มะขามป้อม หรือ มะขามอินเดีย ผลไม้วิตามินซีสูง ต้นมะขามป้อมเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณบำรุงร่างกาย บำรุงผิวพรรณ ขับปัสสาวะ โทษของมะขามป้อมมีอะไรบ้าง

มะขามป้อม มะขามอินเดีย สมุนไพร ผลไม้วิตามินซีสูง

ต้นมะขามป้อม ( Indian gooseberry ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะขามป้อม คือ Phyllanthus emblica L. ชื่อเรียกอื่นๆของมะขามป้อม เช่น กันโตด กำทวด มั่งลู่ สันยาส่า หมากขามป้อม เป็นต้น มะขามป้อม จัดเป็นพืชพื้นบ้านของประเทศไทย พบมากตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และ ป่าดิบเขา ในทุกภาคของประเทศไทย พบมากในภาคเหนือ และ ภาคอีสาน

มะขามป้อม คือ ต้นไม้ประจำจังหวัดสระแก้ว ผลมะขามป้อม มีวิตามินซีสูงมาก เมื่อเทียบกับผลไม้ต่างๆ ผลมะขามป้อม 1  ลูก มีวิตามินซีสูงกว่าวิตามินซีสังเคราะห์ถึง 12 เท่า

ลักษณะของต้นมะขามป้อม

ต้นมะขามป้อม เป็นไม้ยืนต้น ขนาดเล็กและขนาดกลาง สามารถขึ้นได้ดีในประเทศเขตร้อน นิยมรับประทานผลสด เป็นผลไม้ มะขามป้อม สามารถขยายพันธ์ทางการเพาะเมล็ด ลักษณะของต้นมะขามป้อม มีดังนี้

  • ลำต้นมะขามป้อม ลักษณะลำต้นตั้งตรง ความสูงประมาณ 10 เมตร ลำต้นมะขามป้อมแตกกิ่งก้านสาขา เป็นทรงพุ่ม ลำต้นมีเปลือกสีน้ำตาล ผิวลำต้นเรียบ เปลือกลำต้นมะขามป้อมสามารถลอกเป็นแผ่นได้ เนื้อไม้มะขามป้อมค่อนข้างเหนียว สีของเนื้อไม้มะขามป้อมมีสีแดงอมน้ำตาล
  • ใบมะขามป้อม ลักษณะเป็นใบประกอบ คล้ายใบมะขาม ใบมะขนาดเล็ก จำนวนมาก ใบสดมีสีเขียว ใบแก่มีสีแดงอ่อน ใบมีลักษณะเรียวรี ใบเรียบ ปลายใบมน
  • ดอกมะขามป้อม ออกดอกเป็นกระจุก ออกเป็นดอกเดี่ยว ดอกมะขามป้อมมีขนาดเล็ก สีขาวอมเหลือง ออกดอกตามปลายกิ่ง
  • ผลมะขามป้อม ลักษณะทรงกลม แบน ผลอ่อนมีสีเขียว ผลสุกจะมีสีเขียวอมเหลือง เปลือกผลเรียบ มัน เนื้อผลอ่อน ชุ่มน้ำ ภายในผลมีเมล็ด ลักษณะแข็ง รสของผลมะขามป้อมเปรี้ยว และ ฝาดเล็กน้อย

คุณค่าทางโภชนาการของมะขามป้อม

สำหรับมะขามป้อมจะนำผลมะขามป้อมมาบริโภค ทั้งลักษณะของผลมะขามป้อมสด และ ผลมะขามป้อมแช่อิ่ม โดยคุณค่าทางโภชนาการของมะขามป้อม มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของผลมะขามป้อมสด ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 58 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย น้ 84.10 กรัม ไขมัน 0.50 กรัม คาร์โบไฮเดรต 14.30 กรัม กากใยอาหาร 2.40 กรัม โปรตีน 0.70 กรัม ธาตุแคลเซียม 29 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 21 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.5 มิลลิกรัม และ วิตามินต่างๆ เช่น วิตามินเอ 100 หน่วยสากล วิตามินบี 10.03 มิลลิกรัม วิตามินบี 20.04 มิลลิกรัม ไนอะซิน 0.2 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 276 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของมะขามป้อมแช่อิ่ม ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 222 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย น้ำ 37.60 กรัม ไขมัน 0.60 กรัม คาร์โบไฮเดรต 59.80 กรัม กากใยอาหาร 1 กรัม โปรตีน 0.50 กรัม ธาตุแคลเซียม 39 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 18 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.2 มิลลิกรัม วิตามินต่างๆ เช่น วิตามินบี 0.02 มิลลิกรัม ไนอะซิน 0.1 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 3 มิลลิกรัม

สารต่างๆในมะขามป้อม มีมากมายในทุกส่วนของมะขามป้อม ทั้ัง เนื้อผล เมล็ด ผลสด ผลแห้ง เปลือกผล เปลือกลำต้น ใบมะขามป้อม กิ่งมะขามป้อม และ รากมะขามป้อม โดนรายละเอียด ดังนี้

  • รากมะขามป้อม มี กรดเอลลาจิก และ สารลูพิออล
  • เปลือกลำต้น มี สารแทนนิน สารลูพิออล และ สารลูโค เดลฟินิดิน
  • ใบมะขามป้อม มี สารแทนนิน กรดมาลิก และ สารลูพิออล
  • กิ่งมะขามป้อม มี สารแทนนิน
  • เมล็ดมะขามป้อม มีน้ำมันหอมระเหย ฟอสฟาไทด์
  • เนื้อมะขามป้อม มี น้ำ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามินซี วิตามินบี3 สารแทนนิน กรดเพ็กทิน และ เกลือแร่ต่าง ๆ

สรรพคุณมะขามป้อม

การใช้ประโยชน์ของของมะขามป้อม ด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย สามารถใช้ประโยชน์จาก ใบมะขามป้อม ผลมะขามป้อม เมล็ดมะขามป้อม และ เปลือกมะขามป้อม รายละเอียด ดังนี้

  • ใบมะขามป้อม สรรพคุณบำรุงผิว ป้องกันโรคมะเร็ง ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับสารพิษในร่างกาย เสริมสร้างภูมิต้านทานร่างกาย ช่วยคลายกล้ามเนื้อ แก้กระหายน้ำ ลดเสมหะ ลดน้ำตาลในเลือด บำรุงเหงือกและฟัน ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน รักษาแผลในปาก ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขยายหลอดลม รักษาหอบหืด รักษาแผลไฟไหม้ รักษาโรคตาแดง
  • ผลมะขามป้อม สรรพคุณบำรุงผิว ป้องกันโรคมะเร็ง ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับสารพิษในร่างกาย เสริมสร้างภูมิต้านทานร่างกาย ช่วยคลายกล้ามเนื้อ แก้กระหายน้ำ ลดเสมหะ ลดน้ำตาลในเลือด บำรุงเหงือกและฟัน ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน รักษาแผลในปาก ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขยายหลอดลม รักษาหอบหืด รักษาแผลไฟไหม้ รักษาโรคตาแดง
  • เมล็ดของมะขามป้อม มีน้ำมันหอมระเหย สรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
  • เปลือกลำต้น และ แก่นไม้ของต้นมะขามป้อม สรรพคุณแก้อาหารเป็นพิษ ช่วยขับปัสสาวะ และ รักษาดรคผิวหนัง

โทษของมะขามป้อม

สำหรับการรับประทานมะขามป้อม หรือ การใช้ประโยชน์จากมะขามป้อม ด้านการบำรุงร่างกาย และ การรักษาดรค มีข้อควรระวัง ดังต่อไปนี้

  • มะขามป้อมมีฤทธิ์เย็น เมื่อกินเข้าไปจะทำให้อุณหภูมิในร่างกายลดลง การกินมะขามป้อมต้องกินในปริมาณที่เหมาะสม
  • มะขามป้อม อาจทำให้เกิดภาวะเลือดออกผิดปกติ สำหรับผู้ป่วยที่มีแผนในการผ่าตัดควรงดกินมะขามป้อม อย่างน้อย 2 สัปดาห์
  • มะขามป้อมมีรสเปรี้ยว สำหรับคนที่ป่วยโรคระบบทางเดินอาหาร หรือ ผ่าตัดในช่องท้อง ควรงดการกินมะขามป้อม ควรกินอาหารเบาๆรสจืดๆ

มะขามป้อม หรือ มะขามอินเดีย ผลไม้ ที่มีวิตามินซีสูง ลักษณะของต้นมะขามป้อม เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของมะขามป้อม สรรพคุณของมะขามป้อม เช่น บำรุงร่างกาย บำรุงผิวพรรณ ขับปัสสาวะ เป็นต้น โทษของมะขามป้อม มีอะไรบ้าง

ต้นกระเจียว พืชตระกูลขิงกากใยอาหารสูง ต้นกระเจียวเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณแก้ท้องผูก ลดคอเลสเตอรัล ลดกรดในกระเพาะอาหาร โทษของกระเจียวมีอะไรบ้างต้นกระเจีียว ดอกกระเจียว สรรพคุณของกระเจียว ประโยชน์ของกระเจียว

ต้นกระเจียวในประเทษไทย

ในประเทศไทยพบว่ามีการปลูกต้นกระเจียว มากภาคเหนือ และ ภาคอีสาน โดยเฉพาะจังหวัดชัยภูมิ พบตามทุ่งหญ้าตามป่า ฤดูกาลที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต คือ ฤดูฝน ที่จังหวัดชัยภูมิมีเทศกาลทุ่งดอกกระเจียวบาน เป็นเอกลักษณ์ของสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดชัยภูมิ

ต้นกระเจียว มี 2 ชนิด คือ ต้นกระเจียวแดง มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Curcuma sessilis Gage. และ ต้นกระเจียวขาว มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Curcuma parviflora Wall ชื่อเรียกอื่นๆของกระเจียว เช่น ว่านมหาเมฆ อาวแดง กาเตียว กระเจียว จวด กระเจียวสี กระเจียวป่า เป็นต้น

ลักษณะของต้นกระเจียว

ต้นกระเจียว เป็นไม้ดอกพื้นบ้าน พืชล้มลุก ขยายพันธุ์โดยการแตกกอ เหง้า กระจายพันธุ์มากในประเทศพม่า และ ประเทศไทย มักขึ้นตามป่าดิบ ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และที่โล่งๆทั่วไป ต้นกระเจียวแดง มีลำต้นอยู่ใต้ดิน  มีเหง้าอยู่ใต้ดิน อายุยาว ลักษณะของต้นกระเจียว ลำต้นกระเจียว ใบกระเจีว ดอกกระเจียว และ ผลกระเจียว มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นกระเจียว สูงได้ประมาณ 60 เซนติเมตร ลำต้นเป็นกออยู่รวมกันมากๆ ลำต้นออำมาจากหัว ซึ่งกระเจียวมีหัวอยู่ใต้ดิน เรียก เหง้า มีขนาดใหญ่ ทรงรี สีน้ำตาล ภายในเหง้าเป็นสีขาว
  • ใบกระเจียว ลักษะของใบออกเป็นกาบ รวมตัวกันแน่น ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบรูปหอก ปลายใบแหลม โคนใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเกลี้ยง
  • ดอกกระเจียว ต้นกระเจียวออกดอกเป็นช่อ รูปทรงกระบอก ดอกจะชูออกจากปลายลำต้น ดอกเป็นสีเหลือง สีขาว สีชมพู ออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนกรกฎาคม ของทุกปี
  • ผลกระเจียว ต้นกระเจียวออกผลเป็นรูปไข่ มีขนหนาแน่น เมล็ดรูปทรงคล้ายหยดน้ำ

คุณค่าทางโภชนาการของกระเจียว

สำหรับกระเจียว นิยมนำมารับประทานหน่ออ่อน และ ดอกกระเจียว ทานเป็นผักสด โดยนักโภชนากการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของกระเจียวขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน 35 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัย ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 6 กรัม โปรตีน 1.3 กรัม ฟอสฟอรัส 40 มิลลิกรัม แคลเซียม 45 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2 มิลลิกรัม และ วิตามินต่างๆ คือ วิตามินเอ วิตามินบี1 และ วิตามินบี2

ประโยชน์ของกระเจียว

สำหรับการใช้ประโยชน์ของกระเจียว นั้นนิยมนำมารับประทานเหมือนผักพื้นบ้านทั่วไป โดยรับประทานหน่ออ่อน และ ดอกกระเจียว นำมาลวก กินเป็นผักสด นิยมรับประทานกับน้ำพริก ลาบ ส้มตำ ขนมจีนน้ำยา ซึ่งประโยชน์จากการรับประทานกระเจียวนอกจากจะเป็นอาหารแล้ว มีสรรพคุณในการบำรุงร่างกายและการรักษาโรคอีกด้วย

สรรพคุณของกระเจียว

ต้นกระเจียว สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ตั้งแต่ เหง้า ดอก หน่ออ่อน และ ดอก โดยรายละเอียดดังนี้

  • ลำต้นกระเจียว มีกากใยอาหารสูง ช่วยกระตุ้นให้ลำไส้บีบตัวขับถ่ายได้ดี ช่วยป้องกันอาการท้องผูก ลดคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยขับสารพิษตกค้าในร่างกาย หน่ออ่อนใช้เป็นยาสมานแผล
  • ดอกกระเจียว มีรสเผ็ดร้อน มีกลิ่นหอม สรรพคุณช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร แก้อาการท้องอืด รักษาท้องเฟ้อ ลดกรดในกระเพาะอาหาร ช่วยแก้มดลูกอักเสบสำหรับสตรีหลังคลอด
  • เหง้าของกระเจียว สรรพคุณเป็นยาแก้ปวดเมื่อย

โทษของกระเจียว

สำหรับการกินกระเจียว ไม่นิยมกิน ใบ และ เหง้า ของกระเจียว เนื่องจากมีรสเผ็ดร้อนเหมือนขิง ข่า ตะไคร้ หากกินมากๆ ก็มีความเป็นพิษต่อร่างกาย แต่การกินกระเจียว จะกิน หน่ออ่อน และ ดอกกระเจียว โดยก่อนการกินให้นำไปลวกก่อน

ต้นกระเจียว คือ พืชล้มลุก พืชตระกูลขิง มีกากใยอาหารสูง ลักษณะของต้นกระเจียว เป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณของกระเจียว เช่น นำมาลวกกินเป็นผักสด แก้ท้องผูก ลดคอเลสเตอรัล ลดกรดในกระเพาะอาหาร โทษของกระเจียว มีอะไรบ้าง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove