ความดันโลหิตสูง Hypertension โรคความดันโลหิตสูงมักไม่แสดงอาการแต่มีความเสี่ยงทำให้เกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง เป็นอันตราย ต้องทำอย่างไรเมื่อเป็นโรคความดัน

ความดันโลหิตสูง โรค

โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่พบมากและเป็นภัยเงียบที่ทำให้เป็นความเสี่ยงโรคหัวใจโรคอัันตราย ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงส่วนมากไม่รู้ตัว โรคมักไม่แสดงอาการ แต่หากเกิดโรคมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง มีความเสี่ยงเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจหนา ภาวะหัวใจวาย ภาวะไตวายเรื้อรัง หลอดเลือดสมองตีบหรือหลอดเลือดสมองแตกจนเกิดอัมพฤกษ์ อัมพาตตามมา จนถึงขั้นเสียชีวิตอย่างกระทันหันได้

ภาวะความดันโลหิตสูง ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Hypertension  หรือ High blood pressure เป็นโรคไม่ติดต่อพบมากในผู้ใหญ่ เราพบว่าประมาณ 25 ถึง 30% ของประชากรผู้ใหญ่บนโลกทั้งหมดเป็นโรคนี้ และผู้ชายจะเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากกว่าผู้หญิง  และหากอายุเกิน 60 ปี เราพบว่า 50% ของประชากรบนโลกเป็นภาวะความดันโลหิตสูง โดยปรกติความดันโลหิตของมนุษย์ จะอยู่ที่ 90-119/60-79 มิลลิเมตรปรอท หากวัดได้สูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท ถือว่าเสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสูง

ประเภทของโรคความดันโลหิตสูง

เราสามารถแบ่งประเภทของโรความดันโลหิตสูงได้ ประเภท คือ ความดันโลหิตสูงชนิด Primary Hypertension และ ความดันโลหิตสูงชนิด Secondary Hypertension โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • ความดันโลหิตสูงชนิด Primary Hypertension ความดันโลหิตสูงประเภทนี้ส่วนใหญ่จะพัฒนาขึ้นในช่วงหลายปี 
  • ความดันโลหิตสูงชนิด Secondary Hypertension ความดันโลหิตสูงประเภทนี้เกิดจากสภาวะสุขภาพพื้นฐานโดยจะปรากฏขึ้นอย่างกะทันหัน 

สาเหตุของการเกิดโรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูง เกิดจากความดันโลหิตสูงกว่าค่าความดันปรกติ ซึ่งโดยปรกติความดันโลหิตของมนุษย์ จะอยู่ที่ 90-119/60-79 มิลลิเมตรปรอท หากวัดได้สูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท ถือว่าเข้าสู่ภาวะ ความดันโลหิตสูง เราสามารถแยกสาเหตุที่ทำให้ความดันโลหิตสูงได้ เป็น 2 ชนิด คือ ความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ภาษาอังกฤษ เรียก Essential hypertension และความดันโลหิตสูงชนิดที่ทราบสาเหตุ ภาษาอังกฤษ เรียก Secondary hypertension โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • ความดันโลหินสูง ชนิดไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ( Essential hypertension )  ชนิดนี้ 90% ของผู้ป่วยทั้งหมด เราพบว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง แต่ไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่ชัดเจน แต่ทางการแพทย์เชื่อว่า น่าเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น อิทธิพลของเอ็นไซม์  เรนิน (Renin) และฮอร์โมนแองจิโอเท็นซิน ( Angiotensin) ที่มาจากไต สารเหล่านี้ ส่งผลต่อการทำงานของต่อมใต้สมองทำให้เกิดการบีบตัวของหลอดเลือดในร่างกาย ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง เรียกว่า กระบวนการ Renin-Angiotensin system นอกจากนี้ เรื่องพันธุกรรม อาหารการกิน ก็ส่งผลต่อความดัยโลหิตสูงเช่นกัน
  • ความดันโลหิตสูงชนิดทราบสาเหตุ ( Secondary hypertension )ชนิดนี้มี10% ของผู้ป่วนโรคนี้ สามารถรู้สาเหตุของภาวะความดันดลหิตสูง

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูงมักเกิดจากพฤติกรรมการดำรงค์ชีวิตที่ไม่เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพ ซึ่งสำหรับโรคความดันโลหิตสูง มีหลายปัจจัยทีทำให้เกิดโรค โดยรายละเอียด มีดังนี้

