โยคะท่าต้นไม้ ( Tree Pose ) ทำให้จิตใจสงบนิ่ง ท่านี้เน้นไปทางสมาธิ ช่วยบริหารความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขา เท้า ข้อเท้า รวมไปถึง กระดูกสันหลังและกระดูกลำคอ

โยคะท่าต้นไม้ โยคะ โยคะพื้นฐาน การฝึกโยคะ

การฝึกโยคะ ท่าต้นไม้(Tree Pose) ทำให้จิตใจของคุณสงบนิ่ง ไม่ฟุ้งซ่าน ถ้าอยากฝึกสมาธิเพื่อผลดีต่อทางร่างกายและจิตใจแล้ว คุณไม่ควรพล การออกกำลังกายโยคะ ท่าต้นไม้ Tree Pose โยคะท่านี้เน้นไปทางสมาธิ เพราะการจะทำท่านี้ให้ชำนาญได้ ต้องอาศัยความสงบทางจิตใจ เมื่อใดที่คุณไม่สามารถทำโยคะท่าต้นไม้ได้ นั่นบ่งบอกว่าจิตใจของคุณกำลังฟุ้งซ่าน เหตุผลที่เรียกท่านี้ว่าท่าต้นไม้เพราะต้นไม้สื่อไปเห็นถึงความมั่นคงและสงบนิ่ง เท้าที่วางราบกับพื้นสื่อไปถึงรากไม้ โดยมีขาเปรียบเป็นลำต้น โดยมีแขน ไหล่ ลำตัว ศรีษะ เป็นกิ่งก้านใบ ท่านี้ช่วยบริหารความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขา เท้า ข้อเท้า รวมไปถึง กระดูกสันหลังและกระดูกลำคอ

วิธีการฝึกโยคะท่าต้นไม้

  1. นี้เริ่มด้วยการยืนตัวตรง ให้เท้าทั้งสองข้างชิดกัน ยืดหลังให้ตรง เปิดอก เปิดไหล่ หน้ามองตรง โดยให้แขนและมือแนบกับลำตัว
  2. จากนั้นยกขาขวาขึ้นแล้วจับข้อเท้าไปวางบนต้นขาซ้ายด้านใน โดยให้โก่งมากที่สุด ทำการทรงตัว พยายามให้จิตจดจ่ออยู่กับท่า ปล่อยวางภาระหน้าที่ทั้งหลาย ทำสมาธิ พอทรงตัวได้แล้ว
  3. ยกมือขึ้นพนมไว้ที่กลางอกหรือจะยกขึ้นไว้เหนือศรีษะ โดยให้แขนเหยียดตรง ผลักแขนไปให้ไกลหลังใบหู หายใจเข้าให้ลึกๆ แล้วหายใจออกช้าๆจนหมดลม ค้างไว้ซัก 30-60 วินาทีหรือตามความชำนาญ
  4. เสร็จแล้วก็ยกขาลงแล้วทำสลับกับขาอีกข้างนึง

ประโยชน์ของการฝึกโยคะ ท่าต้นไม้

  • ช่วยยืดและทำให้กล้ามแข็งแรง โดยเฉพาะ กล้ามเนื้อส่วนต้นขา ส่วนน่อง ข้อเท้าและส่วนสันหลัง
  • ช่วยความสมดุลของร่างกายดี
  • ช่วยปรับบุคลิกภาพให้หลังตรง
  • ช่วยลดอาการปวดหลัง รวมถึงลดอาการปวดที่ฝ่าเท้า

ข้อห้ามในการฝึกโยคะ ท่าต้นไม้

  • ท่านี้ไม่เหมาะสำหรับคนที่ปวดหัวอยู่
  • สำหรับคนทีี่มีอาการนอนไม่หลับไม่ควรทำท่านี้
  • สำหรับคนที่มีภาวะความดันโลหิตต่ำ ให้งดการทำท่านี้
  • สำหรับคนที่มีปํญหาที่กรระดูกสันหลังไม่ควรทำท่านี้

การออกกำลังกายโยคะ ท่าต้นไม้ Tree Pose ท่านี้พยายามทิ้งน้ำหนักลงไปที่อุ้งเท้าด้านใน จะทำให้ทรงตัวได้ดีขึ้น ในการฝึกฝนครั้งแรกคุณอาจจะส่ายไปส่ายมา ยืนนิ่งไม่ได้ คุณไม่ควรละความพยายาม ฝึกฝนบ่อยๆจนชำนาญ แล้วจะสามารถทรงตัวได้ ตอนแรกๆอาจจะยังยืนไม่ตรง แต่เชื่อว่าไม่มีอะไรเกินความสามารถของมนุษย์เราได้ หลักๆของการฝึกโยคะท่านี้คือสมาธิ

การออกกำลังกายโยคะ ท่าต้นไม้ Tree Pose ช่วยทำให้ร่างกายเกิดสมดุล ท่านี้ช่วยลดอาการปวดสะโพก ปวดหลัง และช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อต้นขา น่อง ได้เป็นอย่างดี ทำให้คุณมีการทรงตัวที่ดี ไม่ว่าจะยืน เดินหรือนั่ง ช่วยสร้างเสริมบุคลิคภาพ ให้ดูสุขุม สงบนิ่งและมีสมาธิ

การออกกำลังกายโยคะ ท่าต้นไม้ Tree Pose ท่านี้ไม่เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคกระดูกหลัง กระดูกคอ รวมไปถึงกระดูกสะโพก เพราะอาจทำให้บาดเจ็บเพิ่มได้ และกลุ่มคนที่ควรหลีกเลี่ยงท่านี้คือ คนที่มีปัญหาปวดศรีษะ มีความดันโลหิตต่ำ หรือนอนไม่หลับ เพราะอาจจะสร้างสมาธิในการฝึกฝนได้ยาก และอาจทำให้บาดเจ็บระหว่างการทรงตัวก็เป็นได้ การฝึกโยคะท่านี้ ควรสำรวจอาการและศักยภาพของผู้ฝึกด้วยเสมอเพื่อความปลอดภัย

โยคะ (สันสกฤต: योग) เป็นกลุ่มของการปฏิบัติหรือการประพฤติทางกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยถือกำเนิดที่ประเทศอินเดีย หลายพันปีมาแล้ว วิธีการฝึกโยคะนั้นมีการได้ถ่ายทอดจากอดีตถึงปัจจุบัน ในแถบหุบเขาอินดัส วอลเลย์ มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ โดยนักโบราณคดีได้ค้นพบไม้แกะสลัก และงานศิลปะประเภทรูปปั้น ที่มีการฝึกโยคะ นักปราชญ์ชาวฮิน ชื่อ ปตัญชลี ได้ปรับปรุงรูปแบบการฝึกโยคะขั้นพื้นฐาน และได้เขียนตำราสูตรการฝึกโยคะไว้ 8 ข้อ ผู้ที่ฝึกและปฏิบัติโยคะ หากเป็นชายจะเรียกว่า โยคี และหากเป็นสตรีจะเรียกว่า โยคินี โยคะมาเป็นการออกกำลังกาย จะเน้นความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกระดูกทำให้เลือดและสารอาหารไปเลี้ยงส่วนประสาท ทำให้การทำงานของต่อมต่างๆทำงานดีขึ้น ท่าต่างๆในการฝึกโยคะ จะยืดเหยียดกล้ามเนื้อตามแบบของโยคะสอดคล้องกับการหายใจ และการทำสมาธิ การฝึกโยคะจะทำให้สุขภาพจิตและสุขภาพกายดี

แหล่งอ้างอิง

  • Denise Lardner Carmody, John Carmody (1996), Serene Compassion. Oxford University Press US. p. 68.
  • Stuart Ray Sarbacker, Samādhi: The Numinous and Cessative in Indo-Tibetan Yoga. SUNY Press, 2005, pp. 1–2.
  • Tattvarthasutra [6.1], see Manu Doshi (2007) Translation of Tattvarthasutra, Ahmedabad: Shrut Ratnakar p. 102

โยคะท่าเด็ก ( Child’s Pose ) เหมาะกับสตรีที่มีบุตรยาก ช่วยยืดหยุ่นกล้ามเนื้อ ลำตัว สะโพก ต้นขา ข้อต่อต่างๆในร่างกาย กระตุ้นการย่อยอาหารและระบบสืบพันธุ์ได้ดี

โยคะ การฝึกโยคะ โยคะท่าเด็ก โยคะพื้นฐาน

โยคะท่าเด็ก ( Child’s Pose ) เหมาะกับสุภาพสตรีที่มีบุตรยาก ช่วยยืดหยุ่นกล้ามเนื้อ ลำตัว สะโพก ต้นขา และช่วยยืดหยุ่นข้อต่อต่างๆในร่างกาย ทั้งข้อเท้า ข้อเข่า ข้อมือ แถมยังช่วยกระตุ้นระบบย่อยอาหาร และ ระบบอวัยวะสืบพันธุ์ได้เป็นอย่างดี ในกลุ่มสุภาพสตรีที่มีปัญหาเรื่องการมีบุตรยากจึงให้ความสนใจโยคะท่านี้กันอย่างแพร่หลาย เป็นท่าโยคะพื้นฐานที่ไม่ต้องใช้เนื้อที่มากในการฝึกฝน

วิธีการฝึกโยคะท่าเด็ก(Child’s Pose)

  1. โดยเริ่มจากการนั่งคุกเข่า โดยให้ขาทั้งสองแยกออกจากกันเล็กน้อย จากนั้นก็เหยียดขาออกไปด้านหลัง โดยให้หลังเท้าแนบชิดกับพื้น
  2. กดสะโพกนั่งลงไปทับบนส้นเท้าทั้งสองข้าง จากนั้นกำหนดลมหายใจเข้าออกอย่างช้าๆ ใช้สมาธิให้จิตจดจ่ออยู่กับท่าที่ฝึกฝน จากนั้นในช่วงที่หายใจเข้าอีกรอบให้โค้งลำตัวลงช้าๆ จนหน้าผากแตะชิดกับพื้น
  3. วางลำคอให้ตรงไม่เอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง ปล่อยให้สะโพกนั่งวางลงไปบนส้นเท้าทั้งสองข้าง มือทั้งสองข้างหงายชิดลำตัว จากนั้นค่อยๆไต่มือไปอยู่เหนือศรีษะ
  4. กดฝ่ามือลงชิดกับพื้น แล้วผลักสะโพกไปด้านหลังเพื่อยืดกล้ามเนื้อหลัง ทำท่าค้างไว้ประมาณ 30-60 วินาที สูดลมหายใจเข้า-ออก ช้าๆ

ประโยชน์ของการฝึกโยคะ ท่าเด็ก

  • เป็นการยืดกล้ามเนื้อ สะโพก ต้นขา และข้อเท้า
  • ลดอาการอ่อนเพลียและความเครียด เมื่อจิตใจเราสงบในระหว่างที่กำหนดลมหายใจเข้า-ออก ทำให้สมองผ่อนคลาย จึงช่วยลดความเครียดลงไปได้ แถมท่านี้ยังมีประโยชน์ต่อระบบประสาท เนื่องจากการก้มหัวในเวลาครู่หนึ่งสามารถทำให้เลือดไหลไปเลี้ยงสมองได้อย่างทั่วถึงมากขึ้น จึงช่วยให้ความจำดีขึ้น ลดอาการความจำเสื่อมได้
  • ลดอาการปวดหลังและปวดคอ
  • ทำให้ข้อมีการยืดหยุ่นดีขึ้นได้แก่ข้อ สะโพก เข่า ข้อเท้า
  • ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น เมื่อก้มลงทำท่าเด็กหมอบจะทำให้ท้องเราแนบติดกับต้นขา แล้วพอเราหายใจเข้า-ออกช้า ๆ ก็เปรียบเสมือนเรากำลังนวดอวัยวะภายในช่องท้องไปในตัว ซึ่งสามารถทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น แถมยังเป็นการนวดลำไส้ช่วยขับลม
  • ทำให้จิตใจสงบ ในระหว่างทำท่าโยคะเด็กหมอบ ช่วงเวลาที่เรายืดกล้ามเนื้อแล้วก้มหน้าลงไปที่พื้นเพื่อกำหนดลมหายใจเข้า-ออกนั้น สามารถทำให้จิตใจเราสงบ มีสติ และมีสมาธิมาก
  • ช่วยให้ร่างกายกระปี้กระเปล่า การทำท่าเด็กหมอบช่วยให้อารมณ์และร่างกายรู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่าขึ้นได้ เนื่องจากท่านี้ทำให้กล้ามเนื้อเราผ่อนคลายและมีจิตใจ
  • ช่วยระบบย่อยอาหาร และระบบสืบพันธ์

ข้อห้ามสำหรับการฝึกโยคะ ท่าเด็ก

  • สำหรับคนที่มีอาการท้องร่วงอยู่ ให้พักให้หายก่อนจึงค่อยทำท่านี้
  • สตรีมีครรภ์ห้ามทำท่านี้
  • สำหรับคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับเข่าไม่ควรทำท่านี้
  • สำหรับคนทีม่ีภาวะความดันโลหิตสูง ให้งดการทำท่านี้

โยคะท่าเด็ก Child’s Pose ท่าโยคะท่านี้ หากช่วงระหว่างที่โค้งตัวก้มลงแล้วหน้าผากไม่แนบชิดพื้น ให้ยกสะโพกขึ้นเล็กน้อย เพื่อให้รู้สึกผ่อนคลายไม่ตึงจนเกินไป เพื่อไม่ให้กล้ามเนื้อได้รับบาดเจ็บได้ และนอกจากเราจะกดฝ่ามือลงแนบกับพื้นแล้ว เรายังสามารถพลิกแพลงท่าด้วยการกำมือหลวมๆโดยหงายขึ้นให้หลังมือแนบพื้นแทนได้ พยายามเน้นให้แขนทั้งสองข้างเหยียดตรง ไม่งอข้อศอก และเหยียดไปที่ปลายเท้าให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

โยคะท่าเด็ก Child’s Pose ท่านี้จัดว่าเป็นท่าโยคะพื้นฐานท่าแรกๆในการฝึกฝน เพราะเป็นท่าที่ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่ดีและช่วยผ่อนคลายได้ทุกส่วน โดยเฉพาะผ่อนคลายกล้ามเนื้อหลัง กล้ามเนื้อสะโพก และบริเวณลำคอได้เป็นอย่างดี แต่ท่าโยคะท่านี้ไม่เหมาะกับสตรีมีครรภ์เพราะอาจเสี่ยงอันตรายได้ หรือในกลุ่มของคนที่ท้องเสีย ท้องร่วง มีภาวะความดันสูง ควรปรึกษาแพทย์ก่อน และในกลุ่มคนที่มีปัญหาโรคเข่า เพราะท่านี้อาจทำให้บาดเจ็บเพิ่มได้

โยคะท่าเด็ก Child’s Pose ยังถือว่าเป็นท่าที่ทำให้หลับสบายอีกท่านึงด้วย ท่านี้ หากฝึกฝนกันบ่อยๆ ก็ทำให้สุขภาพแข็งแรง ทั้งทางร่างกายและจิตใจ แล้วเรายังจะรออะไรกันอีก ลงมือฝึกฝนกันเลยดีกว่า

โยคะ (สันสกฤต: योग) เป็นกลุ่มของการปฏิบัติหรือการประพฤติทางกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยถือกำเนิดที่ประเทศอินเดีย หลายพันปีมาแล้ว วิธีการฝึกโยคะนั้นมีการได้ถ่ายทอดจากอดีตถึงปัจจุบัน ในแถบหุบเขาอินดัส วอลเลย์ มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ โดยนักโบราณคดีได้ค้นพบไม้แกะสลัก และงานศิลปะประเภทรูปปั้น ที่มีการฝึกโยคะ นักปราชญ์ชาวฮิน ชื่อ ปตัญชลี ได้ปรับปรุงรูปแบบการฝึกโยคะขั้นพื้นฐาน และได้เขียนตำราสูตรการฝึกโยคะไว้ 8 ข้อ ผู้ที่ฝึกและปฏิบัติโยคะ หากเป็นชายจะเรียกว่า โยคี และหากเป็นสตรีจะเรียกว่า โยคินี โยคะมาเป็นการออกกำลังกาย จะเน้นความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกระดูกทำให้เลือดและสารอาหารไปเลี้ยงส่วนประสาท ทำให้การทำงานของต่อมต่างๆทำงานดีขึ้น ท่าต่างๆในการฝึกโยคะ จะยืดเหยียดกล้ามเนื้อตามแบบของโยคะสอดคล้องกับการหายใจ และการทำสมาธิ การฝึกโยคะจะทำให้สุขภาพจิตและสุขภาพกายดี

แหล่งอ้างอิง

  • Denise Lardner Carmody, John Carmody (1996), Serene Compassion. Oxford University Press US. p. 68.
  • Stuart Ray Sarbacker, Samādhi: The Numinous and Cessative in Indo-Tibetan Yoga. SUNY Press, 2005, pp. 1–2.
  • Tattvarthasutra [6.1], see Manu Doshi (2007) Translation of Tattvarthasutra, Ahmedabad: Shrut Ratnakar p. 102

ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove