หืดหอบ หอบหืด ( Asthma ) ภาวะหลอดลมอักเสบ เกิดการหดตัวแบบชั่วคราว ทำให้หอบเหนื่อย แน่นหน้าอก ทำให้เสียชีวิตได้ แนวทางการรักษาและป้องกันโรคทำอย่างไรโรคหืดหอบ โรคหอบหืด โรคระบบทางเดินหายใจ หายใจไม่ออก

ลักษณะของโรคหืดหอบ ซึ่งสัญญาณที่บ่งบอกอาการของโรคหอบหืด ที่แสดงได้ชัดเจน คือ เหนื่อยหอบ หายใจเสียงหวีด แน่นหน้าอก หายใจลำบากและมีอาการไอ เกิดขึ้นถี่และรบกวนการใช้ชีวิต ต้องใช้ยาบรรเทาอาการหายใจไม่ออก

โรคหืดหอบ คือ โรคระบบทางเดินหายใจ ชนิดเรื้อรัง ไม่ใช่โรคติดต่อ แต่เป็นโรคที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิต เพราะ ทำให้หายใจไม่ออก หากเกิดในเด็ก อาจทำให้พัฒนาการเรียนรู้ช้า หากเกิดในวัยผู้ใหญ่การทำงานก็จะไม่เต็มที่ ชีวิตประจำวันจะไม่ปรกติ ผู้ป่วยโรคหืดหอบ ต้องรับการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป

โรคหืดหอบในประเทศไทย 

สำหรับโรคหืดหอบในประเทศไทย นั้น พบได้ร้อยละ 7 ของประชากรในประเทศ โรคนี้พบได้บ่อยและมีโอกาสเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ แต่อัตราการเกิดโรคในเด็กช่วงอายุ 10 – 12 ปี มากที่สุด โดยพบว่าเด็กร้อยละ 10-12% ของเด็กทั้งหมดมีโอกาสเป็นโรคหืดหอบ โดยเฉพาะประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร และทั่วโลกพบว่าโรคนี้มีแนวโน้มเกิดมากขึ้น

จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขประเทศไทย พบว่า มีผู้ป่วยโรคหอบหืดเพิ่มขึ้นทุกปี ในปี พ.ศ. 2538 มีผู้ป่วย 66,679 คน และ ปี พ.ศ. 2552 มีผู้ป่วยเป็น 102,273 คน

สาเหตุของการเกิดโรคหืดหอบ

การเกิดโรคหืดหอบมีปัจจัยต่างๆของการเกิดโรค หลายสาเหตุ สามารถสรุปปัจจัยการเกิดโรคหอบหืด ได้ดังนี้

  • เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม พบว่าคนที่มีประวัติการเป็นโรคหอบหืด คนในครอบครัวที่สืบเชื้อสายเดียวกันมีโอกาสเกิดโรคสูงกว่า
  • การเกิดโรคภูมิแพ้ สำหรับคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ที่ทางเดินหายใจมีโอกาสเกิดโรคหืดหอบได้
  • การสูดดมสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย การได้รับสารเคมีต่างๆ เช่น กลิ่นสี ยาฆ่าแมลง สเปรย์แต่งผม หรือ ควันบุหรี่ สูดดมเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจนานๆ ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจผิดปรกติได้
  • ภาวะการการออกกำลังกายน้อย หรือ ออกกำลังกายในสภาพอากาศเย็นทำให้ระบบทางเดินหายใจหดตัว
  • ภาวะความเครียดสะสม ความเครียดส่งผลให้ระบบการหายใจผิดปกติโดยไม่รู้ตัว
  • การได้รับสารพิษ โดยเฉพาะสารในกลุ่มซัลไฟต์ ( Sulfites ) และ สารกันบูด โดยสารเหล่านี้มักจะเจือปนในอาหารหรือเครื่องดื่มบางชนิด เช่น ผลไม้แห้ง เบียร์ ไวน์ เป็นต้น
  • ภาวะการเกิดโรคกรดไหลย้อน กรดในกระเพาะอาหารหากไหลย้อนเข้าหลอดอาหาร ทำให้ผู้ป่วยที่เป็นหอบหืดได้
  • การติดเชื้อโรคที่ระบบทางเดินหายใจ เช่น ไวรัสทางเดินหายใจ ไซนัสอักเสบเรื้อรัง เป็นต้น