  1. พันธุกรรม หากในครอบครัว หรือญาติพี่น้องที่มีคนป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง โอกาสที่จะเกิดความดันโลหิตสูง จะมากกว่าคนที่ในครอบครัวไม่มีคนเป็นโรคนี้
  2. โรคเบาหวาน เนื่องจากผู้ป่วยโรคเบาหวาน จะมีภาวะตีบตันของหลอดเลือด ก็มีโอกาสเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงได้
  3. โรคอ้วน ในคนอ้วนจะมีไขมันไปเกาะตามผนังหลอดเลือด ก็จะมีความเสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสูงมาก
  4. โรคไตเรื้อรัง จากที่กล่าวมาข้างต้น ไตมีหน้าที่สร้างเอ็นไซม์และฮอร์โมนที่ควบคุมความดันโลหิต
  5. การสูบบุหรี่ สารพิษจากควันบุหรี่ ทำให้หลอดเลือดตีบตันได้
  6. การดื่มสุรา สุราจะมำให้หัวใจเต้นแรงกว่าปกติ เราพบว่า 50% ของผู้ติดสุรา เป็นโรคความดันโลหิตสูง
  7. การรับประทานอาหารเค็ม
  8. การไม่ออกกำลังกาย
  9. การใช้ยากลุ่มสเตียรรอยด์บางชนิด มีผลข้างเคียงทำให้ความดันโลหิตสูง

อาการโรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูง มักไม่มีอาการให้เห็นชัดเจน ส่วนใหญ่อาการของโรคความดันโลหิตสูงจะส่งผลให้เห็นในลักษณะ โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดในสมอง โรคเบาหวาน อาการที่พบบ่อยได้ คือ ปวดหัว มึนงง วิงเวียน แน่นหน้าอก หายใจไม่ออกและเสียชีวิตได้

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราเป็นโรคความดันโลหิตสูง แพทย์จะทำการตรวจสอบจากประวัติ การใช้ยา วัดความดันโลหิต การตรวจร่างกาย และตรวจเลือด เพื่อดูระดับน้ำตาลในเลือด ตรวจการทำงานของไต ตรวจหัวใจเพื่อดูการทำงานของหัวใจ

การรักษาโรคความดันโลหิตสูง

แนวทางการรักษาความดันโลหิตสูง การให้ยาลดความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน สามารถลดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากความดันโลหิตสูงได้ นอกจากการรับประทานยาแล้ว ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อการเกิดความดันโลหิตสูงด้วย แนวทาการปรับพฤติกรรมร่วมกับการใช้ยา มีดังนี้

  • ออกกำลังกายที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายตลอดเวลา เช่น วิ่ง เดินเร็ว ว่ายนํ้า อย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย วันละ 15-30 นาที 3-6 วันต่อสัปดาห์
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • งดการดื่มสุรา
  • งดการสูบบุหรี่
  • ลดภาวะความเครียดต่างๆ
  • รับประทานอาหารที่มีคุณภาพ ลดอาหารเค็มจัด ลดอาหารมัน เพิ่มผักผลไม้ เน้นอาหารพวกธัญพืช ปลา นมไขมันต่ำ ถั่ว รับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวต่ำ หลีกเลี่ยงเนื้อแดง น้ำตาล เครื่องดื่มที่มีรสหวานจะทำให้ระดับความดันโลหิตลดลงได้
  • พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

การป้องกันโรคความดันโลหิตสูง

การป้องกันโรคความดันโลหิตสูงที่ดีที่สุด คือ การลดปัจจัยเสี่ยงทั้งหมดที่มีผลต่อการการทำให้เกิดความดันโลหิตสูง เช่น ลดภาวะความเครียด ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย พักผ่อนให้เพียงพอ และเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

นอนไม่หลับ Insomanai ภาวะไม่สามารถนอนหลับในเวลาปรกติ นอนไม่ได้ ส่งผลเสียต่อสุขภาพ มีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้นอนไม่หลับ เราจะรักษาอาการนอนไม่หลับได้อย่างไร

โรคนอนไม่หลับ isomanai

โรคนอนไม่หลับ ภาษาอังกฤษ เรียก Insomnia คือ ภาวะการไม่สามรถนอนในเวลาปรกติทั่วไปได้ คนทั่วไปนอนในเวลากลงคืนและตื่นในเวลากลางวัน ซึ่งคนที่มีภาวะนอนไม่หลับในเวลากลางคืนแต่ต้องไปทำงานในเวลากลางวัน จะทำให้ร่างกายเกิดภาวะอ่อนเพลียขาดการพักผ่อน ซึ่งการที่ร่างกายขาดการพักผ่อนจะทำให้เกิดผลเสียต่างๆต่อร่างกาย ทำให้การทำงานของอวัยวะในร่างกายผิดปรกติ โรคนอนไม่หลับปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษา

ลักษณะอาการนอนไม่หลับแบบไหนควรพบแพทย์ หลายๆครั้งการที่เรานอนหลับไม่สนิท หรือนอนไม่หลับติดต่อกันมากกว่า 3 วัน เป็นระยะเวลามากกว่า 1 เดือน จะส่งผลต่ออารมณ์ สมาธิ ความจำ เกิดภาวะเครียด กดดัน รู้สึกเป็นกังวล รบกวนจิตใจของคุณ และประสิทธิภาพในการทำงาน หากเริ่มมีความผิดปรกติด้านจิตใจและระบบการทำงานของร่างกายผิดปรกติ ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุและแนวทางการแก้ปัญหาการนอนไม่หลับ

เราสามารถแบ่งสาเหตุของการนอนไม่หลับได้จากความผิดปรกติต่างๆได้เป็น 3 ลักษณะ ดังนี้

  1. นอนไม่หลับจากความผิดปกติภายในร่างกาย การผิดปรกติลักษณะนี้ จะนอนไม่หลับแค่ช่วงเวลาหนึ่ง หากกลับคืนสู่ภาวะปรกติก็จะกลับมานอนได้ตามปรกติ
  2. นอนไม่หลับจากความผิดปกติจากสภาพแวดล้อม เช่น เสียงรบกวน หรือ แสงสว่าง เป็นต้น
  3. นอนไม่หลับจากความผิดปรกติทางด้านจิตใจ เช่น ความวิตกกังวล โรคซึมเศร้า เบื่อ เป็นต้น

ประเภทของโรคนอนไม่หลับ

โรคนอนไม่หลับ เราสามารถแบ่งออกเป็นเป็น 3 ประเภท คือ นอนไม่หลับชั่วคราว นอนไม่หลับต่อเนื่อง และ นอนไม่หลับเรื้อรัง โดยรายละเอียด ดังนี้

  1. นอนไม่หลับแบบชั่วคราว คือ การนอนไม่หลับ ติดต่อกันเป็นหลายวันส่วนมากพบว่าเป็นเรื่องของความเครียด และความกังวลใจ บางประการ การนอนไม่หลับประเภทนี้จะหายได้เองเมื่อสิ่งกระตุ้นเหล่านี้ หายไป
  2. นอนไม่หลับแบบต่อเนื่อง คือ การนอนไม่หลับต่อเนื่อง หลายสัปดาห์ พบว่าเกิดจากความเครียด หากเป็นเวลานาน ควรได้รับการปรึกษาจากแพทย์ ก่อนที่จะเป็นการนอนไม่หลับแบบเรื้อรัง
  3. นอนไม่หลับแบบเรื้อรัง คือ การนอนไม่หลับ เป็นเวลานาน จนร่างกายปรับเวลา และส่งผลต่อการดำเนินชีวิต

สาเหตุของโรคนอนไม่หลับ

เราพบว่าผู้ป่วยโรคนอนไม่หลับ สามารถเกิดได้จากหลายปัจจัย ทั้งความเครียด ความกังวล และสิ่งแว้ดล้อม เราได้รวบรวมสิ่งที่ทำให้นอนไม่หลับได้ มีรายละเอียดดังนี้

  1. สารคาเฟอีน หรือสารที่มีฤิทธิ์กระตุ้นระบบประสาท เช่น ชา กาแฟ หรือ ยาบางชนิด
  2. การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ส่งผลให้ร่างกายหลับไม่ปกติ
  3. โรคบางชนิด เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคปวดไขข้อ โรคต่อมลูกหมากโต โรคไต โรคเบาหวาน เป็นต้น
  4. การออกกำลังหนักในช่วงบ่าย
  5. ภาวะตั้งครรภ์ ช่วงเดือนสุดท้ายคลอดลูก
  6. การสูบบุหรี่
  7. การรับประทานอาหาร มากหรือน้อยเกินไป
  8. สถานที่หลับนอนไม่เอื่ออำนวยต่อการนอน

อาการของโรคนอนไม่หลับ

สำหรับคนนที่มีภาวะการนอนไม่หลับเป็นเวลานานติดต่อกัน จะมีความผิดปรกติของร่างกายและจิตใจต่างๆ เช่น อ่อนเพลีย ไม่สามารถทำงานอย่างมีสมาธิ ความจำลดลง ประสิธิภาพการทำงานลดลง อารมณ์หงุดหงิดกระสับกระส่าย ง่วงนอนเวลากลางวัน เป็นต้น

การรักษาโรคนอนไม่หลับ

สำหรับแนวทางการรักษาโรคนอนไม่หลับ สามารถรักษาได้ด้วยการปรับพฤติกรรมการดำรงค์ชีวิตให้อื้อต่อความสามารถในการนอน และ หากจำเป็นต้องนอนให้ใช้ยาช่วยใหนอนหลับ แทน

แนวทางการปรับพฤติกรรมและสภาพแวดล้อมให้อื้นต่อการนอน มีดังนี้

  • ควบคุมสิ่งเร้าต่างๆ ( Stimuli control ) เช่น ไม่ควรทำกิจกรรมอื่นนอกจากการนอน งดนอนบนเตียงถ้ายังไม่ง่วง ลุกออกจากเตียงเมื่อผ่านไปแล้ว 20 นาทีถ้ายังไม่หลับและทำกิจกรรมเบาๆ นอกเตียง ลุกจากเตียงเมื่อตื่นนอนตอนเช้าแล้วในเวลาที่สม่ำเสมอ และหลีกเลี่ยงการงีบหลับกลางวัน เป็นต้น
  • สร้างความผ่อนคลาย ( Relaxation ) สร้างความผ่อนทั้งทางร่างกายและจิตใจ เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่การนอนหลับ เช่น การนั่งสมาธิ ฟังเพลงบรรเลง ฝึกกำหนดลมหายใจ เป็นต้น
  • ปรับความคิดและพฤติกรรมต่างๆ ( Cognitive Behavioral Therapy for Insomnia ) ความวิตกกังวลเรื่องต่างๆ ทำให้เรานอนไม่หลับ ให้ปรับความคิดปล่อยวางเรื่องต่างๆก่อนนอน
  • อาหารอะไรบ้างที่ช่วยให้นอนหลับหรือหลับสบาย มีหลายอย่าง เช่น การดื่มเครื่องดื่มอุ่นๆ และเครื่องดื่มสมุนไพร เช่น แคโมไมล์วาเลอเรียน เก๊กฮวย มะตูม ไลม์บลอสซัม เป็นต้น ดื่มนมหวาน เนื่องจาก น้ำตาลจะช่วยทำให้เซลล์สมองดูดซึมกรดอะมิโน ทริปโตฟาน เข้าสู่กระแสเลือด ช่วยให้ผ่อนคลาย อาหารจำพวกแป้ง

การป้องกันการนอนไม่หลับ

สำหรับแนวทางการป้องกันการนอนไม่หลับ มีแนวทางการปฏิบัติ ดังนี้

  • ปรับเวลานอนให้เป็นเวลา ไม่งีบหลับระหว่างวัน ไม่กดดันตัวเองให้นอนหลับ
  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มกระตุ้นให้ประสาทตื่นตัว เช่น กาแฟ หรือชา
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เพราะ จะทำให้หลับยาก
  • สร้างสถานการณ์ให้เตียงนอน คือ การหลับเท่านั้น ดังนั้นการนอนเล่นดูทีวีทำงานพักผ่อนอื่นๆ ให้ทำนอกเตียง เคล็ดลับ คือ เมื่อรู้สึกง่วงแล้วเท่านั้นถึงลงมานอนที่เตียง
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพราะช่วยให้นอนหลับได้สบายยิ่งขึ้น ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังหนักก่อนนอน ซึ่งจะทำให้นอนหลับได้ยาก
  • พยายามหลับให้ได้ด้วยตัวเอง หลีกเลี่ยงการใช้ยานอนหลับ
  • อาบน้ำก่อนนอน การแช่ตัวในน้ำอุ่นก่อนนอน จะช่วยให้เกิดความผ่อนคลาย
  • จัดสถานที่นอนให้โล่ง หายใจสะดวก น่านอน
  • กินในปริมาณที่เหมาะสมไม่มากหรือน้อยเกินไป

ปัญหาการนอนไม่หลับ อดนอน หรือพักผ่อนไม่เพียงพอ แน่นอนว่าจะส่งผลเสียกับร่างกายทำให้ระบบร่างกายทำงานติดขัด จะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดความดันโลหิตสูง และปัญหาด้านระบบหลอดเลือดหัวใจ ระบบภูมิคุ้มกันทำงานโดยมีประสิทธิภาพลดลง ดังนั้น ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรหาสาเหตุให้พบ และทำการป้องกันและรักษาอย่างถูกต้อง

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove