เก๊าท์ ( Gout ) ข้ออักเสบจากภาวะกรดยูริกในเลือดสูง ทำให้เกิดผลึกที่ข้อกระดูกจนข้ออักเสบ เกิดที่หัวแม่ ปวดเท้า เท้าบวมแดง การรักษาโรคเก๊าท์ต้องทำอย่างไรโรคเก๊าท์ อาการโรคเก๊าท์ โรคข้อกระดูก รักษาเก๊าท์

โรคเก๊าท์ คือ โรคข้อกระดูกอักเสบ จากการสะสมตะกอนของกรดยูริกที่ข้อกระดูก ซึ่งเป็นโรคข้อและกระดูกที่พบได้บ่อยได้ทั่วไป โดยปรกติแล้วร่างกายของมนุษย์ มีกรดยูริกอยู่ประมาณร้อยละ 80 ซึ่งร้อยละ 20 มักได้รับจากรับประทานอาหาร ผลึกตะกอนกรดยูริกในข้อกระดูก ส่งผลให้เกิดการอักเสบที่ข้อ จะมีอาการปวด บวม ร้อนที่ข้อกระดูก ทรมานร่างกาย โรคนี้พบในเพศชายมากว่าผู้หญิงถึง 9 เท่า แต่เพศหญิงที่มีภาวะหมดประจำเดือนมักมีอาการข้ออักเสบได้ง่าย

กรดยูริก คือ กรดที่ร่างกายสร้างขึ้นมาส่วนหนึ่ง และ เป็นกรดที่ได้จากการรับประทานอาหารจำพวกสัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ อาการทะเล และ พืชผักบางชนิด กรดยูริกจะสะสมอยู่บริเวณข้อกระดูก ผนังหลอดเลือด และ ไต ซึ่งกรดยูริกจะถูกร่างกายขับออกมาทางปัสสาวะ

สาเหตุของการเกิดโรคเก๊าท์

สำหรับโรคเก๊าท์เกิดจากกรดยูริกในเลือดสูงกว่าปรกติ จนเกิดผลึกสะสมตามข้อกระดูก มักเกิดที่หัวแม่เท้า ทำให้เกิดอาการข้อกระอักเสบ ปวดอย่างรุนแรง รวมถึงมีอาการบวมแดงที่ข้ดกระดูกหัวแม่เท้า ซึ่งสาเหตุของการสะสมกรดยูริกในเลือดสูงกว่าปรกติ มี 2 สาเหตุหลักๆ ดังนี้

  • การสะสมกรดยูริกในร่างกายสูง มักเกิดจากการรับประทานอาหารที่ีกรดยูริกสูง จนทำให้ร่างกายขับกรดยูริกออกจากร่างกายไม่ทัน
  • ความผิดปรกติของการขับกรดยูริกออกจากร่างกาย เกิดจากความผิดปรกติของไต หากไตทำงานไม่ปรกติ ความสามารถการขับกรดยูริกก็จะลดลงด้วย

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคเก๊าท์

ปัจจัยที่กระตุ้นให้ระดับกรดยูริกในเลือดสูงจนตกตะกอนเป็นผลึกยูริกที่ข้อกระดูก มีรายละเอียด ดังนี้

  • พฤติกรรมการรับประทาน ซึ่งอาหารที่มีกรดยูริกสูง ได้แ่ เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ อาหารทะเล เครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาลฟรุกโตส
  • ผลจากการใช้ยาบางชนิดที่ทำให้ร่างกายขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะได้น้อยลง เช่น ยาลดความดันโลหิต ยาขับปัสสาวะ
  • ผลข้างเคียงจากการเกิดโรคอื่นๆ เช่น โรคมะเร็ง โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคสะเก็ดเงิน โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และ โรคไต เป็นต้น

อาการของโรคเกาท์

สำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์ จะแสดงอาการที่ข้อกระดูก โดยเฉพาะส่วนเท้า และ หัวแม่เท้า ซึ่งจะมีอาการ ปวด บวม แดง และ ร้อน บริเวณนิ้วหัวแม่เท้า โดยอาการปวดนี้มักจะเป็นๆหายๆ ลักษระอาการปวดแบบเรื้อรัง นอกจากการแสดงอาการที่หัวแม่เท้ายังสามารถปวดได้ในทุกข้อกระดูก อาการของโรคเก๊าท์ จะแสดงอาการต่างๆ ดังนี้

  1. เจ็บปวดที่หัวแม่เท้า ลักษณะอาการ คือ ปวด บวม แดง และ ร้อนที่ข้อกระดูก
  2. มีอาการปวดข้อกระดูกแบบเป็นๆหายๆ
  3. อาการปวดข้อจะมากขึ้ม เมื่อรับประทานอาหารบางชนิด เช่น สัตว์ปีก อาหารทะเล เครื่องในสัตว์ และ เครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์

แนวทางการวินิจฉัยโรคเก๊าท์

สำหร้บการตรวจวินิจฉัยโรคเก๊าท์ แพทย์จะสอบถามประวัติ ลักษณะของอาการ และ ทำการตรวจร่างกาย เพื่อความแม่นยำในการวินิจฉัยโรค โดย เจาะน้ำในข้อกระดูกเพื่อตรวจดูผลึกของกรดยูริก ตรวจเลือดเพื่อดูระดับกรดยูริกในเลือด และ การตรวจ dual energy CT scan ช่วยให้แพทย์เห็นผลึกของกรดยูริกที่อยู่ในข้อกระดูก

การรักษาโรคเก๊าท์

แนวทางการรักษาโรคเก๊าท์ สามารถทำได้โดย การลดกรดยูริกในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติ ไม่ให้มากเกินไป ปัจจุบันสามารถรักษาได้ด้วย การรับประทานยาละลายผลึกกรดยูริก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น จำเป็นต้องรับประทานยาแบบต่อเนื่อง นอกจากการรับประทานยาลดผลึกยูริก การปรับพฤติกรรมการดำรงค์ชีวิต จะช่วยให้การรักษาโรคทำได้เร็วมากขึ้น แนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน สามารถปฏิบัติได้ดังนี้

  1. หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอร์ เช่น สุรา เบียร์ ไวน์
  2. ลดการกินอาหารจำพวก สัวต์ปีก อาหารทะเล
  3. ให้ดื่มน้ำให้มาก ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  4. หากเกิดอาการปวด ให้ใช้การประคบเย็น และ การพักการใช้งานข้อกระดูก การบีบนวดจะทำให้กรดยูริก กระจายตัวตามข้อมากขึ้น ทำให้เกิดการอักเสบมากขึ้น
  5. หลีกเลี่ยงการรับประทานยาขับปัสสาวะ และ ยาลดความดันโลหิต เนื่องจากยาเหล่านี้มีฤทธิ์ทำให้กรดยูริกในเลือดสูงขึ้น
  6. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  7. รักษาน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วนเกินไป

การป้องกันโรคเก๊าท์

โรคเก๊าท์ เกิดจากกรดยูริกในร่างกายสูงกว่าปรกติ ดังนี้ การรักษาโรคเก๊าท์ต้องบำรุงไต ให้ไตทำงานอย่างปรกติ ให้ใตสามารถขับกรดยูริกออกจากร่างกายได้ และ แนวทางการป้องกันโรคเก๊าท์ก็เช่นกัน สามารถทำได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค โดยไม่รับประทานอาหารที่มีกรดยูริกสูง แนวทางการป้องกันโรคเก๊าท์ มีดังนี้

  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีกรดยูริกสูง เช่น เนื้อสัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ อาหารทะเลบางชนิด เครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ เป็นต้น
  • รักษาน้ำหนักตัวใหอยู่ในภาวะปรกติ อย่าให้ร่างกายอ้วนเกินไป
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เนื่องจากการปัสสาวะช่วยขับกรดยูริกในร่างกายได้
  • การบรรเทาอาการปวดข้อกระดูกให้ใช้การปรพคบเย็น และ พักการใช้งานข้อกระดูก
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ

โรคเก๊าท์ ( Gout ) ข้ออักเสบจากภาวะกรดยูริกในเลือดสูง ทำให้เกิดผลึกที่ข้อกระดูก เกิดที่หัวแม่ ปวดเท้า เท้าบวมแดง การรักษาโรคเก๊าท์ทำอย่างไร สาเหตุของโรคเก๊าท์เกิดจากอาหารทะเล

ไข้ปวดข้อ โรคชิคุนกุนยา ภาวะติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา Chikungunya virus มียุงลายเป็นภาหะนำโรค อาการไข้สูง ปวดตามข้อ ผื่นขึ้นตามตัว ไม่อันตรายถึงชีวิต

ชิคุนกุนยา โรคไข้ปวดข้อ โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ

โรคไข้ปวดข้อยุงลาย หรือ โรคชิคุนกุนยา เป็นโรคที่ไม่มียา หรือ วัคซีนป้องกัน โดยมียุงเป็นพาหะนำโรค เหมือน โรคไข้เลือดออก  แต่พบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก เมื่อเกิดโรคป่วยจะมีอาการนอนซม ปวดข้อจนเดินไม่ได้ โรคชิคุณกุนย่า เกิดจากยุงลายที่มีเชื้อโรคไปกัดมนุษย์และแพร่เชื้อโรคสู่คน ทำให้คนนั้นเกิดโรคได้  สำหรักการแพร่ระบาดของโรคนี้ในประเทศไทย พบว่ามีรายงานการแพร่กระจายของโรคในภาคใต้ตอนล่างของไทย ช่วงปี พ.ศ. 2552 โดยมาตรการที่สำคัญในขณะนั้น กระทรวงสาธารณสุข ลงพื้นที่เร่งให้ความรู้ประชาชนเพื่อรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลาย

สาเหตุของการติดเชื้อไวรัส

  1. เกิดจากเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา ซึ่งเป็น RNA Virus จัดอยู่ใน genus alphavirus และ family Togaviridae ไวรัสชิคุนกุนยามีความใกล้ชิดกับ O’nyong’nyong virus และ Ross River virus ที่พบในประเทศออสเตรเลีย รวมทั้งไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคไข้สมองอักเสบ eastern equine encephalitis และ western equine encephalitis
  2. เชื้อไวรัสชิคุนกุนยาติดต่อกันได้โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ เมื่อยุงลายตัวเมียกัดและดูดเลือดผู้ป่วยที่อยู่ในระยะไข้สูง ซึ่งเป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือด เชื้อไวรัสจะเข้าสู่กระเพาะยุง และเพิ่มจำนวนมากขึ้น แล้วเดินทางเข้าสู่ต่อมน้ำลาย เมื่อยุงที่มีเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาไปกัดคนอื่นก็จะปล่อยเชื้อไปยังคนที่ถูกกัด ทำให้คนนั้นเกิดอาการของโรคได้
  3. ระยะฟักตัวของโรคโดยทั่วไปประมาณ 1-12 วัน แต่ที่พบบ่อยประมาณ 2-3 วัน
  4. ระยะติดต่อเป็นช่วงระยะเวลาที่ผู้ป่วยไข้สูง ประมาณวันที่ 2 – 4 เนื่องจากเป็นระยะที่มีเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาอยู่ในกระแสเลือดมากที่สุด

อาการของโรคชิกุนย่า

สำหรับอาการผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรคชิคุณกุนย่า จะมีไข้สูงอย่างกระทันหัน คันตามร่างกาย พบตาแดง จะปวดข้อ ซึ่งบางรายอาจมีอาการข้ออักเสบ ตาม ข้อมือ ข้อเท้าและเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อยๆ ปวดข้อหรือข้อบวมแดงอักเสบ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเริ่มมีอาการปวดข้อ ภายใน 10 วัน หลังจากได้รับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย จะเกิดผื่นบริเวณลำตัวและแขนขา แต่ไม่มีอาการคัน ผื่นนี้จะหายได้เองภายใน 10 วัน และพบอาการปวดกล้ามเนื้อ เมื่อยล้า มีไข้ และต่อมนํ้าเหลืองโต แต่ไม่พบว่ามีอาการชาหรือเจ็บบริเวณฝ่ามือหรือเจ็บฝ่าเท้า ร่วมด้วย

