เส้นเลือดสมองแตก ภาวะสมองขาดเลือดและออกซิเจน ทำให้สมองถูกทำลาย สูญเสียการควบคุมร่างกาย เป็นภาวะอันตราย ต้องรับการรักษาจากแพทย์อย่างใกล้ชิด คนสูบบุหรี่เสี่ยงหลอดเลือดสมองแตก เส้นเลือดสมองแตก โรคสมอง อัมพฤษ์

เส้นเลือดสมองแตก จัดเป็นโรคอันตราย ต้องนำผุ็ป่วยส่งโรงพยาบาลให้ทัน โรคนี้คนไทยเป็นเยอะและเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆเลยทีเดียวพบมากในคนอายุ 50 ปีขึ้นไป โรคนี้มักเกิดจากความเสื่อมของหลอดเลือดที่สมองจากการเสื่อมตามอายุ ผู้ป่วยที่เส้นเลือดสมองแตกอาจกลายเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต กลายเป็นผุ้ป่วยติดเตียงได้ การรักษานอกจากต้องรักษาโรคทางกาย โรคทางใจเป็นสิ่งที่จะควบคู่กันไปกับคนเส้นเลือดสมองแตก

6 สัญญาณเตือนสำหรับโรคเส้นเลือดสมองแตก

  • ความเครียด ความเครียดทำให้ระบบการทำงานของร่างกายขาดความสมดุล หากมีอาการเหนื่อยโดยไม่มีสาเหตุ ควรพบแพทย์ทันที เนื่องจากนี้เป็นสัญญาณของเส้นโลหิตในสมองแตก
  • มีปัญหาของตาข้างใดข้างหนึ่งมองไม่เห็น สมองแต่ละซีกทำงานในการควบคุมการทำงานของร่างกาย เมื่อสมองได้รับการกระทบกระเทือนจากเส้นเลือดในสมองแตก จะทำให้เกิดปัญหาการมองไม่เห็น
  • อ่อนแรง โดยมีอาการแขนขาอ่อนแรงการทำงานของสมองผิดปกติทำให้แขนหรือขาด้านใดด้านหนึ่งชา ถ้ารู้สึกว่าแขนขาชานั้นอาจจะเป็นเรื่องปกติหากหายเองภายใน 2-3 นาที แต่หากไม่หายต้องพบแพทย์ด่วน
  • มีอาการเวียนหัวและพูดติดขัด เรื่องการพูดนั่นเป็นสัญญาณว่าสมองไม่สามารถจะตอบสนองต่อการพูดและเส้นประสาทในการรับผิดชอบในการพูดได้ควรปรึกษาแพทย์ทันที
  • มีความสับสนด้านความคิด เนื่องจากสมองอาจขาดออกซิเจน ทำให้ไม่สามารถจดจำได้อย่างคล่องแคล่ว ไม่สามารถจะพูดให้คนอื่นเข้าใจได้ อาจจะมีเส้นเลือดในสมองที่แตกอยู่
  • ปวดหัวอย่างรุนแรง คนที่ไม่เคยมีประวัติเป็นไมเกรนมาก่อน อาจเป็นสัญญาณเตือนว่า โรคเส้นเลือดในสมองอุดตัน ควรเช็คกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที

สาเหตุของเส้นเลือดสมองแตก

ภาวะเส้นเลือดในสมองแตก หรือ ตีบตัน นั้นเป็นสาเหตุจากโรคหลอดเลือดในสมอง ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยเส้นเลือดสมองแตกเกิดจากลิ่มเลือดอุดตันระบบไหลเวียนของโลหิต หรือ ไขมันอุดตันหลอดเลือดในสมอง ทำให้หลอดเลือดตีบ และ ประสิทธิภาพในการไหลเวียนเลือดลดลง ส่งผลให้เลือดและออกซิเจนไม่สามารถเข้าไปเลี้ยงสมองได้ และ อีกร้อยละ 20 ของผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองแตก เกิดจาก หลอดเลือดสมองแตก หรือ ฉีกขาด เกิดจาก หลอดเลือดที่สมองเปราะบาง เมื่อมีภาวะความดันโลหิตสูงอาจทำให้เส้นเลือดสมองแตกได้ เส้นเลือดสมองหากแตกถือว่าอันตรายมาก ส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็ว

ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดเส้นเลือดสมองแตก

สามารถสรุปปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองแตก หรือ ตีบตัน นั้น ได้ดังนี้

  • ภาวะความดันโลหิตสูง ความดันดลหิตที่สูงทำให้เกิดแรงดันที่หลอดเลือดหากหลอดเลือดเปราะบางก้สามารถแตกได้ง่าย
  • ภาวะไขมันในเลือดสูง การมีไขมันในเส้นเลือดสูงทำให้เกิดไขมันสะสมและเกาะตัวที่เส้นเลือดทำให้เกิดความดันเลือดสูงขึ้น
  • มีภาวะโรคเบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูงทำให้เกิดหลอดเลือดแข็งทั่วร่างกาย
  • การสูบบุหรี่และการใช้ยาเสพติด
  • การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก
  • มีประวัติบุคคลในครอบครัวป่วยเป็นโรคเส้นเลือดในสมองแตก
  • มีความเสี่ยงที่ทำให้ลิ่มเลือดที่จะไปอุดตันหลอดเลือดสมอง
  • การขาดการออกกำลังกาย
  • การเสื่อมของหลอดเลือดตามอายุ

อาการของโรคเส้นเลือดสมองแตก

สำหรับอาการของโรคนี้สามารแบ่งอาการของโรค ได้ 2 ระยะ คือ ระยะเส้นเลือดสมองเริ่มตีบตัน และ ระยะเส้นเลือดสมองแตกไปแล้ว

  • ระยะเส้นเลือดสมองเริ่มตีบตัน ระบบไหลเวียนเลือดสู่สมองเริ่มติดขัด ทำให้สมองได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ทำให้มีอาการตาพร่ามัว ชาตามร่างกาย อาจมีอาการหมดสติได้
  • ระยะเส้นเลือดในสมองแตก เป็นระยะที่เกิดอาการแล้ว เป็นระยะที่มีความอันตรายมาก เนื่องจากมีเลือดออกในสมอง ต้องได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดอย่างเร่งด่วน เป็นระยะที่เสี่ยงต่อการเป็นอัมพาตได้

ลักษณะความรุนแรงของอาการเส้นเลือดในสมองแตกนั้นแตกต่างกันออกไปตามความแข็งแรงของร่างกายแต่ละคน และความเสียหายของสมองจากการขาดเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงสมอง อาการที่เป็นสัญญาณของเส้นเลือดในสมองแตก ดังนี้

  • มีอาการชาตามตัว แขนขาอ่อนแรง ขยับตัวไม่ได้ อัมพาตครึ่งซีก
  • ใบหน้าบิดเบี้ยว ควบคุมกล้ามเนื้อบนใบหน้าไม่ได้ สูญเสียการควบคุมใบหน้า เช่น มุมปากตก น้ำลายไหล กลืนลำบาก พูดลำบาก พูดติดขัด สื่อสารไม่ได้ มึนงง
  • ทรงตัวไม่ได้ เสียสมดุลการเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น เดินเซ เดินลำบาก ขยับแขนขาลำบาก
  • มีปัญหาด้านสายตา เช่น สายตาพร่ามัว มองไม่เห็น มองเห็นภาพซ้อน ตาบอดข้างเดียว
  • มีอาการเวียหัวอย่างรุนแรง คลื่นไส้อาเจียนร่วม

เมื่อมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นตามลักษณะที่กล่าวมาข้างต้นให้รีบพบแพทย์ทันที

การวินิจฉัยโรคเส้นเลือดสมองแตก

การวินิตฉัยการเกิดโรคเส้นเลือดในสมองแตกนั้น แพทย์สามารถทำการวินิจฉัยโรคได้จาก ลักษณะทางกายภาพที่พบเห็น และ ต้องทำการตรวจร่างกาย เพื่อให้ทราบความชั้ดเจนของโรค โดย

  • ตรวจความดันโลหิต
  • ตรวจเลือด
  • ตรวจเอกซเรย์หลอดเลือดสมอง (Angiogram) แพทย์จะฉีดสารย้อมสีเข้าสู่เส้นเลือด จากนั้นจึงฉายภาพเอกซเรย์ส่วนศีรษะเพื่อหาจุดที่เส้นเลือดในสมองแตกหรืออุดตัน
  • ตรวจสมองด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) ใช้รังสีจากเครื่อง CT Scan ฉายไปยังบริเวณศีรษะ แล้วสร้างภาพออกมาด้วยคอมพิวเตอร์ เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยลักษณะและตำแหน่งที่เส้นเลือดในสมองแตกหรืออุดตัน
  • ตรวจสมองด้วยเครื่องจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI Scan) การตรวจคล้ายกับ CT Scan แต่เครื่องจะสร้างภาพจากสนามแม่เหล็กที่ส่งคลื่นไปรอบ ๆ ตัวผู้ป่วยในขณะตรวจ และภาพที่ออกมาจะมีรายละเอียดที่ชัดเจนกว่า CT Scan
  • ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram: EKG) ด้วยการติดขั้วไฟฟ้าบริเวณหน้าอก แพทย์จะตรวจหาความผิดปกติผ่านทางจอภาพที่แสดงจังหวะการเต้นของหัวใจ
  • ตรวจหลอดเลือดใหญ่ที่คอ (Carotid Ultrasound) เป็นการตรวจการไหลเวียนของเลือดในเส้นเลือดบริเวณลำคอที่ทำหน้าที่ส่งเลือดไปเลี้ยงสมอง
  • ตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram)

การรักษาโรคเส้นเลือดสมองแตก

สำหรับการรักษาโรคเส้นเลือดในสมองแตกนั้น มีแนวทางการรักษาที่แตกต่างกัน ตามระยะของโรค โดยรายละเอียดของการรักษาโรคมี ดังนี้

  • การรักษาโรคหลอดเลือดในสมองแตกในระยะที่หลอดเลือดตีบตัน รักษาด้วยการให้ยาละลายลิ่มเลือดเพื่อทำให้เลือดไหลเวียนได้อย่างปกติ
  • การรักษาโรคหลอดเลือดในสมองในระยะหลอดเลือดสมองแตกไปแล้ว ต้องทำการการควบคุมเลือดที่ออกในสมอง รักษาระดับความดันเลือด และต้องผ่าตัดเพื่อป้องกันความเสียหายของเนื้อสมอง

เส้นเลือดสมองถูกลิ่มเลือดอุดตันทำให้ระบบไหลเวียนเลือดสู่สมองไม่มีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อออกซิเจนในเลือดไม่เพียงพอ การรักษาจะได้ผลดีกับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองต้องรีบพบแพทย์ภายใน 4 ชั่วโมงนับจากมีอาการอย่างไรก็ตาม หากเป็นกรณีฉุกเฉินที่ผู้ป่วยเกิดเส้นเลือดอุดตันในสมอง เป้าหมายของการรักษา คือ ควบคุมปริมาณเลือดที่ออกด้วยการรักษาระดับความดันโลหิต ในกรณีที่เลือดออกมาก แพทย์อาจพิจารณาผ่าตัดเพื่อป้องกันความเสียหายต่อสมองด้วย

การป้องกันการเกิดโรคเส้นเลือดสมองแตก

เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคเส้นเลือดในสมองแตกมีหลายประการ การป้องกันการเกิดโรคทำได้ง่ายกว่าการรักษาเนื่องจากหากเกิดขึ้นแล้วการจะกลับมาใช้ชีวิตอย่างปรกติทำได้ยาก แนวทางการป้องกันการเกิดโรค มีดังนี้

  • ตรวจวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ เพื่อทราบถึงระดับความดันเลือดของตนเอง
  • ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด ให้อยู่ในระดับสมดุลย์
  • ตรวจวัดระดับไขมันในเส้นเลือดให้อยู่ในระดับปรกติ
  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ไม่สูบบุหรี่
  • งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็ม หวานและมัน

เส้นเลือดสมองแตก ภาวะสมองขาดเลือด และ ออกซิเจน จากหลอดเลือดสมอง ตีบ อุดตัน หรือ แตก สมองถูกทำลาย สูญเสียการควบคุมร่างกาย โรคอันตราย การป้องกันโรคง่ายกว่าการรักษา

โรคท้องมาน ภาวะมีน้ำขังอยู่ในช่องท้องปริมาณมาก เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น โรคตับแข็ง โรคมะเร็งตับ โรคหัวใจล้มเหลว โรคไต เป็นต้น การรักษาและการป้องกันโรคทำอย่างไรโรคท้องมาน โรคท้องโต โรคท้องบวม โรคตับ

ความหมายของโรคท้องมาน จากพจนานุกรมราชบัณฑิตย์สถาน พ.ศ. 2542 ท้องมาน ท้องบวม หมายถึง ชื่อโรคจำพวกหนึ่ง มีอาการให้ท้องโตเหมือนสตรีมีครรภ์ ภาวะที่เกิดมีน้ำคั่งในช่องท้องมากผิดปกติ จนเป็นสาเหตุให้ท้องขยายใหญ่โตขึ้น

ชนิดของโรคท้องมาน

โรคท้องมาน นั้นโดยทั่วไปสามารถแบ่งชนิดของโรคได้ 2 ชนิด คือ Serum Ascites Albumin Gradient (SAAG) และ ascites neutrophil โดยแบ่งจากปริมาณน้ำในท้องและสาเหตุของการท้องโต รายละเอียด ดังนี้

  • Serum Ascites Albumin Gradient (SAAG) คำนวณจากอัตราส่วนของโปรตีนแอลบูมินในน้ำที่ขังนช่องท้อง เปรียบเทียบกับระดับของโปรตีนแอลบูมินในเลือด
  • ascites neutrophil มากกว่า 250 cells/ml หรือมากกว่า 50% บ่งว่าผู้ป่วยน่าจะมีการติดเชื้อของน้ำในช่องท้อง และหากสงสัยว่ามีมะเร็งหรือ pancreatic ascites ก็ควรส่งตรวจ cytology หรือ amylase ร่วมด้วย

ปัจจัยเสี่ยงที่มำให้เกิดโรคท้องมาน

การเกิดภาวะน้ำขังในช่องท้องนั้น สามารถสรุปปัจจัยการเกิดโรคได้ ดังนี้

  • การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ทั้งชนิด B และ C
  • การดื่มสุราบ่อย จนเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง
  • มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ โระมะเร็ง และ โรคไต
  • การติดเชื้อที่ช่องท้อง เช่น ติดเชื้อวัณโรค เยื่อบุช่องท้องอักเสบ เป็นต้น

สาเหตุของการเกิดโรคท้องมาน

จากปัจจัยของการเกิดโรค เราจึงสามามารถสรุปสาเหตุของการเกิดโรคท้องมาน ได้ดังนี้

  • โรคตับ ร้อยละ75 ของผู้ป่วยที่มีอาการท้องมาน จะมีภาวะป่วยโรคตับแข็ง น้ำในช่องท้องมีผลมาจากความดันเลือดในตับสูงขึ้น ร้อยละ 50 ของผู้ป่วยโรคตับแข็ง มีภาวะโรคท้องมาน 10 ปี มีอาการท้องบวม เท้าบวม มีน้ำในช่องอก มีอัตราการเสียชีวิตสูง
  • โรคมะเร็งในช่องท้อง เช่น มะเร็งรังไข่ หรือ เชื้อมะเร็งที่กระจายเข้าสู่ช่องท้อง เป็นต้น ร้อยละ 15 ของผู้ป่วยโรคท้องมาน เป็นโรคมะเร็ง
  • มีอาการภาวะหัวใจล้มเหลว
  • เป็นผุ้ป่วยโรคไต
  • ขาดสารอาหาร มีภาวะขาดแอลบูมิน เป็น โปรตีนจากไข่ขาว
  • เกิดภาวะการอักเสบที่ช่องท้อง เช่น ติดเชื้อวัณโรค โรคภูมิแพ้
  • เกิดภาวะโรคตับอ่อนอักเสบ ส่วนใหญ่เกิดจากการดื่มสุรา หรือ การเกิดอุบัติเหตุกระทยที่ตับอ่อน
  • การอุดตันของหลอดเลือดใหญ่ที่ตับ

อาการโรคท้องมาน

สำหรับความรุนแรงของโรคท้องมาน แบ่งออกเป็น 3 ระดับ เรียกว่า Grading of ascites โดยรายละเอียดดังนี้

  • ระดับที่ 1 ( Grade 1) มีอาการของโรคท้องมานเพียงเล็กน้อย สามารถตรวจพบได้โดยการอัลตร้าซาวน์
  • ระดับที่ 2 ( Grade 2) มีอาการของโรคปานกลาง การตรวจร่างกายประจำปี สามารถพบได้
  • ระดับที่ 3 ( Grade 3) มีอาการหนัก มีภาวะท้องตึงแน่น

ผู้ป่วยโรคท้องมาน สามารถสังเกตุอาการของโรคได้ โดยมีลักษณะของโรค ดังนี้

  • ท้องโต แน่นท้อง อาจทำให้หนังท้องปริและมีน้ำซึมออกมาได้ ในบางรายพบว่ามีสารน้ำในเยื่อหุ้มปอดร่วมด้วย
  • มีอาการเหนื่อยหอบและหายใจติดขัด
  • น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • เบื่ออาหาร
  • อาการของป่วยจากตับ เช่น ดีซ่าน นมโต ฝ่ามือแดง เป็นต้น

การวินิจฉัยโรคท้องมาน

การตรวจวินิจฉัยดรคแพทยืจะทำการ ตรวจร่างกาย และ สอบถามประวัติการเกิดโรคตับ โรคไต โรคหัวใจ และ โรคมะเร็ง แพทย์จะทำการตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานของตับ ดูดน้ำในช่องท้องออกมาตรวจ อัลตราซาวน์ช่วยในการเจาะดูดสารน้ำในช่องท้อง

การรักษาโรคท้องมาน

การรักษาโรคท้องมาน ต้องทราบสาเหตุของการเกิดโรค ก่อนและรักษาที่สาเหตุของโรค โดยแนวทางการรักษาโรคท้องมาน การรักษาเพื่อลดระดับน้ำในท้องทำให้ผู้ป่วยสบายขึ้น ช่วยรักษาสมดุลของเกลือ และช่วยในการปรับละดับน้ำในร่างกายและหลอดเลือดมีรายละเอียด ดังนี้

  • การรักษาอาการท้องมานขึ้นกับโรคที่เป็นสาเหตุ
  • ถ้าเกิดจากโรคมะเร็งแพร่กระจาย แพทย์จะพิจารณาให้การรักษาด้วยการผ่าตัดและเคมีบำบัด
  • ปรับเรื่องการกินอาหาร ลดอาหารที่มีโซเดียม และ อาหารที่มีรสเค็ม
  • รักษาโรคตับ ในผู้ป่วยที่มีสาเหตุจากโรคตับแข็ง ให้จำกัดปริมาณโซเดียมในร่างกาย
  • ให้ยาขับปัสสาวะ โดยขนาดของยาขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและการตอบสนอง แลเต้องให้ยาโดยหลีกเลี้ยงการปัสสาวะในเวลากลางคืน
  • เจาะช่องท้องเพื่อระบายน้ำ สามารถระบายน้ำได้ถึง 5 ลิตรต่อครั้ง
  • ผ่าตัดเพื่อทำทางระบายน้ำในช่องท้อง
  • ผ่าตัดเปลี่ยนตับ สำหรับผู้ป่วยโรคตับแข็งระยะรุนแรง หรือมีภาวะตับวาย

โรคท้องมาน ความผิดปรกติของร่างกายจากภาวะมีน้ำขังอยู่ในช่องท้องปริมาณมาก โดยเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น โรคตับแข็ง โรคมะเร็งตับ โรคหัวใจล้มเหลว โรคไต เป็นต้น การรักษาและการป้องกันโรคทำอย่างไร ท้องบวม โรคท้องโตผิดปรกติ

 


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove