หญ้าปักกิ่ง หญ้าเทวดา สมุนไพร ต้นหญ้าปักกิ่งเป็นอย่างไร สรรพคุณของหญ้าปักกิ่ง ขับพิษในร่างกาย บรรเทาโรคระบบทางเดินหายใจ โทษของของหญ้าปักกิ่งมีอะไรบ้าง

หญ้าปักกิ่ง สมุนไพร หญ้าเทวดา สรรพคุณหญ้าเทวดา

ต้นหญ้าปักกิ่ง ( Angel Grass ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของหญ้าปักกิ่ง คือ Murdannia loriformis (Hassk.) R.S.Rao & Kammathy สำหรับ สมุนไพรหญ้าปักกิ่ง มีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น หญ้าเทวดา ต้นอายุยืน เล่งจือเช่า งู้แอะเช่า และ หนิวเอ้อเฉ่า เป็นต้น ต้นหญ้าปักกิ่ง มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนตอนใต้ แถบสิบสองปันนา จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกขนาดเล็ก จำพวกหญ้าที่มีอายุหลายปี

หญ้าปักกิ่งในประเทศไทย

ปัจจุบันประเทศไทย มีการนำเอาหญ้าปักกิ่ง มาใช้ประโยชน์ด้านจากการรักษาโรคในแพทย์แผนปัจจุบัน มีการนำเอาหญ้าปักกิ่งไปศึกษาทางการวิจัย ซึ่งตลอดเวลาที่ผ่านมา หญ้าปักกิ่ง ได้รับการสนับสนุนในการนำไปวิจัย จากสถาบันต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัยมหิดล องค์การเภสัชกรรมประเทศไทย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์แห่งประเทศไทย และ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นต้น

ซึ่งก่อให้เกิดองค์ความรู้มากมายด้านการรักษามะเร็ง หญ้าปักกิ่งมีสรรพคุณต้านมะเร็ง เพระา หญ้าปักกิ่ง มี สารกลัยโคสฟิงโกไลปิด ( Glycosphingolipid )ที่สามารถยับยั้งเซลล์มะเร็งได้ ใช้รักษา มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่ และ มะเร็งตับ นอกจากนี้ ยังมี สรรพคุณเพิ่มเซลล์เม็ดเลือดขาว อีกด้วย

ลักษณะของต้นหญ้าปักกิ่ง

ต้นหญ้าปักกิ่ง พืชล้มลุก โตง่าย ชอบดินร่วนปนทราย แสงแดดอ่อน ๆ สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ การปักชำ มักขึ้นตามริมลำธาร สำหรับประเทศไทย พบหญ้าปักกิ่งได้ในภาคเหนือ ลักษณะของต้นหญ้าปักกิ่ง มีดังนี้

  • ลำต้นหญ้าปักกิ่ง ต้นหญ้าปักกิ่งไม่มีลำต้นหลัก มีแต่เหง้าที่สั้นๆ รากหนา ความสูงของทั้งต้นประมาณ 20 เซนติเมตร ลำต้นมีใบเป็นกระจุก
  • ใบหญ้าปักกิ่ง ลักษณะเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับเป็นชั้น และกระจุกตรงเหง้า ลักษณะของใบคล้ายใบไผ่ ใบมีขน ใบหนา สีเขียว ผิวใบเรียบ
  • ดอกหญ้าปักกิ่ง ลักษณะดอกออกเป็นช่อ โดยมีก้านดอกออกมาจากเหง้า กลีบดอกมี 3 กลีบ สีของกลีบดอก มี สีน้ำเงิน สีฟ้า สีม่วงอ่อน สีม่วงน้ำเงิน หรือ สีบานเย็น
  • ผลหญ้าปักกิ่ง ลักษณะของผลหญ้าปักกิ่ง เจริญเติบโตจากดอกหญ้าปักกิ่ง ผลลักษณะคล้ายแคปซูลรูปสามเหลี่ยมทรงรี ผิวสีน้ำตาลอมเหลือง

สรรพคุณของหญ้าปักกิ่ง

สำหรับสรรพคุณของต้นหญ้าปักกิ่ง ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก ทั้งต้น ดอก และ ใบ สรรพคุณของหญ้าปักกิ่ง มีดังนี้

  • ทั้งต้นหญ้าปักกิ่ง สรรพคุณป้องกันมะเร็ง เช่น มะเร็งในลำคอ มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งมดลูก มะเร็งตับ มะเร็งผิวหนัง และ มะเร็งเม็ดเลือดขาว ช่วยบำรุงกำลัง แก้อ่อนเพลีย เป็นยาอายุวัฒนะ  ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยรักษาเบาหวาน ช่วยรักษาระดับความดันโลหิต ช่วยลดไข้ บรรเทาอาการของโรคในระบบทางเดินหายใจ แก้ไอ แก้เจ็บคอ แก้ร้อนใน รักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ แก้ปวดท้อง รักษาหนองใน รักษาแผลฝี รักษาแผลเรื้อรัง แก้อักเสบ รักษาอาการปวดบวม ช่วยขับพิษในร่างกาย
  • ดอกหญ้าปักกิ่ง สรรพคุณบำรุงหัวใจ รักษาอาการไตอักเสบ
  • ใบหญ้าปักกิ่ง สรรพคุณช่วยบำรุงกำลัง และ เสริมสร้างภูมิต้านทานโรค

โทษของหญ้าปักกิ่ง

สำหรับการใช้ประโยชน์จากหญ้าปักกิ่ง มีข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์ ดังนี้

  • หญ้าปักกิ่งสรรพคุณเป็นยาเย็น ไม่ควรบริโภคติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เพราะ อาจทำให้ร่างกายขาดน้ำ แขนขาชา กล้ามเนื้อลีบจนไม่อาจเดินได้

หญ้าปักกิ่ง หญ้าเทวดา คือ สมุนไพร สรรพคุณของหญ้าปักกิ่ง เด่นด้าน การขับพิษในร่างกาย และ บรรเทาโรคระบบทางเดินหายใจ ลักษณะของหญ้าปักกิ่ง โทษของของหญ้าปักกิ่ง มีอะไรบ้าง

ถั่วเขียว พืชเศรษฐกิจ ถั่วงอกทำมาจากถั่วเขียว ต้นถั่วเขียวเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณบำรุงสายตา ลดความดัน ช่วยเจริญอาหาร โทษของถั่วเขียวมีอะไรบ้าง

ถั่วเขียว ถั่วงอก ธัญพืช สมุนไพร

ต้นถั่วเขียว ( Green bean ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของถั่วเขียว คือ Vigna radiata (L.) R.Wilczek สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของถั่วเขียว เช่น ถั่วจิม ถั่วมุม ถั่วเขียว ถั่วทอง เป็นต้น สำหรับต้นถั่วเขียว มีประวัติการบริโภคมากกว่า 4,000 ปี ที่แคว้นมัธยประเทศ ในประเทศอินเดีย ซึ่งถั่วเขียวเป็นพืชที่ปลูกกันอย่างแพร่หลาย ในประเทศไทย พม่า ศรีลังกา ปากีสถาน อิหร่าน และ จีน เนื่องจากเมล็ดถั่วเขียว สามารถเก็บได้นาน เมล็ดนิยมนำมาทำอาหาร เมนูอาหารที่มีถั่วเขียวเป็นส่วนประกอบ เช่น เต้าส่วน ถั่วทอง ขนมข้าวเกรียบอ่อน เป็นต้น และ นำมาเพาะเป็น ถั่วงอก ได้

ลักษณะของต้นถั่วเขียว

ต้นถั่วเขียวเป็นพืชล้มลุก อายุเพียงแค่หนึ่งปี สามารถปลูกได้ตลอดปี ใช้น้ำน้อย ทนแล้งได้ดี สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นถั่วเขียว มีดังนี้

  • ลำต้นถั่วเขียว ลักษณะเป็นพุ่มตั้งตรง ความสูงประมาณ 1 เมตร ลำต้นแตกแขนง ลำต้นลักษณะค่อนข้างเป็นเหลี่ยม ลำต้นมีขนอ่อนๆปกคลุมทั่วลำต้น
  • ใบถั่วเขียว ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ขึ้นแบบสลับอยู่บนลำต้น ใบมีสีเขียว ลักษณะคล้ายรูปไข่ ปลายใบแหลม ใบมีขนปกคลุม
  • ดอกถั่วเขียว ลักษณะดอกออกเป็นช่อ กลีบดอกสีขาว สีม่วง และ สีเหลือง ก้านช่อดอกยาวประมาณ 20 เซนติเมตร
  • ฝักถั่วเขียว ลักษณะยาวกลม ความยาวของฝักประมาณ 15 เซนติเมตร ฝักอ่อนสีเขียว ฝักแก่สีน้ำตาลอ่อน ภายในฝักจะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 10-15 เมล็ด
  • เมล็ดถั่วเขียว อยู่ภายในฝักถั่วเขียว ลักษณะของเมล็ดกลมรี มีสีเขียว เนื้อในเป็นสีเหลือง เมล็ดผิวเรียบ แข็ง