การรักษาโรคชิกุนย่า

สำหรับวิธีรักษาโรคชิกุนยา จากที่กล่าวในข้างต้นยังไม่มียาที่สามารถรักษาโรคติดต่อนี้ได้ ทำได้เพียงประครองและรักษาตามอาการ เช่น ให้ยาลดไข้ ยาแก้ปวด และพักผ่อนให้มากๆ รักษาสุขภาพ

การป้องกันโรคชิกุนย่า

วิธีการป้องกันโรคชิกุนยา ขณะนี้ยังไม่มียา หรือวัคซีน ที่สามารถรักษาโรคนี้ได้ ทำได้เพียงการหลีกเลี่ยงสาเหตุของโรคติดเชื้อ โดยการไม่ให้ยุงลายกัด โดยเราได้สรุปการป้องกันการติดเชื้อไวรัส ได้ดังนี้

  1. การป้องกันโรคชิคุนกุนยาที่ดีที่สุดคือ ป้องกันไม่ให้ถูกยุงลายกัด
  2. ใช้สารไล่ยุง DEET, icaridin, PMD หรือ IR3535
  3. สวมใส่เสื้อผ้าที่ป้องกันไม่ให้ยุงกัด ติดมุ้งลวดในบ้าน หรือทายากันยุงขณะทำงานและออกนอกบ้าน
  4. ยาทากันยุงชนิดที่มีส่วนผสมของไพรีธรอยด์ช่วยป้องกันได้พอสมควร
  5. กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง โดยเฉพาะแหล่งน้ำขัง เริ่มจากในบ้านก่อน ไม่ว่าจะเป็นแจกันดอกไม้ที่ใส่น้ำไว้ ขาตู้ใส่น้ำกันมด ตุ่มใส่น้ำไม่ปิดฝา จากนั้นขยายอกบริเวณรอบบ้าน เช่น ขวดพลาสติก แก้วพลาสติกที่มีน้ำขัง ยางรถยนต์เก่าและแอ่งน้ำตามธรรมชาติ ฯลฯ
  6. ร่วมมือช่วยกันในชุมชนดูแลไม่ให้เกิดน้ำขังขึ้น จะเห็นได้ว่ามาตราการป้องกันยุงลาย นอกจากจะป้องกันไข้เลือดออกแล้ว ยังช่วยป้องกันโรคชิคุนกุนยาได้อีกด้วย

สมุนไพรช่วยลดไข้ แก้ปวด ช่วยบรรเทาอาการของโรคนี้ได้ สมุนไพรที่มีสรรพคุณลดไข้ แก้ปวดเมื่อย ประกอบด้วย

หอมหัวใหญ่ สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชสมุนไพรหอมหัวใหญ่
สะระแหน่ มินต์ สมุนไพร พืชสวนครัวสะระแหน่
ฟักข้าว สมุนไพร สรรพคุณของฟักข้าว ประโยชน์ของฟักข้าวฟักข้าว
บุก สมุนไพร สรรพคุณของบุก ประโยชน์ของบุกบุก
ชะพลู สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชล้มลุกชะพลู
ตะไคร้ สมุนไพร พืชสมุนไพร สมุนไพรไทยตะไคร้
ส้มโอ ผลไม้ สมุนไพร สมุนไพรไทยส้มโอ
กระเพรา สสมุนไพร ผักสวนครัว ประโยชน์ของกระเพรากระเพรา

ไข้ปวดข้อ โรคชิคุนกุนยา เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา ( Chikungunya virus ) ยุงลายเป็นภาหะนำโรค อาการไข้สูง ปวดตามข้อ ไม่อันตรายถึงชีวิต แนวทางการรักษาและป้องกันโรค


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove