ทักษะการใช้ชีวิต ( Life skills ) สำคัญต่อการดำรงชีวิตของลูกให้อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข ทักษะที่สิ่งสำคัญ คือ การเข้าสังคม ทำให้สามารถปรับตัวได้อย่างเข้าใจ

การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก เทคนิคการเลี้ยงลูก ทักษะชีวิต

ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต ( Life skills ) หมายถึง ความสามารถในการนำกระบวนการต่างๆ ไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงาน และการอยู่ร่วมกันในสังคม ด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหา และความขัดแย้งต่างๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น

ดังนั้น ต้องอาศัยทักษะ สร้างประสบการณ์การเรียนรู้จากคุณพ่อคุณแม่ เพื่อช่วยให้ลูกสามารถปรับตัว เผชิญปัญหาอย่างสร้างสรรค์ทั้งกับตัวเอง คนรอบข้างและสังคม เรามีกิจกรรมแนะนำเพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ประยุกต์ปรับใช้สอนลูกๆ จากการเสริมสร้างทักษะชีวิตสามารถสรุป กิจกรรมที่เสริมทักษะชีวิต มีดังนี้

  • การชวนลูกเล่น การเล่นเป็นกระบวนการเรียนรู้ ที่ลูกจะเรียนรู้ถึงทักษะต่างๆ ได้เป็นอย่างดี เช่น เรียนรู้การอยู่ร่วมกันในสังคม การยอมรับของกลุ่ม เมื่อลูกได้เล่นกับเพื่อนๆ หรือเมื่อลูกต้องการของเล่น ก็ต้องรอให้เพื่อนเล่นเสร็จก่อน เป็น การเรียนรู้เรื่องความอดทน รอคอย หรือเรื่องการแบ่งปันของเล่นให้กับเพื่อน เป็นต้น
  • การทำงานบ้าน การช่วยงานบ้านเล็กๆ น้อยๆ นั้น สามารถเรียนรู้เรื่องความรับผิดชอบจากเรื่องใกล้ตัวลูกได้ เป็นการสอนให้ลูกรู้จักพึ่งพาตัวเอง คุณพ่อคุณแม่อาจให้ลูกเริ่มจากงานเล็กๆ ที่เหมาะสมกับวัย เช่น เด็กเล็กเรียนรู้การเก็บของเล่นหลังจากเล่นเสร็จ การจัดเก็บรองเท้าให้เป็นระเบียบ ช่วยทำงานบ้าน เป็นต้น
  • การทำอาหารและงานครัว นอกจากลูกๆ ได้ช่วยงาน ได้อิ่มอร่อยแบบครอบครัวแล้ว ยังเป็นกิจกรรมสนุก แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายของลูกที่คุณช่วยได้ เช่น วิธีการเลือกผักเนื้อสัตว์ เมื่อไปจับจ่ายซื้ออาหารที่ตลาดกับคุณแม่ หรือขณะที่ล้างผัก เด็ดผัก หรือหั่นผัก แต่ละขั้นตอนการทำล้วนแต่อาศัยความตั้งใจ สมาธิในการทำงานค่ะ
  • การเงิน การจับจ่ายใช้สอย เมื่อลูกถึงวัยที่จะดูแลสิ่งของ จัดการกับตัวเลขเรื่องเงินได้ จำเป็นอย่างมากที่คุณพ่อคุณแม่ต้องสอนทักษะการใช้เงิน เรียนรู้ถึงคุณค่าของเงิน เรียนรู้ว่าสิ่งของที่ลูกอยากได้ ต้องแลกเปลี่ยนด้วยการทำงานหรือการ เสียสละ เช่น ช่วยคุณพ่อรดน้ำต้นไม้ เพื่อจะได้ค่าขนมนำมาหยอดกระปุก หรือเก็บออมเงินไว้ในธนาคาร
  • การทำกิจกรรมนอกบ้าน คือ แหล่งเรียนรู้ทักษะชีวิตที่ดีอีกหนึ่งทางค่ะ เช่น พาลูกไปช่วยงานบุญ ลูกจะ เรียนรู้ผ่านสถานการณ์จริง สิ่งที่เห็น เช่น การช่วยเหลืองานครัว การเก็บกวาด ทำความสะอาดวัด หรือการยกของถวายพระ ลูกจะเรียนรู้ถึงการทำงานร่วมกัน

การเรียนรู้ของเด็ก จะเรียนรู้ด้วยการมองเห็นและทำตามแบบที่ได้เห็น ดังนั้น การเปิดโอกาสให้ลูกได้รับประสบการณ์ที่หลากหลายอย่างสร้างสรรค์ จะช่วยฝึกฝนกระบวนการคิด ทำให้ลูกรู้จักคิด รู้จักตัดสินใจกับสถานการณ์จริงของชีวิตในทางบวกค่ะ

ทักษะการใช้ชีวิต ( Life skills ) คือ ทักษะสำคัญในการใช้ดำรงชีวิต การเลี้ยงลูกทุกวันนี้ การอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข ทักษะชีวิต เป็นสิ่งสำคัญ การทำงานอยู่ร่วมกับผู้อื่นและการเข้าสังคม ทำให้ บุตรหลาน ของเราดำรงชีวิตในวันที่ลำบากได้ และ สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมอย่างเข้าใจ

ทักษะทางสังคมที่สำคัญทักษะหนึ่ง คือ การรู้จักรอคอย เด็กที่มีทักษะการเข้าสังคมสูงจะสามารถรอคอยได้นานขึ้น วิธีสอนลูกให้รู้จักการรอคอย พ่อแม่สามารถนำไปใช้ได้

ทักษะการเข้าสังคม การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก ทักษะทางสังคม

ปัจจุบันโลกได้พัฒนามากขึ้น ความสะดวกสบาย ทุกสิ่งทุกอย่างได้มาอย่างง่ายดาย ทำให้เด็กหลายคนกำลังมีปัญหา เรื่อง ความอดทน การพัฒนาทักษะการดำรงค์ชีวิต ทักษะหนึ่ง คือ ทักษะการเข้าสังคม การรอคอย จีงเป็นหนึ่งในทักษะการเข้าสังคมที่ลูกน้อยต้องรับมือ

ลักษณะของเด็ก Gen Z

สำหรับเด็กรุ่นใหม่ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยีมากมาย มีลักษณะ คือ ชอบความสะดวกรวดเร็ว ไม่ชอบการรอคอย ใจร้อน และมีความอดทนต่ำ ซึ่งหากปล่อยให้เกิดพฤติกรรมเช่นนี้ย่อมส่งผลเสียในระยาวอย่างแน่นอน การจะแก้ไขพฤติกรรมของลูกได้ คุณพ่อคุณแม่จึงต้องร่วมกันสร้างทิศทางและเป้าหมายในการสอนลูก (Direction) ให้รู้จักการรอคอย เด็กที่ขาดความอดทน ไม่รู้จักรอคอย ยึดถือตัวเองเป็นศูนย์กลาง เคยชินกับการที่อยากได้อะไรต้องได้ทันที มีปัญหาในการควบคุมอารมณ์ ก็ไม่สามารถอดทนทำให้สำเร็จได้

ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการเลี้ยงดูที่ตามใจมากจนเกินไป หรือขัดใจมากจนเกินไป ทำให้เด็กมีพฤติกรรมที่ต้องการจะเอาชนะ กลายเป็นเด็กเอาแต่ใจตัวเอง ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ไม่เป็นที่ยอมรับในสังคม คุณพ่อคุณแม่จึงควรฝึกให้ลูกรู้จักการรอคอย เพราะถือเป็นพื้นฐานสำคัญในการเข้าสังคมของเด็กในอนาคต

วิธีการเลี้ยงลูกให้รับมือกับการรอคอย

สำหรับการฝึกลูกให้สามารถรอคอย อะไรได้นานมากขึ้น มีวิธีและข้อแนะนำ 6 วิธี มีดังนี้

  1. การไม่ตอบสนองในทันทีที่เด็กต้องการ ควรบอกให้รู้ว่าเมื่อรอแล้วอีกไม่นานก็จะได้ ซึ่งจะค่อย ๆ ปลูกฝังว่าเขาไม่จำเป็นต้องได้อะไรในทันทีทุกครั้งเสมอไป
  2. การบอกจุดสิ้นสุดของการรอคอยให้ชัดเจน เช่น “ถ้าอยากกินขนม ต้องกินข้าวให้เสร็จก่อน” เพื่อทำให้การอดทนรอคอยของเขามีจุดสิ้นสุด ไม่ใช่การรอแบบไม่มีจุดหมาย เช่น บอกลูกว่า “เดี๋ยวก่อน” หรือ “รอแป๊บนึง” เด็กจะไม่เข้าใจว่าต้องรอถึงเมื่อใด
  3. การช่วยลดความรู้สึกกระวนกระวายใจให้เด็กเมื่อต้องรอ หากลูกเริ่มมีท่าทีหงุดหงิด โมโห หรือกระวนกระวายเวลาที่ต้องคอยอะไรนาน ๆ อย่าดุ หรือตำหนิ เพราะจะยิ่งเป็นการ กระตุ้นความว้าวุ่นใจของเขาให้มากยิ่งขึ้น คุณพ่อคุณแม่ต้องช่วยลดความรู้สึกกระวนกระวายใจลงให้ได้ เช่น ชวนทำอย่างอื่นเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ หรือ ถ้าเบี่ยงเบนไม่สำเร็จ ก็ปลอบใจลูกที่กำลังหงุดหงิดให้รู้สึกผ่อนคลาย
  4. การหากิจกรรมที่ต้องใช้ความอดทนทำด้วยกัน เช่น การวาดภาพ การต่อบล็อกไม้ ต่อเลโก้ ทำสิ่งประดิษฐ์ ฯลฯ เพราะนอกจากฝึกความอดทนได้ดีแล้ว ยังเป็นการฝึกสมาธิให้ลูกได้เป็นอย่างดี
  5. การฝึกให้เด็กรู้จักรอคอย เช่น ให้ไปเล่นร่วมกับเด็กอื่น ๆ ที่ต้องมีการเข้าคิว พาลูกต่อแถวรอเข้าห้องน้ำในห้างสรรพสินค้า เข้าคิวเวลาออกไปทำธุระนอกบ้าน หรือรอคิวซื้ออาหาร โดยชี้ให้เด็กเห็นว่าทุกคนต่างก็ต้องรอเพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ
  6. การแสดงความชื่นชม เมื่อถึงจุดสิ้นสุดการรอคอยแล้วลูกสามารถรอได้โดยไม่อาละวาด ด้วยคำพูด ท่าทาง สีหน้า น้ำเสียง การชื่นชมเมื่อลูกรู้จักรอคอย เป็นการสร้างแรงจูงใจให้เขาสามารถรอคอยในครั้งต่อไป การชื่นชมเมื่อลูกทำได้เมื่อถึงจุดสิ้นสุดการรอคอย จึงส่งผลดีต่อความรู้สึกของลูก และสามารถสร้างแรงจูงใจในการรออย่างถูกวิธี หรือทำกิจกรรมที่มีประโยชน์ เช่น อ่านหนังสือ ทำการบ้าน ฯลฯ คุณพ่อคุณแม่ควรชื่นชมลูกด้วยนะคะ

เด็กแต่ละคนมีพื้นฐานของครอบครัวที่แตกต่างกัน รวมถึง ลักษณะนิสัยต่างๆของเด็กแต่ละคน มีความแตกต่างกัน การฝึกให้รู้จักรับมือกับสถานการณ์ทางสังคมต่างๆของลูก จึงเป็นสิ่งจำเป็น ต้องเลือกใช้วิธีที่เหมาะสมกับ ลักษณะของนิสัยส่วนตัว และ สภาพสิ่งแวดล้อมและสังคมของเด็กด้วย และ ที่สำคัญ คนที่จะขับเคลื่อนให้เด็กหนึ่งคนโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ เป็นคนที่มีคุณภาพต่อสังคม คือ พ่อแม่ และ ครอบครัว

ลูกมีปัญหารอไม่เป็น ทักษะทางสังคม ที่สำคัณอย่างหนึ่ง คือ การรอคอย เด็กที่มี ทักษะการเข้าสังคม สูงจะสามารถรอคอยได้นานขึ้น ซึ่ง วิธีสอนลูกให้รู้จักการรอคอย มีวิธีแนะนำให้ พ่อแม่ สามารถนำไปใช้ได้ ดังนี้