เนื้องอกในสมอง เนื้อเยื่อผิดปรกติที่สมอง ทำให้เกิดอาการปวดหัวอย่างรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน ชัก มีปัญหาการพูดและการฟัง รวมถึงการมองเห็น กลายเป็นมะเร็งสมองได้โรคเนื้องอกในสมอง เนื้องอกในสมอง โรคสมอง โรคระบบประสาทและสมอง

ชนิดของเนื้องอกที่สมอง

สำหรับการแบ่งชนิดของเนื้องอกที่สมองนั้น สามารถแบ่งได้ 2 ชนิด คือ เนื้องอกที่เป็นเนื้อธรรมดา และ เนื้องอกที่เป็นเนื้อร้าย ดดยรายละเอียดของเนื้องอก แต่ละประเภทมีรายละเอียด ดังนี้

  • เนื้องอกในสมองที่เป็นเนื้อธรรมดา ( Benign Brain Tumors ) ซึ่งเนื้องอกชนิดนี้ ไม่อันตรายและเจริญเติบโตช้า สามารถรักษาให้หายขาดได้
  • เนื้องอกในสมองที่เป็นเนื้อร้าย ( Malignant Brain Tumors ) ซึ่งเนื้องอกชนิดนี้ มีอันตรายเจริญเติบโตแบบผิดปกติ เป็น เซลล์มะเร็ง และจะลามเข้าสู่สมอง ไม่สามารถควบคุมการเจริญเติบโตได้

สาเหตุของการเกิดเนื้องอกในสมอง

สำหรับการเกิดเนื้องอกที่สมองนั้น เราสามารถแยกสาเหตุของโรคได้ 2 สาเหตุ แยกตามชนิดของเนื้องอก คือ สาเหตุของเนื้องอกในสมองแบบธรรมดา และ สาเหตุของเนื้องอกในสมองแบบเนื้อร้าย โยรายละเอียดของการเกิดเนื้องอกในสมอง มีดังนี้

  • สาเหตุการเกิดเนื้องอกในสมองแบบเนื้อธรรมดา พบว่าเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม เซลล์มีการแบ่งตัวและเจริญเติบโตแบบผิดปกติ
  • สาเหตุการเกิดเนื้องอกในสมองแบบเนื้อร้าย เกิดจากเซลล์มะเร็งก่อที่สมอง โดยเซลล์มะเร็งจากอวัยวะอื่นลามเข้าสู่สมอง ทางกระแสเลือด จนเกิดเนื้อร้าย โดยเนื้อร้ายจะเจริญเติบโตได้เร็ว และเป็นอันตรายต่อร่างกาย

ระยะของการเกิดเนื้องอกในสมอง

ระยะของการเกิดเนื้องอกในสมอง มี 4 ระยะ เหมือนกับการเกิดมะเร็ง ซึ่งในการดูแลผู้ป่วยเนื้องอกในสมอง จะไม่แบ่งระยะของมะเร็ง แต่จะแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ป่วยเนื้องอกในสมองที่สามารถผ่าตัดรักษาได้ กลุ่มผู้ป่วยเนื้องอกในสมองที่ไม่สามารถผ่าตัดรักษาได้ และ กลุ่มผู้ป่วยเนื้องอกในสมองที่รักษาแล้วลับมาเป็นซ้ำ

อาการของผู้ป่วยโรคเนื้องอกในสมอง

เมื่อเกิดเนื้อร้ายขึ้นที่สมองนั้น จะแสดงอาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบประสาทและสมอง โดยลักษณะอาการของโรคเนื้องอกในสมอง เป็นอาการที่แสดงออกอย่างรุนแรง ทำให้ผู้ป่วยได้รับความทรมาน โดยสามารถสรุปอาการของโรคได้ดังนี้

  • ปวดอย่างรุนแรง และ เพิ่มความปวดมากขึ้นเรื่อย ๆ
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • มีอาการง่วงซึม
  • ประสิทธิภาพในการพูดลดลง พูดจาติดขัด
  • ประสิทธิภาพการฟังลดลง ไม่ได้ยินเสียง
  • ประสิทธิภาพการมองเห็นลดลง มองเห็นเป็นภาพเบลอๆ หรือ มองเห็นภาพซ้อน
  • มีอาการสับสน มึนงง
  • ความจำไม่ดี
  • ประสิทธิภาพการทรงตัวลดลง
  • มีอาการชัก
  • แขนขาอ่อนแรง
  • อัมพาตครึ่งซีก

อาการต่างๆเหล่านี้ บ่งบอกถึงความผิดปรกติของการทำงานของสมองที่เชื่อมต่อกับระบบประสาท หากว่ามีอาการลักษณะดังกล่าว มีความเสี่ยงในการเกิดโรคเนื้องอกในสมองได้

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดเนื้องอกในสมอง

ปัจจัยต่างๆที่ทำให้มีโอกาสเกิดเนื้องอกในสมองนั้น มีหลายปัจจัย สามารถสรุปได้ ดังนี้

  • พันธุกรรม ในกรณีที่คนในครอบครัวมีประวัติการเกิดเนื้องอกในสมอง พบว่าคนในครอบครัวเดียวกันมีโอกาสการเกิดเนื้องอกในสมอง สูงกว่าคนในครอบครัวที่ไม่มีประวัติ
  • การได้รับรังสีอันตรายเป็นเวลานาน เช่น รังสีจากไมโครเวฟ คลื่นโทรศัพท์ รังสีจากการฉายแสงรักษามะเร็ง รังสีจากระเบิดปรมาณู แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานใดเชื่อมโยงว่ารังสีเหล่านี้ แต่การได้รับรังสีเข้าสู่ร่างกาย นั้นเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดเนื้องอกในสมองได้
  • อายุ ซึ่งจากสถิติการเกิดโรคเนื้องอกในสมอง พบว่าเกิดขึ้นกับทุกเพศทุกวัย แต่อัตราการเกิดโรคของผู้ใหญ่มีสูงกว่าเด็ก

การวินิจฉัยโรคเนื้องอกในสมอง

เมื่อพบว่าระบบการทำงานของร่างกายผิดปรกติ ลักษณะคล้ายกับโรคเนื้องอกในสมอง นั้นแพทย์จะทำการวินิจฉัย โดยการซักประวัติ และ อาการโดยเบื้องต้น จากนั้นต้องทำการตรวจร่างกายอย่างละเอียด โดยมีวิธีการตรวจร่างกาย ดังนี้

  • การทำการเอกซเรย์สมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ( MRI ) หรือ การทำตรวจเอกซเรย์สมองทางคอมพิวเตอร์ (CT scan) จะทำให้แพทย์เห็นภาพเกี่ยวกับความผิดปรกติของสมองอย่างชัดเจน
  • การตัดชิ้นเนื้อเพื่อตรวจทางพยาธิวิทยา เพื่อตรวจให้ชัดเจนว่าเนื้องอกเป็นเนื้องอกชนิดใด
  • การตรวจเลือด เพื่อประเมินสภาพร่างกายโดยทั่วไปของผู้ป่วย
  • ตรวจเอกซเรย์ปอด เพื่อดูความผิดปกติในช่องอก ปอด และ การแพร่กระจายของโรคมะเร็งสู่ปอด

วิธีรักษาเนื้องอกในสมอง

การรักษาโรคเนื้องอกในสมอง นั้น มีความแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ขึ้นอยู่กับชนิดของเนื้องอก แบะ สภาพร่างกายของผู้ป่วย  โดยแนวทางการรักษาเนื้องอกในสมอง มีอยู่ 3 วิธีหลัก คือ การผ่าตัด การฉายรังสี การให้ยาเคมีบำบัด และการให้ยารักษาเพื่อบรรเทาอาการต่างๆ

  • การผ่าตัดเพื่อรักษาเนื้องอกในสมอง สามารถทำได้หากจุดที่เกิดเนื้องอกไม่กระทบต่อเนื้อเยื่อและเส้นประสาท ซึ่งการผ่าตันนั้แพทย์จะทำการผ่าตัดเอาเนื้องอกออกให้มากที่สุด
  • การฉายแสงเพื่อรักษาเนื้องอกในสมอง เป็นการใช้รังสีพลังงานสูง ทำลายเนื้องอกที่สมอง การฉายรังสีนั้นสามารถทำได้ทั้งวิธีการฉายรังสีจากภายนอก และ การฝังรังสี
  • การให้เคมีบำบัด เป็นการใช้ยาเพื่อทำบายเซลล์เนื้องอก โดยการให้เคมีบำบัดมีทั้งรูปแบบยากิน และ ยาฉีด ซึ่งการให้เคมีบำบัดนั้นต้องอยู่ในวินิจฉัยของแพทย์

ภาวะแทรกซ้อนจากการเกิดเนื้องอกในสมอง

สิ่งที่ต้องระวังจากการเกิดโรคเนื้องอกในสมอง คือ ภาวะแทรกซ้อน ซึ่งภาวะแทรกซ้อนของโรคเนื้องอกในสมองมีความอันตรายถึงชีวิต โดยสามารถสรุป ได้ดังนี้

  • การตกเลือดที่สมอง ณ จุดที่มีเนื้องอกอยู่
  • ภาวะการอุดตันของน้ำไขสันหลัง ทำให้โพรงสมองคั่งน้ำ
  • ภาวะสมองเคลื่อนตัวจากฐานกะโหลก ทำให้ความดันสมองเพิ่มขึ้นอย่างเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิต
  • อาการชัก เมื่อเนื้องอกในสมองขยายตัว หรือ สมองมีอาการบวม เสี่ยงต่อการเกิดลมชัก แพทย์จะให้ทานยาต้านอาการชัก

การป้องกันการเกิดเนื้องอกในสมอง

เนื่องจากในปัจจุบัน การศึกษาทางการแพทย์ยังไม่ทราบยืนยันสาเหตุของการเกิดโรคเนื้องอกในสมองได้ แต่ปัจจัยการเกิดโรค คือ พันธุกรรม การรับรังสีอันตราย และ อายุของผู้ป่วยและภูมิต้านทานต่อโรคของแต่ละคน ดังนั้น ในปัจจัยการเกิดโรคบางอย่างสามารถป้องกันได้ โดยสามารถสมุนปแนวทางการป้องกันการเกิดโรคเนื้องอกในสมอง ได้ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้รังสีอันตราย เป็นเวลานาน เช่น รังสีไมโครเวฟ รังสีปรมณู
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และ ทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เช่น ที่มีควันบุหรี่ สถานที่สกปรกไม่ถูกหลักอนามัย
  • หมั่นตรวจร่างกาย คัดกรองโรค เพื่อให้สามารถรักษาโรคได้ทันท่วงที
  • หากมีอาการผิดปรกติ ปวดหัวรุนแรง ให้พบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของโรค

โรคเนื้องอกในสมอง การเกิดเนื้อเยื่อผิดปรกติที่สมอง ทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น ปวดหัวอย่างรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน ชัก มีปัญหาการพูดและการฟัง รวมถึงการมองเห็น สามารถกลายเป็นมะเร็งสมองได้ หากไม่ได้รับการรักษา

เชื้อราในช่องคลอด ( Vaginal candidiasis ) ติดเชื้อรากลุ่มแคนดิดา ทำให้คันอวัยวะเพศและภายในช่องคลอด ตกขาวมีกลิ่นเหม็น ช่องคลอดบวมแดง แสบตอนฉี่ เจ็บตอนมีเซ็กซ์ เชื้อราในช่องคลอด โรคเชื้อราในช่องคลอด โรคติดเชื้อ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ภาวะเชื้อราในช่องคลอด จัดเป็นโรค ที่พบได้บ่อยสำหรับผู้หญิง โรคนี้สามารถติดต่อได้ทางการมีเพศสัมพันธ์ การติดเชื้อราในช่องคลอดมีกเกืดร่วมกับการติดเชื้อชนิดอื่นๆ อาทิ โรคเริม โรคเอดส์ เป็นต้น รวมถึงโรคเบาหวานก็เป็นส่วนหนึ่งของการเกิดเชื้อราในช่องคลอด

สาเหตุของการติดเชื้อราในช่องคลอด

สาเหตุของการเกิดโรค คือ เชื้อราในกลุ่มแคนดิดา ( Candida) เป็นเชื้อราที่ทำให้ช่องคลอดอักเสบ ซึ่งโดยปกติแล้วเชื้อที่อยู่ในช่องคลอดของสตรีนั้นไม่ทำให้เกิดโรค แต่หากเกิดภาวะภูมิต้านทานโรคต่ำ ก็จะทำให้เกิดโรคได้ นอกจากนั้นแล้ว โรคเบาหวาน โรคเอดส์ ทำให้เกิดเชื้อราในช่องคลอดได้

รวมถึงความอับชื้นที่อวัยวะเพศนานๆ ก็จะทำให้เชื้อราเกิดโรค เช่น การไม่เปลี่ยนผ้าอนามัย การใส่กางเกงยีนส์ที่คับๆ การอยู่ในที่ร้อนชื้นนานๆ การล้างช่องคลอดอย่างไม่ถูกต้อง ก็เป็นสาเหตุของการเกิดเชื้อราในช่องคลอดได้

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการติดเชื้อราในช่องคลอด

สามารถสรุป ปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลให้เกิดเชื้อราในช่องคลอด ประกอบด้วย

  • การตั้งครรภ์ ทำให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงขึ้น น้ำตาลกลูโคสในช่องคลอดก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย ทำให้เชื้อราเจริญเติบโตได้ดี
  • ภาวะการเกิดโรคเบาหวาน
  • การได้รับยาปฏิชีวนะเป็นเวลานาน ทำให้ขาดภาวะความสมดุลของเชื้อราในช่องคลอด
  • การกินยาสเตียรอยด์ ทำให้กดภูมิต้านทานโรค
  • ผู้ป่วยโรคเอดส์ มีภาวะภูมิต้านทานโรคบกพร่อง
  • การใช้กางเกงที่คับ อับ และ ชื้น นานๆ
  • การมีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อราในช่องคลอด

อาการโรคเชื้อราในช่องคลอด

สำหรับผู้ป่วยโรคเชื้อราในช่องคลอด นั้นจะมีอาการที่แสดงออกอย่างชัดเจน คือ คันที่อวัยวะเพศ และ คันในช่องคลอด ตกขาวผิดปรกติ โดยมีลักษณะขาวข้น หรือ สีเหลืองนวล ตกขาวมีกลิ่นเหม็น ผนังช่องคลอดบวมแดง ช่องคลอดเปื่อยยุ่ยเป็นขุย มีฝ้าขาวที่ช่องคลอด แสบเวลาปัสสาวะ เจ็บปวดเวลามีเพศสัมพันธ์ สามารถสรุปอาการ ได้ดังนี้

  • คันอย่างรุนแรงที่ปากช่องคลอด
  • คันอย่างรุนแรงภายในช่องคลอด
  • เจ็บเวลาปัสสาวะ
  • เจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์
  • ตกขาวผิดปกติ มีลักษณะสีขาวข้น หรือ ขาวข้นจับตัวเป็นก้อน
  • ปากช่องคลอดบวมแดง
  • เกิดผื่นแดงที่ช่องคลอดทั้งภายในและภายนอก และผื่นแดงสามารถกระจายไปบริเวณหัวหน่าว อวัยวะเพศ หรือ ต้นขา ได้

ภาวะแทรกซ้อนของโรคเชื้อราในช่องคลอด

สำหรับโรคเชื้อราในช่องคลอด นั้นมีภาวะการแทรกซ้อนของโรคอื่นๆไม่มาก แต่การเกิดโรคแทรกซ้อนจเกิดกับแผลถลอก ซึ่งมีดอกาสในการติดเชื้ออื่นๆได้อีก จนเกิดโรคเรื้อรังรักษาไม่หายขาด

การวินิจฉัยโรคเชื้อราในช่องคลอด

การวินิจฉัยโรค แพทย์จะวินิจฉัยโรคเชื้อราในช่องคลอด โดยการซักประวัติการตกขาว ตรวจภายใน และ นำสารคัดหลั่งไปตรวจโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ เพื่อตรวจดูเชื้อโรคที่เป็นสาเกตุของการเกิดโรค

การรักษาโรคเชื้อราในช่องคลอด

สำหรับแนวทางการรักษาโรคเชื้อราในช่องคลอด นั้นแพทย์จะทำการรักษา 2 ลักษณะ คือ การรักษาด้วยการฆ่าเชื้อรา และ การรักษาสาเหตุของการเกิดโรคอื่นๆ เช่น รักษาเบาหวาน เป็นต้น โดยแนวทางการรักษาโรคเชื้อราในช่องคลอด มีดังนี้

  • รักษาด้วยการใช้ยาฆ่าเชื้อรา เป็นยาสอดทางช่องคลอด ในกลุ่ม imidazole derivatives หรือ ให้ยาชนิดรับประทานกลุ่ม Ketoconazole , Polyene antibiotics หรือ Itraconazole
  • ให้ใช้ยาทาเพื่อบรรเทาอาการคัน
  • รักษาโรคอื่นๆที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรค เช่น โรคเบาหวาน

การป้องกันการเกิดโรคเชื้อราในช่องคลอด

สำหรับการป้องกันการติดเชื้อราในช่องคลอด นั้นเราต้องทราบสาเหตุและปัจจัยของการเกิดโรคก่อน ซึ่งเราจะสรุปแนวทางกการป้องกันการเกิดโรคเชื้อราในช่องคลอด มีดังนี้

  • ไม่สวมกางเกงที่รัดแน่น และ อับชื้น โดยไม่ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่อับชื้นเป็นเวลานาน
  • หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจุดซ่อนเร้น
  • หลีกเลี้ยงการสวนล้างช่องคลอดโดยไม่จำเป็น
  • รับประทานอาหารประเภทโยเกิร์ต จะช่วยปรับสภาพความเป็นกรดด่างภายในช่องคลอด
  • ไม่ควรใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็น
  • หมั่นเปลี่ยนผ้าอนามัยอย่างสม่ำเสมอ ในช่่วงมีประจำเดือน

โรคเชื้อราในช่องคลอด ( Vaginal candidiasis ) คือ ภาวะการติดเชื้อราที่ช่องคลอด เกิดจากเชื้อราในกลุ่มแคนดิดา ( Candida) ทำให้คันที่อวัยวะเพศและภายในช่องคลอด ตกขาวผิดปรกติ มีกลิ่นเหม็น ผนังช่องคลอดบวมแดง แสบเวลาปัสสาวะ เจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์ โรคติดเชื้อ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สาเหตุ อาการ การรักษาโรค และ การป้องกันทำอย่างไร