การกำเริบของโรคหืดหอบ

สำหรับการเกิดโรคหืดหอบกำเริบสามารถเกิดได้ตลอดเวลา โดยสัญญาณเตือนและอาการที่แสดงออกจากระบบหายใจอุดกั้น ต้องรับการรักษาจากแพทย์โดยด่วน สถานการณ์ต่างๆที่เป็นปัจจัยกระตุ้นการเกิดโรคหืดหอม มีดังนี้

  • หืดหอบขณะออกกำลังกาย สำหรับผู้ป่วยโรคหืดหอบ หากออกกำลังกายหนักเกินไป ทำให้อาการกำเริบได้ แต่ผู้ป่วยโรคหืดหอมสามารถออกกำลังกายได้ โดยควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังในสภาพอากาศแห้งและเย็น
  • หืดหอบขณะทำงาน สำหรับสภาพอากาศที่มีสารพิษ ฝุ่น ควันและแก๊ส สามารถทำให้เกิดอาการกำเริบของหืดหอบได้
  • หืดหอบจากการแพ้อากาศ สำหรับผู้ป่วยที่อาการแพ้อากาอยู่แล้ว หากถูกกระตุ้นด้วยสารก่อภูมิแพ้ ในภาวะอากาศเย็น ทำให้เกิดอาการกำเริบได้

อาการของโรคหืด

สำหรับอาการของโรคหืดหอบนั้นจะแสดงอาการแตกต่างกันในแต่ละบุคคล โดยอาการของโรคหืดหอบโดยทั่วไป มีการแสดงอาการ ดังนี้

  • ภาวะการหายใจลำบาก หายใจสั้น หายใจลำบากหายใจไม่อิ่ม หายใจมีเสียงวี้ด
  • เจ็บหน้าอก
  • มีอาการแน่นหน้าอก
  • มีอาการเหนื่อยหอบ
  • มีอาการไอ
  • มีปัญหานอนหลับ หลับไม่สนิท

สำหรับการแสดงอาการของโรคหืดหอบที่รุนแรงต้องเข้ารับการรักษาจากแพทย์อย่างเร่งด่วน มีดังนี้

  • มีอาการหายใจหอบและถี่
  • หายใจลำบากและมีเสียงดัง
  • หากใจลำบาก และ ใช้อุปกรณ์พ่นยาช่วยแต่ไม่ดีขึ้น
  • หายใจหอบ เมื่อทำกิจกรรมเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

ภาวะแทรกซ้อนของโรคหืดหอบ

การเกิดโรคหืดหอบ หากเป็นภาวะโรคระดับเรื้อรัง ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคและเป็นอันตรายต่อชีวิต มีรายละเอียด ดังนี้

  • ภาวะแทรกซ้อนทั่วไปของโรคหืดหอบ เช่น ภาวะการขาดน้ำ ภาวะปอดแฟบ ภาวะหมดแรง ภาวะการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใน เช่น ไซนัสอักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ เป็นต้น
  • ภาวะแทรกซ้อนของโรคหืดหอบที่ร้ายแรง เช่น ภาวะการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน เป็นสาเหตุของการเสียชีวิต จากโรคหืดหอบ
  • ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดกับระบบทางเดินหายใจ เช่น ภาวะทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรัง ภาวะหัวใจล้มเหลว ภาวะปอดทะลุ ภาวะมีอากาศในประจันอกและใต้หนัง เป็นลมจากการไอ เป็นต้น
  • ภาวะแทรกซ้อนโรคหืดหอบในสตรีมีครรภ์ สำหรัยผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ จะไม่สามารถควบคุมอาการของโรคหืดหอบได้ อาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ ทารกตลอดก่อนกำหนด ทารกมีน้ำหนักตัวน้อย หรือ ทารกตายในครรภ์ เป็นต้น

การรักษาโรคหืด

สำหรับการรักษาโรคหืดหอบในปัจจุบัน ไม่มีวิธีการรักษาให้โรคนี้หายขาดได้ แต่การรักษาทำเพื่อการควบคุมอาการให้เป็นปกติมากที่สุด ผู้ป่วยที่มีอาการหืดหอบบ่อย จะได้รับยาเพื่อลดอาการของโรค แนวทางการรักษามีแนวทาง คือ การให้ยาเพื่อควบคุมอาการของโรค การรักษาเพื่อบรรอาการของโรค และ การปรับพฤติกรรมเพื่อลดการกระตุ้นการเกิดโรค รายละเอียด ดังนี้

  • การใช้ยาควบคุมการเกิดโรคหืดหอบ ผู้ป่วยต้องใช้เป็นประจำ เพื่อการรักษาอาการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม ยาที่มีประสิทธิภาพสูงสุด คือ ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ ( Inhaled Corticosteroid ) และ ยากลุ่มอื่น ๆ เช่น ยาต้านลิวโคไทรอีน ( Leukotriene Modifier Antagonist ) เป็นต้น
  • การบรรเทาอาการหอบหืด ได้แก่ การใช้ยาพ่นขยายหลอดลม
  • การปรับพฤติกรรมต่างๆที่กระตุ้นการเกิดโรคหืดหอบ เช่น รักษาความสะอาดของสภาพแวดล้อม การไม่ออกกำลังกายหนักเกินไป การไม่ออกแรงมากเกินไป เป็นต้น

การป้องกันโรคหืดหอบ  

แนวทางการป้องกันโรคหืดหอบ เป็นสิ่งที่สำคัณและควรทำมากที่สุด เพื่อป้องกันการเกิดโรค เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาโรคหืดหอบให้หายขาด การดูแลตนเองและป้องกันการเกิดโรคหืดหอบ มีดังนี้

  • หมั่นตรวจร่างกาย ตรวจสอบการหายใจ ประจำปี
  • รับวัคซีนต่างๆที่กระตุ้นการเกิดโรคหิืดหอบ เช่น รับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกันปอดบวม เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงการถูกกระตุ้นให้เกิดโรคหืดหอบ เช่น ไม่อยู่ในสถานที่ที่สภาพอากาศไม่ดี ไม่ออกกำลังกายขณะอากาศเย็นจัด
  • หากมีอาการโรคหืดหอบ ต้องเข้าพบแพทย์และรับการตรวจอย่างสม่ำเสมอ
  • เรียนรู้เรื่องการป้องกันตับพื้นฐานสำหรับผู้ป่วยโรคหืดหอบ
  • รับประทานอาหารที่เหมาะสม ถูกสุขอนามัย
  • ดื่นน้ำสะอาดให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • พักผ่อนให้เพียงพอ

โรคหืดหอบ ( Asthma ) การอักเสบของหลอดลม ภาวะการหดตัว หรือ ตีบแคบของหลอดลม แบบชั่วคราว ทำให้หอบเหนื่อย แน่นหน้าอก ทำให้เสียชีวิตได้ โรคของคนกรุง แนวทางการรักษาโรคทำอย่างไร โรคระบบทางเดินหายใจ

มะดัน ( Madan ) เป็นผลไม้รสเปรี้ยว วิตามินซีสูง กินผลสดได้ ต้นมะดันเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณขับเสมหะ แก้เจ็บคอ เป็นยาระบาย แก้ไข้ทับระดู โทษของมะดัน

มะดัน ต้นมะดัน สรรพคุณของมะดัน ประโยชน์ของมะดัน

ต้นมะดัน ชื่อสามัญ คือ Madan ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะดัน คือ Garcinia schomburgkiana Pierre พืชตระกูลเดียวกับมังคุด ชื่อเรียกอื่นๆของมะดัน เช่น ส้มมะดัน  ส้มไม่รู้ถอย เป็นต้น

ลักษณะของต้นมะดัน

ต้นมะดัน เป็นไม้ยืนต้น ไม่ผัดใบ มีรสเปรี้ยว สามารถเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่เขตร้อน โดยเฉพาะประเทศไทย สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ด ลักษณะของลำต้น ใบ ดอก ผล มีดังนี้

  • ลำต้นมะดัน มีความสูงประมาณ 7 – 10 เมตร ลักษณะแตกกิ่งก้านเป็นพุ่ม เปลือกของลำต้นเรียบ สีน้ำตาลอมดำ
  • ใบมะดัน ลักษณะเป็นใบเดี่ยว มีสีเขียวเข้ม ขอบใบเรียบ โคนใบและปลายใบแหลม แผ่นใบมะดันลักษณะเรียบลื่น
  • ดอกมะดัน ดอกของมะดันจะออกตามซอกใบ ออกดอกเป็นดอกเดี่ยว ลักษณะเป็นกระจุก ซึ่งกระจุกหนึ่งจะมี 3 – 6 ดอก ดอกมะดันมีสีเหลืองอมส้ม กลีบดอกคล้ายรูปไข่
  • ผลมะดัน มีลักษณะเป็นทรงรี ปลายของผลแหลม มีสีเขียว ผิวเรียบ มันลื่น ผลมะดันมีรสเปรี้ยว ภายในผลมีเมล็ด ผลละหนึ่งเมล็ด

คุณค่าทางโภชนากการของมะดัน

สำหรับการนำมะดันมาบริโภค นั้นนิยมบริโภคใบอ่อนและผลของมะนั้น นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนากการของผลมะดันและใบมะดัน โดยมีายละเอียด ดังนี้

  • คุณค่าทางโภชนาการของผลมะดัน ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 6.5 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม โปรตีน 0.3 กรัม กากใยอาหาร 0.4 มิลลิกรัม วิตามินเอ 431 หน่วยสากล วิตามินบี2 0.04 มิลลิกรัม วิตามินซี 5 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 17 มิลลิกรัม และ ธาตุฟอสฟอรัส 7 มิลลิกรัม
  • คุณค่าทางโภชนาการของใบมะดันอ่อน ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 7.3 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม โปรตีน 0.3 กรัม วิตามินเอ 225 หน่วยสากล วิตามินบี1 0.01 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.04 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.02 มิลลิกรัม วิตามินซี 16 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 103 มิลลิกรัม และ ธาตุฟอสฟอรัส 8 มิลลิกรัม

ประโยชน์ของมะดัน

เนื่องจากมะดันมีวิตามิหลายชนิด และ มีวิตามินซีสูง มะดันจึงถูกนำมาเป็นส่วนประกอบของเครื่องสำอางค์บำรุงผิวพรรณ ทั้ง สบู่ ครีมบำรุงผิว โทนเนอร์ เป็นต้น นอกจากนั้นมะดันมีรสเปรี้ยว ดังนั้น จึงนิยมนำเอามะดันมาทำอาหาร ให้รสเปรี้ยวต่างๆ เช่น น้ำพริก ต้มยำ เป็นต้น ผลของมะดัน สามารถนำมาทำผลไม้แช่อิ่มได้

สรรพคุณของมะดัน

สำหรับมะดัน จัดเป็นพืชพื้นเมือง มีประโยชน์ต่อการดำรงค์ชีวิต ในด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค โดย สรรพคุณของมะดัน มีการนำเอา รกมะดัน รากมะดัน ใบมะดัน ผลมะดัน เปลือกมะดัน ดอกมะดัน มาใช้ประโยชน์ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • ดอกมะดัน มีสรรพคุณช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอก รักษามะเร็ง
  • ผลมะดัน มีรสเปรี้ยว สรรพคุณช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยสร้างภูมิต้านทานโรค ทำให้ชุ่มคอ แก้เจ็บคอ แก้กระษัย รักษาไข้หวัด แก้ไอ ขับเสมหะ ขับประจำเดือน ช่วยขับน้ำคาวปลา แก้ระดูเสีย แก้ประจำเดือนมาไม่ปรกติ
  • ใบมะดัน สรรพคุณ แก้กระษัย ช่วยขับเลือด ช่วยฟอกเลือด รักษาหวัด แก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยแก้ระดูเสียในสตรี แก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ช่วยขับประจำเดือน
  • รกของมะดัน สรรพคุณแก้กระษัย ช่วยขับเลือด ฟอกเลือด รักษาไข้หวัด รักษาไข้ทับระดู ขับเสมหะ
  • รากของมะดัน สรรพคุณเป็นยาระบายอ่อนๆ ขับปัสสาวะ แก้กระษัย ช่วนขับเลือด ช่วยฟอกเลือด รักษาไข้หวัด รักษาไข้ทับระดู ขับเสมหะ
  • เปลือกของมะดัน สรรพคุณแก้กระษัย ช่วนขับเลือด ช่วยฟอกเลือด รักษาไข้หวัด รักษาไข้ทับระดู ขับเสมหะ

ความเด่นของมะดัน คือ ความเปรี้ยว มีกรดอินทรีย์ วิตามินซีสูง ช่วยสร้างภูมิคุ้มโรคกรดอินทรีย์ในมะดัน สามารถนำมาใช้ในการดูแลผิวพรรณ ช่วยให้ผลัดเซลล์ผิว จึงนำมาใช้ในกระบวนการผลิตเครื่องสำอาง ทั้ง สบู่ ครีมบำรุงผิว เป็นต้น

โทษของมะดัน

มะดันมีลักษณะเด่น ที่ รสเปรี้ยวมาก มีความเป็นกรดสูง แต่ก็มีวิตามินซี การใช้ประโยชน์และการบริโภคมะดัน จึงต้องอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม หากมากเกินไปจะเกิดโทษต่อร่างกายได้ โดยโทษของการกินมะดันมากเกินไป มีดังนี้

  • สำหรับผู้ป่วยโรคระบบทางเดินอาหาร ไม่ความกินมะดัน ที่มีความเปรี้ยวในปริมาณมาก เนื่องจากกรดและความเปรีี้ยวของมะดันจะทำให้ระบบทางเดินอาหารทำงานหนักขึ้น
  • สำหรับผู้ป่วยโรคไต ควรงดการกินมะดัน เนื่องจากรสเปรี้ยวของมะดัน จะกระตุ้นให้ขับปัสสาวะมากขึ้น ทำให้ไตทำงานหนักขึ้น
  • กรดจากอาหารที่มีรสเปรี้ยว จะกัดกร่อน ผิวเคลือบฟัน ทำให้ให้ฟันสึกหรอเร็ว ทำให้เสียวฟัน
  • การกินอาหารรสเปรี้ยวมากเกินไป ทำให้ ท้องเสีย ร้อนใน และ ระบบน้ำเหลืองในร่างกายมีปัญหา

มะดัน ( Madan ) คือ พืชไม้ยืนต้น เป็นผลไม้รสเปรี้ยว สามารถบริโภคผลสดได้ ต้นมะดันเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของมะดัน สรรพคุณของมะดัน เช่น ขับเสมหะ แก้เจ็บคอ เป็นยาระบาย แก้ไข้ทับระดู แก้กระษัย โทษของมะดัน ผลมะดันมีวิตามินซีสูง มี เบตาแคโรทีน รวมถึงแร่ธาตุสำคัญ เช่น แคลเซียม เหล็ก ฟอสฟอรัส เป็นตัน