หอมหัวใหญ่ นิยมนำมาทำอาหาร มีประโยชน์ด้านสมุนไพร สรรพคุณบำรุงเลือด บำรุงหัวใจ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ทำความรู้จักกับหอมหัวใหญ่ว่าเป็นอย่างไร

หอมหัวหใญ่ สรรพคุณหอมใหญ่ สมุนไพร

หอมหัวใหญ่ ภาษาอังกฤษ เรียก Onion ชื่อวิทยาศาสตร์ของหอมใหญ่ คือ Allium cepa L. สำหรับชื่อเรียกอ่ืนๆของหอมหัวใหญ่ เช่น หัวหอม หัวหอมใหญ่ หอมฝรั่ง หอมหัว เป็นต้น หอมหัวใหญ่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียกลาง และแหล่งผลิตหอมหัวใหย่ที่สำคัญของโลก ได้แก่ ประเทศจีน สหรัฐอเมริกา และประเทศอินเดีย นิยมนำมาทำอาหารรับประทาน

หอมหัวใหญ่มีวิตามินซีสูง และสารอื่นๆ เช่น สารเคอร์ซีทิน สามารถช่วยต่อต้านสารอนุมูลอิสระในร่างกาย สรรพคุณอื่นๆของหอมใหญ่ เช่น รักษาเบาหวาน รักษาโรคหัวใจ ลดน้ำตาลในเลือด บำรุงระบบโลหิต ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ป้องกันโรคต่างๆได้ดี

ลักษณะของต้นหอมหัวใหญ่

ต้นหอมหัวใหญ่ เป็นพืชล้มลุก สามารถขยายพันธ์โดยการแยกหน่อ ลักษณะของต้นหอมหัวใหญ่ มีดังนี้

  • ต้นหอมใหญ่ มีความสูงประมาณ 30-40 เซนติเมตร มีหัวอยู่ใต้ดินคล้ายหัวหอม ลักษณะกลมป้อม มีเปลือกนอกบาง ๆ สีม่วงแดงหุ้มอยู่ แต่เมื่อแห้งแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
  • ใบหอมใหญ่ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเป็นกระจุก 3-4 ใบ ลักษณะเป็นรูปดาบ มีความกว้างประมาณ 2-4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 20-40 เซนติเมตร เส้นใบจีบตามยาวลักษณะคล้ายพัด
  • ดอกหอมใหญ่ ออกดอกเป็นช่อ แทงขึ้นมาจากลำต้นใต้ดิน กลีบดอกมีสีขาว

คุณค่าทางโภชนาการของหอมหัวใหญ่

สำหรับการบริโภคหอมหัวใหญ่นิยมรับประทานหัวหอมใหญ่ ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของหัวหอมใหญ่ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 40 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 9.34 กรัม น้ำตาล 4.24 กรัม กากใยอาหาร 1.7 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม โปรตีน 1.1 กรัม น้ำ 89.11 กรัม วิตามินบี 1 0.046 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.027 มิลลิกรัม
วิตามินบี 3 0.116 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.123 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.12 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 19 ไมโครกรัม วิตามินซี 7.4 มิลลิกรัม
ธาตุแคลเซียม 23 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.21 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 10 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.129 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 29 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 146 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 0.17 มิลลิกรัม และ ธาตุฟลูออไรด์ 1.1 ไมโครกรัม

สรรพคุณของหอมหัวใหญ่

สำหรับการใช้ประโยชน์จากหอมหัวใหญ่ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ใช้ประโยชน์จากหัวหอมใหญ่ ซึ่งสรรพคุณของหอมหัวใหญ่ มีดังนี้