คุณค่าทางโภชนาการของถั่วเขียว

สำหรับการบริโภถั่วเขียว นิยมนำมาบริโภคทั้งเมล็ดถั่วเขียวดิบ และ เมล็ดถั่วเขียวสุก นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของถั่วเขียว มีดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดถั่วเขียวดิบ ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 347 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 62.62 กรัม น้ำ 9.05 กรัม น้ำตาล 6.6 กรัม กากใยอาหาร 16.3 กรัม ไขมัน 1.15 กรัม โปรตีน 23.86 กรัม วิตามินบี1 0.621 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.233 มิลลิกรัม วิตามินบี3 2.251 มิลลิกรัม วิตามินบี5 1.91 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.382 มิลลิกรัม วิตามินบี9 625 ไมโครกรัม วิตามินซี 4.8 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.51 มิลลิกรัม วิตามินเค 9 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 132 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 6.74 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 189 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 1.035 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 367 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 1,246 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 2.68 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดถั่วเขียวต้ม ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 105 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 19.15 กรัม น้ำ 72.66 กรัม น้ำตาล 2 กรัม กากใยอาหาร 7.6 กรัม ไขมัน 1.15 กรัม โปรตีน 7.02 กรัม วิตามินบี1 0.164 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.061 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.577 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.41 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.067 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 159 ไมโครกรัม วิตามินซี 1 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.15 มิลลิกรัม วิตามินเค 2.7 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 27 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.4 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 48 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.298 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 99 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 266 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.84 มิลลิกรัม

สรรพคุณของถั่วเขียว

สำหรับการใช้ประโยชน์จากถั่วเขียว ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นิยมใช้การบริโภคเมล็ดถั่วเขียว โดยสรรพคุณของถั่วเขียว มีดังนี้

  • บำรุงร่างกาย ช่วยเสริมสร้างกล้าม บำรุงกำลัง และ เสริมสร้างภูมิต้านทานโรค
  • ป้องกันมะเร็ง มีสารต้านเอนไซม์โปรตีเอสสูง
  • ช่วยเจริญอาหาร แก้ปัญหาการไม่อยากกินข้าว และ แก้เบื่ออาหาร
  • บำรุงเลือด ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยไขมันและคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ช่วยควบคุมน้ำหนัก ช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน
  • บำรุงกระดูกและฟัน ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน
  • ช่วยลดไข้ ช่วยขับร้อนในร่างกาย แก้ร้อนใน
  • แก้กระหายน้ำ
  • ช่วยถอนพิษในร่างกาย ช่วยแก้อาการอาเจียนจากการดื่มเหล้า ช่วยขับของเหลวในร่างกาย ขับปัสสาวะ
  • บำรุงระบบประสาทและสมอง ช่วยกระตุ้นประสาท ช่วยให้สมองทำงานฉับไว
  • บำรุงสายตา รักษาตาอักเสบ แก้อาการตาพร่า
  • ช่วยขับถ่าย ป้องกันอาการท้องผูก
  • รักษาแผลฝี

โทษของถั่วเขียว

สำหรับการบริโภคถั่วเขียว ข้อควรระวังในการรับประทาน ดังนี้

  • การกินถั่วเขียวทำให้ท้องอืด สำหรับคนที่มีอาการท้องอืดง่าย ไม่ควรรับประทานถั่วเขียว
  • สำหรับผู้ป่วยเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ไม่ควรรับประทานถั่วเขียว เพราะ อาจทำให้อุจจาระบ่อย หรือ ท้องเดิน
  • การกินถั่วเขียวมากเกินไป ทำให้อ้วนได้ อาจทำให้ร่างกายได้รับพลังงานจากคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป
  • ถั่วเขียว มีสารพิวรีน ( Purine ) กระตุ้นให้เกิดข้อกระดูกอักเสบ ผู้ป่วยโรคเกาต์ ไม่ควรรับประทาน

ถั่วเขียว ธัญพืช พืชเศรษฐกิจ ถั่วงอก ทำมาจากถั่วเขียว ลักษณะของต้นถั่วเขียว เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของถั่วเขียว สรรพคุณของถั่วเขียว เช่น ช่วยถอนพิษ บำรุงสายตา ลดความดันโลหิต ช่วยเจริญอาหาร โทษของถั่วเขียว มีอะไรบ้าง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove