหาร ทั้ง ผัก ผลไม้ โดยล้างให้สะอาดก่อนนำมาประกอบอาหาร และ รับประทาน
  • รับการฉีดวัคซีนป้องกันอหิวาตกโรค
  • หากมีผู้ป่วยอหิวาตกโรคอยู่ใกล้ ต้องรักษาความสะอาดเป็นพิเศษ

อหิวาตกโรค ( Cholera ) คือ โรคติดต่อ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียวิบริโอ โคเลอรี ( Vibrio Cholerae ) ที่ระบบทางเดินอาหาร ทำให้เกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง โดยสาเหตุเกิดจากการกินอาหารไม่สะอาด อาการของโรคอหิวาตกโร ถ่ายเหลว อาเจียน ร่างกายขาดน้ำ และ เสียชีวิต การรักษาโรค และ การป้องกันโรค โรคอหิวาตกโรค คือ โรคเป็นติดต่อ ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข

หญ้าขัด ขัดมอน สมุนไพร ประโยชน์และสรรพคุณช่วยกระตุ้นและบีบมดลูก ช่วยเจริญอาหาร ขับเลือด ขับเสมหะ ข้อควรระวังและโทษของขัดมอน สามารถทำให้แท้งลูกได้ขัดมอน หญ้าขัด สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นหญ้าขัด พืชตระกูลเดียวกันกับชบา มีชื่อสามัญหลายชื่อ เช่น  Paddy’s lucerne , Queensland hemp , Arrowleaf sida , Common sida , Cuba juite ชื่อวิทยาศาสตร์ของขัดมอน คือ Sida rhombifolia L.  ชื่อเรียกอื่นๆของขัดมอน เช่น หญ้าขัดมอนใบยาว ขัดมอนใหญ่ ยุงปัด ยุงกวาด หญ้าขัดใบยาว เน่าะเค้ะ นาคุ้ยหมี่ ลำมะเท็ง อึ่งฮวยอิ๋ว อวกตักซั่ว หญ้าขัดใบยาว เป็นต้น

ชนิดของหญ้าขัด

สำหรับหญ้าขัด มี 4 ชนิด  คือ หญ้าขัดใบยาว , หญ้าขัดใบป้อม , หญ้าขัดหลวง และ หญ้าขัด

ลักษณะของต้นหญ้าขัด

ต้นหญ้าขัด จัดเป็นพืช ชนิดไม้พุ่ม สามารถพบได้ทั่วทุกภาคตามป่าเบญจพรรณ โดยลักษณะของต้นหญ้าขัด มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นของหญ้าขัด สูงไม่เกิน 1 เมตร ลำต้นกลม สีเขียว มีขน
  • ใบของหญ้าขัด เป็น ใบเดี่ยว เรียงกันตามก้านแบบห่าง ๆ ใบลักษณะเหมือนหอก รูปสามเหลี่ยมข้าวหลามตัด ขอบใบมีขน โคนใบกลม ขอบใบเป็นแฉกๆฟันเลื่อย โคนใบจะเรียบ
  • ดอกของหญ้าขัด ดอกจะออกตามง่ามใบ มีสีเหลืองอ่อน ลักษณะเป็นรูประฆัง
  • ผลของหญ้าขัด ลักษณะครึ่งวงกลม มีกลีบเลี้ยงห่อหุ้มอยู่ โดยในแต่ละซีกจะมีเมล็ดสีดำ 1 เมล็ด มีขนอยู่ที่ขั้วเมล็ด

สรรพคุณของหญ้าขัด

การใช้ประโยชน์ของหญ้าขัด และ สรรพคุณของหญ้าขัด ที่ใช้ในการรักษาโรค และ การบำรุงร่างกาย นั้น สามารถใช้ ส่วนของ รากหญ้าขัด ใบหญ้าขัด ทั้งต้น โดยรายละเอียดของสรรพคุณของหญ้าขัด มีดังนี้

  • ต้นหญ้าขัด ใช้เป็นน้ำยาบ้วนปาก บำรุงเหงือกและฟัน ช่วยลดไข้ รักษาโลหิตเป็นพิษ แก้ท้องเสีย แก้ปวดท้อง
  • รากของหญ้าขัด ช่วยทำให้เจริญอาหาร แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน แก้ร้อนใน รักษาโรคกระเพาะ ขับเลือด ขับรก รักษาอาการปวดประจำเดือน รักษาอาการปวดมดลูก รักษางูกัด แก้ปวด
  • ใบของหญ้าขัด ใช้เป็นยาบ้วนปาก ช่วยลดไข้ ช่วยขับเสมหะ แก้อาการสะอึก รักาาโรคปอด แก้ท้องเสีย แก้ปวดท้อง ช่วยขับปัสสาวะ แก้บวม

ประโยชน์ต้นหญ้าขัด

สำหรับประโยชน์อื่นๆของหญ้าขัด ที่นอกเหนือจากการรักษาโรค และ การบำรุงร่างกายนั้น หญ้าขัด สามารถนำมาทำไม้กวาดได้ และ นำมาทำอาหารสัตว์ ได้

โทษของหญ้าขัด

รากและลำต้นของหญ้าขัด มีสรรพคุณ ช่วยกระตุ้นการบีบตัวของมดลูก หากใช้ในสตรีมีครรภ์ จะเร่งให้เกิดการขับเลือด ทำให้เป็นอันตรายต่อเด็กใรครรภ์ หรือ อาจทำให้แท้งลูกได้

หญ้าขัด คือ สมุนไพร จัดเป็นพืชชนิดไม้พุ่ม เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ขัดมอน หญ้าขัดมอนใบรี หญ้าขัดใบมน ประโยชน์ และ สรรพคุณของหญ้าขัด เช่น ช่วยกระตุ้นและบีบมดลูก ช่วยเจริญอาหาร ขับเลือด ขับเสมหะ รักษาโรคปอด ข้อควรระวังในการใช้ขัดมอน หรือ โทษของขัดมอน สามารถทำให้แท้งลูกได้