สามารป้องกันการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ ช่วยแก้การนอนไม่หลับได้ ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย ช่วยกำจัดสารตะกั่วและโลหะหนักที่ปนเปื้อนมากับอาหาร ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงของอัมพาต ช่วยรักษาโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด ช่วยในการขยายหลอดเลือด ช่วยทำให้เลือดไม่ไปอุดตันในหลอดหลอด ช่วยในการสลายลิ่มเลือดปกป้องหลอดเลือดเลี้ยงสมองเกิดการอุดตัน ลดความอ้วน ช่วยลดคอเลสเตอรอล ลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยลดความดันโลหิต แก้ความดันโลหิตสูง ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน ช่วยรักษาไข้หวัด แก้หวัดคัดจมูก และช่วยลดน้ำมูก ช่วยรักษาโรคภูมิแพ้ หอมหืด คุณช่วยขับเสมหะได้ ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยแก้ท้องร่วง ช่วยขับพยาธิ ช่วยในการขับปัสสาวะ ช่วยแก้ลมพิษ ลดอาการปวดอักเสบ ช่วยฆ่าเชื้อโรค ช่วยรักษาผิวหนังที่ถูกน้ำร้อนลวกได้

 

โทษของหอมหัวใหญ่

สำหรับการรับประทานหอมหัวใหญ่ เพื่อการบำรุงร่างกายและการรักษาโรคยังไม่พบรายงานว่าการกินหอมหัวใหญ่มีโทษ แต่มีข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากหอมหัวใหญ่ ดังนี้

  • หอมหัวใหญ่มีกลิ่นฉุนและมีน้ำมันหอมระเหย ทำให้ระคายเคืองดวงตาและหากผิวมีบาดแผลจะทำให้เกิดอาการแสบ
  • หอมหัวใหญ่เมีกลิ่นแรง อาจทำให้เกิดกลิ่นปาก ทำให้มีกลิ่นตัวแรงยิ่งขึ้น

วิธีปลูกหอมหัวใหญ่ สามารถปลูกได้จากการเพาะต้นกล้า โดยหว่านเมล็ดพันธุ์ให้ทั่วแปลงกล้า รดน้ำให้ทั่ว หลังจากที่เมล็ดงอกประมาณ 10-15 วัน ใช้หญ้าแห้งคลุมดินอย่าให้แปลงชื้น หรือร้อนเกินไป เมื่อกล้าอายุได้ 45 วัน ก็ย้ายเพื่อลงแปลงปลูก จัดเป็นแถว ห่างกัน 10 – 15 เซ็นติเมตร หมั่นพรวนดิน และกำจัดวัชพืช หลังจากย้ายกล้าลงแปลงปลูกประมาณ 90-100 วัน ก็ สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้ว

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

ตำลึง นิยมปลูกริมรั้วบ้าน สรรพคุณของตำลึง ช่วยแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลม บำรุงสายตา รักษาแมงสัตว์กัดต่อย ลดน้ำตาลในเลือด ใช้รักษาแผล โทษของตำลึงเป็นอย่างไร

ตำลึง สมุนไพร ผักพื้นบ้าน

ต้นตำลึง ภาษาอังกฤษ เรียก Lvy Gourd, Coccinia ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของตำลึง คือ Cocconia grandis (L.) Voigt สำหรับชื่อเรียกอื่นๆ ของผักตำลึง เช่น ผักแคบ แคเด๊าะ สี่บาท ผักตำนิน เป็นต้น สังคมไทยรู้จักผักตำลึงเป็นอย่างดี ผักตำลึงนิยมนำมาทำอาหารรับประทาน ทานเป็นผักสด หรือ นำมาผัด มาต้มกิน ผักตำลึงมีสารเอนไซม์อะไมเลส สรรพคุณช่วยย่อยแป้ง และมีบีตาแคโรทีน ช่วยซ่อมแซมส่วนของร่างกายที่สึกหรอ

ประโยชน์ของตำลึง  สามารถนำมารับประทานและยังนำมาเป็นส่วนประกอบของเครื่องประทินผิวและยารักษาโรคในการแพทย์แผนโบราณ เช่น นำเถาและใบมาตำผสมกับปูนแดงใช้ทาบริเวณรักแร้ ช่วยระงับกลิ่นกาย ยอดตำลึงนำมาผสมน้ำผึ้ง นำมาพอกหน้าช่วยให้ผิวพรรณเต่งตึง เป็นต้น สำหรับอาหารไทย นิยมใช้ยอดและใบตำลึงกินเป็นผักสด และใช้ประกอบอาหารได้หลายเมนู เช่น  แกงจืด ต้มเลือดหมู แกงเลียง ก๋วยเตี๋ยว ผัดไฟแดง ไข่เจียว เป็นต้น

ลักษณะของต้นตำลึง

ต้นตำลึง เป็นพืชล้มลุก ไม้เลื้อยซึ่งลำต้นจะเลื้อยเกาะตามหลัก เช่น แนวรั้วบ้าน ต้นไม้ สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นตำลึง มีดังนี้

  • ต้นตำลึง เป็นไม้เถาเลื้อยขึ้นตามหลักเสา ตามรั้วบ้านหรือพันต้นไม้อื่น อายุยืนยาวหลายปี มีมือเกาะยึดออกตรงข้ามใบ ลำต้นเล็กยาว เมื่ออายุมากลำต้นหรือเถาจะใหญ่และแข็งแรงมากขึ้น
  • ใบตำลึง เป็นใบเดี่ยว สีเขียว รูปสามเหลี่ยม กว้าง 5 ซม. ยาว 6-7 ซม. สลับข้างกัน ตำลึงตัวผู้ใบหยักเว้าลึก 3-5 หยัก ต่างจากใบของต้นตำลึงตัวเมียที่เป็นรูปสามเหลี่ยม อยู่แยกต้นออกจากกัน
  • ดอกตำลึง สีขาวปลายกลีบ 5 แฉก ข้างในมีเกสรสีเหลืองอ่อน มองคล้ายรูประฆัง
  • ผลตำลึง เป็นรูปไข่คล้ายผลแตงกวาแต่เล็กกว่ามาก กว้าง 1 -2 ซม. ยาว 3-4 ซม. เมื่ออ่อนจะมีสีเขียวมีลายขาว ผลสุกเต็มที่สีแดงสด ภายในมีเมล็ดมากมาย ส่วนตำลึงตัวผู้มีแต่ดอกแต่ไม่มีผล

คุณค่าทางโภชนาการของตำลึง

สำหรับการบริโภคตำลึงเป็นอาหารนิยมรับประทานใบและยอดอ่อนตำลึงเป็นอาหาร นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของตำลึงขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 35 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีน กากใยอาหาร 1 กรัม เบตาแคโรทีน วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี ธาตุแคลเซียม  ธาตุฟอสฟอรัส และ ธาตุเหล็ก

สรรพคุณของตำลึง

สำหรับการใช้ประโยชน์จากตำลึงด้านการบำรุงร้างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ใบ ดอก เมล็ด ราก ลำต้น ซึ่งสรรพคุณของตำลึง มีดังนี้

  • รากของตำลึง สรรพคุณลดไข้ แก้อาเจียน ลดความอ้วน แก้ฝี แก้ปวดบวม แก้พิษร้อนใน แก้พิษแมลงป่องหรือตะขาบข่อย
  • ลำต้นของตำลึงสรรพคุณแก้อาการวิงเวียนศรีษะ  รักษาโรคผิวหนัง ลดระดับน้ำตาลในเลือด
  • ใบของตำลึง สรรพคุณลดวามร้อนในร่างกาย รักษาโรคผิวหนัง แก้ผื่นคันจากหมามุ้ย แก้ปวดแสบปวดร้อน แก้แมลงสัตว์กัดต่อย แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้จุกเฉียด
  • ดอกของตำลึง สรรพคุณรักษาอาการคันผิวหนัง
  • เมล็ดของตำลึง สรรพคุณใช้รักษาหิด

โทษของตำลึง

การรับประทานตึลึงหรือใช้ในการรักษาโรคต่างๆ ไม่พบอันตรายจากการใช้ประโยชน์จากตำลึงในด้านต่างๆ แต่ตำลึงมีฤทธิ์เป็นยาเย็น ลดความร้อนในร่างกาย สำหรับคนที่มีภาวะตัวเย็นอยู่แล้วหากรับประทานตำลึงมากเกินไปอาจทำให้ตัวเย็น เกินอาการชา

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove